ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ส่งออกสินค้าเกษตร


ทุเรียน สินค้าเกษตรพันล้าน! พาณิชย์-เกษตรฯ ผนึกกำลังรับมือคู่แข่ง-คุมคุณภาพ

ทุเรียน สินค้าเกษตรพันล้าน! พาณิชย์-เกษตรฯ ผนึกกำลังรับมือคู่แข่ง-คุมคุณภาพ

          หุ้นวิชั่น รายงาน นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการดูแลสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทย ซึ่งแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากกว่าปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดูแลทั้งด้านตลาดในประเทศ และการขยายตลาดส่งออก ผ่านการส่งเสริมการบริโภค ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้ทุเรียนไทยให้กับผู้บริโภคและผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกทุเรียนเกือบทั้งหมดของไทย (97% ของการส่งออกทั้งหมด)           สำหรับกลุ่มสินค้าผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 ของไทย โดยมูลค่าการส่งออกได้แซงสินค้าข้าว และยางพารา ตั้งแต่ปี 2563 และยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 จนถึงปัจุบัน สำหรับปี 2567 ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่ารวม 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (231,401 ล้านบาท) โดยคิดเป็นสัดส่วน 22.58% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย[1] (ข้าวมีสัดส่วน 22.32% และยางพารา มีสัดส่วน 17.32% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย) และปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม – กุมภาพันธ์) มูลค่าอยู่ที่ 429.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (14,615 ล้านบาท)           เมื่อพิจารณาเฉพาะทุเรียน ในปี 2567 มีมูลค่าการส่งออกรวม 4,404.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (157,506 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ทุเรียนสด 3,755.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,852 ล้านบาท) และ (2) ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 649.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (22,654 ล้านบาท) และล่าสุดปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม – กุมภาพันธ์) ไทยมีมูลค่าส่งออกรวม 128.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,374 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ทุเรียนสด 85.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,918 ล้านบาท) และ (2) ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 42.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,456 ล้านบาท)           ทุเรียนเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกถึง 75% ขณะที่บริโภคภายในประเทศเพียง 25% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดของจีนในการตรวจสาร Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียม รวมทั้งการแข่งขันของทุเรียนคู่แข่งในตลาดจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งทุเรียนจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย อาจส่งผลกระทบให้ทุเรียนล้นตลาด ซึ่งจะส่งผลกับราคาทุเรียนในประเทศ           ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทในการดูแลสินค้าเกษตรด้านการตลาด โดยการส่งเสริมและเชื่อมโยงหาตลาดให้กับสินค้าเกษตรไทย รวมทั้งสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน มีการออกมาตรการรองรับปัญหาผลผลิตล้นตลาด ทั้งส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และขยายตลาดส่งออก ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ตลอดกระบวนการผลิต รวมทั้งดูแลมาตรฐานสินค้าเกษตร ตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุ จนถึงด่านตรวจพืช เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าเกษตรไทยมีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งการบูรณาการการทำงานจะช่วยยกระดับราคาสินค้า และเพิ่มรายได้เกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน           โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ดูแลสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทย ติดตามสถานการณ์ราคาและตลาดอย่างใกล้ชิด ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคถึง 75% ของปริมาณผลผลิตทุเรียนไทย โดยให้ทูตพาณิชย์ในประเทศจีน ทั้ง 8 แห่ง รวมทั้งสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่ง อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในประเทศจีน รวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยให้เป็นที่จดจำ หาตลาดรองรับทั้งในเมืองหลักและเมืองรองของจีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม พร้อมเดินหน้ามาตรการเชิงรุก ตามแผนบริหารจัดการผลไม้ปี 2568 รวม 7 มาตรการ ครอบคลุม 25 แผนงาน ให้ผลไม้ไทยปีนี้ได้ราคาดีตลอดทั้งปี [1] ปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่า 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท)

ส่งออกไทยขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง เดือน ม.ค. ขยายตัว 13.6%

ส่งออกไทยขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง เดือน ม.ค. ขยายตัว 13.6%

          หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ แถลง การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่า 25,277.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (862,367 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 13.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 11.4           โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวกลับสู่กรอบเป้าหมาย และ การขยายตัวของกิจกรรมภาคการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีนขยายตัวในระดับสูง ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบของไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อการค้าโลก มูลค่าการค้ารวม           มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2568 การส่งออก มีมูลค่า 25,277.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 27,157.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.9 ดุลการค้า ขาดดุล 1,880.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ           มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2568 การส่งออก มีมูลค่า 862,367 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 938,112 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.3 ดุลการค้า ขาดดุล 75,746 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร           มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในขณะที่สินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ 2.2 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 45.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และเกาหลีใต้) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 11.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อียิปต์ และซาอุดีอาระเบีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 13.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เยอรมนี เวียดนาม และไต้หวัน) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 19.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เมียนมา ออสเตรเลีย และลาว) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 13.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี รัสเซีย และมาเลเซีย)           ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 32.4 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดแคนาดา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เยเมน และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อิรัก แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หดตัวร้อยละ 11.0 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม ฮ่องกง อินโดนีเซีย เมียนมา และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 7.9 กลับมา หดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 16.0 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน แต่ขยายตัวในตลาดลาว ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และเนเธอร์แลนด์) ผักกระป๋อง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 13.3 กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ลาว ฮ่องกง และเมียนมา) การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม           มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 17.0 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 45.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 148.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ อิตาลี กาตาร์ และสหราชอาณาจักร) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 19.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอินเดีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 28.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย และเบลเยียม)  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 33.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย อิตาลี และตุรกี)           ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 16.5 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาร์เจนตินา และบราซิล) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 18.6 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา เกาหลีใต้ และเวียดนาม) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 16.8 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เมียนมา จีน และฮ่องกง แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเช็ก และไอร์แลนด์) เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 18.3 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดเมียนมา กัมพูชา เวียดนาม ฮ่องกง และสหรัฐฯ) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 38.2 หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร) ตลาดส่งออกสำคัญ           การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว สอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก ประกอบกับตามความต้องการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้น ท่ามกลางความกังวลต่อความเสี่ยงของนโยบายกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ และจีน ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยขยายตัวทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 22.4 จีน ร้อยละ 13.2 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.9 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 13.8 อาเซียน (5) ร้อยละ 4.8 และ CLMV ร้อยละ 5.2 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.3 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 111.5 แอฟริกา ร้อยละ 13.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 21.6 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 9.8 แต่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 26.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 2.1 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 5.7 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 472.8           ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์           ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 13.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง แผงวงจรไฟฟ้า และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้           ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยางพารา และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงวงจรไฟฟ้า และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ           ตลาดสหภาพยุโรป(27) ขยายตัวร้อยละ 13.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ           ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 4.8 (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำตาลทราย           ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 5.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม และทองแดงและของทำด้วยทองแดง           ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 111.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เคมีภัณฑ์ และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ           ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 26.9 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญ ที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ยาง           ตลาดตะวันออกกลาง หดตัวร้อยละ 2.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และข้าว สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้           ตลาดแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 13.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป           ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 21.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์พลาสติก           ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาหดตัวร้อยละ 5.7 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญ ที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และอากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ           ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 9.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป           แนวโน้มการส่งออกในปี 2568 กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 2-3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิต สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนและตะวันออกกลางที่เริ่มคลี่คลาย ดัชนีราคาอาหารโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งสะท้อนความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโอกาสการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการทดแทนสินค้านำเข้าจากจีน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ สถานการณ์การค้าโลกที่ยังคงตึงเครียด ความเสี่ยงของการเกิดวิกฤตเงินเฟ้อรอบใหม่ในสหรัฐฯ ผลกระทบจากมาตรการจำกัดการส่งออกน้ำมันของรัสเซียที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงานและค่าระวางเรือ ตลอดจนผลกระทบจากมาตรการทางการค้าต่าง ๆ เช่น การปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาสมดุลทางการค้า กระจายความเสี่ยงด้านตลาด และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ที่ท้าทาย

 พาณิชย์เผยสถิติที่สุดแห่งปี การส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 67

 พาณิชย์เผยสถิติที่สุดแห่งปี การส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 67

          หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยไฮไลท์สถิติสำคัญของการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ประจำปี 2567 โดยภาพรวมการส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา มีมูลค่า 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (10,548,759 ล้านบาท) ขยายตัว 5.4% ซึ่งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีสัดส่วน 17.36% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย คิดเป็นมูลค่า 52,185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,835,800 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 6.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีสถิติสำคัญ ดังนี้ การส่งออกสินค้าเกษตร (สินค้ากสิกรรม สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง) ไทยส่งออกสินค้าเกษตร มูลค่ารวม 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2566 (ปี 2566 มูลค่ารวม 26,814.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 923,999 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 - 2567 สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 22.58% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร (2) ข้าว 6,443.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 22.32% (3) ยางพารา 4,992.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 17.32% (4) ไก่ 4,313.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 14.96% และ (5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 3,133.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.87% รวม 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 88.06% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) จีน 10,054.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 34.88% (2) ญี่ปุ่น 3,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 12.04% (3) สหรัฐอเมริกา 1,899.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 6.59% (4) มาเลเซีย 1,215.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.22% และ (5) อินโดนีเซีย 1,154.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.01% รวม 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 61.73% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด สินค้าเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรก) ได้แก่ (1) สัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ปู หอย และปลาหมึก ขยายตัว 87.1% (2) ยางพารา ขยายตัว 36.8% (3) ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง 26.6% (4) ข้าว 25.0% และ (5) เครื่องเทศและสมุนไพร 23.1% ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสูงที่สุด 20 อันดับแรก) ได้แก่ (1) เวียดนาม ขยายตัว 78.9% (2) เซเนกัล 69.7% (3) อิรัก 44.9% (4) ฟิลิปปินส์ 41.7% และ (5) อิตาลี 35.8% การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร: ไทยส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่ารวม 23,357.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (821,212 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 4.1% เมื่อเทียบกับปี 2566 (ปี 2566 มูลค่ารวม 22,440.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 772,669 ล้านบาท) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 3,845.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 16.46% ของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร (2) อาหารสัตว์เลี้ยง 3,029.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 12.97% (3) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ 2,677.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 11.46% (4) น้ำตาลทราย 2,382.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.2 % และ (5) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 2,120.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.08% รวม 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วน 60.17% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) สหรัฐฯ 3,437.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 14.72% (2) จีน 2,304.0 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.86% (3) ญี่ปุ่น 1,712.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 7.33% (4) กัมพูชา 1,625.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 6.96% และ (5) เมียนมา 1,071.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.59% รวม 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วน 43.46% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรก) (1) อาหารสัตว์เลี้ยง 22.9% (2) กากน้ำตาล ขยายตัว 22.2% (3) นมและผลิตภัณฑ์นม 21.3% (4) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 18.3% และ (5) โกโก้และของปรุงแต่ง 16.0% ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรสูงสุด 20 อันดับแรก) (1) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขยายตัว 27.6% (2) แคนนาดา 21.6% (3) ออสเตรเลีย 19.9% (4) สหรัฐฯ 19.7% และ (5) สหราชอาณาจักร 16.5% สถิติดังกล่าวมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ ดังนี้ (1) ปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าถึง 52,185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นครั้งแรกที่ไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเกินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของภาคเกษตรและอาหารที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หรือมีการแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเร่งส่งเสริมและผลักดันให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น อาทิ อาหารแปรรูปมูลค่าสูง สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ และสินค้าเกษตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้า GI) (2) สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก มีสัดส่วนถึง 88.06% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 60.17% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ไทยพึ่งพาการส่งออกสินค้าไม่กี่รายการ อาทิ ผลไม้ ข้าว ยางพารา ไก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง ไทยจึงควรนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่หลากหลายขึ้น และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น (3) ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ไทยพึ่งพาสูง ได้แก่ จีน (สัดส่วน 23.68% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดของไทย) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 10.23%) และญี่ปุ่น (สัดส่วน 9.94%) ทั้ง 3 ตลาดมึสัดส่วน 43.85% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดของไทย จึงควรหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาบางตลาดมากเกินไป รวมทั้งติดตามมาตรการทางการค้าจากจีนและสหรัฐฯ จากสงครามการค้ารอบใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวทิ้งท้ายว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสินค้าสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะ การนำผลการวิจัยและเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และประเมินความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศ และสงครามการค้า ทำการตลาดและเจาะตลาดใหม่ ควบคู่กับการรักษาตลาดเดิม รวมทั้งติดตามมาตรการการนำเข้าของประเทศคู่ค้าเพื่อวางแผนปฏิบัติตามได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การเก็บรักษา และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อยกระดับการส่งออกภาคเกษตรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 4 กุมภาพันธ์ 2568

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456