ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ส่งออก


ทุเรียน สินค้าเกษตรพันล้าน! พาณิชย์-เกษตรฯ ผนึกกำลังรับมือคู่แข่ง-คุมคุณภาพ

ทุเรียน สินค้าเกษตรพันล้าน! พาณิชย์-เกษตรฯ ผนึกกำลังรับมือคู่แข่ง-คุมคุณภาพ

          หุ้นวิชั่น รายงาน นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการดูแลสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทย ซึ่งแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากกว่าปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดูแลทั้งด้านตลาดในประเทศ และการขยายตลาดส่งออก ผ่านการส่งเสริมการบริโภค ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้ทุเรียนไทยให้กับผู้บริโภคและผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกทุเรียนเกือบทั้งหมดของไทย (97% ของการส่งออกทั้งหมด)           สำหรับกลุ่มสินค้าผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 ของไทย โดยมูลค่าการส่งออกได้แซงสินค้าข้าว และยางพารา ตั้งแต่ปี 2563 และยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับที่ 1 จนถึงปัจุบัน สำหรับปี 2567 ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่ารวม 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (231,401 ล้านบาท) โดยคิดเป็นสัดส่วน 22.58% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย[1] (ข้าวมีสัดส่วน 22.32% และยางพารา มีสัดส่วน 17.32% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย) และปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม – กุมภาพันธ์) มูลค่าอยู่ที่ 429.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (14,615 ล้านบาท)           เมื่อพิจารณาเฉพาะทุเรียน ในปี 2567 มีมูลค่าการส่งออกรวม 4,404.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (157,506 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ทุเรียนสด 3,755.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,852 ล้านบาท) และ (2) ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 649.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (22,654 ล้านบาท) และล่าสุดปี 2568 ช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม – กุมภาพันธ์) ไทยมีมูลค่าส่งออกรวม 128.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,374 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ทุเรียนสด 85.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,918 ล้านบาท) และ (2) ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง 42.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,456 ล้านบาท)           ทุเรียนเป็นสินค้าที่ไทยพึ่งพาตลาดส่งออกถึง 75% ขณะที่บริโภคภายในประเทศเพียง 25% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดของจีนในการตรวจสาร Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียม รวมทั้งการแข่งขันของทุเรียนคู่แข่งในตลาดจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งทุเรียนจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย อาจส่งผลกระทบให้ทุเรียนล้นตลาด ซึ่งจะส่งผลกับราคาทุเรียนในประเทศ           ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทในการดูแลสินค้าเกษตรด้านการตลาด โดยการส่งเสริมและเชื่อมโยงหาตลาดให้กับสินค้าเกษตรไทย รวมทั้งสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน มีการออกมาตรการรองรับปัญหาผลผลิตล้นตลาด ทั้งส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และขยายตลาดส่งออก ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ตลอดกระบวนการผลิต รวมทั้งดูแลมาตรฐานสินค้าเกษตร ตั้งแต่สวน โรงคัดบรรจุ จนถึงด่านตรวจพืช เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าเกษตรไทยมีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งการบูรณาการการทำงานจะช่วยยกระดับราคาสินค้า และเพิ่มรายได้เกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน           โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ดูแลสินค้าผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทย ติดตามสถานการณ์ราคาและตลาดอย่างใกล้ชิด ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคถึง 75% ของปริมาณผลผลิตทุเรียนไทย โดยให้ทูตพาณิชย์ในประเทศจีน ทั้ง 8 แห่ง รวมทั้งสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่ง อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในประเทศจีน รวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยให้เป็นที่จดจำ หาตลาดรองรับทั้งในเมืองหลักและเมืองรองของจีนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม พร้อมเดินหน้ามาตรการเชิงรุก ตามแผนบริหารจัดการผลไม้ปี 2568 รวม 7 มาตรการ ครอบคลุม 25 แผนงาน ให้ผลไม้ไทยปีนี้ได้ราคาดีตลอดทั้งปี [1] ปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่า 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท)

SCB EIC เผยส่งออกครึ่งปีแรกโตดี แต่ทั้งปีคาดชะลอลงเหลือ 1.6%

SCB EIC เผยส่งออกครึ่งปีแรกโตดี แต่ทั้งปีคาดชะลอลงเหลือ 1.6%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน SCB EIC เผย ส่งออก ก.พ. 2025 โตสูงจากทองคำ อิเล็กทรอนิกส์ และความกังวลสงครามการค้า มองส่งออก มี.ค. ยังมีแรงส่งต่อเนื่อง           มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ก.พ. 2025 เร่งตัวสูงถึง 14%YOY อยู่ที่ 26,707.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจาก 13.6% ในเดือนก่อนใกล้เคียงที่คาดไว้ (SCB EIC ประเมินที่ 17.0% และค่ากลาง Reuter Poll 9.7%) โดยภาพรวมการส่งออกไทยช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัว 13.8%           การส่งออกทองคำและประเด็นพิเศษทองคำยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกที่สำคัญในเดือน ก.พ. 2025 โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ ขยายตัวมากถึง 4,160% ต่อเนื่องจาก 3,418% ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่า เกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกทองคำในรูปของทองคำผสมแพลทินัมในสัดส่วนน้อยไปยังตลาดอินเดียเพื่อประโยชน์ทางภาษีของผู้นำเข้าอินเดีย[1] ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. และชัดเจนขึ้นในเดือน ธ.ค. ปี 2024 ที่ขยายตัวมากถึง 524,302% นอกจากนี้ การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปยังขยายตัวสูงมากถึง 26.1% ต่อเนื่องจาก 148.9% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะตลาดสวิตเซอร์แลนด์ (339.5%) ตลาดสิงคโปร์ (277.1%)           การส่งออกทองคำ รวมถึงสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษอย่างเห็นได้ชัดนี้ มีส่วนทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยเดือน ก.พ. 2025 ขยายตัวมากถึง 6.1% ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำและสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ นี้ (เพื่อให้สะท้อนกิจกรรมการส่งออกที่เกิดขึ้นจริง) พบว่าขยายตัวที่ 8.2% (เทียบกับเดือนก่อนที่ 6.2%)           นอกจากปัจจัยทองคำ การส่งออกไทยเดือนนี้ยังคงได้รับแรงส่งจากวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้นและการเร่งส่งออกก่อนนโยบายกีดกันการค้าสหรัฐฯ ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ประกอบกับการนำเข้าของจีนที่เพิ่มขึ้นหลังเทศกาลตรุษจีน สะท้อนจาก (1) การส่งออกคอมพิวเตอร์ขยายตัวมากถึง 51.3% ต่อเนื่องจาก 45% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ (35.2%) และตลาดจีน (230.3%) (2) การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวมากถึง 18.2% และขยายตัวทั่วถึงหลายกลุ่มสินค้าหลัก โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (35.3%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (92.8%) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสงครามการค้าโดยตรง และ (3) การส่งออกไปจีนขยายตัวมากถึง 22.4% โดยขยายตัวดีในหลายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปจีนและเกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่การผลิตจีนที่อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง (41.6%) ยางพารา (69.8%) เคมีภัณฑ์ (50.5%) รวมถึงการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปจีนขยายตัวดี (230.3%)   สินค้าอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวดี ขณะที่สินค้าเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัวในเดือน ก.พ.           หากพิจารณารายหมวด พบว่า (1) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 17.2% เติบโตดีต่อเนื่องนานเกือบปี โดยอัญมณี และเครื่องประดับหักทอง ทองคำยังไม่ขึ้นรูป เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นสินค้าหลักที่ขยายตัว ขณะที่เหล็ก รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นสินค้าหลักที่หดตัว ทั้งนี้หากหักทองคำและสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะขยายตัว 10% (2) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวสูง 9.9% เทียบเดือนก่อนที่ 3% โดยน้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวดี ขณะที่เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์หดตัว (3) สินค้าเกษตรหดตัว -1.6% หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนที่หดตัว -2.2% โดยยางพาราและสินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ เป็นสินค้าที่ขยายตัวดี ขณะที่ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และข้าวหดตัว และ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงกลับมาหดตัวสูง -11.5% หลังจากขยายตัวเล็กน้อย 0.3% ในเดือนก่อน โดยน้ำมันสำเร็จรูปยังคงหดตัว -3.6% เทียบเดือนก่อนที่หดตัว -4.3% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องนาน 6 เดือนแล้ว ตลาดอินเดีย และสวิตเซอร์แลนด์ยังคงขยายตัวดีจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ และจีนได้แรงหนุนจากคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ           หากพิจารณารายตลาดหลัก พบว่า (1) ตลาดอินเดียขยายตัว 156.8% สูงกว่าเดือนก่อนที่ขยายตัว 129.8% โดยการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวสูงถึง 2,066% หรือราว 62% ของมูลค่าการส่งออกไปอินเดียทั้งหมดในเดือนนี้ ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยพิเศษ พบว่า ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ ไปอินเดียสูงถึง 1,224.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องมากถึง 111,202% (ซึ่งเติบโตสูงมากถึง 524,302% และ 241,819% ในเดือน ธ.ค. 2024 และ ม.ค. 2025 ตามลำดับ) ซึ่งคิดเป็น 96% ของการส่งออกสินค้ากลุ่มโลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ ทั้งหมดของไทยในเดือนนี้ (2) ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ขยายตัวสูง 235.7% แม้ชะลอลงจาก 852.7% เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งขยายตัวสูง 311% คิดเป็น 93% ของมูลค่าส่งออกไทยทั้งหมดไปสวิตเซอร์แลนด์เดือนนี้ โดยการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่ามากถึง 701 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวมากถึง 339.5% (คิดเป็น 75.1% ของการส่งออกทองคำไม่ขึ้นรูปทั้งหมดของไทยในเดือนนี้)(3) ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวดีต่อเนื่อง 18.2% ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 22.4% โดยสินค้าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง 92.8%, 75.2% และ 35.3% ตามลำดับ ขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบหดตัว -13.3% หลังจากขยายตัวสูง 33.7% ในเดือนก่อน นอกจากนี้ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับยังขยายตัวสูงมากถึง 41.1% ขยายตัวติดต่อกันถึง 14 เดือน (4) ตลาดจีนขยายตัวสูง 22.4% เทียบเดือนก่อนที่ 13.2% แรงส่งหลักมาจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา และเคมีภัณฑ์ ที่ขยายตัวมากถึง 230.3%, 41.6%, 69.8% และ 50.5% ตามลำดับ (ราว 38% ของมูลค่าส่งออกไทยไปจีน) และจีนกลับมานำเข้าไทยสูงขึ้นหลังหมดเทศกาลตรุษจีน (5) ตลาดยุโรปเติบโตชะลอลงเหลือ 4.4% จาก 13.2% เดือนก่อน จำนวนสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวได้ในตลาดนี้เหลือเพียง 7 ใน 15 รายการสำคัญ (เทียบ 10 รายการในเดือนก่อน) โดยเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางเป็นสินค้าหลักที่หดตัว ขณะที่การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าหลักที่ขยายตัว (66.2%) และ (6) ตลาด CLMV กลับมาหดตัว -1.7% ครั้งแรกในรอบ 14 เดือน (เทียบเดือนก่อนขยายตัว 5.2%) ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกไปกัมพูชาหดตัวสูง -40.7% โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับหดตัว -91.9% (ส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปหดตัว -92%) น้ำมันสำเร็จรูปหดตัว -22.1% เทียบการขยายตัวสูง 25.3% ในเดือนก่อน (2 สินค้าข้างต้นมีสัดส่วนราว 26% ของมูลค่าส่งออกไทยไปกัมพูชาทั้งหมดในเดือนนี้) ทั้งนี้การส่งออกไปยังเวียดนาม เมียนมา และ สปป.ลาว ยังคงขยายตัวดี 37.3%, 6.1% และ 4.3% ตามลำดับ นำเข้าโตต่อเนื่อง 8 เดือน แม้มีปัจจัยฐานสูงจากการนำเข้าทองคำ           มูลค่าการนำเข้าสินค้าไทยเดือน ก.พ. อยู่ที่ 24,718.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวชะลอลงเหลือ 4% (SCB EIC ประเมิน 4.8% เท่ากับค่ากลางของ Reuter Poll) เทียบการนำเข้าเดือนก่อนที่โตราว 7.9% การนำเข้าขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน อย่างไรก็ดี การนำเข้าหักทองคำลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ -0.5% สะท้อนว่าช่วงปีก่อนไทยนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นมาก เพื่อส่งออกต่อหรือเพื่อเติมสินค้าคงคลังจากการส่งออกทองคำและทองคำผสมเพิ่มขึ้นมาก แม้การนำเข้าสินค้าทุน ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง และสินค้าเชื้อเพลิงหดตัว -11.8% -8.6% และ -5.7% ตามลำดับ การนำเข้าอาวุธและยุทธปัจจัย สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (รวมทองคำ) สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว 143.5%, 12.8% และ 10.3% ตามลำดับ ตัวเลขดุลการค้า (ระบบศุลกากร) เกินดุล 1,988.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ก.พ. และเกินดุลรวม 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 SCB EIC ประเมินแนวโน้มส่งออกไทยขยายตัวดีในช่วงครึ่งปีแรก แต่ทั้งปีจะขยายตัวชะลอลงเหลือ 1.6% ผลจากสงครามการค้ากระทบส่งออกช่วงครึ่งปีหลัง           SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกเดือน มี.ค. จะยังขยายตัวได้ดี จากอานิสงส์วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น แนวโน้มการเร่งสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าก่อนนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ การส่งออกทองคำ รวมถึงทองคำ ในรูปแบบโลหะอื่นไปยังอินเดียก่อนรัฐบาลอินเดียจะเริ่มปรับปรุงเกณฑ์ช่องว่างการนำเข้าทองคำ นอกจากนี้ ปัจจัยฐานต่ำเดือน มี.ค. 2024 หดตัวสูง -10.5% จะสนับสนุนการส่งออกในเดือน มี.ค. ปีนี้ได้           อย่างไรก็ตาม ทิศทางการส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอลงมากในไตรมาส 2 และจะหดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ผลจากการใช้นโยบายกีดกันการค้า การลงทุน และการอพยพและการเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะเกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะการกีดกันจากสหรัฐฯ ส่งผลให้เศรษฐกิจและบรรยากาศการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมถึงผล Front load การเร่งผลิตและส่งออกช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้จะทยอยหมดลง อานิสงส์วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้นเริ่มลดลง นอกจากนี้ ปัจจัยฐานสูงจากช่วงครึ่งหลังของปี 2024 จะกดดันการส่งออกในครึ่งหลังของปี เนื่องจากมูลค่าการส่งออกไทยขยายตัวมากถึง 7.5% และ 10.5% ในไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2024 ตามลำดับ เทียบกับครึ่งแรกของปี 2024 ที่ 1.9% (ตัวเลขระบบศุลกากร)           ในภาพรวม SCB EIC ประเมินแนวโน้มมูลค่าส่งออกไทยปี 2025 อยู่ที่ 1.6% (ณ มี.ค. 2025) ต่ำลงจากเดิม 2% (ณ พ.ย. 2024) (ข้อมูลระบบดุลการชำระเงิน) และต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลที่ราว 3-3.5% เนื่องจาก SCB EIC ประเมินว่า ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกไทยในไตรมาสแรกส่วนมากเป็นปัจจัยชั่วคราว เช่น การส่งออกทองคำผสมโลหะไปอินเดีย ขณะที่แรงกดดันต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะไตรมาส 4 [1] รัฐบาลอินเดียได้ปรับปรุงอัตราการจัดเก็บภาษีนำเข้าทองคำ เงิน แพลทินัม อัญมณี และเครื่องประดับในช่วงปี 2022 – 2024 ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้นำเข้าอินเดียหันมานำเข้าทองคำผสมแพลทินัมจากแทนซาเนีย แอฟริกาใต้ และไทยมากขึ้น ภายใต้เกณฑ์อัตราภาษีนำเข้า 0% ตาม Duty Free Tariff Preference (DFTP) Scheme by India for Least Developed Countries และความตกลงการค้าเสรี อาเซียน – อินเดีย (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์ SCB EIC Flash : ตัวเลขส่งออก ม.ค. 2025 ขับเคลื่อนจากทองคำ วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น การเร่งส่งออกหวั่นสงครามการค้า) บทวิเคราะห์โดย https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-210325 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ ภาวัต แสวงสัตย์ (pawat.sawaengsat@scb.co.th) นักเศรษฐศาสตร์ วิชาญ กุลาตี (vishal.gulati@scb.co.th) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

วัดกำลังหุ้นส่งออก  มีทั้งดีและร้าย เช็กได้!

วัดกำลังหุ้นส่งออก มีทั้งดีและร้าย เช็กได้!

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า ส่งออก ก.พ. 2025 โดยรวมปรับตัวขึ้น ยกเว้นส่งออกไก่ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขส่งออกสำคัญดังนี้ 1) ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเดือน ก.พ. 2025 อยู่ที่ 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+14% YoY, +11% MoM) และตัวเลข 2M25 อยู่ที่ 507 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+14% YoY) 2) ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเดือน ก.พ. 2025 อยู่ที่ 311 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+0.1% YoY, +4% MoM) และตัวเลข 2M25 อยู่ที่ 612 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+5% YoY) 3) ส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปเดือน ก.พ. 2025 อยู่ที่ 365 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+9% YoY, -5% MoM) และตัวเลข 2M25 อยู่ที่ 749 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+11% YoY) 4) ส่งออกยางพาราเดือน ก.พ. 2025 อยู่ที่ 569 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+36% YoY, +20% MoM) และตัวเลข 2M25 อยู่ที่ 1,045 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+40% YoY) (ที่มา: กระทรวงพาณิชย์) มีมุมมองเป็นบวก จากส่งออกโดยรวม ก.พ. 2025 ปรับตัวขึ้น ยกเว้นส่งออกไก่ที่ชะลอ MoM ตามปัจจัยฤดูกาล โดยเรามองว่าส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงและอาหารทะเลกระป๋องขยายตัว หนุนโดยกลยุทธ์การทำการตลาดและขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่ส่งออกยางพาราได้ปัจจัยหนุนจากตลาดจีนเป็นหลักตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคการลงทุน รวมถึงสถานการณ์ supply ยางในประเทศปรับตัวดีขึ้น สำหรับ 1Q25E 1) กลุ่ม Pet Food เราประเมินกำไรปกติรวมจะชะลอ YoY จาก ITC ที่ SG&A สูงขึ้นตามการลงทุน transformation และทรงตัว QoQ จากการขยาย capacity ใหม่ของ AAI ที่เลื่อนไปใน 2Q25E และการเริ่มเห็นผลกระทบจากเกณฑ์ Global minimum tax (GMT) ของ ITC, 2) TU เราประเมินกำไรปกติจะลดลง QoQ จาก SG&A ทรงตัวสูง และค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้นตามการเริ่มใช้เกณฑ์ GMT, 3) NER เราคาดการณ์กำไรปกติมีโอกาสดีกว่าที่เราคาดและขยายตัว QoQ หนุนโดยส่งออกปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน, และ 4) GFPT เบื้องต้นเราประเมินกำไรปกติจะปรับตัวลง YoY แต่อาจดีขึ้นเล็กน้อย QoQ หนุนโดยราคาไก่ในประเทศและส่วนแบ่งกำไรปรับตัวดีขึ้น แต่ถูก offset บางส่วนจากปัจจัยฤดูกาลของส่งออก ทั้งนี้กลุ่ม Pet Food คงน้ำหนัก “Neutral” และไม่มี Top pick สำหรับหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่ม Agri & Food เราแนะนำ - TU (ถือ/เป้า 13.50 บาท) เนื่องจากเรามองว่าปี 2025E ยังมีปัจจัยท้าทายจาก SG&A ทรงตัวสูงจากการลงทุนแผน transformation การเริ่มใช้ GMT และแนวโน้มการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ - NER (ถือ/เป้า 5.50 บาท) อย่างไรก็ตามเรามีโอกาสปรับประมาณการขึ้นจากผลการดำเนินงาน 1Q25E และปี 2025E มีแนวโน้มดีกว่าคาดหลังตัวเลขส่งออกขยายตัวสูงต่อเนื่อง - GFPT (ถือ/เป้า 11.00 บาท) จากกำไรปกติปี 2025E ชะลอตัว -3% YoY จากฐานสูงในปี 2024 ที่ได้อานิสงส์จากลูกค้าส่งออกเร่งคำสั่งซื้อ อีกทั้งการขยายโรงเชือดไก่แห่งใหม่ยังล่าช้าไปในปี 2026E

 พาณิชย์เผยสถิติที่สุดแห่งปี การส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 67

 พาณิชย์เผยสถิติที่สุดแห่งปี การส่งออกสินค้าเกษตรไทย ปี 67

          หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยไฮไลท์สถิติสำคัญของการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ประจำปี 2567 โดยภาพรวมการส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา มีมูลค่า 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (10,548,759 ล้านบาท) ขยายตัว 5.4% ซึ่งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีสัดส่วน 17.36% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย คิดเป็นมูลค่า 52,185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,835,800 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 6.0% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีสถิติสำคัญ ดังนี้ การส่งออกสินค้าเกษตร (สินค้ากสิกรรม สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง) ไทยส่งออกสินค้าเกษตร มูลค่ารวม 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2566 (ปี 2566 มูลค่ารวม 26,814.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 923,999 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 - 2567 สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 22.58% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร (2) ข้าว 6,443.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 22.32% (3) ยางพารา 4,992.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 17.32% (4) ไก่ 4,313.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 14.96% และ (5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 3,133.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.87% รวม 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 88.06% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) จีน 10,054.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 34.88% (2) ญี่ปุ่น 3,471.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 12.04% (3) สหรัฐอเมริกา 1,899.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 6.59% (4) มาเลเซีย 1,215.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.22% และ (5) อินโดนีเซีย 1,154.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.01% รวม 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 61.73% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด สินค้าเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรก) ได้แก่ (1) สัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ปู หอย และปลาหมึก ขยายตัว 87.1% (2) ยางพารา ขยายตัว 36.8% (3) ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง 26.6% (4) ข้าว 25.0% และ (5) เครื่องเทศและสมุนไพร 23.1% ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสูงที่สุด 20 อันดับแรก) ได้แก่ (1) เวียดนาม ขยายตัว 78.9% (2) เซเนกัล 69.7% (3) อิรัก 44.9% (4) ฟิลิปปินส์ 41.7% และ (5) อิตาลี 35.8% การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร: ไทยส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่ารวม 23,357.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (821,212 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 4.1% เมื่อเทียบกับปี 2566 (ปี 2566 มูลค่ารวม 22,440.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 772,669 ล้านบาท) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 3,845.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 16.46% ของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร (2) อาหารสัตว์เลี้ยง 3,029.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 12.97% (3) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ 2,677.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 11.46% (4) น้ำตาลทราย 2,382.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 10.2 % และ (5) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 2,120.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.08% รวม 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วน 60.17% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) สหรัฐฯ 3,437.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 14.72% (2) จีน 2,304.0 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.86% (3) ญี่ปุ่น 1,712.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 7.33% (4) กัมพูชา 1,625.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 6.96% และ (5) เมียนมา 1,071.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.59% รวม 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วน 43.46% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรก) (1) อาหารสัตว์เลี้ยง 22.9% (2) กากน้ำตาล ขยายตัว 22.2% (3) นมและผลิตภัณฑ์นม 21.3% (4) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 18.3% และ (5) โกโก้และของปรุงแต่ง 16.0% ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงสุด 5 อันดับแรก (พิจารณาจากตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรสูงสุด 20 อันดับแรก) (1) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขยายตัว 27.6% (2) แคนนาดา 21.6% (3) ออสเตรเลีย 19.9% (4) สหรัฐฯ 19.7% และ (5) สหราชอาณาจักร 16.5% สถิติดังกล่าวมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ ดังนี้ (1) ปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าถึง 52,185.0 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นครั้งแรกที่ไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเกินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของภาคเกษตรและอาหารที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หรือมีการแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเร่งส่งเสริมและผลักดันให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น อาทิ อาหารแปรรูปมูลค่าสูง สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ และสินค้าเกษตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้า GI) (2) สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก มีสัดส่วนถึง 88.06% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก มีสัดส่วน 60.17% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ไทยพึ่งพาการส่งออกสินค้าไม่กี่รายการ อาทิ ผลไม้ ข้าว ยางพารา ไก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง ไทยจึงควรนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่หลากหลายขึ้น และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น (3) ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ไทยพึ่งพาสูง ได้แก่ จีน (สัดส่วน 23.68% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดของไทย) สหรัฐอเมริกา (สัดส่วน 10.23%) และญี่ปุ่น (สัดส่วน 9.94%) ทั้ง 3 ตลาดมึสัดส่วน 43.85% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดของไทย จึงควรหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาบางตลาดมากเกินไป รวมทั้งติดตามมาตรการทางการค้าจากจีนและสหรัฐฯ จากสงครามการค้ารอบใหม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวทิ้งท้ายว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสินค้าสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้เศรษฐกิจภาคเกษตรเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะ การนำผลการวิจัยและเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และประเมินความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศ และสงครามการค้า ทำการตลาดและเจาะตลาดใหม่ ควบคู่กับการรักษาตลาดเดิม รวมทั้งติดตามมาตรการการนำเข้าของประเทศคู่ค้าเพื่อวางแผนปฏิบัติตามได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร การเก็บรักษา และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อยกระดับการส่งออกภาคเกษตรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 4 กุมภาพันธ์ 2568

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ส่งออก ธ.ค. แรงยังดี หวั่นสงครามการค้ากระทบครึ่งหลังปีนี้

ส่งออก ธ.ค. แรงยังดี หวั่นสงครามการค้ากระทบครึ่งหลังปีนี้

          หุ้นวิชั่น - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC วิเคราะห์ภาพรวมการส่งออกของไทย ระบุ ธ.ค. แรงยังดี หวั่นสงครามการค้ากระทบครึ่งหลังปี 2025  มูลค่าส่งออกสินค้าไทยเดือน ธ.ค. 2024 โตเร่งขึ้น 8.7% ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง           มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน ธ.ค. 2024 อยู่ที่ 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.7%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน) เร่งขึ้นจาก 8.2% ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าคาดการณ์ (SCB EIC ประเมินไว้ 7.1% ขณะที่ Reuter Poll มีค่ากลางของการคาดการณ์ 8.1%) หากไม่รวมทองคำจะขยายตัวใกล้เคียงเดิมที่ 8.7%           ภาพรวมส่งออกไทยเดือน ธ.ค. ดีต่อเนื่อง โดยทรงตัวจากเดือนก่อนแบบปรับฤดูกาล (0%MOM_SA) ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก (1) การเร่งส่งออกจากความกังวลด้านมาตรการกีดกันการค้าของประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ และคู่ค้า โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มที่มีความเสี่ยงว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ (สินค้าสามกลุ่มนี้มีส่วนทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนนี้เพิ่มขึ้นมากถึง 5%) (2) อานิสงส์วัฏจักรขาขึ้นของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ และ (3) การส่งออกทองคำยังขยายตัวสูง 7.2% แม้ชะลอลงมาก (ทองคำมีส่วนทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนนี้เพิ่มขึ้น 0.5%) ผลจากราคาทองคำอยู่ในระดับสูงและความต้องการสะสมทองคำเพื่อรองรับจากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ส่งออกเดือน ธ.ค. โตดีเกือบทุกหมวด ยกเว้นแร่และเชื้อเพลิงที่ยังคงหดตัวมาก           หากพิจารณารายหมวด พบว่า (1) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 9 เดือนที่ 11.1% สูงกว่าเดือนก่อนที่ 9.5% โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับหักทอง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง และทองคำยังไม่ขึ้นรูป ขณะที่เหล็ก เครื่องยนต์สันดาป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอดเป็นสินค้าหลักที่หดตัว (2) สินค้าเกษตรขยายตัว 10.7% เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.1% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน โดยเฉพาะยางพาราและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขณะที่ข้าวเป็นสินค้าหลักที่หดตัว (3) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย 6.7% จาก 7.7% ในเดือนก่อน โดยอาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่มยังขยายตัวดี ขณะที่ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์และน้ำตาลทรายเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว และ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัวแรง -32.0% จาก -7.1% ในเดือนก่อน ตามการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง -33.7% เทียบ -16.3% ในเดือนก่อน (รูปที่ 1 และ 2) การส่งออกขยายตัวสูงในหลายตลาดหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน ยุโรป และอินเดีย           หากพิจารณารายตลาดหลัก พบว่า (1) ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 17.5% สูงกว่าเดือนก่อนที่ 9.5% เกือบเท่าตัว โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลที่ขยายตัวมากถึง 160.4%, 92.3%, 63.7% และ 55.5% ตามลำดับ (2) ตลาดยุโรป ขยายตัวต่อเนื่อง 22% เทียบ 12% ในเดือนก่อน โดยจำนวนสินค้าส่งออกสำคัญขยายตัวสูงถึง 11 ใน 15 รายการ โดยเฉพาะเครื่องจักรกลและส่วนประกอบขยายตัวมากถึง 177.5% เทียบกับ 14.2% ในเดือนก่อน (3) ตลาดญี่ปุ่น พลิกกลับมาขยายตัวเล็กน้อย 0.6% จาก -3.7% ในเดือนก่อน โดยจำนวนสินค้าส่งออกสำคัญขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 11 ใน 15 รายการ เทียบกับ 5 รายการในเดือนก่อน (4) ตลาดจีน โตชะลอลงเล็กน้อยที่ 15% จาก 16.9% ในเดือนก่อน โดยการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งชะลอตัวลงมากเป็น 1.8% จาก 47.6% ในเดือนก่อนหน้า การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบชะลอตัวลงเกือบครึ่งที่ 78.8% จาก 126.8% ในเดือนก่อน (5) ตลาดฮ่องกง หดตัวแรงเป็น -23.3% จาก -9.9% ในเดือนก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้ากลุ่มสำคัญที่หดตัว และ (6) ตลาด CLMV ขยายตัว 20.7% ใกล้เคียงเดือนก่อน การส่งออกบางรายการเช่นน้ำมันสำเร็จรูปหดตัวมากขึ้น -10.3% จาก -0.7% ในเดือนก่อน การส่งออกไปยังกัมพูชา เมียนมาและเวียดนาม ยังคงขยายตัว 55.3%, 47.5% และ 5.8% ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไป สปป. ลาว กลับมาหดตัว -3.1% การส่งออกไทยทั้งปี 2024 โตดีกว่าคาดอยู่ที่ 5.4% โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง           ภาพรวมมูลค่าการส่งออกไทยในปี 2024 อยู่ที่ 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.4% ปรับดีขึ้นมากจากที่เคยหดตัว -0.8% ในปี 2023 (ตัวเลขระบบศุลกากร) โดยในช่วงไตรมาสแรกมูลค่าการส่งออกหดตัวเล็กน้อย -0.3% แต่พลิกกลับมาขยายตัว 4.3% ในไตรมาสที่ 2 ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของประเทศสำคัญทั่วโลก ระดับน้ำในคลองปานามากลับมาเป็นปกติส่งผลให้การขนส่งสินค้าดำเนินการได้ปกติขึ้น และราคาสินค้าส่งออกที่ดีในหลายกลุ่มสินค้า เช่น ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลงจากภัยแล้งและนโยบายควบคุมการส่งออกสินค้าในบางประเทศ เช่น ข้าว ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ส่งผลให้ช่วงครึ่งแรกของปีมูลค่าการส่งออกขยายตัว 1.9% ขณะที่มูลค่าการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีขยายตัวดีมากที่ 9% (7.5% และ 10.5%ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ตามลำดับ) จากการส่งออกทองคำสูงขึ้นมาก อานิสงส์วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ต่างประเทศเริ่มเร่งตัวจากความกังวลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่อาจเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มในปี 2025 ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำในไตรมาสสุดท้าย           ช่วงตลอดปี 2024 การส่งออกไทยได้แรงขับเคลื่อนจากสินค้าทุกหมวด ยกเว้นแร่และเชื้อเพลิง โดยหมวดสินค้าเกษตรขยายตัวดีที่สุด รองมาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัว 7.5%, 5.9% และ 4.1% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัว -6.5% สำหรับภาพรวมตลาดส่งออกสำคัญเติบโตดี นำโดย สหรัฐฯ CLMV สหภาพยุโรป และจีนที่ขยายตัว 13.7%, 12.7%, 9.5% และ 3.1% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปญี่ปุ่นหดตัว -5.3% ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เช่นเดียวกับตลาดอาเซียน 5 ที่หดตัว -0.8% ใกล้เคียง -1.1% ในปีก่อน โดยสหรัฐฯ นับว่าเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย มูลค่ารวม 54,956.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าปีก่อนที่ 48,352.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ คิดเป็น 18.3% ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมดเพิ่มจาก 17% ในปีก่อน การนำเข้าเดือน ธ.ค. เร่งตัวสูงตามคาดจากฐานต่ำ แต่ดุลการค้าขาดดุลน้อยสุดในรอบ 3 เดือน           มูลค่าการนำเข้าสินค้าไทยเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 24,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เร่งขึ้น 14.9% (SCB EIC ประเมินไว้ 14.8% ขณะที่ Reuter Poll มีค่ากลางของการคาดการณ์ 13.7%) เทียบกับ 0.9% ในเดือนก่อน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน โดยการนำเข้าอาวุธและยุทธปัจจัย สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัว 46.8%, 33.5%, 20.4% และ 13.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุนหดตัวต่อเนื่องที่ -21.3% และ -9.3% ตามลำดับ ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าทั้งปี 2024 ขยายตัว 6.3% หลังจากที่หดตัว -4.2% ในปี 2023 สำหรับดุลการค้าในระบบศุลกากรเดือน ธ.ค. ขาดดุลเล็กน้อย -10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าไทยทั้งปี 2024 ขาดดุล -6,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขระบบศุลกากร) ในช่วงต้นปี 2025 การส่งออกมีแนวโน้มโตดีต่อเนื่อง แต่ครึ่งปีหลังมีปัจจัยกดดันสูง           การส่งออกไทยในช่วงต้นปี 2025 จะยังมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง จากแนวโน้มการเร่งสั่งซื้อสินค้าของประเทศคู่ค้าก่อนนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ประกอบกับปัจจัยฐานที่ไม่สูงนัก นอกจากนี้ ยังมีอานิสงส์เพิ่มเติมจากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้นที่ยังมีอยู่บ้างแม้ต้องระวังความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2025 จากอากาศที่หนาวมากกว่าคาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าส่งออกกลุ่มน้ำมันและกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเพิ่มขึ้น เช่น พลาสติกและปิโตรเคมี อย่างไรก็ดี ในระยะถัดไปราคาน้ำมันมีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบจากนโยบายเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี แรงกดดันการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นมากจาก (1) เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเป็น 2.5% ในปี 2025 จาก 2.7% ในปี 2024 จากทั้งผลของนโยบายกีดกันการค้า การลงทุน และการเคลื่อนย้ายพรมแดนที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ          ทั่วโลก นอกจากนี้ หลายเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญยังเผชิญกับปัญหาภายใน เช่น จีนที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างหลากหลายด้าน ยุโรปที่เผชิญการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและปัญหาการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้น (2) บรรยากาศการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 จากผลกระทบนโยบายกีดกันการค้าในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ รวมถึงผลจากการเร่งส่งออกในช่วงปลายปี 2024 และต้นปี 2025 (3) ความต้องการสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อผลิตเป็นสินค้าขั้นปลายอาจชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าขั้นปลายที่จีนส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และปัญหาจีนผลิตล้นตลาด (China’s overcapacity) มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในตลาดโลก กดดันความสามารถการแข่งขันของสินค้าไทยในการส่งออก และ (4) ปัจจัยฐานสูงในปี 2024 ที่ขยายตัวมากกว่า 5%           ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินมุมมองการส่งออกไทยปี 2025 (ณ พ.ย. 2024) ที่ 2% (ข้อมูลระบบดุลการชำระเงิน)           โดย SCB EIC อยู่ระหว่างการประเมินแนวโน้มการส่งออกไทยในปี 2025 ใหม่และเผยแพร่ในเดือน ก.พ. รูปที่ 1 : มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย รายสินค้าและรายตลาดสำคัญ รูปที่ 2 : มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทย รายสินค้าและรายตลาดสำคัญ รูปที่ 3 : คอมพิวเตอร์ฯ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสินค้าหลักที่ขับเคลื่อนการส่งออกไทยเดือน ธ.ค. 2024 บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-230125

ส่งออกไทยโต 6 เดือนติด STA - TEGH – COCOCO รับโชค

ส่งออกไทยโต 6 เดือนติด STA - TEGH – COCOCO รับโชค

          หุ้นวิชั่น - บล.หยวนต้า ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือน ธ.ค. 24 เพิ่มขึ้น 8.7% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 7.4% YoY ได้แรงหนุนจากทุกหมวดหมู่สินค้า สินค้าเกษตร เติบโต 6 เดือนติดต่อกันที่ 10.7% YoY สินค้าที่ขยายตัวดีคือ ยางพาราเติบโต 14 เดือนติดต่อกันที่ 48.5% YoY, มันสำปะหลังโต 7.8% YoY, ไก่สดและแปรรูปที่เติบโต 3 เดือนติดต่อกัน 7.1% YoY สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เติบโต 6 เดือนติดต่อกันที่ 6.7% YoY สินค้าที่ขยายตัวดีคือ ผลไม้กระป๋องโต 24.3% YoY, อาหารทะเลกระป๋องโต 14.2% YoY, และอาหารสัตว์เลี้ยงโต 15 เดือนติดต่อกันที่ 9.7% YoY โดยสินค้าที่เติบโตเด่นได้แก่ น้ำมะพร้าวที่เร่งตัว 73.8% YoY ขณะที่ยอดส่งออกน้ำมะพร้าวไปสหรัฐฯ เร่งตัวถึง 109.6% YoY ปี 2024 New High แต่... ปี 2025 เสี่ยงฐานสูงและ Trade War           ยอดส่งออกไทยทั้งปี 2024 ขยายตัว 5.4% YoY ทำสถิติสูงสุดใหม่ นับเป็นปัจจัยหนุนต่อ GDP 4Q24 และทั้งปี 2024 ที่มีกำหนดรายงานในวันที่ 19 ก.พ. 2025 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกเริ่มชะลอตัวในบางหมวดสินค้า ซึ่งอาจสะท้อนถึงความเสี่ยงจากฐานที่สูงขึ้นในระยะถัดไป รวมถึงความเสี่ยงจากสงครามทางการค้า หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยได้เริ่มพิจารณาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกกับแคนาดาในอัตรา 25% และเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 10% แม้ว่านโยบายภาษีดูผ่อนคลายกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในระยะถัดไป ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำเก็งกำไรระยะสั้นแบบ สินค้าอุตสาหกรรม เติบโต 9 เดือนติดต่อกันที่ 11.1% YoY สินค้าที่เติบโตดีคืออัญมณี, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องจักร, เครื่องปรับอากาศ, ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ Disclaimer: Selective ในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ กลุ่มยางพารา (STA, TEGH) และน้ำมะพร้าว (COCOCO)           นอกจากนี้เรามองว่ายอดส่งออกที่เติบโตดี คาดจะหนุนให้ GDP 4Q24 และทั้งปี 2024 เติบโตดีเช่นกัน ซึ่งจะเป็นบวกต่อ SET Index ในภาพรวม

ส่งออก ธันวาคม โต 8.7% NER-COCOCO โดดเด่น

ส่งออก ธันวาคม โต 8.7% NER-COCOCO โดดเด่น

           หุ้นวิชั่น - ส่งออกไทยเดือนธันวาคม 2567 ขยายตัว 8.7% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3 แสนล้านดอลลาร์ ดัน GDP ไตรมาส 4 มีโอกาสโตเกินคาด สินค้าที่เติบโตเด่นคือ น้ำมะพร้าว โต75%ยางพารา โต48.5% ปีหน้าคาดส่งออกโต 2– 3% โบรกมองหุ้นเด่น NER-MALEE-COCOCO -KTB- TTB            นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ แถลง การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (853,305 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 8.7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2567 ทำมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยการส่งออกในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ พุ่งทะยานสู่ระดับ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับการส่งออกในรูปของเงินบาทก็มีมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนธันวาคมได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบของไทยในทุกหมวดและยังขยายตัวเกือบทุกตลาดส่งออกสำคัญ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าโลกในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การส่งออกของไทยทั้งปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 5.4 มูลค่าการค้ารวม            มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.9 ดุลการค้า ขาดดุล 10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 306,809.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.3 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 6,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ            มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 853,305 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 863,930 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 13.4 ดุลการค้า ขาดดุล 10,625 ล้านบาท ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 10,548,759 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน            การนำเข้า มีมูลค่า 10,896,480 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 347,721 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร            มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 10.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 48.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และเกาหลีใต้) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 4.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้)            อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 9.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ไต้หวัน เยอรมนี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย เมียนมา และลาว) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 7.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 24.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ลาว และมาเลเซีย)            ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 8.5 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิรัก และเซเนกัล แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เยเมน แอฟริกาใต้ และโมซัมบิก) และน้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 30.0 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา ลาว ไต้หวัน สิงคโปร์ และจีน แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา และเฟรนช์โปลีนีเซีย) ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม            มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 11.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 43.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี สิงคโปร์ และไอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 22.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 79.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 35.6 ขยายตัวต่อเนือง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 20.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 28.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย และอิตาลี)            ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 7.2 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และบราซิล แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ เม็กซิโก อินโดนีเซีย และเวียดนาม) น้ำมันสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 33.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดลาว เวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย เขตต่อเนื่องราชอาณาจักร และอินเดีย) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 28.3 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดอาร์เจนตินา สหรัฐฯ มาเลเซีย ไต้หวัน และจีน แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 77.9 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดไต้หวัน มาเลเซีย เยอรมนี เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร) ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว ร้อยละ 5.9 ตลาดส่งออกสำคัญ            การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าโลกในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 17.5 จีน ร้อยละ 15.0 ญี่ปุ่น ร้อยละ 0.6 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 19.1 และ CLMV ร้อยละ 20.7 ขณะที่อาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.6 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 44.5 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 11.3 แอฟริกา ร้อยละ 8.7 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 12.3 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 37.0 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 37.4 ขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 15.5 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 65.3            ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.7            ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 15.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว และแผงวงจรไฟฟ้า ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ตลาดญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ ปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.3            ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 19.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 10.2 ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.6 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.8            ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 20.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และน้ำตาลทราย ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 12.7            ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 44.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.1            ตลาดทวีปออสเตรเลีย กลับมาหดตัวร้อยละ 15.5 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.1            ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 11.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.8            ตลาดแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 8.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.5            ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 12.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 15.2            ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาขยายตัวร้อยละ 37.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และน้ำมันสำเร็จรูป สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 7.5            ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 37.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และร

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ส่งออกไทย ปี68 โต 2.5% ยังมีแรงกดดัน

ส่งออกไทย ปี68 โต 2.5% ยังมีแรงกดดัน

           หุ้นวิชั่น - คาดการณ์ส่งออกไทยปี 2568 มูลค่าแตะ 307,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 2.5 จากปี 2567 แม้ได้รับแรงหนุนจากสินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ และการย้ายฐานการผลิต แต่ยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากสงครามการค้า นโยบายกีดกันทางการค้า และความผันผวนของค่าเงินบาท ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป อาจถูกกดดัน แต่ตลาดอาเซียนยังเติบโตแข็งแกร่ง วิเคราะห์ ทิศทางการส่งออกและ ตลาดส่งออก สินค้าของไทย ปี 68 ทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2568            สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) คาดการณ์ว่าในปี 2568 มูลค่าการส่งออกของไทย จะขยายตัวร้อยละ 2 – 3 (ค่ากลางร้อยละ 2.5) หรือคิดเป็นมูลค่า 306,000 – 309,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่ากลาง  307,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากฐานปี 2567 ที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ขยายตัวร้อยละ 5.2) ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การค้าโลก ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลก และมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะทวีความรุนแรงขึ้นในปีหน้า ทั้งนี้ได้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากการดำเนินนโยบายทางการค้าของสหรัฐฯ แล้ว แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงจะต้องติดตามการประกาศมาตรการของสหรัฐฯ และประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่จะมีผลต่อการส่งออกของไทยในปี 2568 ปัจจัยหนุนมี 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลก (2) ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง (3) วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขั้นกลางของไทย (สินค้า PCB) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ (4) การได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต จากปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ปัจจัยท้าทายมี 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจการค้า ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามในตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้น รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน (2) ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ (3) ปริมาณการค้าที่ขยายตัวลดลง จากการใช้นโยบายกีดกันทางการค้า และ (4) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวน สินค้าส่งออกของไทยในปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเกษตร จากอิทธิพลของลานีญาตั้งแต่กลางปี 2567 อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากปัญหาโลกร้อนจะยังคงส่งผลกระทบสืบเนื่องต่อการผลิตภาคการเกษตร ตลาดยังคงขยายตัวได้ดี ตามการฟื้นตัวของการบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในส่วนของผลของราคาส่งออกสินค้าเกษตรน่าจะลดลง จากอุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่จะเพิ่มขึ้นผลจากการยกเลิกมาตรการระงับการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศผู้ส่งออกสำคัญ นอกจากนี้ปัญหาโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่ชะงักงันน่าจะผ่อนคลายลงความรุนแรงของปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนหรือตะวันออกกลางคาดว่าจะมีระดับทรงตัว ขณะที่ค่าเงินบาทคาดว่าจะแข็งค่ากว่าปีก่อนหน้าเล็กน้อย ปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรไทยเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการผลิตเป็นสำคัญ ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การเผชิญกับคู่แข่งผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกและยกระดับผลผลิตได้ดีทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันมาตรการทางการค้าที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าบางประเทศ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้ส่งออกอุตสาหกรรมเกษตรต้องปรับตัวและบริหารจัดการต้นทุนให้แข็งขันได้ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่คาดว่าการส่งออกจะเติบโต ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง น้ำตาลทราย ยางพารา ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย คาดว่าผู้ส่งออกจะเร่งส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะเริ่มมีสัญญาณชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน และยุโรป เนื่องจากการออกมาตรการปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ จะมีความชัดเจนขึ้นซึ่งจะสร้างอุปสรรคในการส่งออกสินค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนในระยะต่อไป นอกจากนี้สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงตามการปรับลดลงของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก อย่างไรก็ดีไทยได้รับประโยชน์จากการลงทุนย้ายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต่อการปรับโครงสร้างการผลิตของไทย เช่น Data Center การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง เช่น wafer หรือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สอดรับกับกระแสการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นับเป็นโอกาสต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยที่จะพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ตลาดโลกมากขึ้น รวมถึงช่วยให้เศรษฐกิจของไทยสามารถเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว สินค้าอุตสาหกรรมที่คาดว่าการส่งออกจะเติบโต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) รถยนต์ EV และเคมีภัณฑ์ อย่างไรก็ตามยังต้องเฝ้าระวังสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ได้แก่ กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ทั้งไทยและจีนมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เหมือนกัน และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูง ตลาดส่งออกของไทยในปี 2568            คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะเติบโตปานกลาง จากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก สร้างความเสี่ยงให้เงินเฟ้อกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง การชะลอการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายลงเพิ่มเติม จึงอาจจะไม่เห็นการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมมากนัก ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ และการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจจะกลับมารุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้ต้นทุนสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า แต่คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักจะช่วยเพิ่มการลงทุนและการบริโภคให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทย ในขณะที่ตลาดอาเซียนคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการส่งออกในปีหน้าจากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มทรงตัว อาเซียนเป็นแหล่งลงทุนและฐานการผลิตสินค้าที่สำคัญของโลก และคว้าโอกาสจากการเบี่ยงเบนทางการค้า โดยฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามจะเป็นประเทศที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง            ปี 2568 กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายที่จะรักษาตลาดส่งออกหลักเดิม ได้แก่ สหรัฐฯ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเพิ่มเติมตลาดรองที่มีศักยภาพ อาทิ เอเชียใต้ (อินเดีย) ตะวันออกกลาง  แอฟริกา ลาตินอเมริกา ที่มา : กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน

ส่งออกไทยโต 5 เดือนต่อเนื่อง คาดกระทบกีดกันการค้าครึ่งหลังปี68

ส่งออกไทยโต 5 เดือนต่อเนื่อง คาดกระทบกีดกันการค้าครึ่งหลังปี68

           หุ้นวิชั่น - ส่งออก พ.ย. แรงยังดี SCB EIC มองสงครามการค้ารอบใหม่จะกระทบส่งออกไทยครึ่งหลังปี 2025  มูลค่าส่งออกสินค้าไทยเดือน พ.ย. 2024 ยังโตดี 8.2% ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง            มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน พ.ย. 2024 อยู่ที่ 25,608.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.2%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน) สูงกว่าคาดการณ์ (SCB EIC ประเมินไว้ 6.5%) หากไม่รวมทองคำจะยังขยายตัวได้ 6.4% ภาพรวมมูลค่าการส่งออกไทย 11 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 275,767 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.1% (ตัวเลขระบบศุลกากร) ภาพรวมการส่งออกไทยเดือน พ.ย. ขยายตัวดีต่อเนื่อง            แม้หดตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนแบบปรับฤดูกาล -0.5%MOM_SA ผลจาก (1) อานิสงส์วัฏจักรขาขึ้นของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ขยายตัวสูงสองหลักติดต่อกัน (สินค้ากลุ่มนี้มีส่วนทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนนี้เพิ่มขึ้นมากถึง 2.5%) (2) ส่งออกทองคำขยายตัวสูง (ทองคำมีส่วนทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนนี้เพิ่มขึ้น 2.2%) ผลจากราคาทองคำอยู่ในระดับสูง และความต้องการสะสมทองคำเพื่อรองรับจากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และ (3) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตบางชนิดเริ่มกลับมาขยายตัว เช่น รถยนต์และส่วนประกอบกลับมาขยายตัว 4.8% หลังหดตัวนาน 3-4 เดือนก่อน ส่งออกเดือน พ.ย. ได้แรงขับเคลื่อนจากทุกหมวด ยกเว้นแร่และเชื้อเพลิง            หากพิจารณารายหมวด พบว่า (1) สินค้าอุตสาหกรรมเติบโต 9.5% ชะลอลงเทียบ 18.6% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะทองคำยังไม่ขึ้นรูป เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องปรับอากาศ และผลิตภัณฑ์ยาง ขณะที่เหล็ก เครื่องยนต์สันดาป และอุปกรณ์ กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอดเป็นสินค้าหลักที่หดตัว (2) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง 7.7% ใกล้เคียงเดือนก่อน โดยอาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่ม ยังขยายตัวดี ขณะที่ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์และน้ำตาลทรายเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว (3) สินค้าเกษตรขยายตัวชะลอลงเหลือ 4.1% จาก 6.8% ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกัน โดยเฉพาะผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และยางพารา ขณะที่ข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว และ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงยังคงหดตัว -7.1% แม้จะหดตัวน้อยลงเทียบ -22.2% ในเดือนก่อน ตามการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง -16.3% (รูปที่ 1 และ 2) ส่งออกไปจีนขยายตัวดี ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญส่วนมากชะลอตัว            หากพิจารณารายตลาดหลัก พบว่า (1) ตลาดจีน ขยายตัว 16.9% มากกว่าเดือนก่อนสองเท่า โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ ที่ขยายตัว 126.8%, 94.6% และ 59.9% ตามลำดับ (2) ตลาดสหรัฐฯ ชะลอลงเหลือ 9.5% จาก 25.3% ในเดือนก่อน โดยมีเพียง 12 ใน 15 สินค้าส่งออกสำคัญที่ยังขยายตัว (เทียบ 14 ใน 15 รายการที่ขยายตัวได้ในเดือนก่อน) โดยเฉพาะเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่หดตัว -13.5% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกภายในปีนี้ (3) ตลาดยุโรป ชะลอตัวลงเหลือ 11.2% จาก 27.3% ในเดือนก่อน นำโดยรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่พลิกกลับมาหดตัว -37.2% ขณะที่แผงวงจรไฟฟ้าหดตัวต่อเนื่องทั้งปี (4) ตลาดญี่ปุ่น พลิกกลับมาหดตัว -3.7% โดยกว่าครึ่ง 8 ใน 15 สินค้าส่งออกสำคัญไปตลาดญี่ปุ่นหดตัว (5) ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ชะลอตัวมากเหลือ 28.7% จาก 127.1% ในเดือนก่อน สาเหตุหลักจากการส่งออกทองคำเติบโตชะลอลง เหลือเพียง 63.1% จาก 164.4% และ (6) ตลาด CLMV ชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือ 21.0% จาก 27.9% เนื่องจากการส่งออกไปกัมพูชาชะลอลงบ้าง ขณะที่การส่งออกไปเวียดนาม เมียนมา และ สปป.ลาว ยังขยายตัวต่อเนื่อง ดุลการค้ากลับมาขาดดุล หลังเกินดุลมา 3 เดือนติดต่อกัน            มูลค่าการนำเข้าสินค้าไทยเดือน พ.ย. อยู่ที่ 25,832.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชะลอตัวเหลือ 0.9% เทียบ 15.9% เดือนก่อน การนำเข้าไทยขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน โดยการนำเข้าอาวุธและยุทธปัจจัยกลับมาขยายตัว 16.1% จากที่หดตัวแรง -13.2% ในเดือนก่อน นอกจากนี้ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวต่อเนื่อง 14.0% และ 8.9% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุนหดตัว -25.3% -21.1% และ -1.5% ตามลำดับ ดุลการค้าระบบศุลกากรเดือน พ.ย. ขาดดุล -224.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2024 ดุลการค้าไทยขาดดุล -6,269.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขระบบศุลกากร) SCB EIC มองทั้งปี 2024 ส่งออกไทยอาจโตสูงเกิน 4% หากตัวเลขเดือน ธ.ค. ดีต่อเนื่อง            SCB EIC มองว่ามูลค่าการส่งออกไทยขยายตัวสูงต่อเนื่องช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งปี 2024 มีโอกาสขยายตัวสูงกว่า 4% แม้ที่ผ่านมาส่งออกไทยจะเผชิญอุปสรรคตั้งแต่ต้นปีจากเศรษฐกิจโลกที่คาดการณ์ว่าจะชะลอลงและอุปสรรคการขนส่งทางเรือในโลกหลายที่ แต่ส่งออกไทยกลับได้แรงหนุนจากหลายปัจจัยบวกที่ชัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เช่น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว Soft landing ได้ การส่งออกทองคำสูงขึ้นมาก อานิสงส์วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ต่างประเทศเริ่มเร่งตัวจากความกังวลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่อาจเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มในปี 2025 ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2023 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทย 11 เดือนขยายตัวมากถึง 5.2% จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งปีอาจจะออกมาขยายตัวเกิน 4% สูงกว่าที่ SCB EIC และกระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.9% และ 4% ตามลำดับ ส่งออกไทยปี 2025 อาจไม่ง่าย ผลกระทบสงครามการค้าจะเริ่มเห็นชัดขึ้นครึ่งหลังปี 2025            แม้ส่งออกดูจะขยายตัวดีในช่วงท้ายปี 2024 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปช่วงต้นปี 2025 SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกของไทยระยะต่อไปจะเริ่มเจอแรงกดดันจากนโยบายกีดกันการค้ามากขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี 2025 ที่มาตรการกีดกันการค้าประเทศต่าง ๆ นอกจากจีนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ โดยประเมินว่าประเทศไทยเสี่ยงสูงที่จะเจอนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าจาก Trump 2.0 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบผ่านช่องทางการค้าเป็นหลัก สะท้อนจาก สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้นเทียบช่วงทรัมป์ 0 : แม้สหรัฐฯ จะขาดดุลการค้ากับไทยมานานต่อเนื่อง แต่การขาดดุลยิ่งสูงขึ้นก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2021 โดยมูลค่าการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก -2.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2017-2020 (Trump 1.0) เป็น -4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 ซึ่งไทยจัดเป็นประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อันดับ 12 จาก 99 ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ในปี 2023 (รูปที่ 4 ซ้าย) หลายงานศึกษาประเมินว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจาก Trump 2.0 มาก สะท้อนจาก Trump Risk Index สูง และอาจติดเกณฑ์ประเทศเข้าข่าย "Unfair Trade" กับสหรัฐฯ : จากผลศึกษาของ Information Technology and Innovation Foundation (ITIF) (รูปที่ 4 ขวา) พบว่าประเทศไทยมีคะแนน Trump Risk Index ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากเม็กซิโก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชียจาก 38 ประเทศพันธมิตรทั้งหมดของสหรัฐฯ สอดคล้องกับผลศึกษา Unfair Trade ของ Global Trade Alert (Nov 2024) ที่พบว่า ประเทศไทยจะติด 3 ใน 5 เกณฑ์ หากพิจารณาเกณฑ์เดียวกับที่ Trump 1.0 เคยใช้มาก่อน โดยไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ที่จะติดเกณฑ์นี้ (รูปที่ 4 ซ้าย) สินค้าส่งออกสำคัญของไทยมีความเสี่ยงถูกตั้งกำแพงภาษีจากนโยบาย Trump 2.0 : SCB EIC ประเมินว่ากว่า 70% ของสินค้าส่งออกหลักของไทยเป็นกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มตั้งเป้าลดการขาดดุลการค้ากับโลก และต้องการส่งเสริม Local supply chain อาทิ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ (รูปที่ 5 ขวา) ทั้งนี้นโยบายจาก Trump 2.0 มีแนวโน้มจะกระทบภาคส่งออกไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรง (Direct impacts) : สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ1 ของไทย (17% ของมูลค่าส่งออกไทยทั้งหมด) และไทยยังสร้างมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกไปสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ค่อนข้างสูง (รูปที่ 5 ซ้าย) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกไทยโดยตรง จากนโยบายภาษีสินค้านำเข้า Trump 2.0  อย่างไรก็ดี ผลกระทบอาจจำกัดในบางกลุ่มสินค้า เนื่องจากสหรัฐฯ ยังจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าบางชนิดจากไทย เนื่องจากผลิตในประเทศไม่พอความต้องการ ผลกระทบทางอ้อม (Indirect impacts) : ความต้องการสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อผลิตเป็นสินค้าขั้นปลายอาจชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าขั้นปลายที่จีนส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และปัญหาจีนผลิตล้นตลาด (China’s overcapacity) มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน (รูปที่ 6 ขวา) จะกดดันความสามารถการแข่งขันของสินค้าไทย ทั้งตลาดในและนอกประเทศ ส่งผลให้การส่งออกไทยเริ่มชะลอตัว ซ้ำเติมภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ยังไม่ฟื้นตัว            ปี 2025 อาจไม่ง่ายสำหรับภาคส่งออกไทย จากแรงกดดันภายนอกประเทศที่ท้าทายขึ้น โดย SCB EIC ประเมินว่ามูลค่าส่งออกสินค้าไทยจะขยายตัวได้ราว 2% (ตัวเลขระบบดุลการชำระเงิน) ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งเทียบการเติบโตของการส่งออกในปี 2024 ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมแนวทางเจรจา/ต่อรองกับสหรัฐฯ เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงต่อนโยบายภาษีนำเข้า Trump 2.0 ในช่วงปี 2025 โดยเฉพาะประเด็นการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ รวมถึงมาตรการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคส่งออกไทยตั้งแต่ก่อนสงครามการค้ารอบใหม่จะเริ่มมีผลชัดเจนขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปี หมายเหตุ : (*) หากความต่างเป็นบวก หมายถึง การนำเข้าขยายตัวได้สูงกว่าอัตราการเติบโตของการผลิตในประเทศหรือหดตัวน้อยกว่าการหดตัวของการผลิตในประเทศ ขณะที่ความต่างที่ติดลบ หมายถึง การนำเข้าขยายตัวต่ำกว่าอัตราการเติบโตของการผลิตในประเทศหรือหดตัวต่ำกว่าการลดลงของปริมาณการผลิตในประเทศ (**) ระดับความเสี่ยงประเมินจากลำดับมูลค่าการขาดดุลของ US จากสินค้าทั้งหมด 97 ประเภท โดย US ขาดดุลมากถึง 75 ประเภทสินค้า และมูลค่าสินค้าที่ขาดดุลมากที่สุดอันดับ 1 คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สินค้าที่เสี่ยงสูง (สีแดงหรือส้มเข้ม) คือ สินค้า 8 อันดับแรกที่ US มีการขาดดุลการค้ามากที่สุด ณ ปี 2023 (Percentile ที่ 10)  (***) สินค้าต้องจับตาเป็นพิเศษ เพราะเมื่อปี 2023 ได้ถูกสหรัฐกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมทุ่มตลาด โดยเฉพาะยางรถบรรทุกและรถบัส ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของ Trademaps บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/trade-251224 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ ภาวัต แสวงสัตย์ นักเศรษฐศาสตร์ ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ณฐพงศ์ ตันติจิรานนท์ นักเศรษฐศาสตร์

ลุ้นส่งออกปีนี้โต 5.2% แตะ 3 แสนล้านดอลล่าร์ แนะสะสม TU-ITC-AAI-DELTA

ลุ้นส่งออกปีนี้โต 5.2% แตะ 3 แสนล้านดอลล่าร์ แนะสะสม TU-ITC-AAI-DELTA

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ชี้ส่งออกไทย พ.ย. ใกล้เคียงตลาดคาดด้านก.พาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกพ.ย. ไทย +8.2%YoY จากตลาดคาดขยายตัว 7-9% ส่วนด้านการนำเข้า +0.9% YoY ส่งผลให้ยังขาดดุลการค้าราว 224 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนงวด 11M67 ส่งออก +5.1% YoY นำเข้า +5.7% YoY และขาดดุลการค้า 6.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. โดยยังเชื่อมั่นว่าภาพรวมการส่งออกปีนี้มีโอกาสแตะระดับ 5.2% มูลค่าแตะ 3 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นมูลค่าการส่งออกที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปัจจัยหนุนการส่งออกให้ขยายตัวแรงมาจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีโดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่เติบโตในระดับสูง สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของโลก ขณะที่การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวฝนเชิงรุกของประเทศต่างๆ เพื่อรองรับความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งความต้องการสินค้าเกษตร และอาหารในตลาดโลก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสินค้า โดยภาพรวมยังขยายตัวได้ทุกกกลุ่ม แบ่งเป็น - สินค้าเกษตร +4.1% YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 : ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง, ยางพารา และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป - สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร +7.7% YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 : ผลไม้กระป๋องและแปรรูป, อาหารสัตว์เลี้ยง และอาหารทะลกระป๋อง และแปรรูป - สินค้าอุตสาหกรรม +9.5% YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ,ผลิตภัณฑ์ยาง, อัญมณีและเครื่องประดับ, เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ,หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เคมีภัณฑ์, รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ            แนวโน้มการส่งออกปี 68 คาดว่าจะขยายตัว 2-3% จากความท้าทายด้านนโยบายการค้าของทรัมป์ แนวโน้มการค้าโลกที่อาจชะลอตัว โดยเฉพาะในยุโรป ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย อัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับสูง ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ในเชิงกลยุทธ์ : แนะนำทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ TUITC AAI DELTA HANA KCE CCET STA STGT NER TEGH PTTGC IVL TOP

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ส่งออกทูน่าปี 68 ฟื้นตัวแรง! คาดมูลค่าส่งออกโต6.2%

ส่งออกทูน่าปี 68 ฟื้นตัวแรง! คาดมูลค่าส่งออกโต6.2%

           แนวโน้มอุตสาหกรรมทูน่าปี 2025 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2024 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องจะขยายตัวที่ 6.2% YOY สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก            ภาพรวมอุตสาหกรรมทูน่าไทยในปี 2024 ถือว่าเติบโตได้ค่อนข้างดี ในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของกลุ่มขยายตัว 24.6%YOY เป็นผลจากปริมาณการส่งออกที่เติบโตสูงถึง 35.2%YOY ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องในปีนี้จะสามารถฟื้นกลับไปอยู่สูงกว่าช่วง Pre-COVID ได้อีกครั้ง สอดคล้องกับภาพรวมการบริโภคในตลาดโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น อนึ่ง ปริมาณการส่งออกทูน่ากระป๋องที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับอานิสงส์จากอุปทานปลาทูน่าจับได้ (Tuna catch) ที่เพิ่มขึ้นมากจากผลพวงของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้อุณหภูมิในมหาสมุทรอุ่นขึ้น (Ocean warming) ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและทำให้มหาสมุทรสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังมีผลให้ฝูงปลา ทูน่าย้ายถิ่นฐาน (Tuna migration) หนีคลื่นน้ำอุ่นไปรวมตัวกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรเยอะมากเป็นพิเศษ จึงส่งผลดีต่อการทำประมงในบริเวณนั้น            สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมทูน่าในปี 2025 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องจะขยายตัวที่ 6.2%YOY สอดคล้องกับภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ การส่งออกที่ดีขึ้นยังเป็นผลจากการเติบโตของความต้องการบริโภคอาหารฮาลาล สะท้อนได้จากมูลค่าการนำเข้าทูน่ากระป๋องจากประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง (Middle East) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งอานิสงส์จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) ที่ยังคงยืดเยื้อและมีแนวโน้มขยายวงกว้างขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีส่วนทำให้หลาย ๆ ประเทศต้องการสต็อกสินค้าอาหารที่สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานโดยเฉพาะอาหารกระป๋องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย            ในระยะข้างหน้า ความท้าทายหลักที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทูน่าต้องให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมรับมือ คือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาสและแรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางการไทยต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนด รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับมาตรการกำกับดูแลการทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable fishing) พร้อม ๆ ไปกับการปรับโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์การเติบโตให้สอดรับกับเมกะเทรนด์สำคัญของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทรนด์เรื่องอาหารปลอดภัย และ Healthier choice เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคยุคใหม่ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Carbon-neutral tuna products” ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเพื่อลด Carbon footprint ในห่วงโซ่การผลิตทูน่าอย่างครบวงจร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon neutrality ภายในปี 2050 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้มากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ Digitization และตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการทั้งความทันสมัยและความสะดวกสบาย พร้อม ๆ ไปกับลดการพึ่งพาแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ที่มา : SCB EIC

เจาะหุ้นส่งออกไทย เช็กด่วน! ตัวไหนรับโชค

เจาะหุ้นส่งออกไทย เช็กด่วน! ตัวไหนรับโชค

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอ ระบุว่า ส่งออกโดยรวม ต.ค. 2024 ขยายตัว MoM ยกเว้นอาหารสัตว์เลี้ยง กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขส่งออกสำคัญดังนี้ 1) ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+18% YoY, -1% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 2,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+25% YoY) 2) ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+27% YoY, +5% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 3,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+11% YoY) 3) ส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 407 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+12% YoY, +12% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 3,593 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+5% YoY) 4) ส่งออกยางพาราเดือน ต.ค. 2024 อยู่ที่ 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+33% YoY, +5% MoM) และตัวเลข 10M24 อยู่ที่ 4,124 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+38% YoY) (ที่มา: กระทรวงพาณิชย์) มีมุมมองเป็นบวกจากส่งออกส่วนใหญ่ขยายตัวดี MoM โดยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปคาดได้อานิสงส์จากราคาทูน่าที่อยู่ในระดับเหมาะสมและการเร่งทำการตลาดต่อเนื่อง ส่งออกไก่ยังได้ผลบวกต่อเนื่องจาก high season ในไตรมาส 3 ก่อนที่จะทยอยชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี และส่งออกยางได้ปัจจัยหนุนจากผลผลิตยางที่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงชะลอเล็กน้อย -1% MoM เชื่อว่าเป็นผลจากลูกค้าบางส่วนที่ยังมีปัญหาจองพื้นที่เรือ • สำหรับทิศทาง 4Q24E 1) กลุ่ม Pet Food เบื้องต้นประเมินกำไรปกติจะขยายตัวต่อเนื่อง YoY จากฐานต่ำใน 4Q23 ที่ยังมีผลกระทบจาก inventory destocking ของลูกค้า แต่มีโอกาสทรงตัว QoQ จากผลกระทบการจองพื้นที่เรือของลูกค้าในช่วงต้นไตรมาส, 2) TU เราคาดการณ์กำไรปกติจะโต YoY, QoQ หนุนโดยธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปยังดีต่อเนื่อง, 3) NER เบื้องต้นประเมินกำไรปกติจะอ่อนตัว YoY จากปริมาณขายลดลงจากฐานสูง แต่จะกลับมาดีขึ้น QoQ ตามปัจจัยฤดูกาลจากปริมาณยางที่ทยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น, และ 4) GFPT ประเมินกำไรปกติปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง YoY จากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง แต่จะกลับมาอ่อนตัว QoQ เป็นผลจากปัจจัยฤดูกาลหลังผ่านช่วง high season • ทั้งนี้กลุ่ม Pet Food คงน้ำหนัก “Neutral” และ Top pick คือ ITC (ซื้อ/เป้า 30.00 บาท) จากแนวโน้มกำไรปกติปี 2025E ขยายตัวสูงกว่าที่ +6% YoY เทียบกับ AAI ที่ +2% ขณะที่ลูกค้าใหม่รายใหญ่ของ AAI ยังมีโอกาสล่าช้า สำหรับหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มนี้ แนะนำ - TU (ซื้อ/เป้า 18.50 บาท) มี catalyst จากโรงงานใหม่ทยอย ramp up และราคาทูน่าที่กลับมาอยู่ใน comfort level ของบริษัทมากขึ้น ทำให้ลดแรงกดดันในการปรับราคาขายลง - NER (ถือ/เป้า 5.50 บาท) หลังราคายางทยอยกลับสู่ระดับปกติ โดยปรับตัวลง -16% QTD นอกจากนี้การขยายกำลังการผลิตของโรงงานใหม่ในโกตดิวัวร์และไทย จะเริ่มได้เร็วสุดในปี 2026E - GFPT (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท) จากราคาไก่ในประเทศมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวหลังผ่านช่วงฤดูฝน ขณะที่ valuation ปัจจุบันยังน่าสนใจ เทรดที่ 2025E PER เพียง 6x

ส่งออกไทย ต.ค. เกินคาด  มั่นใจสิ้นปีโต 4% กว่า 3แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออกไทย ต.ค. เกินคาด มั่นใจสิ้นปีโต 4% กว่า 3แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

          หุ้นวิชั่น - พาณิชย์รายงานตัวเลข ส่งออกไทย ต.ค. ทะยานสูงสุดในรอบ 19 เดือน โต 14.6% หนุนโดยสินค้าเทคโนโลยี-อาหาร มูลค่ารวมกว่า 27,222 ล้านดอลลาร์ แนวโน้มส่งออกไตรมาส 4 แกร่ง คาดทั้งปีแตะเป้า 300,000 ล้านดอลลาร์ เติบโต 4% ท่ามกลางปัจจัยหนุนและความท้าทายรอบด้าน แต่คาดปีหน้า 2568 โตต่อเนื่อง   นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนตุลาคม และ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2567 มีมูลค่า 27,222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (896,735 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 14.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 ทำมูลค่าสูงสุด ในรอบ 19 เดือน โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่เติบโตในระดับสูง สอดรับกับกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ หลายประเทศยังมีการเร่งนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการผลิต และวัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะรองรับการฟื้นตัวของภาคการผลิตแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมเชิงกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านการค้าระหว่างประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยบวกจากการขยายตัวของ ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลก และสถานการณ์เงินเฟ้อในตลาดส่งออกหลักที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ กำลังซื้อในตลาดเหล่านั้นปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.9 และ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.8           มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 27,222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 28,016.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.9 ดุลการค้า ขาดดุล 794.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 250,398.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 257,149.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.6 ดุลการค้า 10 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,751.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนตุลาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 896,735 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 934,700 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.1 ดุลการค้า ขาดดุล 37,965 ล้านบาท ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 8,854,630 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 9,199,289 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.9 ดุลการค้า 10 เดือนแรก ของปี 2567 ขาดดุล 344,659 ล้านบาท           การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.8 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 10.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้  สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ อิรัก และแคเมอรูน) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 32.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.4 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 26.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 18.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อิตาลี ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 28.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และแคนาดา) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 3.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และเมียนมา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 30.6 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย อินเดีย และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) น้ำตาลทราย หดตัว ร้อยละ 12.8 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เมียนมา และจีน แต่ขยายตัว ในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 46.2 กลับมาหดตัวในรอบ 6 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม จีน กัมพูชา ญี่ปุ่น และลาว) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.6           การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 18.7 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 77.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสิงคโปร์) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 27.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 43.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 18.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และมาเลเซีย) เม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 4.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย และสหรัฐฯ) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 2.2 กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย จีน ออสเตรเลีย เวียดนาม และกัมพูชา) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย เวียดนาม และญี่ปุ่น) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.1 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก ไต้หวัน สาธารณรัฐเช็ก และมาเลเซีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 16.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อาร์เจนตินา บราซิล และอิรัก) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 34.7 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน เวียดนาม และมาเก๊า แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2           ตลาดส่งออกสำคัญ             การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะตลาดจีน และญี่ปุ่นที่กลับมาขยายตัว เช่นเดียวกับตลาดสหรัฐฯ CLMV สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร ที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 16.3 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 25.3 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 22.1 และ CLMV ร้อยละ 27.9 กลับมาขยายตัวในตลาดจีน ร้อยละ 8.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 7.0 และอาเซียน (5) ร้อยละ 6.8 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยขยายตัว ในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 12.8 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 1.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 31.5 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 58.1 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 3.0 ในตลาดขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย และแอฟริกา หดตัวร้อยละ 14.0 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 118.9             ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ตลาดจีน กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.5 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 7.0 (กลับมาขยายตัวในรอบ 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.9 ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 22.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญ ที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.3 ตลาดอาเซียน (5) กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 27.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผ้าผืน เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 11.0 ตลาดเอเชียใต้ กลับมาขยายตัวร้อยละ 12.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ตลาดทวีปออสเตรเลีย กลับมาหดตัวร้อยละ 14.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 1.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ อัญมณีและเครื่องประดับ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ตลาดแอฟริกา หดตัวร้อยละ 3.1 (กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 1.5 ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 31.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 58.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.7 แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 จะเติบโต อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกทั้งปี 2567 บรรลุเกินกว่าเป้าหมายในการทำงาน (working target) ตามที่ได้ตั้งไว้ โดยประมาณการว่าส่งออกทั้งปี 2567 จะเติบโต 4% หรือมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญจากการฟื้นตัวภาคอุตสาหกรรมของคู่ค้า การใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น การเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลและฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปี ประกอบกับต้นทุนโลจิสติกส์ที่เอื้ออำนวยจากการปรับลดลงของค่าระวางเรือ อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยยังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าสหรัฐฯ ในอนาคต ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงดำเนินอยู่ รวมถึงผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการส่งออกข้าวของอินเดียที่อาจส่งผลต่อการส่งออกข้าวไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องเฝ้าติดตามและวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาแนวทางรับมือที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ต่อไป บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขการส่งออก ตามการส่งออกที่ขยายตัวเร่งตัวขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาส 4/2567 โดยมองเป็น Sentiment ทางบวกต่อ SET Index โดยเฉพาะหุ้นที่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ดังนี้ 1) สินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยางพารา (+12 เดือนต่อเนื่อง) ข้าว (+5 เดือนต่อเนื่อง) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป (กลับมาขยายตัวหลักจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า) 2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+13เดือนต่อเนื่อง) อาหารสัตว์เลี้ยง (+13 เดือนต่อเนื่อง) และอาหารทะแลกระป๋องและแปรรูป (+4 เดือนต่อเนื่อง) 3) สินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+7 เดือนต่อเนื่อง) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+4 เดือนต่อเนื่อง) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+8 เดือนต่อเนื่อง) ผลิตภัณฑ์ยาง (+4 เดือนต่อเนื่อง) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (กลับมาขยายตัวหลักจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า) เคมีภัณฑ์ (+4 เดือนต่อเนื่อง) เม็ดพลาสติก (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) โดยมองหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ CCET, CPF, DELTA, HANA, HTECH, ITC, IVL, PTTGC, STA, STGT, TFG ในทางกลับกัน ทางฝ่ายมอง SET Index มีแนวโน้มตอบรับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของการส่งออกอย่างจำกัด ท่ามกลางการนำเข้าเดือนต.ค.67 ที่ขยายตัวอย่างเร่งตัวขึ้น และเป็นการขยายตัวอย่างเร่งตัวขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า ซึ่งอาจเป็นสัญญาญบ่งชี้ถึงสินค้าจีนที่ยังเข้าหลั่งไหลเข้าสู่ไทย สะท้อนจากข้อมูลใน 9M67 ที่บ่งชี้ว่าไทยนำเข้าจากจีนขยายตัว 11.06% y-y และเป็นการขยายตัวเกือบทุกหมวดสินค้า (ยกเว้น สินค้าเชื้อเพลิง และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง) ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อผู้ประกอบการ (โดยเฉพาะ MSME ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่) ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าราคานำเข้าจากจีน ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ต้น-ปลายน้ำ รวมถึงคาดเป็นแรงกดดันทางอ้อมต่อการบริโภคภาคเอกชน

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

[PR News] ไทยยกระดับสู่มาตรฐาน EUDR พร้อมปักธงการค้าสู่สหภาพยุโรปอย่างยั่งยืน

[PR News] ไทยยกระดับสู่มาตรฐาน EUDR พร้อมปักธงการค้าสู่สหภาพยุโรปอย่างยั่งยืน

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ EUDR จากไทยไปสหภาพยุโรป (อียู) อย่างต่อเนื่อง พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวดี และยังสามารถขยายตัวได้สูงกว่าการส่งออกไปโลก           กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EUDR (EU Deforestation Regulation) ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้า คือ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และ ไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของสินค้าเหล่านี้ โดยในช่วงครึ่งแรก (ม.ค. - มิ.ย.) ของปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการ EUDR ไปอียู รวมมูลค่า 379.47 ล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าของสินค้าโดยใช้พิกัดศุลกากรตามที่ระบุใน Regulation (EU) 2023/1115) ขยายตัวร้อยละ 49.94 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เรียงลำดับตามมูลค่าการส่งออกสูงสุด ดังนี้ ยางพารา 314.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 567 ไม้ 49.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.71 ปาล์มน้ำมัน 11.85 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 488.80 โกโก้ 3.56 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.15 กาแฟ 18 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.54 ถั่วเหลือง 001 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 44.37 ส่วนโคเป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการส่งออกไปอียู           สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก รวมกันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 99.01 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ EUDR จากไทยไปอียู (ยางพารา ไม้ และปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนร้อยละ 82.96 12.92 และ 3.12 ตามลำดับ) ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้ง 3 กลุ่มไปอียู มีการขยายตัวดีกว่ามูลค่าการส่งออกไปโลก ดังนี้ (1) การส่งออกยางพาราไปอียู ขยายตัวถึงร้อยละ 51.67 ขณะที่การส่งออกยางพาราไปโลก ขยายตัวร้อยละ 30.86 (2) การส่งออกไม้ไปอียู ขยายตัวร้อยละ 24.71 ขณะที่การส่งออกไม้ไปโลก ขยายตัวร้อยละ 5.48 และ (3) การส่งออกปาล์มน้ำมันไปอียู ขยายตัวร้อยละ 488.80 ขณะที่การส่งออกปาล์มน้ำมันไปโลก หดตัวร้อยละ 20.15           แม้ว่าปัจจุบัน การส่งออกกลุ่มสินค้าที่อยู่ภายใต้กฎหมาย EUDR จากไทยไปอียู ยังมีสัดส่วนไม่มาก เมื่อเทียบกับการส่งออกจากไทยไปโลก (มีสัดส่วนร้อยละ 7.65 ของมูลค่าการส่งออกไปโลก) แต่การขยายตัวที่ดีแสดงให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของไทย ที่จะสามารถปรับตัวและส่งออกสินค้าภายใต้ EUDR ไปยังอียูได้มากขึ้น           ในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการ EUDR จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจต้องเผชิญกับต้นทุนในการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวและเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นภายใต้กฎระเบียบการค้าใหม่ของอียู           การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่เพียงแต่เป็นความท้าทาย แต่เป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับไทยที่จะพัฒนาคุณภาพสินค้าและสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจด้วย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 20 กันยายน 2567

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456