ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#อสังหาริมทรัพย์


ASW โชว์ยอดขาย Q1 ที่ 8,320 ลบ. แผ่นดินไหวไม่กระทบ โครงการภูเก็ตหนุน

ASW โชว์ยอดขาย Q1 ที่ 8,320 ลบ. แผ่นดินไหวไม่กระทบ โครงการภูเก็ตหนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ASW โชว์ผลงาน Q1/68 กวาดยอดขาย 8,320 ล้านบาท เติบโต (QoQ) 75% และคิดเป็น 43% ของเป้ายอดขายทั้งปี หลังอัตราดอกเบี้ยลด ท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุนยอดจองคอนโด วิลล่าหรูภูเก็ตกระแสดีรับไฮซีซั่น คาดเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่กระทบผลการดำเนินงาน Q2/2568 เหตุพอร์ตที่อยู่อาศัย 90% เป็นโครงการบ้านจัดสรร-คอนโด 8 ชั้น รวมถึงโครงการสร้างเสร็จใหม่ทั้งหมดในปีนี้เป็นคอนโด 8 ชั้น และแบ็คล็อกกว่า 40% อยู่ในภูเก็ต ยืนยันทุกโครงการในพอร์ตปลอดภัย โครงสร้างแข็งแรงตามมาตรฐานวิศวกรรม หลังส่งทีมวิศวกร-ผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้าตรวจสอบทั้งโครงการที่สร้างเสร็จแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง ประเมินตลาดบ้านจัดสรร-คอนโด 8 ชั้น ยังได้รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV เชื่อมั่นยอดขายทั้งปีเป็นไปตามเป้า 19,500 ล้านบาท           นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2568 (ม.ค.-มี.ค. 2568) บริษัทมียอดขายจากโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรทั้งหมด 8,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) และเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 33% (YoY) โดยยอดขายดังกล่าวคิดเป็น 43% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปี ซึ่งตั้งไว้ที่ 19,500 ล้านบาท           โครงการที่มียอดขายโดดเด่นใน Q1/2568 คือกลุ่มโครงการ Leisure Residences ในภูเก็ต ภายใต้การพัฒนาของบริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TITLE บริษัทย่อยในเครือ ที่ทยอยเปิดตัวในช่วงไฮซีซั่นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2567 ต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ ได้แก่ โครงการเดอะ คาตาเบลโล (THE KATABELLO) บนทำเลใหม่ย่านกะตะ มูลค่า 5,500 ล้านบาท โครงการอะดอร่า ราไวย์ (ADORA RAWAI) มูลค่า 1,400 ล้านบาท ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทั้ง 2 โครงการมียอดจองแล้วกว่า 50% และโครงการเดอะ ไทเทิล วิลล่า เอสเตลลา ในยาง (THE TITLE Villa Estella Naiyang) วิลล่าระดับลักชัวรีโครงการแรกของแบรนด์ THE TITLE มูลค่า 500 ล้านบาท สร้างปรากฏการณ์ด้วยยอดขายถึง 70% หลังเปิดตัวเพียง 1 สัปดาห์ ขณะที่โครงการที่เปิดใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลอย่างโครงการเคฟ เพลย์กราวด์ (Kave Playground) ตรงข้าม รร.บดินทรเดชาฯ มูลค่า 1,600 ล้านบาท และโครงการแอทโมซ เดอ โซล (Atmoz De Sol) ใกล้รถไฟฟ้าสายสีเหลืองสถานีทิพวัล มูลค่า 1,700 ล้านบาท ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีและมีส่วนสำคัญในการผลักดันภาพรวมยอดขายเช่นเดียวกัน           “แม้ช่วงต้นไตรมาส ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะได้รับแรงกดดันจากภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง แต่หลังปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ทยอยลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยตาม จึงเป็นจังหวะที่ดีของคนที่มีดีมานด์และพร้อมจะซื้ออยู่แล้วให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน ตลาดภูเก็ต ได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยปี 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 1.67 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน โดยเฉพาะภูเก็ตที่เป็น World Destination มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาทุกปี เราจึงใช้โอกาสช่วงไฮซีซั่นเปิดตัวโครงการใหม่ ซึ่งบริษัทย่อยในเครืออย่าง TITLE ก็มีความเชี่ยวชาญในภูเก็ต และได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าต่างชาติอยู่แล้ว ทำให้โครงการ Leisure Residences ได้รับการตอบรับที่ดี และเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันยอดขายของ ASW ในไตรมาสนี้” นายกรมเชษฐ์ กล่าว           นายกรมเชษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับไตรมาส 2/2568 นั้น บริษัทประเมินว่าอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมามากนัก เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อตลาดคอนโดมิเนียมแบบ High-rise เป็นหลัก ขณะที่พอร์ตฟอลิโอกว่า 90% ของบริษัท เป็นโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมแบบ Low-rise หรือคอนโดมิเนียม 8 ชั้น ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ของบริษัทกว่า 40% มาจากกลุ่มโครงการที่อยู่อาศัยในภูเก็ต ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน รวมถึงโครงการที่มีแผนสร้างเสร็จใหม่ในปีนี้ทั้งหมดล้วนเป็นคอนโด 8 ชั้น           ที่ผ่านมา ASW ห่วงใยและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทั้งผู้อยู่อาศัยและโครงการ จึงได้จัดส่งทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าตรวจสอบทั้งโครงการที่มีผู้พักอาศัย และโครงการที่กำลังก่อสร้างอยู่ทุกโครงการอย่างเร่งด่วน โดยทุกโครงการของบริษัท ไม่มีโครงการไหนที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับการก่อสร้างโครงการให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย 100 % ตามมาตรฐานวิศวกรรมในทุกโครงการ ขณะเดียวกัน ทุกโครงการยังได้ทำประกันภัยอาคารชุดไว้ ครอบคลุมการดูแลทั้งโครงการที่โอนกรรมสิทธิ์แล้ว และโครงการที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง และขอส่งกำลังใจถึงทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างแข็งแกร่ง           ขณะที่สถานการณ์ตลาดหลังจากนี้ แม้มีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ต้องจับตาหลายเรื่อง อาทิ สงครามการค้าของสหรัฐอเมริกา สถานการณ์เศรษฐกิจจีน แต่ตลาดบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม Low-rise ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายเกณฑ์อัตราส่วนการให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value: LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2568 ถึง 30 มิ.ย. 2569 ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและเพื่อลงทุนเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อ และช่วยเร่งการโอนกรรมสิทธิ์ได้ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อทั้งภาพรวมตลาดฯ โดยปัจจุบัน บริษัทมีโครงการคอนโดมิเนียมและบ้านสร้างเสร็จพร้อมอยู่ (Ready to Move) ทุกระดับราคา มูลค่ารวม 8,500 ล้านบาท           ทั้งนี้ ASW ยังมีโครงการคอนโดมิเนียมสร้างเสร็จใหม่ เตรียมทยอยโอนกรรมสิทธิ์รับรู้รายได้ในไตรมาส 2/2568 เพิ่มอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการแอทโมซ พาลาซิโอ ลาดพร้าว-วังหิน (Atmoz Palacio Ladprao-Wanghin) มูลค่า 1,750 ล้านบาท และโครงการแอทโมซ แคนวาส ระยอง (Atmoz Canvas Rayong) มูลค่า 1,250 ล้านบาท และยังเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ตามแผนงาน อาทิ แคมปัสคอนโดที่มีดีมานด์ชัดเจนจากนักศึกษา ผู้ปกครอง และนักลงทุน โครงการในภูเก็ตที่ยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยและต่างชาติ เพื่อสร้างโมเมนตัมยอดขายอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนให้บริษัทเดินหน้าสู่เป้าหมายยอดขาย 19,500 ล้านบาทได้ตามที่ตั้งไว้           สำหรับบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมุ่งพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบบนทำเลศักยภาพ ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านจัดสรรมาแล้วกว่า 75 โครงการ ภายใต้แบรนด์ในเครือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความสุขให้เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ได้แก่ แบรนด์ เคฟ (KAVE), แบรนด์ แอทโมซ (ATMOZ), แบรนด์ โมดิซ (MODIZ), แบรนด์ เอสต้า (ESTA), แบรนด์ ดิ อาเบอร์ (THE ARBOR), แบรนด์ ดิ ออเนอร์ (THE HONOR) รวมถึงแบรนด์ภายใต้ บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ “TITLE” ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ รวมมูลค่าโครงการกว่า 121,732 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการพร้อมอยู่ 22 โครงการ และโครงการที่กำลังเปิดขายและอยู่ระหว่างการพัฒนา 19 โครงการ และ ณ สิ้นปี 2567 มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมกว่า 25,413 ล้านบาท

BC ลั่นแผ่นดินไหวไม่กระทบ ดีมานด์เข้าพัก Low Rise คึก

BC ลั่นแผ่นดินไหวไม่กระทบ ดีมานด์เข้าพัก Low Rise คึก

                     หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BC ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้โมเดล “สร้าง-ดำเนินการ-ขาย” (Build-Operate-Sale: BOS) ตอกย้ำความมั่นใจความปลอดภัยของโครงการในพอร์ตทั้งหมด ทั้งในกรุงเทพฯ และแหล่งท่องเที่ยวในต่างจังหวัด หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงที่ผ่านมา ยืนยันว่าโครงการทั้งหมดของ BC เป็นอาคารประเภท Low Rise ทำเลใจกลางเมือง ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแต่อย่างใด           นายปรับ ทักราล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า BC ได้ส่งทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบความมั่นคงของโครงการอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งโครงสร้างอาคาร ระบบน้ำ ไฟฟ้า และระบบภายในอื่นๆ โดยไม่พบข้อบ่งชี้ถึงความเสียหาย พร้อมวางแผนตรวจสอบซ้ำโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญภายนอกในสัปดาห์นี้ทันทีเพื่อเสริมความมั่นใจให้ผู้ใช้งานอีกระดับ และตอกย้ำ โครงการของเราให้ความสำคัญด้านคุณภาพและความปลอดภัยในทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานโครงสร้างและระบบวิศวกรรมต่างๆ โดยดำเนินการก่อสร้างผ่านผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์สูง และผ่านการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด มีมาตรฐานสูง นอกจากนี้ โครงการทั้งหมดของเรายังมีประกันภัยความเสี่ยงทุกประเภท (All Risks Insurance) เพื่อคุ้มครองทั้งทรัพย์สินและความปลอดภัยของผู้เช่าและผู้ใช้งานอย่างรอบด้าน           อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น คาดส่งผลให้กลุ่มโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นของ BC โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น  เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเลือกเข้าพักในอาคาร Low Rise ของ BC ซึ่งผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความมั่นคงแล้วเรียบร้อย           ทั้งนี้ ปัจจุบัน BC มีโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นที่เปิดให้บริการรวม 9 โครงการ ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต และชลบุรี (พัทยา) รวมถึงโครงการศูนย์การค้า “โคฟฮิลล์” ย่านเจริญกรุง ที่ได้รับการพัฒนาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในทุกมิติ

เช็กด่วน! หุ้นแบกสต๊อกคอนโด

เช็กด่วน! หุ้นแบกสต๊อกคอนโด

         หุ้นวิชั่น - เหตุการณ์แผ่นดินไหวกระทบหุ้นอะไรบ้าง แน่นอนตามกระแสข่าว ผู้ได้รับความเดือนร้อนมากสุด คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาคารสูง โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียม ดังนั้น หุ้นอสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดมิเนียม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องได้รับผลกระทบ เพราะนั่นคือ ข้อเท็จจริง          ศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับ 8.2 จากประเทศพม่า ขยายผลการรับรู้เกือบทุกพื้นที่ทั่วถึงประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยเพราะการสั่นไหวรอบกินเวลาที่นานขึ้นนับเป็นนาที ทำให้ธุรกิจที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ เพราะใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว          ไม่ต่างอะไรกับพื้นที่ใน กทม. ด้วยฐานรากที่เป็นพื้นดินอ่อน จึงได้รับแรงสะเทือนได้อย่างชัดเจน ตึกสูง คอนโดระย้าฟ้า สั่นไหวโยกไปมา น้ำจากสระน้ำของตึกสูงไหลรากลงมาสู่พื้นดิน ดั่งน้ำตก เป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย          ภาพที่ได้เห็นที่แชร์ ในโลกออนไลน์ ตึกถล่ม ตึกมีรอยร้าว ในพื้นที่ กทม. ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า โครงสร้างอาคารในประเทศไทย ยังไม่ได้รองรับเหตุแผ่นดินไหวเท่าที่ควร ดังนั้น สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องตรวจสอบ โดยเฉพาะอาคารที่สร้างก่อนปี 2550          หุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่มีรายได้จากธุรกิจคอนโดมิเนียม ย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้แน่นอน มาดูกันว่าเบื้องต้น มีหุ้นอะไรบ้าง          ข้อมูลจากบทวิเคราะห์ของ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มี สต๊อกคอนโดมิเนียม สร้างเสร็จพร้อมโอนในอัตราที่สูง ประกอบด้วย 4 บริษัทได้แก่ SPALI ,ORI,AP, และANAN ทั้งหมดมีเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาท          ขณะที่ กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มีแผนออกคอนโดมิเนียมใหม่ ในปี 2568 อาทิเช่น ORI,AP,SIRI,ASW,NOBLE,SPALI,PSH และ ANAN เป็นต้น          ล่าสุด บริษัท เอพี ไทยแลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP ในปี2567 พบว่า มีโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่า 9,850 ล้านบาท อีกทั้งมีโครงการในมือมากกว่า 180 โครงการ และในปี 2568 มีแผนเปิดตัวโครงการมูลค่าราว 65,000 ล้านบาท          ส่วนหุ้นกลุ่มโรงแรมที่เป็นตึกสูง ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย มีข่าวแพร่กระจายไปทั่วโลก ล่าสุดนายกสมาคมโรงแรมไทยมองว่า จะมีนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองห้องพัก ประมาณ 8-10 % ของการจองทั้งหมด แต่เชื่อว่าเป็นผลกระทบระยะสั้น จากการตื่นตระหนกของนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคารที่พักแรม          กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย บล. พาย วิเคราะห์ว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวยังค่อนข้างจำกัดต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อยก็ยังไม่ได้เห็นอาคารสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพพังถลายลงมาก อาจมีบ้างเช่นสำนักการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แต่ส่วนที่เหลือยังค่อนข้างปกติ แต่คอนโดต่างๆเผชิญกับปัญหารอยแตกร้าวและเสียความเชื่อมั่นจากผู้อาศัย ซึ่งจะกระทบกับอุปสงค์ในอนาคต โดยเฉพาะหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่มีคอนโดเป็นสัดส่วนรายได้ที่เยอะ            จากข้อมูลพบว่ามูลค่าเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 18 ล้านล้านบาท โดยที่ตลาดอสังหามูลค่าอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท ก็อาจพอคำนวนคร่าวๆได้ว่าคิดเป็น 6% ของ GDP หากพิจารณาในเบื้องต้นก็อาจสร้าง Downside ต่อเศรษฐกิจมิได้มากนัก          กลุ่มท่องเที่ยวก็มองเป็นจิตวิทยาเชิงลบและมีผลต่อเศรษฐกิจไทย ด้วยเดิมทีความน่าสนใจของประเทศไทยถูกลดเสน่ห์ลงไปบ้างสะท้อนผ่านการมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น้อยลง YTD ขยายตัวเพียง 3% จากปีก่อน 15% และนักท่องเที่ยวจีนกลับเดินทางไปญี่ปุ่นมากกว่าระดับก่อน COVID-19 สวนทางกับไทยที่ยังต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 เมื่อประกอบกับแผ่นดินไหว อาจทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการมาท่องเที่ยวไทย อย่างไรก็ตามหากเหตุการณ์แผ่นดินไหวมิได้เกิดขึ้นอีก ก็เชื่อว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่การจะเติบโตข้างหน้าเป็นอีกปัจจัย          ดังนั้น การลงทุนกลุ่มได้ประโยชน์อาจมองไปที่ หุ้นค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับซ่อมแซมบ้าน (HMPRO GLOBAL DOHOME) ปูน (SCCC) รวมไปถึงกลุ่มที่ผลกระทบจำกัดอย่างโรงพยาบาล (BDMS) สื่อสาร (ADVANC- TRUE) และควรระมัดระวังในหุ้นอสังหา (ผลกระทบหนักสุด) การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง และทีมงานหุ้นวิชั่น

“เศรษฐา” ชี้อสังหาฯ เน้นเงินสด แนะรัฐผุดเมกะโปรเจ็กต์

“เศรษฐา” ชี้อสังหาฯ เน้นเงินสด แนะรัฐผุดเมกะโปรเจ็กต์

                      หุ้นวิชั่น - “เศรษฐา” นายกฯ คนที่ 30 และ Co-Founder หลักสูตร The NEXT Real แนะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย ด้วยการเดินหน้าลงทุนเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานประเทศ หวังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ-แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งระยะยาว-ขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจสู่เมืองน่าเที่ยว-เพิ่มระยะเวลาพำนักและปริมาณการใช้จ่ายนักท่องเที่ยว พร้อมชี้ 3 แหล่งเงินทุนสำคัญ ขณะที่แนะภาคอสังหาฯบริหารสภาพคล่องลุยตลาดปี 68 พร้อมเตรียมปรับตัว รับความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เหลือ 37 ล้านคน           นายเศรษฐา ทวีสิน Co-Founder หลักสูตร The NEXT Real และนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 กล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดงาน​ Real Connext 2025 ว่า​ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในอัตราเฉลี่ยเพียง 1.9% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ต่างมีอัตราการเติบโตมากกว่าไทยถึง 2 เท่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยมาอย่างยาวนาน แนวทางที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ จึงเป็นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดย 20 ปีที่ผ่านมา โครงการเมกะโปรเจ็กต์มีเพียงการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ยังไม่มีโครงการอื่นๆ ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเลย           ทั้งนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและแก้ปัญหาหลากหลายด้าน ได้แก่ 1.การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและสร้างความมั่นใจการลงทุน เนื่องจากอุตสาหกรรมใหม่ เช่น Data Center เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการที่ดี รวมถึงต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐานภายในสนามบิน เช่น ต้องมี Cold Storage เพื่ออำนวยความสะดวกต่อสินค้าที่ต้องแช่เย็น 2.การแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งระยะยาว ที่ผ่านมา การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลส่วนหนึ่งในแต่ละปี มักเป็นเรื่องการชดเชยราคาพืชผลทางการเกษตรจากปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง การสร้างเขื่อน การสร้างคูน้ำ ตลอดจนการถมทะเล จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาระยะยาว 3.การขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากตัวเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สนามบิน รถไฟฟ้าความเร็วสูง ระบบคมนาคม จะช่วยกระจายความเจริญออกจากกรุงเทพฯ เมืองขยายตัว เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ใหม่ๆ ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ 4.การเพิ่มระยะเวลาพำนักและปริมาณการใช้จ่ายของการท่องเที่ยว เชื่อมโยงการคมนาคมที่แข็งแรงออกสู่เมืองรองหรือเมืองน่าเที่ยว เพื่อเพิ่มระยะเวลาพำนักของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากที่เน้นท่องเที่ยวเมืองหลักอยู่เพียงราว 3 วัน ให้ขยายไปสู่การท่องเที่ยวเมืองอื่นๆ เป็น 10 วันแบบฝรั่งเศส อิตาลี และเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายต่อหัว (Spending per head) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญกว่าการเพิ่มแต่ปริมาณนักท่องเที่ยว           สำหรับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้นั้น อาจมาได้จาก 3 แนวทาง คือ 1.การยกระดับเพดานหนี้สาธารณะเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทย ถูกกำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 70% ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตรา 60-65% หากไม่แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะอาจจะไปแตะที่ 70% ได้ในช่วงกลางปีหน้า ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศกำหนดเพดานไว้สูงกว่า 70% โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เข้าใจว่าสูงถึง 200% 2.การออกตราสารหนี้และการดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เช่น โครงการเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ซึ่งสามารถดึงดูดบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จากต่างประเทศ และ 3.การฟื้นฟูการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (Overlapping Claims Area: OCA) เพื่อแบ่งประโยชน์จากทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่อยู่ใต้พื้นที่ทับซ้อนกว่า 20 ล้านล้านบาท โดยไม่แบ่งพื้นที่ทับซ้อน           “แก๊สเหล่านี้เป็นพลังงานไม่สะอาด หรือ Brown Energy อีก 10 ปี จะไม่มีใครอยากให้ใช้ทรัพยากรนี้ เนื่องจากผู้ใช้แก๊สในธุรกิจจะถูกกำแพงภาษี ธุรกิจส่วนใหญ่จะหันไปใช้พลังงานสะอาดอื่นๆ แทน ขณะที่แก๊สเหล่านี้มีมูลค่าถึงกว่า 20 ล้านล้านบาท สูงกว่างบประมาณแผ่นดินประเทศไทยปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 3.8 ล้านล้านบาท หากนำมาแบ่งผลประโยชน์กันเหลือมูลค่าฝ่ายละ 10 ล้านล้านบาท ประเทศไทยจะมีงบประมาณแผ่นดินเกือบ 3 ปีเลยทีเดียว แต่หากไม่รีบเจรจา ไม่รีบนำมาใช้ อนาคตก็จะไม่มีใครต้องการใช้” นายเศรษฐา ระบุ           สำหรับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายเศรษฐา กล่าวว่า อยากให้ทุกบริษัทช่วยกันประคองธุรกิจต่อไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอนาคตจะยังไม่สดใสและต้องทำงานหนัก อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีข้างหน้า ต้องบริหารกระแสเงินสดให้ดีเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจ อย่าคาดหวังว่าจะพึ่งพาเงินทุนจากการพรีเซลล์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ และอย่าคาดหวังว่าการยื่นขอ EIA และจะได้รับการอนุมัติในทุกโครงการ           นายเศรษฐา กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากร (Shift of Demographic) เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีนปัจจุบันมี 1,250 ล้านคน จะลดลงเหลือ 750 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีประชากรเพียง 66 ล้านคน ในอนาคตอีก 50 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ว่าจะเหลือจำนวนเพียง 37 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงและลดจำนวนลง จะส่งผลให้ไม่มีลูกค้ามาซื้อบ้าน ธุรกิจต่างๆ ก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนโครงสร้างประชากรนี้เช่นกัน ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันสร้างสังคมให้ดี ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ทำให้คนมั่นใจในการมีลูก รวมถึงทำให้คนรุ่นใหม่มั่นใจในอนาคต สร้างสังคมที่เท่าเทียม เปลี่ยนเทรนด์ประชากร           สำหรับงาน Real Connext 2025 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 จากที่จัดงานครั้งแรกในปี 2018 ปัจจุบันหลักสูตร The NEXT Real มีผู้สำเร็จการอบรมแล้วรวม 1,700 คน รวม 14 รุ่น โดยสัดส่วนผู้เข้ารับการอบรม 50% เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่า ส่วนสัดส่วนอีก 50% เป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง และเกี่ยวข้อง ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมรวมรุ่นผู้เข้ารับการอบรมตั้งแต่รุ่นที่ 1-14 พร้อมทั้งจัดแสดงสินค้าวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง และจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ในแวดวงธุรกิจประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2568 ณ Island Hall ชั้น 3 Fashion Island           ทั้งนี้ หลักสูตร The NEXT Real มุ่งเน้น ให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนแนวคิด และมุมมองใหม่ๆ ซึ่งมีการรวบรวมผู้บริหารในวงการอสังหาริมทรัพย์มาถ่ายทอดทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ใช้เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ ให้ก้าวพ้นจากความผิดพลาดและมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จ และมีโอกาสได้พบกับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้นแบบ เกิดความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งในไทย และต่างประเทศ ผสมผสานการเรียนรู้นวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการนำ “Experience” ชั้นเลิศ บวก “Trend” ระดับโลก สร้าง “Innovation” ใหม่ ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับการสร้าง Real Estate Ecosystem ของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ ที่เข้มแข็งและการเชื่อมต่อกันอย่างแข็งแกร่งในกลุ่มนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยส่งเสริมและต่อยอดความสำเร็จซึ่งกันและกัน ล่าสุด กำลังเปิดรับสมัครผู้เข้าอบรมรุ่นที่ 15 สอบถามได้ที่ 094-149-4466, 095-691-5422 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://thenextreal.net/ [PR News]

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

ผลประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ ณ สิ้นปี 67

ผลประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ ณ สิ้นปี 67

          ผลประกอบการบริษัทอสังหาฯมหาชนปี’67 หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แสนสิริ โกยรายได้สูงสุดเฉียด 4 หมื่นล้านบาท ศุภาลัย คว้าแชมป์กำไรเพิ่มกว่า 6 พันล้านบาท           หุ้นวิชั่น - ทยอยประกาศผลประกอบการปี 2567 ออกมากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกาศผลประกอบการของปี 2567 ออกมากันครบแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้รวมลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2567 แต่ก็มีอีกหลายบริษัทที่มีรายได้รวมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ สวนทางกับทิศทางการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รายงานว่า มูลค่ารวมของยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทั้งปี 2567 ลดลงจาก ปี 2566 ประมาณ 6.3% จากปัจจัยลบรอบด้าน ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย รวมไปถึงปัญหาของการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างลำบาก เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ส่งผลให้ การโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2567 ลดลง ทั้งในส่วนของจำนวนและมูลค่ารวม ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พยายามหา ช่องทางในการสร้างรายได้แบบต่อเนื่องตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา           นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย มองว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมในปี 2567 ลดลงคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปี 2566 แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายเช่นกันที่มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดลงจากปีก่อนหน้านี้ไม่มาก หรือลดลงประมาณ 2 – 3% เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยยังมีกำลังซื้ออยู่ในตลาดต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการรายใดจะเข้าถึงและสามารถดึงดูดให้ผู้ซื้อจองและโอนกรมสิทธิ์ได้มากกว่ากัน           สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้มากที่สุดในปี 2567 ใน 5 อันดับแรก คือ แสนสิริ มีรายได้รวมทั้งปี 2567 ประมาณ 39,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 2%  ตามมาด้วย เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้รวมประมาณ 37,460 ล้านบาท และ ศุภาลัย มีรายได้ประมาณ 31,985 ล้านบาท ส่วน แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้รวม 28,151 ล้านบาท และ พฤกษาฯ มีรายได้รวม 20,996 ล้านบาท           ทั้งนี้ใน 5 อันดับแรกนี้ ครองผู้นำตลาดที่อยู่อาศัยมาต่อเนื่องทั้งรายได้และยอดขาย โดยผู้ประกอบการบางรายอาจเคยครองตำแหน่ง อันดับที่ 1 หรือ อันดับ 2 ต่อเนื่องมายาวนาน แต่ด้วยภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงโฟกัสของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนไปมีผลต่อรายได้รวมเช่นกัน           ส่วนของกำไรสุทธิในกลุ่ม 5 อันดับแรก มีเพียง ศุภาลัย เท่านั้นที่มีผลกำไรเป็นบวกเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของปี 2566 ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ มีกำไรลดลงไม่มากหรือมีนัยสำคัญอะไรต่อผลประกอบการมากนัก โดยเฉพาะ แสนสิริ และเอพี (ไทยแลนด์) ที่ลดลง 13.3% และ17.1% ตามลำดับ เนื่องจากผลกำไรยังมีมูลค่าเกิน 5 พันล้านบาท ซึ่งกำไรที่ลดลงในปีที่ผ่านมาอาจจะชดเชยกลับมาในปี 2568 นี้ก็เป็นไปได้ แม้ว่าสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้จะยังไม่ฟื้นตัว และมีทิศทางที่ต้องจับตามองอยู่ก็ตาม           อย่างไรก็ตามในปี 2568 ผู้ประกอบการรายใหญ่มีแผนจะเปิดขายโครงการใหม่มากกว่าปี 2567 และยังคงเป็นการขับเคี่ยวกันของ 3 รายหลัก คือ เอพี (ไทยแลนด์) ที่ประกาศแผนการลงทุนมีมูลค่าโครงการวมมากถึง 65,000 ล้านบาท จากจำนวน 42 โครงการ ในขณะที่ แสนสิริ เปิดขายโครงการใหม่จำนวน 29 โครงการ เท่านั้น แต่มีมูลค่าโครงการมากถึง 52,000 ล้านบาท โดยโฟกัสไปที่กลุ่มสินค้าระดับบน-ลักชัวรีมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ และ ศุภาลัย มีโครงการเปิดขายใหม่จำนวน 36 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 46,000 ล้านบาท ด้วยแรงกดันในตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่องในปีนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเหลือ 2% แล้วก็ตาม แต่มาตรการช่วยเหลือหรือมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯจากรัฐบาลยังไม่มีความเคลื่อนไหว รวมไปถึงการที่ผู้ประกอบการทุกรายพยายามกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ชั่วคราวเพื่อให้กำลังซื้อส่วนหนึ่งกลับเข้ามาในตลาด แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ หากเป็นแบบนี้เชื่อว่าปี 2568 จะยังเป็นอีกปีที่ตลาดที่อยู่อาศัยต้องเผชิญกับความท้าทายต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา

กลุ่มอสังหาฯ บวกยกแผง เก็ง ธปท.ลดดอกเบี้ย-ลุ้นผ่อนเกณฑ์ LTV

กลุ่มอสังหาฯ บวกยกแผง เก็ง ธปท.ลดดอกเบี้ย-ลุ้นผ่อนเกณฑ์ LTV

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ช่วง 1 สัปดาห์ข้างหน้ามีโอกาสเด่น ภายใต้แรงหนุน มีโอกาสสูงขึ้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดดอกเบี้ย 25bps ในการประชุม 26 ก.พ.นี้ หลัง GDP ต่ำกว่าเป้า บวกกับการฟื้นตัวของสินเชื่อปลายปี 2567 สะดุด ธปท.รับพิจารณาผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ LTV แม้ทีมกลยุทธ์ยังคาดหวังไม่มาก แต่จะเป็นแรงส่งจิตวิทยาบวกต่อกลุ่ม ราคาหุ้นอสังหาฯ อยู่ในธีมที่ตลาดให้น้ำหนักในปัจจุบัน คือ กลุ่มปันผลสูง ซึ่งหุ้นอสังหาฯ ใกล้ถึงช่วงประกาศงบปี พร้อมจ่ายเงินปันผล, Valuation ที่ Deep Value หรือ ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของบริษัท เชิงกลยุทธ์ แนะนำนักลงทุนเลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีฐานธุรกิจมั่นคง 2-3 ปีข้างหน้า ที่ Deep Value เช่น - SIRI (Yield25F - 9.9% PER25F อยู่ที่ 5.3 เท่า อยู่ในระดับ AVG - 1.94 S.D., PBV25F อยู่ที่ 0.6 เท่า AVG - 0.58 S.D.) - AP (Yield 25F - 7.6% PER25F อยู่ที่ 4.8 เท่า อยู่ในระดับ AVG - 0.35 S.D., PBV25F อยู่ที่ 0.59 เท่า AVG - 1.2 S.D.)           ขณะที่ทางพื้นฐาน Upside ยังเปิดกว้าง SIRI ราคาเป้าหมาย 2.34 บาท, AP ราคาเป้าหมาย 10.4 บาท           เชิงเทคนิค วางกรอบเก็งกำไร SIRI แนวรับ (1.65/1.63) แนวต้าน (1.74/1.78) Stop Loss 1.6 และ AP แนวรับ (8.2/8.0) แนวต้าน (9.0/9.15) Stop Loss 7.75

10 หุ้นอสังหาฯ Q4 กำไรลด AP-SIRI สวน-ปันผลหนุน

10 หุ้นอสังหาฯ Q4 กำไรลด AP-SIRI สวน-ปันผลหนุน

          หุ้นวิชั่น - ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าประมาณการว่าบริษัทพัฒนาอสังหริมทรัพย์ 10 บริษัทที่ทำการศึกษา (AP, LH, LPN, PSH, QH, SPALI, SIRI, ANAN, ORI และ SC) จะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติในไตรมาส 4/67 ลดลงมาที่ 6.23 พันล้านบาท ลดลง 9.0% qoq และลดลง 17.5% yoy           ขณะที่คาดว่ารายได้รวมของผู้ประกอบการจะลดลง 0.1% qoq และ 11.3% yoy เป็น 4.73 หมื่นล้านบาท           กำไรที่คาดว่าจะลดลง มาจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง เพราะธนาคารใช้เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อเข้มงวด บวกกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยสูงและลูกค้าบางรายชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน           นอกจากนี้คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จากการขายอสังหาฯจะลดลงจาก 32.0% ในไตรมาส 4/66 และ 30.7% ในไตรมาส 3/67 เป็น 29.2% ในไตรมาส 4/67 เพราะผู้ประกอบการจัดโปรโมชั่นและให้ส่วนลดราคาเพิ่มเพื่อกระตุ้นยอดโอนและสร้างกระแสเงินสด โดยเชื่อว่า SIRI น่าจะมีกำไรปกติเติบโตสูงกว่าคู่แข่งที่บวก 10.8% yoy ในไตรมาส 4/67 ส่วน LH และ SC น่าจะมีกำไรปกติเติบโตสูงที่สุด qoq           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า ปี 67 กลุ่มอสังหาฯจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติลดลง 19.3% yoy เป็น 2.48 หมื่นล้านบาท หรือลดลงต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง เนื่องจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯมีรายได้และ GPM จากการ ขายอสังหาฯลดลง และดอกเบี้ยจ่ายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากำไรปกติจะกลับมาเติบโต 10% yoy ในปี 68 แต่อัตราการเติบโตจะยังต่ำกว่าปี 66 เนื่องจากยอดโอนสูงกว่า           ขณะที่คาดว่าความต้องการอสังหาฯน่าจะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 68 เนื่องจาก GPM จะยังถูกกดดันจากการระบายสต็อก จากนั้นตลาดอสังหาฯน่าจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง เมื่ออุปทานใหม่ลดลงและลูกค้ามีกำลังซื้อสูงขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย           ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA) ชี้ว่า ตลาดอสังหาฯในพื้นที่กรุงเทพฯ ชะลอตัวลงในปี 67 เห็นได้จากจำนวนยูนิตของโครงการเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ ลดลง 39.5% yoy เป็น 61,453 ยูนิต มูลค่ารวม 4.138 แสนล้านบาท ลดลง 26.1% yoy ส่วนจำนวนยูนิตที่ขายได้ในปีที่แล้วลดลง 30.5% yoy เป็น 58,779 ยูนิต เนื่องจากยอด presales ของที่อยู่อาศัยทุกประเภทอ่อนตัวลง           สำหรับปี 68 นี้ AREA คาดว่า โครงการเปิดใหม่และยอด presales ในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 10% yoy เป็น 67,598 ยูนิต และ 64,657 ยูนิต ตามลำดับ จากฐานที่ต่ำในปี 67 เนื่องจากปี 68 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวดีขึ้น, มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และอุปสงค์จากลูกค้าต่างชาติน่าจะเพิ่มขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) กลุ่มอสังหาฯ เนื่องจาก presales และกำไรจากการดำเนินงานปกติน่าจะเติบโตลดลงในปี 67-68 แต่การประเมินมูลค่าที่ P/E 6.3 เท่าในปี 68 หรือ -2SD ของ P/E ล่วงหน้าเฉลี่ยห้าปีย้อนหลัง และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 8.2% ในปี 67-68 ยังน่าสนใจ เลือก AP และ SIRI เป็นหุ้น Top pick ชอบ SIRI เพราะธุรกิจอสังหาฯ outperform คู่แข่งและมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ชอบ AP เนื่องจากน่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตแข็งแกร่งในปี 68 อีกทั้งการประเมินมูลค่ายังน่าสนใจ           อย่างไรก็ตาม กลุ่มอสังหาฯจะมี downside risk หากเศรษฐกิจมหภาคมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นและมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าคาด ส่วน upside risk จะมาจากการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV และการขยายระยะเวลาการให้เช่าที่ดินเป็น 99 ปี

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ต่างชาติแห่ลงทุนไทย หนุนพื้นที่เช่า BC รับทรัพย์

ต่างชาติแห่ลงทุนไทย หนุนพื้นที่เช่า BC รับทรัพย์

          หุ้นวิชั่น -  SCB EIC ส่องอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ โตอย่างจำกัด 1-2% ส่งสัญญาณต่างชาติต้องการพื้นที่ใหม่ หลังตบเท้าเข้าลงทุนไทยเพียบ ด้านพื้นที่ค้าปลีก คาดปี 68 โต 2.5-3.5% ด้านผู้ประกอบการธุรกิจพื้นที่สํานักงาน พื้นที่ค้าปลีกให้เช่า AWC S BC CPN J MBK PLAT SENX รับทรัพย์           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยถึง แนวโน้มอุุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ว่า ตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่าเผชิญสถานการณ์ Oversupply และความต้องการพื้นที่ฟื้นตัวอย่างจำกัด โดยคาดว่าอุปสงค์พื้นที่สำนักงานให้เช่าในปี 2024-2025 จะกลับมาฟื้นตัวได้เล็กน้อยราว +1% ถึง +2%YOY ต่อปี จากอุปสงค์ของบริษัทในประเทศที่ฟื้นตัวช้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับการทำงานรูปแบบ Hybrid workplace และ Office-based hybrid workplace ที่ยังคงกดดันให้ความต้องการพื้นที่ใหม่มีแนวโน้มทรงตัว หรือเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อย           โดยคาดว่าความต้องการพื้นที่ใหม่จะมาจากบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ ที่ทยอยกลับเข้ามาลงทุน ซึ่งมักสนใจพื้นที่ให้เช่าในโครงการขนาดใหญ่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีอยู่น้อยรายเป็นหลัก ขณะที่อุปทานใหม่ก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับที่มากกว่าอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอุปทานใหม่ในปี 2024 และ 2025 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องราว +2.5% ถึง +4.5%YOY ต่อปี ซึ่งสถานการณ์ Oversupply และอุปสงค์ที่ฟื้นตัวอย่างจำกัดยังคงกดดันให้อัตราค่าเช่าในปี 2024-2025 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง           ส่วนตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าอุปสงค์พื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในปี 2024-2025 จะขยายตัว +2.5% ถึง +3.5%YOY ต่อปี ตามการขยายตัวของอุปทานใหม่ โดยเฉพาะโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มักเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งมีศักยภาพในการดึงดูดผู้เข้าใช้บริการ (Traffic) ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติสูง ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยังคงมีความต้องการเช่าพื้นที่ค้าปลีกในโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มักเป็นโครงการขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตามอุปสงค์พื้นที่ค้าปลีกให้เช่าโดยรวมยังเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจ ซึ่งอาจทำให้การขยายตัวในระยะต่อไปยังเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญของธุรกิจค้าปลีกยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 และความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนอุปทานใหม่ในปี 2024-2025 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น +5% ถึง +8%YOY ต่อปี และคาดว่าอัตราค่าเช่าในปี 2024-2025 ยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก อยู่ที่ราว +1% ถึง +2%YOY ต่อปี           การแข่งขันในตลาดยังมีแนวโน้มกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มผู้เล่นรายใหญ่เป็นหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน และกรุงเทพฯ ชั้นกลางบางพื้นที่ ที่มีความหนาแน่นของอุปทานสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง 2) สร้างความแตกต่าง และยกระดับคุณภาพของพื้นที่ หรือโครงการ เช่น เพิ่มความหลากหลายของประเภทผู้เช่า หรือรูปแบบของพื้นที่เช่าในโครงการ ปรับปรุงพื้นที่ และการให้บริการ 3) บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้นทุนการพัฒนาโครงการ และ 4) ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน           ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งในรายงานฉบับนี้ครอบคลุมธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่า และธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง โดยผู้ประกอบการพื้นที่ให้เช่ารายใหญ่มีความได้เปรียบในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการขยายสาขา ทำให้สามารถสร้างการรับรู้ของแบรนด์ไปในวงกว้าง จึงมีความสามารถในการแข่งขันดึงดูด Traffic และความต้องการพื้นที่เช่าได้มากตามมา ทำให้การแข่งขันในตลาดกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งมีอยู่น้อยราย เช่น AWC, CPN, J, MBK, PLAT, S ขณะที่ผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กส่วนใหญ่ยังเน้นพัฒนาโครงการขนาดกลาง-เล็ก และจำเป็นต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านอื่น ๆ ทดแทน           ธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่า และธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ได้รับผลกระทบในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์, การจำกัดการเดินทางเข้า-ออกประเทศ, Work from home ไปจนถึง มาตรการ Social distancing ซึ่งส่งผลให้ความต้องการพื้นที่เช่าในช่วงเวลาดังกล่าวชะลอตัวลง และมีการทยอยยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการพื้นที่ให้เช่ารายกลาง-เล็กที่ขาดสภาพคล่องทยอยเลิกกิจการไปในปีต่อ ๆ มา           ขณะที่ผู้ประกอบการพื้นที่ให้เช่ารายใหญ่ รวมถึงผู้ประกอบการรายกลางบางส่วนที่ยังรักษากิจการไว้ได้ ส่วนใหญ่หันมาปรับลดอัตราค่าเช่า เพื่อรักษาผู้เช่าให้อยู่ในโครงการต่อไป โดยเป็นการทำสัญญาทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง ตั้งแต่ 1-3 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 บรรเทาความรุนแรงลง และผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่า และธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารายใหญ่ ซึ่งมีอยู่น้อยรายเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะโครงการของผู้ประกอบการที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงอย่าง CPN และ S ที่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในอัตราที่สูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน ส่วนโครงการของผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กยังคงเผชิญข้อจำกัดในการฟื้นตัวของธุรกิจ           ธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอย่างมาก จากการปิดกิจการของบริษัทในช่วงดังกล่าว ประกอบกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากเดิมที่เป็นการทำงานที่ออฟฟิศ มาเป็นรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid workplace หรือการสลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศและจากที่ไหนก็ได้ ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าลดลง โดยพื้นที่สำนักงานให้เช่าได้ (Occupied space) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2023 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 8.0 ล้านตารางเมตร จากระดับ 8.4 ล้านตารางเมตรในปี 2020 ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid workplace รวมถึงในปัจจุบัน ที่ปรับรูปแบบมาเป็น Office-based hybrid workplace ซึ่งกำหนดให้มีสัดส่วนจำนวนวันที่ต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศมากกว่าจำนวนวันที่ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ก็จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าในระยะต่อไป           สำหรับอุปทานใหม่ของพื้นที่สำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2020-2023 ยังขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยราว +1.0% ต่อปี ขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่สำนักงานให้เช่าได้กลับหดตัวเฉลี่ยราว -1.5% ต่อปี ทำให้เกิดสถานการณ์ Oversupply ในปัจจุบันสูงถึง 1.5 ถึง 2 ล้านตารางเมตร กดดันให้อัตราการปล่อยเช่า (Occupancy rate) ลดลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราค่าเช่าไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยอัตราค่าเช่าในภาพรวมหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020-2023 เฉลี่ย -6% ต่อปี           ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าสามารถฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ แม้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงที่มีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ที่เป็นข้อจำกัดในการออกไปจับจ่ายใช้สอย หรือรับประทาน อาหารนอกบ้าน รวมถึงการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ Traffic ชะลอตัวในระยะสั้น แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย Traffic ก็กลับมาฟื้นตัวได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าได้ (Occupied space) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2020-2021 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 7.5 ล้านตารางเมตร และทยอยเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 และ 7.9 ล้านตารางเมตรในปี 2022 และ 2023 ตามลำดับ ขณะที่อุปทานตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ายังเผชิญสถานการณ์ Oversupply ในปัจจุบันอยู่ที่ราว 3-5 แสนตารางเมตร แม้ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังต้องติดตามสถานการณ์อุปทานใหม่ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะต่อไป ทั้งนี้อัตราค่าเช่าในภาพรวมแม้จะหดตัวลง -3%YOY ในปี 2021 แต่ในปี 2022-2023 สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เฉลี่ย 4% ต่อปี           ธุรกิจพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 และ 2025 ยังเผชิญแรงกดดันจากความต้องการพื้นที่เช่าที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าที่ควร SCB EIC คาดว่าพื้นที่สำนักงานให้เช่าได้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024-2025 จะกลับมาฟื้นตัวได้เพียงเล็กน้อยราว +1% ถึง +2%YOY ต่อปี มาอยู่ที่ระดับราว 8.1-8.3 ล้านตารางเมตร หลังจากหดตัว -4%YOY ในปี 2023 เนื่องจากความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าใหม่ที่ยังมีแนวโน้มไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะจากบริษัทในประเทศที่ฟื้นตัวช้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับการทำงานรูปแบบ Hybrid workplace และ Office-based hybrid workplace ที่ยังคงกดดันให้ความต้องการพื้นที่ใหม่ของทั้งบริษัทในประเทศและบริษัทต่างชาติยังมีแนวโน้มทรงตัว หรือเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อย โดยคาดว่าความต้องการพื้นที่ใหม่จะมาจากบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ทยอยกลับเข้ามาลงทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ความต้องการพื้นที่ใหม่จากบริษัทต่างชาติยังเผชิญความท้าทาย จากการแข่งขันดึงดูดการลงทุนที่เข้มข้นจากประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN โดยตัวเลขเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Inflow FDI) ของไทยในช่วงปี 2021-2023 เฉลี่ยอยู่ที่ปีละราว 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าของอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ปีละราว 4.3-6.8 หมื่นล้านบาทต่อปี           ทั้งนี้บริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ส่วนใหญ่สนใจทำเลใจกลางเมือง หรือไม่ไกลจากใจกลางเมืองมากนัก และนิยมพื้นที่ให้เช่ามาตรฐานสูงเกรด A และ A+ เป็นหลัก ซึ่งมักเป็นโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่บางราย เช่น AWC และ S           สำหรับความต้องการพื้นที่จากบริษัทในประเทศส่วนใหญ่คาดว่ายังมาจากการย้ายสำนักงาน ซึ่งมีทั้งการย้ายเข้าสู่พื้นที่ใหม่ในทำเลใจกลางเมืองของบริษัทขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ และการย้ายออกจากทำเลใจกลางเมืองเพื่อลดค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่ลงของบริษัทขนาดกลาง-ขนาดเล็ก รวมถึงบริษัทที่ยังคงรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid workplace หรือ Work from anywhere           ทั้งนี้ยังต้องติดตามแนวทางการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่า และอาจส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าในระยะต่อไป โดยเฉพาะจากบริษัทข้ามชาติ ยังมีความไม่แน่นอนสูง เช่น บริษัทข้ามชาติอาจชะลอแผนการลงทุนในบางอุตสาหกรรมเพื่อรอความชัดเจนของนโยบาย           รวมถึงการลงทุนจากสหรัฐฯ ในไทยที่อาจมีความเสี่ยงชะลอตัวจากนโยบาย America First ที่จะทำให้มีการโยกย้ายการลงทุนหรือฐานการผลิตกลับไปสหรัฐฯ และส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าของบริษัทข้ามชาติลดลง อย่างไรก็ดี ในระยะข้างหน้า อาจมีโอกาสของการลงทุนย้ายฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติออกจากประเทศที่ถูกตั้งกำแพงภาษีสูง โดยเฉพาะจีน ที่อาจย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทยมากขึ้น และส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่าจากบริษัทในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นเช่นกัน           ในด้านอุปทานตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังมีแนวโน้มเผชิญสถานการณ์ Oversupply จากอุปทานใหม่ที่ยังเพิ่มขึ้นในระดับที่มากกว่าอุปสงค์อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอุปทานใหม่ในปี 2024 และ 2025 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องราว +2.5% ถึง +4.5%YOY ต่อปี มาอยู่ที่ระดับราว 10.1-10.4 ล้านตารางเมตร โดยเฉพาะจากโครงการขนาดใหญ่เกรด A และ A+ ทำเลใจกลางเมือง ซึ่งแม้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มชะลอแผนการเปิดโครงการใหม่ออกไปมากขึ้น แต่คาดว่าจะยังไม่สามารถทำให้สถานการณ์ Oversupply คลี่คลายลงได้ในระยะสั้น จากอุปทานสะสมเดิมที่อยู่ในระดับสูง จึงต้องติดตามสถานการณ์ Oversupply ต่อไป ทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง           จากแนวโน้มความต้องการพื้นที่เช่าที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าที่ควร และมีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับอุปทานใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่ายังมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ประกอบการรายกลางและเล็กจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ด้านราคามากขึ้น ขณะที่อัตราค่าเช่าของผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีอยู่น้อยรายมีแนวโน้มทรงตัวหรือขยายตัวเล็กน้อย กดดันอัตราค่าเช่าในภาพรวมของปี 2024-2025 ให้ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องราว -2% ถึง -4%YOY ต่อปี           ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024-2025 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการเพิ่มขึ้นของอุปทานใหม่ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ กำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่อง SCB EIC คาดว่าพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าได้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2024 และ 2025 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในปี 2023 ราว +2.5% ถึง +3.5%YOY ต่อปี มาอยู่ที่ระดับราว 8.1-8.4 ล้านตารางเมตร โดยความต้องการพื้นที่ใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุปทานใหม่เป็นหลัก โดยเฉพาะโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่าง CPN, MBK, บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด หรือกลุ่มบริษัทในเครือ เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป ที่มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถดึงดูดผู้เช่าที่           มีคุณภาพสูง และมีการบริหารจัดการความหลากหลายของประเภทผู้เช่าได้เป็นอย่างดี จึงมีศักยภาพในการดึงดูด Traffic ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างต่อเนื่อง โดยกำลังซื้อในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยังเป็นปัจจัยหนุนให้เกิด Traffic และดึงดูดผู้เช่าเข้าสู่พื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ในโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่กลุ่มดังกล่าว           อย่างไรก็ตาม ความต้องการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ายังเผชิญความเสี่ยงที่ทำให้อัตราการขยายตัวในระยะต่อไปยังเป็นไปอย่างจำกัด ได้แก่ 1) เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า กดดันการฟื้นตัวของกำลังซื้อของผู้บริโภคทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง-ล่าง 2) การกลับมาและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 และ 3) ความเสี่ยงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจกดดันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว           ในด้านอุปทาน ตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังมีแนวโน้มเผชิญสถานการณ์ Oversupply จากอุปทานใหม่ที่ยังเพิ่มขึ้นในระดับที่มากกว่าอุปสงค์ โดยอุปทานใหม่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกราว +5% ถึง +8%YOY ต่อปี หรือกว่า 6-7 แสนตารางเมตรในช่วงปี 2024-2025 ยังคงทำให้สถานการณ์ Oversupply ไม่สามารถคลี่คลายลงได้ในระยะสั้น ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราค่าเช่าในปี 2024-2025 ยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนักเพียงราว +1% ถึง +2%YOY ต่อปี โดยมาจากการปรับขึ้นอัตราค่าเช่าโครงการขนาดใหญ่ของผู้เล่นรายใหญ่ในพื้นที่ใจกลางเมือง และกรุงเทพฯ ชั้นกลางที่ Traffic ยังหนาแน่นเป็นหลัก    ขณะที่อัตราค่าเช่าของโครงการในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ ในภาพรวมยังมีแนวโน้มทรงตัว จากความต้องการพื้นที่เช่า และต้นทุนการประกอบธุรกิจที่ต่ำกว่าในพื้นที่ใจกลางเมือง และกรุงเทพฯ ชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเช่าในโครงการขนาดใหญ่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ อาจมีแนวโน้มขยายตัวได้เล็กน้อย จากความต้องการพื้นที่เช่าที่สูงกว่าโครงการของผู้ประกอบการรายอื่น ๆ           ในระยะต่อไป การแข่งขันในตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่า และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังมีแนวโน้มกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มผู้เล่นรายใหญ่เป็นหลัก โดยอุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางอุปสงค์ที่ยังมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การแข่งขันยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน และกรุงเทพฯ ชั้นกลางบางพื้นที่ ที่มีความหนาแน่นของอุปทานสูง           ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารายใหญ่ ซึ่งมีจำนวนน้อยราย ยังคงความได้เปรียบในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือโครงการที่มีขนาดลดลงมาตามความเหมาะสมของพื้นที่ ประกอบกับจุดแข็งด้านแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก ทำให้ยังสามารถดึงดูด Traffic และความต้องการพื้นที่เช่าได้มาก ทำให้ผลประกอบการของผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารายใหญ่ยังมีแนวโน้มขยายตัว ส่วนผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกขนาดรองลงมายิ่งจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่ผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่ารายใหญ่ซึ่งมีอยู่น้อยราย ยังมีแนวโน้มเผชิญสถานการณ์ความต้องการพื้นที่เช่ามีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และมีอยู่จำกัด ประกอบกับสถานการณ์ Oversupply ที่กดดันจากทั้งอุปทานใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่คุณภาพสูงเกรด A และ A+ ด้วยกันเอง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอุปทานเดิมที่ยังไม่สามารถปล่อยเช่าพื้นที่ได้ ทั้งที่เป็นโครงการขนาดใหญ่คุณภาพสูง และโครงการที่มีขนาดเล็กหรือมีคุณภาพต่ำกว่าซึ่งมีอัตราค่าเช่าที่ต่ำกว่า ทำให้ผลประกอบการยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างจำกัด และจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับปัจจัยกดดันรอบด้าน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการพื้นที่สำนักงานให้เช่าขนาดรองลงมาที่ยิ่งจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาผลประกอบการ โดย SCB EIC มองว่า กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดพื้นที่สำนักงานให้เช่า และพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าควรเน้นให้ความสำคัญในระยะข้างหน้า ได้แก่ พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง : โดยหลีกเลี่ยงการพัฒนาโครงการในทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือทำเลที่มีสถานการณ์ Oversupply รุนแรง เช่น พื้นที่ใจกลางเมือง พื้นที่สุขุมวิทตอนกลาง-ตอนปลาย พื้นที่รัชดาฯ-ลาดพร้าว เป็นต้น โดยเฉพาะโครงการพื้นที่สำนักงานให้เช่า รวมถึงโครงการ Mixed-use หรือโครงการขนาดใหญ่ ที่มีสัดส่วนของพื้นที่สำนักงานให้เช่าสูง ที่ต้องให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ สร้างความแตกต่าง และยกระดับคุณภาพของพื้นที่ หรือโครงการ : ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกและพื้นที่สำนักงานให้เช่า อาจสร้างความแตกต่างของพื้นที่ โดยการเพิ่มความหลากหลายของประเภทผู้เช่าหรือรูปแบบของพื้นที่เช่าในโครงการเพื่อดึงดูด Traffic เช่น การผสมผสานพื้นที่ Supermarket ร้านค้า หรือพื้นที่สำนักงานให้เช่า เข้ากับโรงแรม ร้านอาหาร บริการทางการแพทย์ Wellness center พื้นที่สำหรับการพักผ่อนหรือสันทนาการ พื้นที่สำหรับการศึกษาเรียนรู้สาธารณะ ไปจนถึงพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังรวมถึงการยกระดับหรือปรับปรุงคุณภาพของพื้นที่ หรือโครงการและอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านการลดอัตราค่าเช่า เช่น การปรับปรุงพื้นที่ (Renovation) ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เลือกใช้บริษัทบริหารและจัดการอาคารที่มีมาตรฐาน มีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม มีการออกแบบโดยคำนึงถึงการจัดการเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร : ทั้งด้านต้นทุนการพัฒนาโครงการ โดยการนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้างหรือลดการใช้แรงงาน เช่น BIM (Building Information Modeling), Smart construction, เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นต้น การสร้างความร่วมมือกับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain รวมถึงด้านต้นทุนการดำเนินงาน โดยการใช้เทคโนโลยีหรือติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เช่น Solar cell, อุปกรณ์การใช้น้ำระบบ Eco power และ EV charger รวมถึงการออกแบบพื้นที่โดยคำนึงถึงการใช้แสงจากธรรมชาติ ทิศทางลม เป็นต้น ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG : โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยการพัฒนาโครงการใหม่ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มักผ่านการรับรองมาตรฐานอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เช่น Leadership in Energy and Environmental Design (LEED), Global Real Estate Sustainability Benchmark (GRESB), WELL Building Standard และมาตรฐานอาคารเขียว TREES สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการที่คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโครงการมากขึ้น และมีผลต่อการตัดสินใจเช่าพื้นที่ รวมถึงส่งผลต่อความสามารถในการปรับขึ้นของอัตราค่าเช่าตามมา           สำหรับผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยนอกจากการพัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง และการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้างความแตกต่างของโครงการ เช่น มีรูปแบบการทำสัญญาเช่าพื้นที่ที่ยืดหยุ่น เน้นเจาะกลุ่มผู้เช่าพื้นที่เฉพาะกลุ่ม อย่างพื้นที่สำนักงานให้เช่าขนาดกลาง-เล็กที่เจาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าขนาดกลาง-เล็กที่เจาะกลุ่มผู้เช่าพื้นที่ที่สอดคล้องไปกับศักยภาพของทำเลนั้น ๆ เช่น ผู้ค้า Street food ในทำเลที่มีนักท่องเที่ยวสูง

ผ่า 10 หุ้น อสังหาริมทรัพย์ กำไร Q3 อ่อนตัวแต่ Q4 ฟื้น

ผ่า 10 หุ้น อสังหาริมทรัพย์ กำไร Q3 อ่อนตัวแต่ Q4 ฟื้น

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าได้ประมาณการบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 10 แห่งที่ทำการศึกษา ได้แก่ AP, LH, LPN, PSH, QH, SPALI, SIRI, ANAN, ORI และ SC โดยคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติรวม 7.03 พันล้านบาทในไตรมาส 3/67 เพิ่มขึ้น 9.1% qoq แต่ลดลง 3.0% yoy           กำไรที่คาดเติบโต qoq เพราะรายได้จากการขายคอนโดมิเนียมและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมทุน (JV) เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรที่ลดลง yoy น่าจะมีสาเหตุจากยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบ และ GPM จากการขาย อสังหาฯที่ลดลง รวมถึง SG&A ที่สูงขึ้น           ทั้งนี้ ประมาณการว่าในไตรมาส 3/67 รายได้จากการขายที่อยู่อาศัยแนวราบจะลดลง 1.1% qoq และ 2.4% yoy เป็น 3.338 หมื่นล้านบาท เพราะยอด presales อ่อนตัวลง ขณะที่รายได้จากการขายคอนโดมิเนียม น่าจะเพิ่มขึ้น 21.5% qoq และ 4.4% yoy เป็น 1.35 หมื่นล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ backlog และขายสต็อกพร้อมอยู่ (RTM) ได้เพิ่มขึ้น           เชื่อว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) เฉลี่ยจากการขายอสังหาฯ จะลดลงมาที่ 30.7% ในไตรมาส 3/67 จาก 31.0% และ 31.1% ในไตรมาส 3/66 และไตรมาส 2/67 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการจัดโปรโมชั่นและให้ส่วนลดราคาเพิ่มเพื่อกระตุ้นยอดโอน โดยคาดว่า AP, PSH, SPALI, ANAN และ SC จะมีกำไรปกติในไตรมาส 3/67 เติบโต qoq และ SPALI น่าจะ outperform คู่แข่งด้วยอัตราการเติบโต 17% qoq และ 57.1% yoy           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า กลุ่มอสังหาฯน่าจะมีกำไรปกติลดลง 18.4% yoy เป็น 1.878 หมื่นล้านบาทในงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ หรือคิดเป็น 63.7% ของ ประมาณการในปี 67 โดยคาดว่ารายได้จากธุรกิจอสังหาฯ จะลดลง 3% yoy เป็น 1.32 แสนล้านบาท เพราะผลกระทบจากอุปสงค์ที่อ่อนตัว, อัตราดอกเบี้ยสูง, การปฏิเสธให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น และการที่ลูกค้าบางรายชะลอการตัดสินใจซื้อ ส่วน GPM เฉลี่ยจากการขายอสังหาฯน่าจะลดลงมาอยู่ที่ 31.4% เทียบกับ 32.4% งวด 9 เดือนของปี 66           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า กำไรสุทธิของกลุ่มอสังหาฯจะดีขึ้นในไตรมาส 4/67 จากยอดโอนกรรมสิทธิ์ backlog เพิ่มขึ้น, presales ที่อยู่อาศัยแนวราบ และการขายสต็อก RTM ก่อนที่มาตรการลดค่าโอนและค่าจดจำนองสำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เหลือ 0.01% จะครบกำหนดวันที่ 31 ธ.ค.67 ขณะเดียวกันคาดว่าไตรมาส 4/67 จะเป็นไตรมาสที่ AP, LH, PSH, SPALI, SIRI, ORI, และ SC ทำกำไรสูงสุดในปีนี้ และคาดกลุ่มอสังหาฯจะมีกำไรปกติต่อหุ้นลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่สองอีก -4.9% yoy ในปีนี้           ยังแนะนำคงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) กลุ่มอสังหาฯ เพราะมองว่ายอด presales และกำไรปกติปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัว แต่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 6.7-7.2% ในปี 67-68 ยังน่าสนใจ ปัจจุบันกลุ่มอสังหาฯประเมินมูลค่าอยู่ที่ P/E 7.4 เท่าในปี 68 หรือ-1.5SD ของ P/E ล่วงหน้าเฉลี่ยย้อนหลัง ส่วนหุ้น Top pick ได้แก่ AP, SIRI และ SPALI โดยชอบ SIRI เพราะธุรกิจอสังหาฯ outperform คู่แข่งและอัตราผลตอบแทนสูง ขณะที่ชอบ AP และ SPALI เพราะกำไรสุทธิมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งช่วงครึ่งหลังปีนี้ และการประเมินมูลค่าน่าสนใจ           อย่างไรก็ตาม กลุ่มอสังหาฯจะมี downside risk จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมหภาคและการปรับลดดอกเบี้ยช้ากว่าคาด ส่วน upside risk จะมาจากการผ่อนคลาย LTV และการขยายเวลาสัญญาเช่าที่ดิน (leasehold) เป็น 99 ปี

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011