ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#สหรัฐ


ด่วน! สหรัฐผ่อนคลายภาษีจีน ยกเว้นเก็บเทคโนโลยี หุ้นขานรับ เช็กเลย!

ด่วน! สหรัฐผ่อนคลายภาษีจีน ยกเว้นเก็บเทคโนโลยี หุ้นขานรับ เช็กเลย!

          หุ้นวิชั่น - จับตาสัญญาณ การผ่อนคลายภาษีตอบโต้สินค้าจากจีน ของสหรัฐ ล่าสุด “ทรัมป์” ยกเว้นภาษีเทคโนโลยี จากจีนแล้ว           บล.บัวหลวง ระบุว่า ทรัมป์ยกเว้นภาษีสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีจากจีน (12 เม.ย. 2025)           โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ จะได้รับการ ยกเว้น จากภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศใช้ • ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน ทรัมป์ประกาศเก็บ ภาษีนำเข้า 145% กับสินค้าที่มาจากจีน • มาตรการนี้ถูกคาดว่าจะกระทบหนักต่อบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Apple ซึ่งผลิตสินค้าส่วนใหญ่ในจีน • สินค้าที่ได้รับการยกเว้นเพิ่มเติม ได้แก่ แล็ปท็อป, ชิปเซมิคอนดักเตอร์, เซลล์แสงอาทิตย์ (solar cells), หน้าจอทีวีแบบแบน (flat panel displays), แฟลชไดรฟ์, เมมโมรี่การ์ด และ Solid-state drives (SSD) ที่ใช้เก็บข้อมูล • แม้จะมีการยกเว้นภาษีในระยะนี้ แต่สินค้าเหล่านี้ อาจถูกเก็บภาษีเพิ่มเติมในอนาคต • อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราภาษีที่ตามมาจะ ต่ำกว่า 145% Source: cnbc ขณะเดียวกัน หุ้นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม เทคโนโลยีในตลาดหุ้นไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หุ้นที่ควรติดตาม ประกอบด้วย DELTA CCET หุ้นขายมือถือ COM7 JMART SPVI เป็นต้น อาจได้รับอานิสงส์เชิงบวก

ไทยไม่ก้มหัวให้สหรัฐ! เปิดเกมใหม่สู้ภาษีทรัมป์

ไทยไม่ก้มหัวให้สหรัฐ! เปิดเกมใหม่สู้ภาษีทรัมป์

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า รัฐบาลแถลงมาตรการรับมือนโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกา โดยถือเป็นโอกาสในการยกระดับการค้าของไทยให้สูงขึ้น โดยจะเน้นแนวทางที่ ไม่ใช่การลดภาษีให้กับสหรัฐฯ แต่เป็นการปรับสมดุลทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งมีแนวทางหลัก ๆ ดังนี้ นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเน้นสินค้าที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้อยู่แล้ว เช่น สินค้าเกษตร เครื่องในสุกร และก๊าซธรรมชาติ ลดหรือยกเว้นภาษีให้กับสินค้าสหรัฐฯ ที่ไทยมีการจัดเก็บภาษีได้ไม่สูงนัก และมีรายได้ต่อปีไม่มากอยู่แล้ว โดยมีมากกว่า 100 รายการ ยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ป้องกันการสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้าไทย เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ สนับสนุนภาคเอกชนไทยให้ไปลงทุนในสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตร ภาคพลังงาน และอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ             โดยรวม มาตรการนี้ถือว่าสอดรับกับแนวทางที่สหรัฐฯ ต้องการ ซึ่งอ้างอิงจากแนวทางที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ เคยชื่นชมการแก้ปัญหาของเกาหลีใต้ เช่น การนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และการร่วมลงทุนกับสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสที่การเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะบรรลุข้อตกลงเชิงบวกได้             ผลบวกต่อหุ้น ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากแนวทางนี้ ได้แก่: CPF, GFPT (ต้นทุนลดลงจากการนำเข้าสินค้าบางประเภท) กลุ่มพลังงาน (ได้ประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มเติม) โรงไฟฟ้า (ได้แหล่งก๊าซใหม่ หากค่าขนส่งรวมต้นทุนไม่สูง ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรอง) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ยังอาจเผชิญแรงกดดันจากแนวทางป้องกันการสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้า แต่ความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันการค้ารอบนี้คาดว่าสะท้อนไปในราคาหุ้นที่ปรับตัวลงเร็วและแรงไปก่อนหน้านี้แล้ว

70 ประเทศแห่เจรจาสหรัฐ! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เริ่มขยับ

70 ประเทศแห่เจรจาสหรัฐ! ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เริ่มขยับ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า สหรัฐเปิดให้ประเทศคู่ค้าเข้าเจรจาเพื่อลดผลกระทบจาก Reciprocal Tariff ล่าสุดมี 70 ประเทศแจ้งความจำนงเพื่อเข้าเจรจา โดยมี 2 ประเทศที่การพูดคุยมีพัฒนาการทางบวกอย่างชัดเจน ได้แก่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้           ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่าการพูดคุยทางโทรศัพท์เบื้องต้นกับผู้นำทั้ง 2 ประเทศเป็นไปด้วยดี โดยต่อจากนี้ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะส่งทีมเจรจาเดินทางไปยังสหรัฐเพื่อทำข้อตกลงต่าง ๆ           การเปิดเจรจาของสหรัฐสะท้อนท่าทีที่ผ่อนคลาย สร้างความหวังให้กับนักลงทุน บ่งชี้ว่าปัญหาใกล้เข้าสู่ช่วงปลายของความผันผวนแล้ว โดยเฉพาะหากมีการเจรจาเกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐ ตลาดหุ้นจะตอบรับในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ (ทรัมป์ส่งสัญญาณว่าจีนมีความต้องการเจรจากับสหรัฐเช่นกัน)

ภาษีไฟแลบ! จีนไม่ถอย สหรัฐเดินหน้าขึ้น 104%

ภาษีไฟแลบ! จีนไม่ถอย สหรัฐเดินหน้าขึ้น 104%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า จีนไม่ยกเลิกการขึ้นภาษีตอบโต้ 34% ในวันที่ 8 เม.ย. 2568 ตามที่สหรัฐขู่ไว้ สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มอีก 50% รวมกับภาษีเดิมที่ประกาศเรียกเก็บก่อนหน้า (20% + 34%) จะทำให้ภาษีรวมทั้งหมดที่สหรัฐจะเรียกเก็บจากสินค้าจีนพุ่งสูงเป็น 104% ซึ่งจะมีผลราว 11:00 น. ตามเวลาไทย หากไม่มีการเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ คาดว่ามีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะเห็นจีนประกาศมาตรการโต้กลับในระดับเดียวกัน วันนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะมีทั้งโอกาสและความผันผวนที่อาจรุนแรงขึ้น หากทั้งสองประเทศยังคงตอบโต้กันไปมา

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

นายกฯ มอบรองนายกฯ พิชัย เจรจาสหรัฐ เตรียมมาตรการรับมือ-เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

นายกฯ มอบรองนายกฯ พิชัย เจรจาสหรัฐ เตรียมมาตรการรับมือ-เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดีย ว่า การวางยุทธศาสตร์รับมือมาตรการ Reciprocal Tariff และ liberation day ต้อง ‘รู้เขา-รู้เรา-เร็ว-แม่นยำ’ ซึ่งการประชุมวันนี้จะเป็นการติดตามสถานการณ์ กำหนดก้าวต่อไปอย่างรอบคอบและแม่นยำ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทย           ตามที่ นายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการ Reciprocal Tariff และ liberation day เมื่อวันที่ 2 เมษายน ซึ่งถือเป็นการกำหนดกติกาการค้าโลกใหม่ สร้างผลสะเทือนต่อระบบเศรษฐกิจของโลก รวมทั้งผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาเอง ตามรายงานข่าวที่ทุกท่านได้ติดตามรับทราบโดยทั่วกัน           การณ์นี้ รัฐบาลติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบุให้เป็นวาระสำคัญ โดยแต่งตั้งคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เมื่อ 6 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ฯ เป็นประธาน , อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ , ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ เป็นที่ปรึกษา เพื่อศึกษารายละเอียด หารือ และกำหนดแนวทางร่วมกับภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด           โดยในที่ประชุม ครม. เมื่อเช้านี้ ได้มีการมอบหมายให้ท่านรองนายกฯ พิชัย เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจากับทางอเมริกา พร้อมด้วย รมต. พาณิชย์ เป็นผู้ร่วมคณะเจรจา มีการประสานนัดหมาย เพื่อทำการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น USTR และหน่วยงานอื่นๆ ของอเมริกา เพื่อนำเอาข้อเสนอของไทยไปพูดคุย           และการประชุมวันนี้จะเป็นการติดตามสถานการณ์ เพื่อกำหนด ก้าวต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยอย่างรอบคอบและแม่นยำ           สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ คือต้อง “รู้เขา” และ “รู้เรา” วันนี้เห็นนอกจากรูปแบบการตอบโต้ และรับมือต่อนโยบาย Trump จากประเทศต่างๆ มีอะไรบ้าง และยังได้เห็นปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวตอบโต้ของประชาชนภายในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้อีกด้วย           ยุทธศาสตร์และกระบวนการทำงานของรัฐบาลต้องทั้ง 'เร็ว และ แม่นยำ' เร็ว : ขอย้ำว่ามีการจัดตั้งคณะทำงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม ซึ่งตั้งก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการเมื่อ 20 มกราคม และได้ประสานงานกับฝั่งทางสหรัฐอเมริกามาตลอด แม่นยำ : มีการเตรียมข้อมูลที่ครบและรอบด้าน มีการติดตามความเคลื่อนไหวจากทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบเพื่อประเมินและหาข้อสรุปในการเจรจาที่จะมีต่อไปจากนี้           ดิฉันขอย้ำว่า การเจรจาไม่ใช่แค่ครั้งเดียวจบ แต่การเจรจาจะต้องใช้เวลา และมีการเจรจาในหลายระดับที่แตกต่างกัน           นอกจากนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดผลกระทบเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ จึงต้องการเตรียมมาตรการรับมือและเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวจะต้องมองถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และการหาตลาดใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจไทยไปต่อได้อย่างเข้มแข็ง           ดิฉันขอยืนยันว่า รัฐบาลคำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้ง จะดำเนินการทุกอย่างโดยรอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ และไม่ให้เสียเปรียบมากที่สุด

หุ้นไทยผจญสงครามการค้า เจาะ8หุ้นปลอดภัย เช็กเลย!

หุ้นไทยผจญสงครามการค้า เจาะ8หุ้นปลอดภัย เช็กเลย!

          บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)  ออกรายงานกลยุทธ์การลงทุนประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ (policy panic)           ตลาดหุ้นถูกปัจจัยมหภาคกดดันต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจไทยหากไม่นับภาคการท่องเที่ยว อยู่ในภาวะถดถอยติดต่อกัน 9 ไตรมาส EPS และ GDP ยังโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตระยะยาวตั้งแต่ช่วงโควิด นโยบายการเงินที่ตึงตัวและประสิทธิผลของนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลดลง เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่มีผลตอบแทนแย่ลงในปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยภายนอกอย่างเรื่องแรงกดดันด้านภาษีศุลกากรเหมือนที่ประเทศอื่น ๆ เช่น จีน แคนาดา สหภาพยุโรป และเวียดนามกำลังได้รับผลกระทบ           บล.เกียรตินาคินภัทรประเมินว่าดัชนี SET อาจร่วงลงไปที่ 1,000 จุด จากความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ (growth shock) ในไตรมาส 2/2025 อาทิ การท่องเที่ยวที่อ่อนแอ การส่งออกที่ถูกท้าทายจากแรงกดดันจากมาตรการภาษี ภาคการบริโภคที่อ่อนแอ และการลงทุนที่ซบเซา ในขณะที่แรงหนุนเดียวที่อาจช่วยพยุงตลาดได้คือ การที่นักลงทุนกลับเข้าซื้อเมื่อมูลค่าตลาด (valuation) อยู่ในระดับที่ถูกเกินไปหากเทียบกับมูลค่าพื้นฐานซึ่งประเมินว่าอยู่ที่ระดับ P/E 10-11 เท่า หรือที่ดัชนี SET 1,000 จุด หรือการที่ผู้กำหนดนโยบายออกมาตรการกระตุ้นอย่างเร่งด่วนและเร็วกว่าที่คาด           นอกจากนี้ บล.เกียรตินาคินภัทรคาดว่า การผ่อนคลายนโยบายการเงินในการประชุม กนง. ช่วงกลางปี อาจช่วยให้ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยายตัว (yield curve steepening) และหนุนดัชนี SET ได้ แต่จนกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะชัดเจน แนะนำให้เน้นลงทุนในกลุ่มหุ้นปลอดภัย ได้แก่ โรงพยาบาล (BCH, PR9, BDMS, BH) ซึ่งมีการเติบโตที่แข็งแกร่งท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ กลุ่มโทรคมนาคม (TRUE, ADVANC) ที่ได้รับประโยชน์จากปัจจัยสนับสนุนของการควบรวมในอุตสาหกรรม กลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB) ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลและการบริหารเงินทุนที่ดี           อย่างไรก็ตาม วันที่ 30 เมษายน 2025 จะเป็นวันสำคัญสำหรับการประชุม กนง. ซึ่งอาจมีนโยบายเร่งด่วนออกมา หากเกิดขึ้นจริง อาจเกิดแรงหมุนเวียนจากหุ้นปลอดภัยไปสู่หุ้นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับประโยชน์ เช่น หุ้นที่มีภาระหนี้สูง (AWC, ERW, IRPC, GPSC) ซึ่งจะได้รับประโยชน์เป็นกลุ่มแรก กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก อุตสาหกรรมที่อิงกับการบริโภค (รวมถึงสื่อ) สินเชื่อนอกระบบ และอสังหาริมทรัพย์           ดัชนี SET ยังมีโอกาสปรับตัวลงต่อ เนื่องจาก P/E ปัจจุบันที่ 12.2 เท่า ยังคงสูงกว่าระดับ 10-11 เท่าที่จะถือว่า “ถูกจริง” ดังนั้น บล.เกียรตินาคินภัทรคาดว่าความผันผวนจะยังสูง โดยเฉพาะในไตรมาส 2/2025 ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เช่น การเจรจาภาษี ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และตัวเลขการเติบโตของ GDP ที่อาจกดดันให้ภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น           นักลงทุนควรติดตามปัจจัยมหภาคอย่างใกล้ชิด และปรับกลยุทธ์ตามภาวะตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในปี 2025

วันนี้หุ้นฟลอร์กี่ตัว

วันนี้หุ้นฟลอร์กี่ตัว

          หุ้นวิชั่น - เมื่อ จีน ไม่ยอมอ่อนข้อให้สหรัฐฯ พร้อมตอบโต้การเก็บภาษีศุลกากร สงครามการค้าระเบิดแล้ว ทำให้นักลงทุนทั่วโลกแห่ขายหุ้นกันอย่างหนัก ตลาดหุ้นเอเซียวานนี้ (7 เมษายน 2568) ดิ่งเหวกันทั่วหน้า ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลบไปถึง 7.34% ตลาดหุ้นโตเกียวดัชนีนิกเกอิปิดร่วง 7.83% ตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็งปิดดิ่ง 13.74%           วันนี้ถึงคิวหุ้นไทย หลังได้รับอานิสงส์วันหยุดวานนี้ จะโดนแรงขายทบต้นทบดอกหรือไม่?            ล่าสุดตลาดหลักทรัยพ์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศแผนรับมือ ปรับเกณฑ์ Ceiling & Floor จากเดิม 30% มาเหลือ 15% และห้ามขายชอร์ตชั่วคราว ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling & Floor) จะไม่ใช้บังคับกับการซื้อขาย DR และ DRx           พร้อมทั้งได้ปรับกรอบราคาซื้อขายแบบ Dynamic Price Band เป็นรายหลักทรัพย์ จากเดิม 10% จากราคาซื้อขายล่าสุดของหลักทรัพย์นั้น เป็น 5% จากราคาซื้อขายล่าสุดของหลักทรัพย์นั้น อย่างไรก็ตาม การห้ามการขายชอร์ตทุกหลักทรัพย์นั้น ยกเว้น Market Maker สำหรับ SET, mai และ TFEX           กฎนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2568 และไม่เกินวันที่ 11 เมษายน 2568           ถามเป็นมาตรการที่ดีหรือไม่ ของตลาดหลักทรัพย์ฯรอบนี้ ก็ต้องตอบว่า ดีในระดับหนึ่ง เพราะเป็นการชะลอแรงขายหุ้น เพื่อให้นักลงทุนได้มีเวลาศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ครบถ้วนและรอบด้าน โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน และเจ้าของหุ้นทั้งหลาย           แต่อีกด้านหนึ่ง การชะลอแรงขายแบบนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นตกอยู่การถูกแรงขายครอบงำยาวนานขึ้น เพราะเป็นมาตรการที่ผิดธรรมชาติการลงทุน หากผู้ลงทุนคิดดีแล้ว และต้องการขายหุ้นออกลดความเสี่ยง หนีภาวะสงครามการค้าออกไปก่อน ดังนั้น วันนี้อาจจะเป็นวันที่มีหุ้นในตลาดไทย ทำสถิติฟลอร์มากที่สุดวันหนึ่งก็ได้ ธรุกิจอะไรไม่โดนภาษี 36%           จากข้อมูลข่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจของไทยระบุว่า ล่าสุดประเทศไทยเกินดุลการค้าสหรัฐฯ ประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นเพื่อรับมือกับมาตรการภาษี ต้องทำให้สัดส่วนการเกินดุลของไทยที่มีต่อสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งมีแนวทางเจรจากับสหรัฐฯ ดังนี้           ประการแรก ไทยต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ให้มากขึ้น โดยมีพร้อมนำเข้าสินค้าหลายประเภทจากสหรัฐฯ เช่น ข้าวโพด ปลาทูน่า เป็นต้น และประการที่สองคือ สินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ต้องเป็นสินค้าที่สามารถนำมาผลิตหรือแปรรูปในไทยเพื่อส่งออกได้ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการผลิตในประเทศ           และประการที่สาม คือ กระตุ้นและส่งเสริมส่งออกสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมากขึ้น ด้วยการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ซึ่งเป็นเอกสารใช้เพื่อรับรองสินค้าของผู้ส่งออกว่า ส่งออกมาจากประเทศใดให้เข้มงวดมากขึ้น           ภาครัฐบาลย้ำอีกว่า แนวทางการเจรจาเหล่านี้ ไม่ได้มีเป้าหมายการลดส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ แต่เป็นการทำให้ช่องว่างของการได้เปรียบดุลการค้าลดลง และที่สำคัญคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการนำเข้าสินค้าที่ไทยต้องการ และนำมาผลิตและส่งออกให้ได้ด้วย โดยหลังจากนี้ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการในรายละเอียดกันต่อไป           “คาดเจรจากับทางสหรัฐฯ ภายใน 2-3 สัปดาห์ เพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจส่งออกไทย เนื่องเพราะประเมินว่า การขึ้นภาษีของสหรัฐฯรอบนี้ อาจสะเทือนกับ GDP ไทยไม่น้อยกว่า 1%”           ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาเนื้อหาข้อความ เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 68 ที่ปธน. ทรัมป์ลงนามประกาศคำสั่ง EO กำหนดภาษีนำเข้าต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ 1. Baseline Tariff: จัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการจากทุกประเทศในอัตราร้อยละ 10 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เม.ย. 2568 2. Individualized Reciprocal Higher Tariff: จัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการเป็นรายประเทศ สำหรับประเทศที่สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้าด้วยสูง โดยไทยถูกกำหนดภาษีในอัตราร้อยละ 36 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เม.ย. 2568 3. สินค้าที่ไม่ได้อยู่ภายใต้มาตรการ Reciprocal Tariffs คือ (1) สินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรา 232 อยู่แล้ว ได้แก่ เหล็ก/อลูมิเนียม และรถยนต์/ชิ้นส่วนรถยนต์ (2) สินค้าที่ระบุไว้ในเอกสาร Annex II ของ EO ครอบคลุมทองแดง ผลิตภัณฑ์ยา เซมิคอนดักเตอร์ ไม้แปรรูป แร่ที่มีความสำคัญ และพลังงาน 4. Duty-free de minimis: สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญสหรัฐฯ จะยังได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามข้อกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ (duty-free de minimis treatment) ต่อไป           เห็นได้ว่า ธุรกิจส่งออกที่ไม่อยู่ในข่าย โดนภาษีตอบโต้ 36% ประกอบด้วย เหล็ก/อลูมิเนียม และรถยนต์/ชิ้นส่วนรถยนต์ และอาจรวมถึง ทองแดง ผลิตภัณฑ์ยา เซมิคอนดักเตอร์ ไม้แปรรูป แร่ที่มีความสำคัญ และพลังงาน อีกด้วย (รอการพิจารณาความชัดเจน)           ขณะที่ผู้บริหาร TEGH นางสินีนุช ได้โพสเฟสบุ๊คว่า ยางพาราธรรมชาติ อยู่ใน list Annex IIที่ "ไม่" ถูกเก็บภาษี 37% นะคะ และขยายความว่า อุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ของ USA ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 170,600 ล้าน USD และสร้างงานมากกว่า 291,000 ตำแหน่ง USA ไม่ได้ปลูกยางพารา จึงต้องนำเข้ายางพาราธรรมชาติ ประมาณ 1 ล้าน ตันต่อปี โดยนำเข้าจาก ไทย ในสัดส่วน 25%           ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับผลกระทบ คือ ยางล้อรถยนต์ (USA นำเข้ายางล้อ ประมาณ 170 ล้านเส้นต่อปี) (ซึ่งไทย คือผู้ส่งออกยางล้อรายใหญ่สุด ไป USA) ทำให้ผู้ผลิตยางล้อที่พึ่งพาตลาด USA จะได้รับผลกระทบทางตรง ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตยางล้อใน USA อาจนำเข้ายางธรรมชาติมากขึ้น ผู้ผลิตยางธรรมชาติที่มีตลาดใน USA อาจส่งออกได้มากขึ้น (TEGH มีสัดส่วนการขายไป USA ที่ 14%)           ผลกระทบในระยะสั้น คือ ราคายางอ่อนตัว Supply chain ที่พึ่งพา จีน จะได้รับผลกระทบรุนแรง จีน คงจะเล่นสงครามราคา เพื่อคงอัตราการผลิต EU ถูกจัดเก็บ 20% ซึ่งต่ำกว่าประเทศผู้ผลิตยางล้ออื่นๆ น่าจะยังพอแข่งขันได้ สายโทรศัพท์ whitehouse คงไหม้ ในสัปดาห์นี้ (โฟสทิ้งท้าย)

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ส่งออกคอมพิวเตอร์หนักสุด! - จับตาทุเรียนขายจีนสะเทือน

ส่งออกคอมพิวเตอร์หนักสุด! - จับตาทุเรียนขายจีนสะเทือน

            หุ้นวิชั่น- ประเมินเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบสูงจากนโยบายภาษีของทรัมป์ 2.0 ทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม จับตา “ทุเรียน” ไทยส่งออกไปจีนในปี 2567 มีสัดส่วนมากถึง 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยทั้งหมด              บทวิเคราะห์ SCB EIC ระบุว่า ผลกระทบทางตรง: ส่งออกไทยพึ่งสหรัฐฯ สูงถึง 18% สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วน 18.3% ในปี 2024 เพิ่มขึ้นมากจาก 12.7% ในปี 2019 หากเทียบกับประเทศในโลกที่มี GDP ใหญ่สุด 30 อันดับแรกและกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ต่อ GDP ค่อนข้างสูงกว่าอยู่ที่ราว 10% ขณะที่ไทยเองก็โดน Reciprocal rate ในอัตราสูงกว่าด้วยเช่นกัน ไทยจึงมีแนวโน้มได้รับผลกระทบสูงผ่าน 2 ช่องทาง คือ 1) Substitution Effect : สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าตอบโต้ไทยสูงถึง 36% ขณะที่ประเทศต่าง ๆ โดนอัตราภาษีน้อยกว่ามาก (ส่วนมากถูกเก็บภาษีแค่ 10%) จึงอาจทำให้สหรัฐฯ หันไปนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่แข่งที่ขายราคาถูกกว่าไทย 2) Income Effect : สหรัฐฯ อาจนำเข้าสินค้าจากไทยและคู่ค้าอื่น ๆ น้อยลง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองก็อาจชะลอลงมากจากนโยบายกำแพงภาษีของตัวเองครั้งนี้             หากดูผลกระทบรายหมวดสินค้าส่งออก พบว่ากว่า 8 ใน 10 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบมาก เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (8.2% ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมด) พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ มากถึง 42.9% ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ทั้งหมด หรือผลิตภัณฑ์ยาง โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ มากถึง 31.6% และ 58.5% ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนั้นๆ ทั้งหมด ตามลำดับ ผลกระทบทางอ้อม: ส่งออกไทยกระจุกตัวในประเทศที่ถูกตั้งกำแพงภาษีสูง             นอกจากไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงแล้ว ไทยยังส่งออกไปยังตลาดจีน อาเซียน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปในสัดส่วนที่สูงเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ถูกตั้งกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ ในอัตราสูงอยู่ที่ 54% 33% 24% 20% ตามลำดับ เทียบกับกำแพงภาษีที่สหรัฐ เก็บทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16% ดังนั้นการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยกลุ่มนี้ จะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความต้องการสินค้าส่งออกไทยผ่านหลายช่องทาง คือ 1) ความต้องการสินค้าขั้นปลายของไทยลดลง เช่น เศรษฐกิจจีน (ตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย) คาดว่าจะชะลอตัวลงจากมาตรการกีดกันการค้ารอบนี้ ย่อมส่งผลให้ความต้องการนำเข้าสินค้าไทยลดลงตาม โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผักและผลไม้ อาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งจีนเป็นผู้นำเข้าหลัก (เช่น ทุเรียนไทยส่งออกไปจีนในปี 2567 มีสัดส่วนมากถึง 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยทั้งหมด) 2) ความต้องการสินค้าขั้นต้นและขั้นกลางของไทยในห่วงโซ่การผลิตลดลง เช่น ไม้ยางพารา ยางพารา ยางสังเคราะห์ เม็ดพลาสติก (โดยเฉพาะกลุ่ม Styrene และ Ethylene) และอะลูมิเนียมรีด (สำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์หรือกระป๋องเครื่องดื่ม) ซึ่งพึ่งพาการส่งออกไปตลาดจีนสูง อาจถูกกระทบหากจีนส่งออกไปสหรัฐฯ น้อยลง 3) การแข่งขันในตลาดส่งออกโลกสูงขึ้น บางประเทศอาจเผชิญปัญหาส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ได้น้อยลง แต่กำลังการผลิตในประเทศยังมีอยู่มาก ทำให้ต้องระบายสินค้าออกสู่ตลาดอื่นๆ มากขึ้น 4) บางประเทศคู่ค้าอาจหันไปนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพื่อลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ จึงอาจนำเข้าสินค้าไทยน้อยลง             ผลกระทบทางอ้อม: ภาวะ Wait & See ของการลงทุนในไทยจากความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีสหรัฐฯ ทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งที่ผ่านมาการลงทุนจากจีนส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกสินค้าไปขายตลาดสหรัฐฯ และหลีกเลี่ยงการกีดกันสินค้าส่งออกจากจีนโดยตรง รวมถึงการลงทุนในประเทศที่อาจ Wait & See โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ ที่อาจรอดูความชัดเจนของการเจรจาการค้าของรัฐบาลไทยเพื่อลดผลกระทบจากนโยบายภาษีครั้งนี้ ความไม่แน่นอนของภาษีตอบโต้ยังสูง ขึ้นกับเจรจา             SCB EIC ประเมินอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่ไทยและประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ทั่วโลกต้องเผชิญจะมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ทำเนียบขาวประกาศในวันที่ 2 เมษายน 2025 โดยในประกาศของทำเนียบขาวระบุชัดว่า ประธานาธิบดีทรัมป์อาจลดภาษีตอบโต้ให้ได้ หากประเทศนั้น ๆ สามารถแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น พยายามลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯ ลดอัตราภาษี Reciprocal Tariffs ได้บ้าง สำหรับประเทศนั้น ๆ ได้บ้าง อย่างไรก็ดี การเจรจาขอลด Universal Tariffs และ Specific Tariffs รายสินค้าจะดำเนินการได้ยากกว่า เพราะวัตถุประสงค์ของสหรัฐ ต้องการประกาศเป็นอัตราภาษีนำเข้าส่วนเพิ่มขั้นต่ำ และเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศบางประเภทโดยเฉพาะ             แม้อัตราภาษีที่แท้จริงที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจริงกับประเทศไทยอาจลดลงหลังการต่อรองลดผลกระทบไม่ให้รุนแรงมาก SCB EIC ประเมินว่า การประกาศสงครามการค้าของสหรัฐฯ ครั้งนี้จะเป็นความเสี่ยงด้านต่ำสำคัญของเศรษฐกิจไทย จะส่งผลกดดันให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2025 ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 2.4% อย่างมีนัยสำคัญ             ประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญเร่งเจรจาลดผลกระทบครั้งนี้ โดยอาจเน้นจาก 3 ประเด็นหลักของไทย ซึ่งสะท้อนได้จากรายงานอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศของ United States Trade Representative (USTR) เผยแพร่เดือน มีนาคม 2025 ได้แก่ 1) ลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยนำเข้าสินค้าบางประเภทจากสหรัฐฯ มากขึ้น หรือ ลดอัตราภาษีนำเข้าบางสินค้าของสหรัฐฯ 2) ลดมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น เกณฑ์ห้ามนำเข้าสินค้าบางชนิด เกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตร 3) แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ และไทยเองก็ได้ประโยชน์ด้วย เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเสรีภาพของแรงงาน ตลอดจนการพิจารณาลงทุนเพิ่มเติมในสหรัฐฯ

แถลงการณ์ นายกรัฐมนตรี  เปิดช่องนำเข้าสินค้าสหรัฐฯเพิ่ม

แถลงการณ์ นายกรัฐมนตรี เปิดช่องนำเข้าสินค้าสหรัฐฯเพิ่ม

           แถลงการณ์ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ท่าทีของประเทศไทยกับนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา 6 เมษายน พ.ศ.2568            เรียนพี่น้องประชาชน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยของเราได้เผชิญกับเหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่คาดคิด ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตทรัพย์สิน และสภาพจิตใจของคนไทย รัฐบาลได้ตระหนักถึงเหตุการณ์ดังกล่าวและได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในทุกมิติ เพื่อให้การช่วยเหลือและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เราเคยผ่านวิกฤตของประเทศมาแล้วหลายครั้งและด้วยความสามัคคีความช่วยเหลือเกื้อกูลและความเอื้ออารีต่อกันของคนในชาติ ทำให้ดิฉันเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถก้าวผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้            วันนี้ประเทศไทย กำลังเผชิญกับมาตรการในการขึ้นภาษีสินค้าของไทยที่ส่งไปขายในสหรัฐอเมริกาในอัตราร้อยละ 36 อีกทั้งหลายประเทศก็ได้ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับประเทศไทยและก็ต่างเตรียมมาตรการรับมือ ซึ่งเราเชื่อว่าทั่วโลกกำลังจะเห็นการตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงผ่านเครื่องมือทางภาษี และหลายประเทศก็ตัดสินใจไปเจรจาพูดคุยกับรัฐบาลสหรัฐฯ แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีใครได้ข้อสรุปของการเจรจาแต่อย่างใด ในส่วนของประเทศไทยมาตรการนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออกสินค้าของเราโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหารแปรรูป และสินค้าเกษตร            รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ขึ้นมา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มกราคมปีนี้ และมีการหารือกับภาคเอกชนรวมทั้งตัวแทนของสหรัฐฯถึงข้อเสนออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มาโดยตลอด และในสัปดาห์หน้านี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเดินทางไปหารือ กับหลายภาคส่วนในสหรัฐฯ ทั้งภาครัฐ เอกชนและผู้ที่มีส่วนได้เสีย จากการเปลี่ยนแปลงการค้าที่สำคัญ ของรัฐบาลสหรัฐฯในครั้งนี้ สำหรับสิ่งที่เราจะสื่อสารกับรัฐบาลสหรัฐฯก็คือ ประเทศไทยไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกเท่านั้น แต่เราคือพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯเชื่อถือได้ในระยะยาว            โดยขณะนี้ รัฐบาลได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ เช่นการเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในด้านพลังงาน อากาศยาน และ สินค้าเกษตร โดยประเทศไทยมีแผนที่จะสร้างความร่วมมือกับภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มอื่นๆ ที่มีส่วนได้เสียสำคัญในระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ซึ่งมีรายละเอียดในนโยบายอีกมาก โดยขอให้มั่นใจว่าข้อเสนอเหล่านี้ ล้วนแต่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศไทยเหนือสิ่งอื่นใด นอกจากนี้ประเทศไทย จะมีการเจรจา เรื่องการส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯและลดเงื่อนไขการนำเข้าที่เป็นอุปสรรครวมไปถึงการปราบปราม การสวมสิทธิถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังสหรัฐฯ            ดิฉันมั่นใจว่า ข้อเสนอข้างต้นนี้ จะทำให้การเจรจากับสหรัฐฯ บรรลุผลเพื่อให้ประเทศไทยและสหรัฐฯ ยังคงเป็นพันธมิตรและคู่ค้าที่เป็นมิตรต่อกัน นอกจากนี้รัฐบาลยังมีอีกหลายมาตรการที่พร้อมจะรับฟังและพูดคุยเพิ่มเติมกับสหรัฐฯ และขอให้ความมั่นใจว่าข้อเสนอที่รัฐบาลเตรียมไว้ ล้วนคำนึงถึงประชาชนและผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญและเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจของเราและคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจไทยทุกท่าน            ดิฉันขอให้คำมั่นว่า ทุกท่านไม่ได้โดดเดี่ยว ไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง รัฐบาลจะมีมาตรการเยียวยาเร่งด่วนในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้ง SME และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ โดยการเร่งขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ อีกทั้งยังจะเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคธุรกิจไทย ที่เรามุ่งมั่นที่จะเจรจาการค้า ในการเปิดตลาดใหม่ๆ ในตะวันออกกลาง ยุโรป และ อินเดีย โดยจะเร่งเจรจาการค้า FTA ให้เร็วยิ่งขึ้น            ท้ายนี้ ดิฉันขอเรียนว่าในวันอังคารที่ 8 เมษายนนี้ หลังจากประชุมสรุปกับคณะกรรมการและทุกหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง จะสรุปแนวทางเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นสำคัญ และขอเรียนย้ำอีกครั้ง ว่ารัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจไทยให้มั่นคง แข็งแรง และเท่าทันโลก และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมีศักดิ์ศรีเพื่อประเทศไทยของเรา

เช็กด่วน! 5 กลุ่มธุรกิจไทย เข้าข่ายโดนภาษี 37%

เช็กด่วน! 5 กลุ่มธุรกิจไทย เข้าข่ายโดนภาษี 37%

         หุ้นวิชั่น - สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผย สินค้าส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการออกมาตรการ Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ          การออกมาตรการ Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ โดยไทยถูกกำหนดภาษีในอัตราร้อยละ 37 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน 2568 อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อาทิ เครื่องโทรศัพท์รวมถึงสมาร์ทโฟนและเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ (สัดส่วนร้อยละ 12.5 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 2) (ร้อยละ 46) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (สัดส่วนร้อยละ 11.1 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 4) (ร้อยละ 46) ยางรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 6.4 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 5) (ร้อยละ 46) เซมิคอนดักเตอร์ (สัดส่วนร้อยละ 4.5 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 1) (ร้อยละ 46) หม้อแปลงไฟฟ้า (สัดส่วนร้อยละ 3.8 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 5) (ร้อยละ 46)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

12 หุ้นหลบภัยภาษีสหรัฐฯ ชูธุรกิจในไทย-ปันผลเด่น

12 หุ้นหลบภัยภาษีสหรัฐฯ ชูธุรกิจในไทย-ปันผลเด่น

           หุ้นวิชั่น - ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯประกาศเก็บ “ภาษีพื้นฐาน” (baseline tariff) ในอัตรา 10% จากสินค้า ทั้งหมดที่นำเข้ามาในประเทศ พร้อมปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีนในอัตรา 34%, สหภาพยุโรป (EU) 20%, เวียดนาม 46%, ไต้หวัน 32% และไทย 36% ตามรายงานข่าวของ CNBC            โดยทำเนียบขาวประเมินว่า อัตราภาษีของไทยรวมมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีต่อสินค้าสหรัฐฯอยู่ที่ 76% ส่วน Yahoo Finance ประมาณการว่าสหรัฐฯเก็บภาษีตอบโต้ (reciprocal tariff) สินค้านำเข้าจากไทย 36% ขณะที่ Reuters รายงานว่าอัตราภาษีใหม่จะมีผลวันที่ 9 เม.ย.68 และจะเก็บจากประเทศต่างๆประมาณ 60 ประเทศ ส่วนอัตราภาษีพื้นฐาน 10% จะมีผลวันที่ 5 เม.ย.68            ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ระบุว่า รัฐบาลไทยคาดการณ์ว่า reciprocal tariff จะกระทบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยประมาณ 7-8 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 13-15% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ หรือ 2.3% ของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 67 ขณะที่รัฐบาลมีแผนนำเข้าสินค้าเกษตรและพลังงานจากสหรัฐฯมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทไทยเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์ฯมองว่า การปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรอาจทำได้ยาก เพราะรัฐบาลต้องปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรในประเทศ                        ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า หากตั้งสมมติฐานว่าภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าและมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยลดลง 10% yoy ในปี 68 ผลลบสุทธิต่อ GDP ไทยน่าจะมีประมาณ 0.5% อย่างไรก็ตามเมื่อมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงก็มักจะฉุดการบริโภคภาคเอกชนลดลงตาม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างเช่นพนักงานโรงงานที่อาจไม่ต้องทำงานล่วงเวลา ซึ่งส่วนนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ประมาณ 0.4- 0.7% ดังนั้นเมื่อรวมผลกระทบจากทั้งสองส่วน เชื่อว่าผลกระทบโดยรวมต่อ GDP ไทยในปี 68 น่าจะอยู่ที่ 0.9-1.2% หากปัจจัยอื่นไม่เปลี่ยนแปลง            ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI มองว่า ผลกระทบที่แท้จริงจาก reciprocal tariff ของสหรัฐฯอาจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงประมาณการว่า EPS ของตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 10% จึงปรับลดเป้าดัชนี SET สิ้นปีนี้จากเดิม 1,380 จุด (P/E 14 เท่า ในปี 69) มาที่ 1,200 จุด ซึ่งยังเท่ากับ P/E 13.4 เท่า ในปี 68 หรือ -1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี แนะนำให้ลงทุนในหุ้นปลอดภัยที่เน้นธุรกิจในประเทศ (domestic defensive) และหุ้นปันผลสูงหุ้น Top pick ประกอบด้วย BH, CBG, CPALL, CPN, HANA, KTB, MINT, MTC, PTTEP, SCB, PR9 และ SIRI            โดยมองว่าการที่ มาตรการภาษีของสหรัฐฯส่งผลกระทบต่อไทยรุนแรงกว่าคาดและความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็น downside risk ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐอาจช่วยหนุน SET

นายกฯ ออกแถลงการณ์ ไทยพร้อมเจรจาสหรัฐ เสนอเงื่อนไขจูงใจ

นายกฯ ออกแถลงการณ์ ไทยพร้อมเจรจาสหรัฐ เสนอเงื่อนไขจูงใจ

           นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลไทยตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นของสหรัฐฯ ที่จะต้องปรับสมดุลทางการค้ากับประเทศคู่ค้าจำนวนมาก ผ่านนโยบายอัตราภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Trade and Tariffs) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ของประธานาธิบดีทรัมป์ มีความเป็นพลวัต (dynamic) และแตกต่างไปจากยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง            ​ล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศนโยบายในงาน Liberation Day เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 เวลา 04.00 น. (เวลาไทย) ได้ประกาศขึ้นภาษีกับการนำเข้าจากทุกประเทศขั้นต่ำร้อยละ 10 ประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ และสหรัฐฯ มองว่าเอาเปรียบสหรัฐฯ ตั้งแต่อัตราภาษีนำเข้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ จะถูกจัดเก็บ โดยแต่ละประเทศจะถูกปรับในอัตราที่แตกต่างกันในอัตราหารครึ่งจากอัตราที่สหรัฐฯ คำนวณว่าสินค้าของสหรัฐฯ ถูกจัดเก็บจากประเทศนั้นๆ สำหรับประเทศไทย สหรัฐฯ กำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนไว้ที่ร้อยละ 36 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 เป็นต้นไป            ​การประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าทุกรายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่อาจไม่สามารถรับกับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในระดับสูงได้  ดังนั้น ในระยะยาว ผู้ประกอบการส่งออกไทยควรมองหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว ซึ่งรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และได้วางมาตรการรองรับในการเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการส่งออกของไทยที่มีตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดหลัก ​            ​​รัฐบาลขอเรียนว่า ไทยได้ส่งสัญญาณความพร้อมที่จะหารือกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในโอกาสแรก เพื่อปรับดุลการค้าให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย โดยส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 ก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการติดตามและประเมินสถานการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างใกล้ชิดและรอบด้าน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน เพื่อจัดเตรียม “ข้อเสนอเพื่อปรับดุลการค้ากับสหรัฐฯ ที่มีสาระสำคัญเพียงพอให้สหรัฐฯ มีแรงจูงใจที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจากับไทย” ที่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้ประกอบการในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ไทยยังอาจใช้โอกาสนี้ในการปรับโครงสร้างการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวให้กับบางอุตสาหกรรมได้            ​​ประเทศไทยมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะสร้างเสถียรภาพและสมดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ ในระยะยาว มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นหนึ่งในกลุ่มมิตรประเทศเพื่อการลงทุน (Friend Shoring) ที่ทั้งสองประเทศสามารถพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเอื้อซึ่งกันและกัน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดโลก อาทิ ในภาคเกษตร-อาหาร ที่สหรัฐฯ มีสินค้าเกษตรจำนวนมากที่ไทยสามารถนำเข้าเพื่อนำมาแปรรูปเพื่อส่งออกไปตลาดโลก และในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต Hard Disk Drive ที่สำคัญของโลก และอุปกรณ์ดังกล่าวก็จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Data Center และ AI ของสหรัฐฯ            ​สุดท้ายนี้ รัฐบาลไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ จะมองถึงเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจร่วมกันในระยะยาว ประเทศไทยยังคงยืนยันเจตนารมณ์ในการเป็นพันธมิตรและมุ่งมั่นผลักดันความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกันสร้างและพัฒนาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อตลาดโลก ให้เติบโตอย่างมั่นคง เพื่อท้ายที่สุด จะช่วยกันลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการเกษตรของทั้งสองประเทศ ผ่านการหารืออย่างสร้างสรรค์โดยเร็ว

กระทบแค่ไหน? หลังสหรัฐฯ จ่อขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์  

กระทบแค่ไหน? หลังสหรัฐฯ จ่อขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์  

          หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี  จับตาประเด็น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่ากำลังพิจารณาปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์เพิ่มเป็น 25% เพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ในประเทศ โดยประเทศเป้าหมายได้แก่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และ เยอรมนี           ฝ่ายวิจัยมองว่าหากปรับขึ้นภาษีนำเข้าจริง จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการผลิตรถยนต์ของไทย เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ของจีนและญี่ปุ่น มีฐานการผลิตรถยนต์ในไทยอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ผู้ผลิตที่ถูกขึ้นภาษี เลือกไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ส่งออกให้สหรัฐฯแทน           อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้างที่ประเทศไทยอาจถูกรวมอยู่กลุ่มประเทศในการขึ้นภาษีนำเข้านี้ด้วย หากสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง ฝ่ายวิจัยจะเห็นผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการผลิตยานยนต์ของไทย เนื่องจากประเทศไทยส่งออกยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) ไปยังอเมริกาเหนือ (รวมถึง สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก) ประมาณ 95,000 คันต่อปีหากเราพิจารณาว่า 50% ของการส่งออกทั้งหมดไปยังอเมริกาเหนือเป็นของสหรัฐฯ ก็จะคิดเป็นเพียง 4% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด และ3% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศไทย ฝ่ายวิจัยคงมุมมองเชิงลบ           คาดว่านโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2025 อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอดูผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคยานยนต์ของไทย ซึ่งอาจเป็น (1) ปัจจัยบวก หากสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้ายานยนต์ แต่ไม่รวมไทย หรือ (2) ปัจจัยลบ (แต่ไม่เกิน 3%) หากสหรัฐฯ รวมไทยเข้าในการเพิ่มภาษีนำเข้า           อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเห็นว่าปัญหานี้ไม่มีผลกระทบต่อแนวโน้มของภาคยานยนต์ในระยะสั้น เนื่องจากสาเหตุในปัจจุบันที่ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอ่อนแอนั้น มาจากยอดขายภายในประเทศที่อ่อนแอ  ซึ่งเป็นยอดขายที่อ่อนแอที่สุดในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา           และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวแต่อย่างใด โดยมองว่าการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในช่วง 2H25 เป็นต้นไป ทำให้คงมุมมอง Negative ต่ออุตสาหกรรม โดย EPG เป็น top pick

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011