ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#หุ้นอสังหา


อสังหาฯ ไม่รอด กอดคอร่วงหนัก หลายบ.เร่งสร้างเชื่อมั่น

อสังหาฯ ไม่รอด กอดคอร่วงหนัก หลายบ.เร่งสร้างเชื่อมั่น

               หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คาดส่งผลกระทบต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียม ซึ่งโครงการที่มีสัดส่วนคอนโดฯ มากที่สุด ได้แก่ ASW (90%), ANAN (87%), LPN (81%), ORI (71%) และ NOBLE (66%) ส่วนในแง่สต็อกคอนโดมิเนียม ORI มีสต็อกสูงสุด 4.1 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือ SPALI, ANAN, SIRI และ NOBLE สำหรับกลุ่มที่มีสัดส่วนคอนโดน้อย รายได้ส่วนใหญ่เป็นบ้านแนวราบ ได้แก่ LH, QH, SC *ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์เร่งสร้างเชื่อมั่นลูกค้า – นักลงทุน *ORI บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 บริษัทได้จัดตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกและเร่งดำเนินการตรวจสอบความแข็งแรงของอาคารในโครงการคอนโดมิเนียมกว่า 80 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีทีมวิศวกรกว่า 600–700 ราย เข้าตรวจสอบอาคารอย่างเร่งด่วน ผลการตรวจสอบเบื้องต้นยืนยันว่า โครงการทั้งหมดของออริจิ้นยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงและปลอดภัยทุกอาคาร อาทิ โครงการ พาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ ที่ได้รับการตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและยืนยันว่าโครงสร้างผ่านมาตรฐานความปลอดภัย แต่คาดว่าจะตรวจสอบทุกอย่างละเอียดภายในวันจันทร์นี้ ทั้งนี้ บริษัทได้เลือกใช้ ผู้รับเหมาชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง เช่น บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท Bouygues Construction จากประเทศฝรั่งเศส, บริษัท สี่พระยาก่อสร้าง จำกัด และบริษัทรับเหมาก่อสร้างชั้นนำอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารทุกแห่งได้มาตรฐานวิศวกรรม นายพีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ORI กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทยังคงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568 มีลูกค้ายืนยันการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมกว่า 80–100 ยูนิต ขณะที่บางส่วนขอตรวจสอบห้องเพิ่มเติมก่อนโอนภายในสัปดาห์นี้ ปัจจุบัน ORI มีมูลค่างานในมือ (Backlog) กว่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยโอนต่อเนื่องในช่วง 4 ปีข้างหน้า สำหรับแนวโน้มความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้น บริษัทประเมินว่าอาจเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงบางส่วน จากคอนโดมิเนียมไปสู่โครงการแนวราบคล้ายเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีต แต่บริษัทมีการพัฒนาโครงการทั้งแนวราบและแนวสูงพร้อมรองรับทุกความต้องการ โดยปัจจุบันมีโครงการพร้อมโอนมูลค่ากว่า 3,000–4,000 ล้านบาท ซึ่ง บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) หรือ BRI จะได้รับอานิสงส์ในช่วงนี้ นอกจากนี้ บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือออริจิ้น ได้รับงานเข้ามาจำนวนมากจากบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารนิติบุคคล, บริการแม่บ้าน, การจัดการห้องพัก, นายหน้า และการตรวจสอบระบบอาคาร ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมากในช่วงนี้   “เรายืนยันว่าทุกโครงการของออริจิ้นปลอดภัย และทุกแผนธุรกิจยังคงเดินหน้าตามปกติ พร้อมตั้งศูนย์ช่วยเหลือประสานงานเคลมประกันเพื่อดูแลลูกค้าอย่างเต็มที่” นายพีระพงศ์กล่าว   *SENA ดร.ยุ้ย – เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า เสนายึดมั่นในการพัฒนาโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมุ่งเน้นความ ปลอดภัยสูงสุดในทุกโครงการมาโดยตลอด โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารให้สามารถรองรับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาโครงสร้างให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนที่สูงเกินมาตรฐานสากล รวมถึงเสริมความแข็งแกร่งในการรับมือกับภัยพิบัติประเภทอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา บริษัทได้จัดทีมวิศวกรลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโครงสร้างอาคารสูงทุกโครงการอย่างเร่งด่วน โดยกระบวนการตรวจสอบแล้วเสร็จภายในเวลา 23.00 น. ของวันเดียวกัน ซึ่งเสนาให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของลูกบ้านทุกโครงการภายใต้มาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูโครงการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เสนาได้นำแนวทางการรับมือภัยพิบัติตามแนวคิด Geo fit+ ของบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของเสนา มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้การรับมือครั้งนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 เฟส ดังนี้ การตรวจสอบและสื่อสารเชิงรุกเพื่อสร้างความมั่นใจ – ทีมผู้บริหารและวิศวกรของเสนา ลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบอนุญาตพิเศษ (Licensed Experts) เพื่อตรวจสอบโครงสร้างอาคารและประเมินความปลอดภัยของโครงการ – เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมแจ้งข้อมูลอัปเดตผ่าน Social Media,Website และ Line OA เพื่อให้ลูกบ้านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว – เปิดช่องทาง Hotline และ Line OA เพื่อให้ลูกบ้านสามารถแจ้งปัญหาฉุกเฉินได้อย่างสะดวกและทันที การแก้ไขและให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน – ทีมนิติบุคคลจากเซ็นเอกซ์ (SenX Property Management) พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่มีทรัพย์สินเสียหาย โดยด าเนินการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและ ทั่วถึง – ดำเนินการซ่อมแซมและฟื้นฟูโครงการ โดยตรวจสอบความเสียหายอย่างละเอียด และร่วมมือกับพันธมิตรของเสนา เช่น ผู้รับเหมาและบริษัทประกัน เพื่อให้การฟื้นฟูดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมระยะยาวเพื่ออนาคตที่ปลอดภัย – ตรวจสอบและพัฒนาการออกแบบโครงการให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนและภัยพิบัติได้สูงเกินระดับมาตรฐานสากลให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นคงของอาคารและความปลอดภัยของลูกบ้านในระยะยาว – ปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน (Workflow) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินและเพิ่มขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือลูกบ้าน – สนับสนุนการจัดอบรมด้านการรับมือภัยพิบัติให้กับลูกบ้าน ชุมชน และพนักงานของเสนา เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้เสนายังให้การสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนโดยรอบ โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉิน และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงให้ความรู้ด้านการรับมือภัยพิบัติผ่าน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมของทุกภาคส่วนและสร้างความมั่นใจให้กับลูกบ้านและสังคม เสนายังคงยืนหยัดในการให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยของลูกบ้าน และเพื่อให้ทุกท่านมั่นใจในการอยู่อาศัยภายใต้การดูแลของเรา                 *SPALI บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการตรวจสอบอาคารสูงทุกโครงการ จำนวน 90 โครงการทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย พร้อมขอแสดงความห่วงใยต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น โดยสรุปผลการตรวจสอบพบว่า โครงการส่วนใหญ่ไม่มีความเสียหายที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร จึงมีความปลอดภัยและแข็งแรงต่อการอยู่อาศัย แต่มีความเสียหายในด้านสถาปัตย์ (ความสวยงาม) ของอาคารตั้งแต่น้อยไปจนถึงปานกลางในเกือบทุกโครงการ บางโครงการมีความเสี่ยงที่การแตกร้าวของงานสถาปัตย์ภายนอกบางส่วนอาจตกหล่นและก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ ลิฟต์โดยสารบางโครงการ บางตัวยังไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานให้บริษัทลิฟท์โดยสารเข้ามาแก้ไขโดยด่วน บางโครงการพบว่าบางส่วนของสระว่ายน้ำมีความเสียหาย ซึ่งอยู่ในระดับที่ซ่อมแซมได้ บริษัทพบว่ามีบางโครงการที่มีความเสียหายในลักษณะที่ต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมโดยละเอียดอีกบางจุด โดยบริษัทจะดำเนินการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้าสำรวจในจุดดังกล่าวต่อไปโดยเร็ว และหากได้รับการวินิจฉัยว่าจุดดังกล่าวจำเป็นที่จะได้รับการซ่อมแซม บริษัทจะรีบดำเนินการประสานงานกับนิติบุคคลของโครงการนั้นๆ เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ บริษัทจะจัดทำรายงานผลการเข้าตรวจของแต่ละโครงการเพื่อแจ้งให้นิติบุคคลของแต่ละโครงการทราบต่อไป *ANAN บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ANAN) ได้ดำเนินการ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารอย่างละเอียดและรอบคอบ ในโครงการต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของลูกบ้านทุกท่าน โดยขณะนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วทั้งสิ้น 52 โครงการ แบ่งเป็น โครงการคอนโดมิเนียม 26 โครงการ โครงการบ้านและทาวน์โฮม 26 โครงการ ผลการตรวจสอบพบว่า โครงสร้างอาคารมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ในบางจุดซึ่งเป็น ส่วนของงานตกแต่ง อาทิ ฝ้า ผนัง หรือวัสดุปิดผิว อาจมีความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน ซึ่งบริษัทฯ ได้เร่งดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุด อนันดาขอยืนยันความมุ่งมั่นในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และจะดำเนินการตรวจสอบทุกขั้นตอน ด้วยความรอบคอบ ถูกต้อง และใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อให้ลูกบ้านทุกท่านอุ่นใจได้ว่า ทุกโครงการของอนันดาได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

คัด 9 หุ้น คาดรับอานิสงส์แผ่นดินไหว เช็กด่วน!

คัด 9 หุ้น คาดรับอานิสงส์แผ่นดินไหว เช็กด่วน!

                หุ้นวิชั่น - บล.แลนด์แอนด์เฮาส์ เปิดกลยุทธ์การลงทุน โดยประเมินดัชนีมีแนวโน้มปรับตัวลงจากแรงกดดันของเงินเฟ้อสหรัฐฯที่เร่งตัวขึ้และจากเหตุการณ์ แผ่นดินไหวในเมียนมา แม้ผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะจำกัด แต่คาดว่าจะส่งผลเชิงลบระยะสั้นต่อกลุ่มอสังหาฯที่เน้นโครงการคอนโด, กลุ่มท่องเที่ยว, กลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้จากพม่า, และกลุ่มประกันภัย อย่างไรก็ตาม กลุ่มวัสดุก่อสร้าง, กลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มรับเหมาฯบางราย อาจได้รับอานิสงส์เชิงบวก ทั้งนี้ SETI/SET50I ยังปิ ดต ่ากว่าระดับ 1,198/761 จุด ทำให้โมเมนตัมระยะสั้นเป็นลบ ในเชิงกลยุทธ์ ระบบแนะนำคำน้ำหนักหุ้นที่ 55% รอสัญญาณการกลับตัวของดัชนี Recovery Play หุ้นที่ได้อานิสงส์บวกได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC, SCCC, SCGD, TOA กลุ่มค้าปลีกวัสดุ ก่อสร้าง HMPRO, DOHOME, GLOBAL กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง CK, STECON

เช็กด่วน! หุ้นแบกสต๊อกคอนโด

เช็กด่วน! หุ้นแบกสต๊อกคอนโด

         หุ้นวิชั่น - เหตุการณ์แผ่นดินไหวกระทบหุ้นอะไรบ้าง แน่นอนตามกระแสข่าว ผู้ได้รับความเดือนร้อนมากสุด คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาคารสูง โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียม ดังนั้น หุ้นอสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดมิเนียม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องได้รับผลกระทบ เพราะนั่นคือ ข้อเท็จจริง          ศูนย์กลางแผ่นดินไหวระดับ 8.2 จากประเทศพม่า ขยายผลการรับรู้เกือบทุกพื้นที่ทั่วถึงประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยเพราะการสั่นไหวรอบกินเวลาที่นานขึ้นนับเป็นนาที ทำให้ธุรกิจที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ เพราะใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว          ไม่ต่างอะไรกับพื้นที่ใน กทม. ด้วยฐานรากที่เป็นพื้นดินอ่อน จึงได้รับแรงสะเทือนได้อย่างชัดเจน ตึกสูง คอนโดระย้าฟ้า สั่นไหวโยกไปมา น้ำจากสระน้ำของตึกสูงไหลรากลงมาสู่พื้นดิน ดั่งน้ำตก เป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย          ภาพที่ได้เห็นที่แชร์ ในโลกออนไลน์ ตึกถล่ม ตึกมีรอยร้าว ในพื้นที่ กทม. ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า โครงสร้างอาคารในประเทศไทย ยังไม่ได้รองรับเหตุแผ่นดินไหวเท่าที่ควร ดังนั้น สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องตรวจสอบ โดยเฉพาะอาคารที่สร้างก่อนปี 2550          หุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่มีรายได้จากธุรกิจคอนโดมิเนียม ย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้แน่นอน มาดูกันว่าเบื้องต้น มีหุ้นอะไรบ้าง          ข้อมูลจากบทวิเคราะห์ของ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มี สต๊อกคอนโดมิเนียม สร้างเสร็จพร้อมโอนในอัตราที่สูง ประกอบด้วย 4 บริษัทได้แก่ SPALI ,ORI,AP, และANAN ทั้งหมดมีเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาท          ขณะที่ กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่มีแผนออกคอนโดมิเนียมใหม่ ในปี 2568 อาทิเช่น ORI,AP,SIRI,ASW,NOBLE,SPALI,PSH และ ANAN เป็นต้น          ล่าสุด บริษัท เอพี ไทยแลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP ในปี2567 พบว่า มีโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งสิ้น 5 โครงการ มูลค่า 9,850 ล้านบาท อีกทั้งมีโครงการในมือมากกว่า 180 โครงการ และในปี 2568 มีแผนเปิดตัวโครงการมูลค่าราว 65,000 ล้านบาท          ส่วนหุ้นกลุ่มโรงแรมที่เป็นตึกสูง ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย มีข่าวแพร่กระจายไปทั่วโลก ล่าสุดนายกสมาคมโรงแรมไทยมองว่า จะมีนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองห้องพัก ประมาณ 8-10 % ของการจองทั้งหมด แต่เชื่อว่าเป็นผลกระทบระยะสั้น จากการตื่นตระหนกของนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคารที่พักแรม          กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย บล. พาย วิเคราะห์ว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวยังค่อนข้างจำกัดต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อยก็ยังไม่ได้เห็นอาคารสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพพังถลายลงมาก อาจมีบ้างเช่นสำนักการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แต่ส่วนที่เหลือยังค่อนข้างปกติ แต่คอนโดต่างๆเผชิญกับปัญหารอยแตกร้าวและเสียความเชื่อมั่นจากผู้อาศัย ซึ่งจะกระทบกับอุปสงค์ในอนาคต โดยเฉพาะหุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่มีคอนโดเป็นสัดส่วนรายได้ที่เยอะ            จากข้อมูลพบว่ามูลค่าเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 18 ล้านล้านบาท โดยที่ตลาดอสังหามูลค่าอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท ก็อาจพอคำนวนคร่าวๆได้ว่าคิดเป็น 6% ของ GDP หากพิจารณาในเบื้องต้นก็อาจสร้าง Downside ต่อเศรษฐกิจมิได้มากนัก          กลุ่มท่องเที่ยวก็มองเป็นจิตวิทยาเชิงลบและมีผลต่อเศรษฐกิจไทย ด้วยเดิมทีความน่าสนใจของประเทศไทยถูกลดเสน่ห์ลงไปบ้างสะท้อนผ่านการมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่น้อยลง YTD ขยายตัวเพียง 3% จากปีก่อน 15% และนักท่องเที่ยวจีนกลับเดินทางไปญี่ปุ่นมากกว่าระดับก่อน COVID-19 สวนทางกับไทยที่ยังต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 เมื่อประกอบกับแผ่นดินไหว อาจทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการมาท่องเที่ยวไทย อย่างไรก็ตามหากเหตุการณ์แผ่นดินไหวมิได้เกิดขึ้นอีก ก็เชื่อว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่การจะเติบโตข้างหน้าเป็นอีกปัจจัย          ดังนั้น การลงทุนกลุ่มได้ประโยชน์อาจมองไปที่ หุ้นค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับซ่อมแซมบ้าน (HMPRO GLOBAL DOHOME) ปูน (SCCC) รวมไปถึงกลุ่มที่ผลกระทบจำกัดอย่างโรงพยาบาล (BDMS) สื่อสาร (ADVANC- TRUE) และควรระมัดระวังในหุ้นอสังหา (ผลกระทบหนักสุด) การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง และทีมงานหุ้นวิชั่น

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

โผ “หุ้นอสังหาฯ” รับอานิสงส์ปลดล็อก LTV

            หุ้นวิชั่น - บล.อเซียพลัส จับตาประเด็นจากวานนี้ ธปท ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) เป็นการชั่วคราว ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการผ่อนคลายเกณฑ์ข้างต้น ย่อมส่งผลดีต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งนี้ ประเมินกลุ่มบริษัทที่ได้ประโยชน์มากสุด ได้แก่ 1) กลุ่มบริษัทที่มี BACKLOG (รวม JV) ระดับสูง ได้แก่ AP, ORI, NOBLE, ASW, SC, SIRI และ SPALI เป็นต้น 2) กลุ่มที่มีสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จพร้อมโอนฯสูง ได้แก่ SPALI, ORI, AP และ ANAN ทั้งหมดมีเกินระดับ 1 หมื่นล้านบาท และ3) กลุ่มที่มีแผนโอนคอนโดฯ ใหม่ปีนี้ เช่น ORI, AP, SIRI,ASW, NOBLE , SPALI, PSH และ ANAN เป็นต้น

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

หวังรัฐกระตุ้นอสังหาฯ คัด 4 หุ้นเด่น - เช็ก!

หวังรัฐกระตุ้นอสังหาฯ คัด 4 หุ้นเด่น - เช็ก!

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง Property Sector Event ผลประกอบการ 4Q67 และปี 2567 และแนวโน้มปี 2568F Impact ผลประกอบการ 4Q67 และปี 2567 ย่ำแย่            กำไรรวม 4Q67 ของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เราศึกษาอยู่ลดลง 26% YoY แต่เพิ่ม 5% QoQ อยู่ที่ 5.66 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากตัดกำไรจากการขายเงินลงทุนที่ 1.6 พันล้านบาทจากการขายศูนย์การค้า Terminal 21 พัทยาของ Land and Houses (LH.BK/LH TB) ออกแล้ว กำไรจากธุรกิจหลักรวมจะแย่ลงมาก 25% QoQ เหลือเพียง 4.1 พันล้านบาท ขณะที่รายได้รวม 4Q67 ลดลงราว 5-6% YoY และ QoQ แต่ gross margins ลดลงเพียง 1-2ppts ค่าใช้จ่ายต่างๆ และต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น รวมทั้งรายการขาดทุนพิเศษบางส่วนกดดันกำไรสุทธิ ทั้งนี้ บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกลุ่มลูกค้าระดับล่าง 3 ราย ได้แก่ Pruksa Holding (PSH.BK/PSH TB), LPN Development (LPN.BK/LPN TB) และ Origin Property (ORI.BK/ORI TB) แสดงผลขาดทุน 4Q67 รวมกันอยู่ที่ 678 ล้านบาท สวนทางกับ Supalai (SPALI.BK/SPALI TB) ที่รายงานผลประกอบการดีที่สุด โดยกำไรรายไตรมาสดีกว่าคาดเกือบ 2 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY และ QoQ)            ส่วนกำไรรวมทั้งปี 2567 ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์แย่ลง 25% YoY สู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าสิบปี อยู่ที่ 2.05 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาดการณ์ นอกจากนี้ เราสังเกตว่าแม้ net debt to equity จะดูเหมือนไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 0.8x แต่ net debt to EBITDA แย่ลงอยู่ที่ 10.2x ณ สิ้นปี 2567 จาก 8x ณ สิ้นปี 2566 ซึ่งเป็นนัยว่าความแข็งแกร่งของงบดุลลดลง 1Q68F ยังคงชะลอตัว            ตามแผนธุรกิจปี 2568 ของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ลำดับต้นๆ เปิดเผยว่าการเปิดโครงการใหม่รวมกันอาจลดลงเป็นอัตราเลขหลักเดียว แต่พรีเซล (ยอดจอง) โดยรวมยังสามารถเพิ่มขึ้น 10-12% YoY จากการเปิดโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ๆ มากขึ้น และยอดขายบ้านค้างสต็อกยังมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านบาท            ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจบริษัทผู้พัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่เห็นการฟื้นตัวของยอดขาย ขณะที่อัตราการปฏิเสธและการยกเลิก (rejection and cancellation rate) เฉลี่ยยังคงสูงกว่า 40% อย่างไรก็ตาม ผู้นำตลาดพรีเซลอย่าง AP Thailand (AP.BK/AP TB) และ Sansiri (SIRI.BK/SIRI TB) มีพรีเซลดีอยู่ตั้งแต่ 1Q68 ถึงปัจจุบันประมาณ 8 พันล้านบาทต่อราย เมื่อเทียบกับเกือบ 1 หมื่นล้านบาทแต่ละรายใน 1Q67 เฝ้ารอมาตรการสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐ            บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และสมาคมอสังหาริมทรัพย์คาดหวังว่ารัฐบาลจะออกมาตรการต่างๆ มาสนับสนุนเร็วๆ นี้ ซึ่งรวมถึงการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองลงเหลือ 0.01% ไปจนถึงสิ้นปี 2568 แต่ก็ยังคงต้องรอดูว่ามาตรการอื่นๆ จะได้รับการอนุมัติหรือไม่            ขณะนี้เรามองว่าสถานการณ์ที่ดีสุดคือมาตรการผ่อนคลายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะช่วยกระตุ้น sentiment ของภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงสูงที่มีอำนาจซื้อบ้านราคาแพงได้ โดยบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นกลุ่มดังกล่าว เช่น AP, SIRI, LH และ SC Asset (SC.BK/SC TB) น่าจะได้รับประโยชน์ในลำดับต้นๆ ส่วนกลุ่มผู้ซื้อระดับล่างมีกำลังซื้อไม่มากคงเผชิญกับการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยยากลำบากอยู่ท่ามกลางมาตรการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด Valuation & Action            เราคงให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ “น้อยกว่าตลาด” เพราะเราคาดว่าวัฏจักรขาลงของภาคอสังหาริมทรัพย์จะยังยืดเยื้อต่อ เพราะผลประกอบการ 4Q67 และปี 2567 ของ PSH, ORI และ LPN ออกมาต่ำกว่าคาดมาก ขณะนี้เรากำลังทบทวนการประมาณการและราคาเป้าหมายใหม่

ผลประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ ณ สิ้นปี 67

ผลประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่ ณ สิ้นปี 67

          ผลประกอบการบริษัทอสังหาฯมหาชนปี’67 หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แสนสิริ โกยรายได้สูงสุดเฉียด 4 หมื่นล้านบาท ศุภาลัย คว้าแชมป์กำไรเพิ่มกว่า 6 พันล้านบาท           หุ้นวิชั่น - ทยอยประกาศผลประกอบการปี 2567 ออกมากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกาศผลประกอบการของปี 2567 ออกมากันครบแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้รวมลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2567 แต่ก็มีอีกหลายบริษัทที่มีรายได้รวมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ สวนทางกับทิศทางการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รายงานว่า มูลค่ารวมของยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทั้งปี 2567 ลดลงจาก ปี 2566 ประมาณ 6.3% จากปัจจัยลบรอบด้าน ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย รวมไปถึงปัญหาของการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างลำบาก เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ส่งผลให้ การโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2567 ลดลง ทั้งในส่วนของจำนวนและมูลค่ารวม ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พยายามหา ช่องทางในการสร้างรายได้แบบต่อเนื่องตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา           นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย มองว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมในปี 2567 ลดลงคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปี 2566 แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายเช่นกันที่มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดลงจากปีก่อนหน้านี้ไม่มาก หรือลดลงประมาณ 2 – 3% เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยยังมีกำลังซื้ออยู่ในตลาดต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการรายใดจะเข้าถึงและสามารถดึงดูดให้ผู้ซื้อจองและโอนกรมสิทธิ์ได้มากกว่ากัน           สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้มากที่สุดในปี 2567 ใน 5 อันดับแรก คือ แสนสิริ มีรายได้รวมทั้งปี 2567 ประมาณ 39,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ประมาณ 2%  ตามมาด้วย เอพี (ไทยแลนด์) มีรายได้รวมประมาณ 37,460 ล้านบาท และ ศุภาลัย มีรายได้ประมาณ 31,985 ล้านบาท ส่วน แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีรายได้รวม 28,151 ล้านบาท และ พฤกษาฯ มีรายได้รวม 20,996 ล้านบาท           ทั้งนี้ใน 5 อันดับแรกนี้ ครองผู้นำตลาดที่อยู่อาศัยมาต่อเนื่องทั้งรายได้และยอดขาย โดยผู้ประกอบการบางรายอาจเคยครองตำแหน่ง อันดับที่ 1 หรือ อันดับ 2 ต่อเนื่องมายาวนาน แต่ด้วยภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงโฟกัสของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนไปมีผลต่อรายได้รวมเช่นกัน           ส่วนของกำไรสุทธิในกลุ่ม 5 อันดับแรก มีเพียง ศุภาลัย เท่านั้นที่มีผลกำไรเป็นบวกเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของปี 2566 ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ มีกำไรลดลงไม่มากหรือมีนัยสำคัญอะไรต่อผลประกอบการมากนัก โดยเฉพาะ แสนสิริ และเอพี (ไทยแลนด์) ที่ลดลง 13.3% และ17.1% ตามลำดับ เนื่องจากผลกำไรยังมีมูลค่าเกิน 5 พันล้านบาท ซึ่งกำไรที่ลดลงในปีที่ผ่านมาอาจจะชดเชยกลับมาในปี 2568 นี้ก็เป็นไปได้ แม้ว่าสภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้จะยังไม่ฟื้นตัว และมีทิศทางที่ต้องจับตามองอยู่ก็ตาม           อย่างไรก็ตามในปี 2568 ผู้ประกอบการรายใหญ่มีแผนจะเปิดขายโครงการใหม่มากกว่าปี 2567 และยังคงเป็นการขับเคี่ยวกันของ 3 รายหลัก คือ เอพี (ไทยแลนด์) ที่ประกาศแผนการลงทุนมีมูลค่าโครงการวมมากถึง 65,000 ล้านบาท จากจำนวน 42 โครงการ ในขณะที่ แสนสิริ เปิดขายโครงการใหม่จำนวน 29 โครงการ เท่านั้น แต่มีมูลค่าโครงการมากถึง 52,000 ล้านบาท โดยโฟกัสไปที่กลุ่มสินค้าระดับบน-ลักชัวรีมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ และ ศุภาลัย มีโครงการเปิดขายใหม่จำนวน 36 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 46,000 ล้านบาท ด้วยแรงกดันในตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่องในปีนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเหลือ 2% แล้วก็ตาม แต่มาตรการช่วยเหลือหรือมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯจากรัฐบาลยังไม่มีความเคลื่อนไหว รวมไปถึงการที่ผู้ประกอบการทุกรายพยายามกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ชั่วคราวเพื่อให้กำลังซื้อส่วนหนึ่งกลับเข้ามาในตลาด แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ หากเป็นแบบนี้เชื่อว่าปี 2568 จะยังเป็นอีกปีที่ตลาดที่อยู่อาศัยต้องเผชิญกับความท้าทายต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา

กลุ่มอสังหาฯ บวกยกแผง เก็ง ธปท.ลดดอกเบี้ย-ลุ้นผ่อนเกณฑ์ LTV

กลุ่มอสังหาฯ บวกยกแผง เก็ง ธปท.ลดดอกเบี้ย-ลุ้นผ่อนเกณฑ์ LTV

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ช่วง 1 สัปดาห์ข้างหน้ามีโอกาสเด่น ภายใต้แรงหนุน มีโอกาสสูงขึ้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดดอกเบี้ย 25bps ในการประชุม 26 ก.พ.นี้ หลัง GDP ต่ำกว่าเป้า บวกกับการฟื้นตัวของสินเชื่อปลายปี 2567 สะดุด ธปท.รับพิจารณาผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ LTV แม้ทีมกลยุทธ์ยังคาดหวังไม่มาก แต่จะเป็นแรงส่งจิตวิทยาบวกต่อกลุ่ม ราคาหุ้นอสังหาฯ อยู่ในธีมที่ตลาดให้น้ำหนักในปัจจุบัน คือ กลุ่มปันผลสูง ซึ่งหุ้นอสังหาฯ ใกล้ถึงช่วงประกาศงบปี พร้อมจ่ายเงินปันผล, Valuation ที่ Deep Value หรือ ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของบริษัท เชิงกลยุทธ์ แนะนำนักลงทุนเลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีฐานธุรกิจมั่นคง 2-3 ปีข้างหน้า ที่ Deep Value เช่น - SIRI (Yield25F - 9.9% PER25F อยู่ที่ 5.3 เท่า อยู่ในระดับ AVG - 1.94 S.D., PBV25F อยู่ที่ 0.6 เท่า AVG - 0.58 S.D.) - AP (Yield 25F - 7.6% PER25F อยู่ที่ 4.8 เท่า อยู่ในระดับ AVG - 0.35 S.D., PBV25F อยู่ที่ 0.59 เท่า AVG - 1.2 S.D.)           ขณะที่ทางพื้นฐาน Upside ยังเปิดกว้าง SIRI ราคาเป้าหมาย 2.34 บาท, AP ราคาเป้าหมาย 10.4 บาท           เชิงเทคนิค วางกรอบเก็งกำไร SIRI แนวรับ (1.65/1.63) แนวต้าน (1.74/1.78) Stop Loss 1.6 และ AP แนวรับ (8.2/8.0) แนวต้าน (9.0/9.15) Stop Loss 7.75

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

10 หุ้นอสังหาฯ Q4 กำไรลด AP-SIRI สวน-ปันผลหนุน

10 หุ้นอสังหาฯ Q4 กำไรลด AP-SIRI สวน-ปันผลหนุน

          หุ้นวิชั่น - ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าประมาณการว่าบริษัทพัฒนาอสังหริมทรัพย์ 10 บริษัทที่ทำการศึกษา (AP, LH, LPN, PSH, QH, SPALI, SIRI, ANAN, ORI และ SC) จะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติในไตรมาส 4/67 ลดลงมาที่ 6.23 พันล้านบาท ลดลง 9.0% qoq และลดลง 17.5% yoy           ขณะที่คาดว่ารายได้รวมของผู้ประกอบการจะลดลง 0.1% qoq และ 11.3% yoy เป็น 4.73 หมื่นล้านบาท           กำไรที่คาดว่าจะลดลง มาจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง เพราะธนาคารใช้เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อเข้มงวด บวกกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีอัตราดอกเบี้ยสูงและลูกค้าบางรายชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน           นอกจากนี้คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จากการขายอสังหาฯจะลดลงจาก 32.0% ในไตรมาส 4/66 และ 30.7% ในไตรมาส 3/67 เป็น 29.2% ในไตรมาส 4/67 เพราะผู้ประกอบการจัดโปรโมชั่นและให้ส่วนลดราคาเพิ่มเพื่อกระตุ้นยอดโอนและสร้างกระแสเงินสด โดยเชื่อว่า SIRI น่าจะมีกำไรปกติเติบโตสูงกว่าคู่แข่งที่บวก 10.8% yoy ในไตรมาส 4/67 ส่วน LH และ SC น่าจะมีกำไรปกติเติบโตสูงที่สุด qoq           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า ปี 67 กลุ่มอสังหาฯจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติลดลง 19.3% yoy เป็น 2.48 หมื่นล้านบาท หรือลดลงต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง เนื่องจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯมีรายได้และ GPM จากการ ขายอสังหาฯลดลง และดอกเบี้ยจ่ายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากำไรปกติจะกลับมาเติบโต 10% yoy ในปี 68 แต่อัตราการเติบโตจะยังต่ำกว่าปี 66 เนื่องจากยอดโอนสูงกว่า           ขณะที่คาดว่าความต้องการอสังหาฯน่าจะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 68 เนื่องจาก GPM จะยังถูกกดดันจากการระบายสต็อก จากนั้นตลาดอสังหาฯน่าจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง เมื่ออุปทานใหม่ลดลงและลูกค้ามีกำลังซื้อสูงขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย           ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA) ชี้ว่า ตลาดอสังหาฯในพื้นที่กรุงเทพฯ ชะลอตัวลงในปี 67 เห็นได้จากจำนวนยูนิตของโครงการเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ ลดลง 39.5% yoy เป็น 61,453 ยูนิต มูลค่ารวม 4.138 แสนล้านบาท ลดลง 26.1% yoy ส่วนจำนวนยูนิตที่ขายได้ในปีที่แล้วลดลง 30.5% yoy เป็น 58,779 ยูนิต เนื่องจากยอด presales ของที่อยู่อาศัยทุกประเภทอ่อนตัวลง           สำหรับปี 68 นี้ AREA คาดว่า โครงการเปิดใหม่และยอด presales ในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้น 10% yoy เป็น 67,598 ยูนิต และ 64,657 ยูนิต ตามลำดับ จากฐานที่ต่ำในปี 67 เนื่องจากปี 68 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวดีขึ้น, มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และอุปสงค์จากลูกค้าต่างชาติน่าจะเพิ่มขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) กลุ่มอสังหาฯ เนื่องจาก presales และกำไรจากการดำเนินงานปกติน่าจะเติบโตลดลงในปี 67-68 แต่การประเมินมูลค่าที่ P/E 6.3 เท่าในปี 68 หรือ -2SD ของ P/E ล่วงหน้าเฉลี่ยห้าปีย้อนหลัง และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 8.2% ในปี 67-68 ยังน่าสนใจ เลือก AP และ SIRI เป็นหุ้น Top pick ชอบ SIRI เพราะธุรกิจอสังหาฯ outperform คู่แข่งและมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ชอบ AP เนื่องจากน่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตแข็งแกร่งในปี 68 อีกทั้งการประเมินมูลค่ายังน่าสนใจ           อย่างไรก็ตาม กลุ่มอสังหาฯจะมี downside risk หากเศรษฐกิจมหภาคมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นและมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าคาด ส่วน upside risk จะมาจากการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV และการขยายระยะเวลาการให้เช่าที่ดินเป็น 99 ปี

ส่องหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แนวโน้มปีหน้า รอดหรือร่วง?

ส่องหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แนวโน้มปีหน้า รอดหรือร่วง?

         หุ้นวิชั่น - บล.เคจีไอ ส่องหุ้นกลุ่มอสังหาฯ โดยประเมินจากการสอบถามเบื้องต้นของเรา พบว่าบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ที่เราศึกษาอยู่ น่าจะรายงานพรีเซล (ยอดจอง) รวมใน 4Q67F ชะลอตัวราว 8-10% QoQ และ 20% YoY ขณะที่ผลประกอบการรวม 4Q67F ที่กําลังจะประกาศก็น่าชะลอตัวในธุรกิจหลักด้วย ตามพรีเซลที่ซบเซา แต่ทว่า การขายสินทรัพย์ของ Land and Houses (LH.BK/LH TB)* อาจช่วยดันกําไรสุทธิของกลุ่มอสังหา ฯใน 4Q67F ให้เติบโต QoQ ด้วยเหตุจากปัจจัยมหภาค เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและ GDP ที่ฟื้นตัว มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เราเห็นความเสี่ยงด้านลบ(downside) ต่อประมาณการพรีเซลและกําไรทั้งปีของเราในปี 2567F-2568F  นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจในกลุ่มอสังหา ฯ ยังคงมีความระมัดระวังต่อแนวโน้มปี 2568F ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคงให้น้ำหนักลงทุน "เท่ากับตลาด ฯ" ส่วนในระยะสั้น ฝ่ายวิจัยมองว่า AP Thailand (AP.BK/AP TB)*, Quality Houses (QH.BK/QH TB) และ Pruksa (PSH.BK/PSH TB) จะให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลดูน่าสนใจอยู่ระหว่าง 5.8-6.4%            ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากําไรหลักโดยรวม 4Q67F ที่จะประกาศออกมามีแนวโน้มชะลอตัวจากพรีเซลย่ำแย่ แต่การขายสินทรัพย์ของ LH อาจช่วยดันให้กําไรสุทธิรวม 4Q67F ของกลุ่มเติบโต QoQ (Figure 2) ขณะที่เห็น downside ต่อประมาณการการเติบโตกําไรรวมที่ -22% YoY ในปี2567F และ +9% YoY ในปี 2568F ตามแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคแย่ลงในปีหน้า สําหรับระยะสั้น เรามองว่า AP (แนะนําซื้อ ราคาเป้าหมายที่ 11.70 บาท), QH (แนะนําถือ ราคาเป้าหมายที่ 2.10 บาท) และ PSH (แนะนําถือ ราคาเป้าหมายที่10.00 บาท) จะมีdividend yield ดูสูงน่าสนใจอยู่ราว5.8-6.4%  ความเสี่ยงด้านบวกประกอบด้วย sentiment ดีขึ้นและความคาดหวังนโยบายใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระตุ้นภาคอสังหา ฯ จากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านลบได้แก่ ความเป็นไปได้ในการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ํา มาตรการควบคุมสินเชื่อทั้งก่อนและหลังด้วยการยืดหนี้สินในระดับสูงของภาคครัวเรือน การเร่งตัวขึ้นของหนี้เสีย NPL และความกังวลปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบริษัทผู้พัฒนาอสังหา ฯขนาดกลางถึงรายเล็กหลังจากเกิดการผิดนัดชําระการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียน หลายรายล่าสุด

KGI อัพเดทหุ้นอสังหาฯ คาดฟื้นตัวปี 68 หุ้นไหนปังเช็กด่วน!

KGI อัพเดทหุ้นอสังหาฯ คาดฟื้นตัวปี 68 หุ้นไหนปังเช็กด่วน!

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อัปเดตกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แนวโน้มกำไร 4Q67F และ 2568F หลัง กำไร 3Q67 ซบเซา (-12% YoY แต่ +2% QoQ) ขณะที่รายได้ 9M67 แย่ลง 25% YoY อยู่ที่ 1.48 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม มองว่าอาจมีการฟื้นตัวใน 4Q67F หลัก ๆ มาจากกำไรจากการขายเงินลงทุนและเป็นช่วงที่ยอดขายสูงสุดของปีในภาคอสังหา ฯ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ สังเกตเห็นมูลค่าการเปิดโครงการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ย. 67 ขณะอัตราการปล่อยขายหรือเช่า (take-up rate) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดกำไรปี 2567F หดตัว 22% YoY จากนั้นจะกลับมาโต 9% YoY ในปี 2568F ในขณะเดียวกัน มองว่ายังมีความเสี่ยงด้านลบจากสภาพแวดล้อมการดำเนินงานที่อ่อนแอ           แรงหนุนสั้น ๆ จะมาจากโอกาสในการขยายมาตรการกระตุ้นอสังหา ฯ ต่อและเงินปันผลครึ่งปีหลัง เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ในการขยายมาตรการกระตุ้นอสังหา ฯ ในปัจจุบันต่ออีกซึ่งรวมถึงการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์บ้านจาก 2% เหลือ 0.01%และค่าจดทะเบียนการจดจำนองอสังหา ฯ จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับผู้ซื้อบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อยูนิต (คร่าว ๆ ราว 70-80% ของตลาดรวม) ซึ่งจะหมดอายุภายในสิ้นปี 2567 อาจถูกขยายเวลาออกไปอีกหนึ่งปี อีกทั้งรัฐบาลยังกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าเงินปันผลงวดครึ่งปีหลังของบริษัทผู้พัฒนาอสังหา ฯ ที่จดทะเบียนในตลท. ที่ศึกษาอยู่จะให้ dividend yield น่าดึงดูดใจอยู่ระหว่าง 2.5-6.2% ปัจจัยมหภาคเชิงบวกกำลังมีมาอย่างช้า ๆ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP ได้ลดลงมาอยู่ที่ 89.6% ใน 3Q67 ซึ่งต่ำกว่า 90% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 แต่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารยังไม่พีค และความสามารถของครัวเรือนในการชำระหนี้ยังคงแย่ลง ในขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วันก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อัตราการปฏิเสธและยกเลิกสินเชื่อยังคงอยู่ในระดับสูง กล่าวคือ ราว 50-70%  สำหรับกลุ่มผู้ซื้อบ้านระดับกลางถึงล่างและมากกว่า 30% สำหรับกลุ่มระดับกลางถึงบน อย่างไรก็ตามประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงอีก 3 ครั้ง ๆ ละ 25 bps ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งน้อยกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าโดยรวมที่ 100 bps ทั้งนี้ประมาณว่าการฟื้นตัวของ GDP ในปี 2568F อาจเป็นไปอย่างช้า ๆ ที่ 2.8% จาก 2.6% ในปี 2567F พรีเซล (ยอดจอง) ปี 2567F ของบริษัทผู้พัฒนาอสังหา ฯ 10 รายน่าจะทรงตัวราว ± 2.70 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA) คาดว่าการเปิดโครงการใหม่ ๆ และยูนิตขายจะลดลง 34% YoY (11M67: -41% YoY) และ 24% YoY (11M67: -57% YoY) ตามลำดับในปี 2567F การที่ตัวเลขต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันอ่อนแอกว่าคาดมาก โดยยูนิตขายและการเปิดโครงการใหม่ ๆ ในปี 2567F อาจเป็นต่ำสุดในรอบทศวรรษ ส่วนปี 2568F ทาง AREA คาดว่าจะมีการฟื้นตัวปานกลางราว 10% YoY ส่วนโครงการคอนโด ฯ อาจฟื้นตัวขึ้นเพราะจำนวนโครงการคอนโด ฯ คงค้างลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ Valuation & Action           ฝ่ายวิเคราะห์ยังคงแนะนำซื้อ AP Thailand (AP.BK/AP TB)* ประเมินราคาเป้าหมายที่ 11.70 บาท โดย APน่าจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายปี 2567F ที่ 0.54 บาทต่อหุ้น เป็นนัยว่า dividend yield อยู่ราว 6.2% ส่วน Quality Houses (QH.BK/QH TB) และ Pruksa Holding (PSH.BK/PSH TB) แนะนำถือ โดยน่าจะมี dividend yield ปี 2567F ราว 5.5-5.6% นอกจากนี้ คาด Supalai (SPALI.BK/SPALI TB)* และ Landand Houses (LH.BK/LH TB)* จะให้ dividend yield งวดสุดท้ายอยู่ระหว่าง 3-4% และ ฝ่ายวิเคราะห์ยังคงแนะนำขายสำหรับ Origin Property (ORI.BK,ORI TB) และ LPN Development (LPN.BK, LPN TB) Risks           ความเสี่ยงด้านบวกประกอบด้วย sentiment ดีขึ้นภายหลังจากการประกาศมาตรการกระตุ้นภาคอสังหา ฯ ใหม่จากรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงด้านลบ ได้แก่ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและมาตรการก่อนและหลังการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดท่ามกลางหนี้สินในระดับสูงของภาคครัวเรือน, การเร่งตัวขึ้นของ NPL และความกังวลปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบริษัทผู้พัฒนาอสังหา ฯ ขนาดกลางถึงรายเล็กหลังจากเกิดการผิดนัดชำระการจ่าย ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนหลายราย

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

โบรกฯส่อง “กลุ่มอสังหาฯ” คาด Q3 ฟื้นตัว แนะ AP-SPALI-SC

โบรกฯส่อง “กลุ่มอสังหาฯ” คาด Q3 ฟื้นตัว แนะ AP-SPALI-SC

          หุ้นวิชั่น – บล.เอเชียพลัส จับตาหุ้นกลุ่มอสังหาฯ มองแนวโน้ม Q3/67 คาดกำไรปกติของ 14 บริษัทรวม 7.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.3% QOQ จากการส่งมอบของ BACKLOG คงค้างแนวราบ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่มากขึ้นของคอนโดฯใหม่ ทั้งของบริษัทเองและร่วมทุน หนุนยอดโอนฯ และส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ชดเชยกับการแข่งขันในตลาดสูงขึ้น นำสู่การใช้กลยุทธ์ด้านราคา คาดกดดันมาร์จิ้นขายอ่อนตัวและเป็นเหตุหลักที่กดดันกำไรกลุ่มฯคาดลดลง 7% YOY กำไรรายบริษัท คาด AP, ORI, PSH และ LALIN เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มฯ คือ ดีขึ้น QOQ แต่ลดลง YOY ต่างจากกำไรของ ASW คาดลดลง QOQ (แต่เติบโต YOY)           ขณะที่ SPALI, SC และ ANAN ดีกลุ่มฯ โดยคาดกำไรเพิ่มขึ้น YOY และ QOQ สวนทางLH, SIRI, QH และ LPN คาดอ่อนตัวทั้ง YOY และ QOQ ทิศทางกำไรปกติ Q4/67 คาดเติบโตต่อเนื่อง QOQ สนับสนุนด้วย BACKLOG ที่คงค้างจากสิ้น Q3/67 , การเปิดโครงการใหม่เพิ่ม (ปกติไตรมาส 4 เปิดมากสุดของปี) ,ส่งมอบคอนโดฯ ใหม่ที่สร้างเสร็จพร้อมโอนฯ, การจัดกิจกรรมการตลาดเชิงรุกของผู้ประกอบการ ตลอดจนโค้งสุดท้ายของมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ-จด จำนองสำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาทก่อนจะสิ้นสุดปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ลดลง คาดเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลประกอบการ Q4/67 มีกำไร สูงสุดของปี            คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่ม เลือกหุ้นเด่นที่มีการกระจายของพอร์ตสินค้าทั้งแนวราบและคอนโดฯ รวมถึงทิศทางผลประกอบการ Q3/67 ที่ยังดีกว่ากลุ่มฯ ได้แก่ AP ให้ราคาเป้าหมายที่ 14.20 บาท  -  SPALI ให้ราคาเป้าหมายที่ 23.00 บาท   -  SC ให้ราคาเป้าหมายที่ 3.46 บาท

โบรกมองบวกหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย

โบรกมองบวกหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี มีมุมมอง slightly positive ต่อกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ การที่ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพราะมีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อกลุ่มฯ ทั้งจาก i) ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายของกลุ่มฯ ที่ลดลง ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิ 2025F มีโอกาส downside ที่ลดลง โดยดอกเบี้ยที่ลดลงทุก 25 bps จะมีผลต่อดอกเบี้ยจ่ายที่คาดว่าจะลดลงราว 400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะมีผลต่อ upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิ 2025F ของกลุ่มฯ ราว 1.2% (เทียบปี 2025F ที่ราว 33.3 พันล้านบาท) โดยกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากคือกลุ่มที่ฐานกำไรต่ำ (ANAN, LPN) และกลุ่มที่มีดอกเบี้ยจ่ายสูง (SC, ORI) ตามลำดับ รวมถึง ii) ผลบวกจากความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ที่ลดลง ทำให้ผู้กู้มีโอกาสกู้ผ่านได้มากขึ้น ซึ่งช่วยด้าน demand ทางอ้อม เราคง Neutral sector rating โดยมองว่าสถานการณ์ทั้งด้าน demand และ % GPM ยังอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก โดยปัจจัยบวกของกลุ่มฯ อาจต้องคาดหวังจากปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ ซึ่งอาจเห็นในช่วงปลาย 4Q24F เราเลือกหุ้นแบบ bottom up จากปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยให้ SIRI (TP = 2.20) เป็น top pick สำหรับการลงทุนปี 2025F ในขณะที่ AP (TP = 11.70) เด่นสำหรับการลงทุนระยะสั้น Comment กรณี ธปท. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%            มุมมอง slightly positive จากการที่ ธปท. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพราะมีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อกลุ่มฯ จาก i) ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายของกลุ่มฯ ที่ลดลง ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิ 2025F มีโอกาส downside ที่ลดลง ii) ความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ลดลง ทำให้ผู้กู้มีโอกาสกู้ผ่านได้มากขึ้น ซึ่งช่วยด้าน demand ทางอ้อม            ปัจจุบัน cost of debt เฉลี่ยของกลุ่มฯ เท่ากับ 3.7% โดยทุก 25 bps ที่ลดลง (อิงเฉพาะสัดส่วนเงินกู้จาก bank loan) จะมีผลต่อดอกเบี้ยจ่ายที่คาดว่าจะลดลงราว 400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะมีผลต่อ upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ราว 1.2% (เทียบปี 2025F ที่ราว 33.3 พันล้านบาท) โดยกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากคือกลุ่มที่ฐานกำไรต่ำ (ANAN, LPN) และกลุ่มที่มีดอกเบี้ยจ่ายสูง (SC, ORI) ตามลำดับ            สำหรับความสามารถในการกู้ของผู้กู้ที่มากขึ้นอาจยังประเมินได้ค่อนข้างยากในช่วงแรก แต่ส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มในตลาดกลาง-กลางบน เพราะยังเป็นกลุ่มที่กู้ได้และธนาคารยังอนุมัติปล่อยสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา โดยบริษัทที่มี portfolio ในส่วนนี้มากคือ AP และ SPALI            มาตรการดอกเบี้ยที่ลดลงเรามองว่าจะช่วยจำกัด downside risk ของประมาณการกำไรสุทธิ 2024-25F จากต้นทุนดอกเบี้ยที่บริษัทในกลุ่มฯ ลดลง แต่เราไม่ได้คาดหวัง incremental demand จากส่วนนี้ โดย incremental demand เราคาดหวังนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งอาจมีตามมาในช่วงเดือน Dec-24 เนื่องจากมาตรการรัฐเดิม ความเห็นและคำแนะนำ            คง Neutral sector rating สถานการณ์โดยรวมของกลุ่มฯ มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะด้านต้นทุน อย่างไรก็ตามเราคาดว่าตลาดยังคาดหวังปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะแผนการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จากภาครัฐ หรือการปรับลดเงื่อนไข LTV ให้เข้มงวดน้อยลง ซึ่งอาจจะช่วยด้าน demand side            เรามองการเลือกหุ้นแบบ bottom up จากปัจจัยบวกเฉพาะตัว โดยให้ SIRI (TP = 2.20) เป็น top pick สำหรับการลงทุนปี 2025F จากการเพิ่ม market share ได้ต่อเนื่อง และมีโอกาสที่กำไรปกติจะทำ new high ได้ ในขณะที่ AP (TP = 11.70) เด่นสำหรับการลงทุนระยะสั้นจากจุดเด่นเรื่องแนวโน้มกำไรสุทธิ 2H24F ดี โดยทั้ง SIRI และ AP เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยค่อนข้างมากเช่นกัน

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456