ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#หุ้งแบงก์


สินเชื่อแบงก์ก.พ.ลด KTB-KBANKโดนแค่ไหน?

สินเชื่อแบงก์ก.พ.ลด KTB-KBANKโดนแค่ไหน?

            หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า สินเชื่อเดือน ก.พ. 25 ลดลง -0.2% MoM จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก ภาพรวมสินเชื่อเดือน ก.พ. 25 ทั้ง 7 ธนาคารที่cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท ลดลง -0.2% MoM จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก รองลงมาเป็นสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่ยังเพิ่มขึ้นได้ โดยธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KTB ลดลง -1.9% MoM จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก โดยมีการชำระคืนตามปีงบประมาณ รองลงมาเป็น KBANK ลดลง -0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก             ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.0% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศเป็นหลัก รองลงมาเป็น TISCO +0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่ในส่วนของ Real Estate และโรงไฟฟ้า แต่สินเชื่อเช่าซื้อยังคงหดตัวตามภาวะอุตสาหกรรม ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน ก.พ. 25 อยู่ที่ 12.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.1% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ SCB เพิ่มขึ้น +0.7% MoM รองลงมาเป็น KKP เพิ่มขึ้น +0.5% MoM จากเงินฝาก CASA ที่เพิ่มขึ้น ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ KTB ลดลง -0.7% MoM ตามทิศทางสินเชื่อภาครัฐที่ลดลง และ TTB ลดลง -0.4% MoM จากเงินฝากกระแสรายวันที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท)             มองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เรามีมุมมองเป็นลบต่อสินเชื่อในเดือน ก.พ. 25 ที่กลับมาหดตัวที่ -0.2% MoM จากเดือน ม.ค. 24 ที่ลดลง -0.6% MoM โดยการลดลงส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อภาครัฐที่ลดลงจากปีงบประมาณ และสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังลดลงตามยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลง และจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แต่สินเชื่อรายใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้นได้ดี            ขณะที่คาดว่าสินเชื่อภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในปี 2H25E ตามความคาดหวังว่าจะมีโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นได้ตามปีงบประมาณ             ทั้งนี้ ยังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2025E ของกลุ่มไว้ที่ +2% YoY (2M24 อยู่ที่ -0.8% YTD) ด้าน NPL เราคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราเชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2025E จะอยู่ที่ 3.18% จาก 3.05% ในปี 2024 ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, TTB, BBL เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน ก.พ. 25 ให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก +4% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.68x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ยังคงเลือก KTB, TTB, BBL เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้ในเดือน ก.พ. 25

สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

        หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า ภาพรวมสินเชื่อเดือน ต.ค. 24 ทั้ง 7 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.2% MoM ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่ ขณะที่สินเชื่อภาครัฐทรงตัว ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.6% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ รองลงมาเป็น KBANK, TISCO เพิ่มขึ้น +0.3% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ส่วนสินเชื่อรายย่อยและ SME ยังคงหดตัวลง ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KKP -0.7% MoM ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น TTB ลดลง -0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย แต่สินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน ต.ค. 24 อยู่ที่ 12.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.8% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ KTB เพิ่มขึ้นถึง +5.7% MoM จากเงินฝาก CASA ของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ รองลงมาเป็น SCB, KKP เพิ่มขึ้น +3.5%, +3.4% จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ KBANK ลดลง -3.7% MoM จากเงินฝากประจำที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท) บล.ดาโอ มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร มีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน ต.ค. 24 ที่กลับมาฟื้นตัวในรอบ 6 เดือนได้ที่ +0.2% MoM จากเดือน ก.ย. 24 ที่ลดลง -0.5% MoM โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลง และจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 24 ตามโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรายังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2024E ของกลุ่มไว้ที่ +1% YoY (10M24 อยู่ที่ -1.6% YTD) ด้าน NPL เราคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราเชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2024E จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 2023          ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน ต.ค. 24 เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้ในเดือน ต.ค. 24 - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.64x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456