ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ภาษี


ทรัมป์ แจงภาษียืดหยุ่นได้  โบรกคัด 6 หุ้นเด่น SET รับแรงหนุน

ทรัมป์ แจงภาษียืดหยุ่นได้ โบรกคัด 6 หุ้นเด่น SET รับแรงหนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ระบุ ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปิดบวกเพียง 32 จุด (+0.08%) แต่ก็นับเป็นการฟื้นตัวจากติดลบในช่วงเช้าหลังจากที่ Trump ประกาศว่าภาษีศุลกากรที่จะเริ่มในเดือน เม.ย. อาจไม่รุนแรงอย่างที่กังวลกัน ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 0.2% และปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สองแรงหนุนจากมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน           คืนวันศุกร์ที่ผ่านมาฝั่งสหรัฐฯมิได้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีเพียง Trump ได้สื่อสารกับนักข่าวพร้อมสื่อสารว่าหลายท่านมาหาผมและขอร้องให้สหรัฐฯยกเว้นภาษีนำเข้าหากยกเว้นให้หนึ่งคนก็อาจจะต้องอนุญาตให้ทุกคนเช่นกัน ดังนั้นสหรัฐฯจึงยังไม่เปลี่ยนใจแต่ก็อาจยืดหยุ่นได้และพร้อมปรับเปลี่ยนได้ตามการเจรจาจากปัจจัยข้างต้นทำให้นักลงทุนผ่อนคลายลงเล็กน้อย สะท้อนผ่านเงินไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเร่งขึ้น ราคาทองคำปรับลงและตลาดหุ้นปรับขึ้นซึ่งอาจจะหนุนตลาดหุ้นไทยระยะสั้น โดยสัปดาห์นี้นักลงทุนจะให้น้ำหนักกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯประกอบไปด้วย (1) ดัชนี PMI เบื้องต้นทั้งภาคบริการและผลิตของสหรัฐฯและยุโรปในวันจันทร์ (2) ยอดขายบ้านหลังแรกและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯในคืนวันอังคาร Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 6.82 แสนหลังคาและ 94.2 (3) ตัวเลขสำคัญอย่างเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) ในคืนวันศุกร์ Bloomberg Consensus คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ที่ 2.7%YoY หากต่ำกว่าคาดการณ์จะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นและตลาดทองคำ จากการคลายกังวลดอกเบี้ย FED สำหรับปัจจัยในประเทศวันศุกร์ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้รายงานการค้าระหว่างประเทศประจำเดือน ก.พ. พบว่าขยายตัว 14%YoY สูงกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดการณ์ที่ 8%YoY กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปัจจัยสนับสนุนมาจากภาคผลิตของหลายประเทศที่อยู่ในภาวะขยายตัว โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จากการเตรียมความพร้อมปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯรวมไปถึงเงินเฟ้อที่ลดลงและดอกเบี้ยเป็นอีกปัจจัยหนุน สินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้แก่อาหารสัตว์เลี้ยง (+14%YOY) ยางพารา (+36%YoY) สินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ (+51%YoY) รถยนต์ (+4.5%YoY) สัปดาห์นี้ปัจจัยภายในประเทศรอติดตามแถลงภาวะเศรษฐกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทยและดุลการค้าหากเกินดุลจะเป็นปัจจัยหนุนต่อค่าเงินบาท ประเมินกรอบ SET INDEX สัปดาห์นี้ที่ 1170 – 1220 มีแรงหนุนเล็กน้อยจากการประกาศของ Trump แต่เชื่อว่า Upside ยังจำกัดเพราะปัจจัยพื้นฐานมิได้แข็งแกร่งทั้งเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียน           กลยุทธ์การลงทุนที่แนะนำจึงเน้นที่การเลือกหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง เป็นผู้นำอุตสาหกรรมและมีอำนาจต่อรองกับลูกค้า อาทิ ศูนย์การค้า (CPN) นิคมอุตสาหกรรม (AMATA WHA) ท่องเที่ยว (CENTEL MINT) โรงพยาบาล (BDMS)

วิพากษ์ Global Minimum Tax โอกาสอัดฉีดของไทย

วิพากษ์ Global Minimum Tax โอกาสอัดฉีดของไทย

          หุ้นวิชั่น - หลายคนอาจจะได้ยินผ่านหูเกี่ยวกับตัวเลข 15% ของ Global Minimum Tax (GMT) หรือมาตรการภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก มาบ้างในช่วงที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย KKP Research คาดว่าผลกระทบอาจมีไม่มาก เนื่องจากไทยยังมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษีดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน รวมทั้งอัตราภาษีนิติบุคคลและสิทธิประโยชน์ทางภาษีของไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากประเทศคู่แข่งมากนัก อย่างไรก็ตาม แม้ผลกระทบจะจำกัด แต่ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะภาคการส่งออก ไทยจึงควรเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยแบ่งสรรรายได้ภาษีที่รัฐจะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น มาลงทุนกับนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำไมจึงต้องมีการปฏิรูประบบภาษีโลก           แนวคิดเรื่อง Global Minimum Tax (GMT) หรือกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เพื่อบรรเทาปัญหาการแข่งขันลดอัตราภาษีนิติบุคคล ที่หลายประเทศต่างพยายามจูงใจดึงเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ (FDI) ผ่านอัตราภาษีที่ต่ำ นำไปสู่การหลบเลี่ยงภาษีของธุรกิจที่มักโยกย้ายกำไรไปบันทึกในดินแดนภาษีต่ำ (tax haven) แทน ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จำนวนมาก หลักการและกรอบความคิดของกฎเกณฑ์ภาษีรูปแบบใหม่           GMT จะบังคับใช้กับกลุ่มบริษัทข้ามชาติ (MNEs) ที่มีรายได้รวมทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านยูโรต่อปีอย่างน้อย 2 ใน 4 รอบปีบัญชี ซึ่งหาก MNEs นั้นมีการเสียภาษีในประเทศใดต่ำกว่า 15% จะต้องถูกเก็บภาษีส่วนเพิ่มเพื่อให้ถึงระดับ 15% ทั้งนี้ GMT ประกอบไปด้วย 3 หลักการ ได้แก่ หลักการข้อแรก คือ กฎการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มภายในประเทศ (Qualified Domestic Minimum Top-Up Tax: QDMTT) ที่ให้สิทธิกับประเทศที่ MNEs ไปดำเนินธุรกิจและเสียภาษีไม่ถึง 15% ในการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มก่อน เช่น บริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่มาจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจในไทยและบริษัทลูกในไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจนทำให้เสียภาษีเพียง 5% ในกรณีนี้ หากประเทศไทยบังคับใช้กฎ QDMTT ก็จะทำให้สรรพากรของไทยมีสิทธิเป็นลำดับแรกที่จะจัดเก็บภาษีส่วนต่างอีก 10% นำรายได้เข้าประเทศเพิ่มเติม หลักการข้อสอง คือ กฎการรวมรายได้ (Income Inclusion Rule: IIR) ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ประเทศที่บริษัทลูกหรือบริษัทในเครือของ MNEs ไปดำเนินธุรกิจและจัดเก็บภาษีต่ำกว่า 15% ไม่ได้มีการนำกฎเกณฑ์ QDMTT มาใช้ ทำให้สิทธิในการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจะตกเป็นของประเทศที่บริษัทแม่หรือนิติบุคคลลำดับสูงสุดอาศัยอยู่แทน และหากประเทศที่บริษัทแม่อาศัยอยู่ไม่ได้มีการนำกฎ IIR มาใช้ สิทธิในการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มก็จะถูกส่งต่อมายังประเทศของบริษัทแม่ลำดับกลางไล่ลงมาตามลำดับความเป็นเจ้าของ (Chain of Ownership) หลักการข้อสาม คือ กฎการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มคงเหลือ (Undertaxed Payment Rule: UTPR) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นมาตรการรองรับ (backstop) ในกรณีที่ประเทศของบริษัทในเครือหรือบริษัทแม่ลำดับสูงสุดและลำดับกลางไม่ได้มีการนำกฎเกณฑ์ QDMTT และ IIR มาใช้เลย โดยกฎ UTPR จะแบ่งสิทธิในการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มให้กับทุกประเทศที่บังคับใช้กฎนี้และมีบริษัทในเครือของ MNEs ไปจัดตั้งอยู่ในประเทศนั้น ๆ โดยภาษีส่วนเพิ่มที่ต้องเก็บเพิ่มจะถูกแบ่งสรรปันส่วนให้กับประเทศเหล่านั้นตามสัดส่วนของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนและจำนวนลูกจ้าง ไทยได้รับผลกระทบอย่างไรจากมาตรการ GMT           ประเทศไทยมีการบังคับใช้พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ต้นปี 2568 โดยผลกระทบต่อไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ ระดับ micro กลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ของไทยที่มีการไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในไทยเอง อาจต้องเผชิญกับต้นทุนการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ในระดับ macro นั้น เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ MNEs ของต่างประเทศที่มาลงทุนในไทย ทำให้ MNEs เหล่านั้นต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ความน่าสนใจของการมาลงทุนในไทยนั้นลดทอนลงบ้าง อย่างไรก็ตาม KKP Research คาดว่าผลกระทบของการบังคับใช้กฎเกณฑ์ GMT ต่อแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยจะมีไม่มาก เนื่องจากเหตุผล 3 ประการด้วยกัน ประการแรก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของไทยและประเทศคู่แข่งมีความใกล้เคียงและไม่ได้แตกต่างกันมาก อัตราภาษีในไทยที่ 20% ถือว่าใกล้เคียงกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ที่ 17-25% นอกจากนี้ นโยบายต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศนำมาใช้เพื่อดึงดูด FDI ก็มีความคล้ายคลึงกัน ประการที่สอง ปัจจัยที่ดึงดูด FDI ของไทยไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว แต่มีอีกหลายปัจจัยที่ล้วนแล้วมีบทบาทที่สำคัญยิ่งกว่า อาทิ โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย ระบบสาธารณูปโภคที่ดี ห่วงโซ่อุปทานที่ครบครัน ทักษะของแรงงานและค่าจ้างที่สมเหตุสมผล เสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ ประการสุดท้าย รัฐบาลจะมีการออกนโยบายมาลดทอนผลกระทบเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วยการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% นานขึ้น 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10 ปี และการนำเงินรายได้ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นประมาณ 50-70% ไปสมทบกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ BOI สามารถนำไปใช้ดำเนินมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อลดทอนค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทข้ามชาติได้           ถึงแม้ว่าการปฏิรูปกฎเกณฑ์ทางภาษีระดับโลกนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อไทยไม่มาก แต่ปัจจุบันภาคการผลิตของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการแข่งขันที่สินค้าส่งออกหลักของไทยในอดีตเริ่มไม่เป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกต่อไป ด้วยกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว สอดคล้องกับตัวเลข FDI ของไทยที่เสียส่วนแบ่งให้กับประเทศคู่แข่งมากขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าการออกมาตรการมาลดทอนผลกระทบให้กับบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในไทยอาจมีความสำคัญในระยะสั้น แต่การแบ่งสรรทรัพยากรและรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มมาลงทุนกับนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศจะยิ่งมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนทักษะแรงงานให้เท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และตรงกับความต้องการของโลกยุคปัจจุบัน จะช่วยให้การลงทุนจากต่างประเทศสร้างมูลค่าและประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น

เทศกาลลดหย่อน Easy E-Receipt เริ่มแล้ว!

เทศกาลลดหย่อน Easy E-Receipt เริ่มแล้ว!

          หุ้นวิชั่น - โครงการ Easy E-Receipt 2.0 ปี 68 เริ่มแล้ววันนี้! 16 ม.ค.- 28 ก.พ. 68 ลดหย่อนภาษี สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ด้าน "วิลาสินี บุญมาสูงทรง" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ GBS ชี้ WARIIX - AU - TNP เกาะกระแสรับทรัพย์           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล สามารถจับจ่ายซื้อสินค้า และบริการ ตามเงื่อนไขที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น โดยสามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าว ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2568           สำหรับปี 2568 ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เล็กน้อย แบ่งเป็นส่วนแรก 30,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในร้านค้าทั่วไป ส่วนที่สอง 20,000 บาท ใช้กับวิสาหกิจชุมชน ร้านโอทอป           สรุปเงื่อนไขโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ประจำปี 2568 ให้หักลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการในประเทศ ตามจำนวนที่จ่ายจริง (รวม VAT แล้ว) ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 แต่สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะการซื้อสินค้า หรือบริการที่มีใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบของกรมสรรพากร           ด้าน นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด (GBS) เปิดเผยว่า การลงทุนระยะสั้นควรมุ่งเน้นหุ้นที่ได้รับปัจจัยบวกเฉพาะ โดยในปี 2568 โครงการ Easy E-Receipt 2.0 จะเป็นแรงหนุนสำคัญต่อหุ้นในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่กำลังจะมาถึง           ทั้งนี้ หุ้นที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากโครงการดังกล่าว ได้แก่ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) หรือ WARRIX, บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU, และ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) หรือ TNP ซึ่งทั้งหมดมีศักยภาพในการเติบโตจากความสะดวกในการทำธุรกรรมและการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการนี้ รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

CPALL ชวนช็อป SME – OTOP  Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีสูงสุด 20,000 บ.

CPALL ชวนช็อป SME – OTOP Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีสูงสุด 20,000 บ.

          สร้างสีสันในการจับจ่ายใช้สอยช่วงต้นปีให้กลับมาคึกคักยิ่งขึ้น “เซเว่น อีเลฟเว่น” ร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและ OTOP ผ่านโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในหมวดสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP ชวนช้อปสินค้าคุณภาพ ของดีของเด็ดของคนไทย ที่ร้านเซเว่นฯ คัดมาให้เลือกสรรกว่า 750 รายการ ครอบคลุมสินค้าอุปโภคบริโภค วางจำหน่ายในร้านเซเว่นฯ และแพลตฟอร์มออนไลน์ 7 Delivery, All Online ผ่านช่องทาง 7 App ส่งเสริมการสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 20,000 บาท เริ่มจับจ่ายได้ตั้งแต่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เซเว่นฯ ทุกสาขา           บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) CPALL ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เปิดช่องทางการลดหย่อนภาษีผ่านร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ความพิเศษของปีนี้คือการแบ่งวงเงินลดหย่อนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก 30,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าและบริการทั่วไป ส่วนที่สอง 20,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าจากวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน โดยนโยบายหลักของร้านเซเว่นฯ คือการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมาอย่างต่อเนื่อง           เซเว่นฯ ร้านสะดวกซื้อที่อยู่เคียงคู่คนไทยมากว่า 35 ปี ขอเป็นกำลังสำคัญในการร่วมสนับสนุนสินค้าวิสาหกิจชุมชน SME และ OTOP ที่เป็นคู่ค้าและอยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 750 รายการสินค้า มาวางจำหน่ายในร้าน  เซเว่นฯ ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ของทานเล่น และข้าวของเครื่องใช้ โดยทางร้านเซเว่นฯ จะทำป้ายสัญลักษณ์ที่ชั้นวางสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้านี้เป็นสินค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าจับจ่ายใช้สอยได้สะดวก และมั่นใจว่าสินค้ารายการใดบ้างที่ร่วมลดหย่อนภาษีโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร่วมอุดหนุนได้ที่ร้านเซเว่นฯ ทุกสาขา ทั่วประเทศได้ในวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 สำหรับรายการสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ในร้านเซเว่นฯ อาทิ - สินค้าท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ได้แก่ น้ำพริก ผัดหมี่อุดร แหนมหมูย่าง ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป น้ำอินทผลัมสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น - สินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค ได้แก่ ยาสีฟันสมุนไพร แชมพูใบหมี่อัญชัน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หมอน ขนมเปี๊ยะ หนังปลาแซลมอนอบกรอบ ทองม้วน กล้วยแปรรูป มะพร้าวแก้ว ครองแครงกรอบ ขนมผิง ลูกอมกะทิ เป็นต้น สำหรับเงื่อนไขการซื้อสินค้าที่จะได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ต้องเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) โดยสังเกตจากป้ายที่ชั้นวางสินค้า ที่ระบุว่าสินค้า OTOP เข้าร่วม Easy E-Receipt 0 นำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งดังนี้ - 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการทั่วไป (ยกเว้นโรงแรม ที่พัก) - 20,000 สำหรับซื้อสินค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP สำหรับวิธีการขอใบกำกับภาษีสามารถทำได้ 4 วิธี สะดวก ง่าย ทุกช่องทาง 1.ขอผ่าน 7 APP สมัครรับใบเสร็จผ่านไอคอนใบเสร็จ e-Tax และกดขอใบกำกับภาษี 2.ขอกับพนักงานที่ร้าน แจ้งขอใบกำกับภาษีเต็มรูปกับพนักงานร้าน โดยใช้บัตรประชาชนตัวจริง 3.ขอผ่าน 7-ELEVEN Delivery เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสำเร็จ กดเข้าเมนูบัญชีของฉัน เลือกประวัติคำสั่งซื้อ และกดแถบข้อความขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 4.ขอผ่าน ALL ONLINE ลูกค้าระบุเลือกขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปบนหน้าจอก่อนกดสั่งสินค้า และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ตลท.ร่วม กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดซื้อกองทุนลดภาษีออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต

ตลท.ร่วม กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดซื้อกองทุนลดภาษีออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต

         หุ้นวิชั่น - บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม และ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค ร่วมกับพันธมิตรตลาดทุน จับมือกับบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้บริการซื้อกองทุนประหยัดภาษีผ่านออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต เพิ่มความสะดวกผู้ลงทุน          กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม FundConnext และ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินของตลาดทุน ร่วมกับตัวแทนขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) จับมือกับบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ พัฒนาช่องทางการชำระเงินซื้อกองทุนประหยัดภาษีผ่านออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต ได้แก่ บัตรเครดิต กรุงศรี, บัตรเครดิต กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า แพลทินัม, บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตโลตัส ผ่านแอปพลิเคชันของ Selling Agent เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น          โดยมีคุณตรีวิทย์ วังวรวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม คุณเพทาย เพชรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค คุณชัยพล กฤตยาวานิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บจก. บัตรกรุงศรีอยุธยา ตัวแทนบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ พร้อมด้วยผู้บริหารจาก Selling Agent ได้แก่ คุณเฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บล. เคเคพี ไดม์, คุณสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการบริหาร บล. ฟิลลิป, คุณศรุดา พัฒนาหิรัญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บลน. โรโบเวลธ์, คุณบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วยคุณธัชกร เตียตระกูล หัวหน้าฝ่ายธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) และ คุณพยนต์ พงศาวรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ ร่วมเปิดโครงการ ทั้งนี้บริการดังกล่าวครอบคลุมการซื้อกองทุนจาก บลจ. ชั้นนำ* ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่ https://www.krungsricard.com/th/Promotion/FundConnext-synergy *ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนดจะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี [PR News]

เก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ 15% หุ้นไหนรับอานิสงส์ เช็กเลย!

เก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ 15% หุ้นไหนรับอานิสงส์ เช็กเลย!

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) อธิบดีกรมสรรพากรเผยว่า ไทยประกาศเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติขั้นต่ำ15% เริ่มมีผล 1 ม.ค.2025 เป็นบริษัทที่มีรายได้รวม > 750 ล้านยูโรต่อปี KSS ประเมินหุ้นกลุ่มที่เข้าข่ายคาดจะได้รับผลกระทบ อาทิ 1. กลุ่มส่งออกอาหาร คือ TU (Effective tax rate 7-8%) ส่วน ที่คาดจะกระทบคือ บริษัทในเครือที่อยู่ในไทยราว 35% ที่ได้รับ BOI โดยรวมคาดกระทบต่อประมาณการกำไรปกติปี2025F จำกัดในกรอบ 3-8%  2.) ชิ้นส่วนคือ DELTA (Effective tax rate 5.5%) คาดกระทบต่อประมาณการกำไรปี2025 F มีdownside risk ราว 12% ในกรณีที่ effective tax rate เพิ่มสู่ 15% 3.) กลุ่มโรงไฟฟ้า บางส่วนปัจจุบัน Effective Tax Rate อยู่ราว 5-10% หากนับเฉพาะผลกระทบภาษีคาดกำไรสุทธิจะกระทบอยู่ระหว่าง 5-10% ทั้งนี้ในส่วนรายละเอียดรายตัว คาดมีช่องทางบริหารจัดการได้ GULF จากการลงทุน ตปท. ของบริษัท มองฐานรายได้และกำไรที่เติบโตต่อเนื่องจากธุรกิจหลักและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ New Co จะทำให้ผลกระทบ จำกัดและบริหารจัดการภาษีภายในได้ BGRIM มีลงทุนต่างประเทศ และเป็นการ Conso คาดกระทบ ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าที่กระทบน้อย คือ GPSC ส่วนมากรับรู้เป็น equity income ส่วน RATCH และ EGCO กระทบน้อยจากฐานภาษีสูงใกล้เคียง 15% 4.) กลุ่ม Packaging SCGP มีธุรกิจที่เวียดนาม (14% ของรายได้) ที่อาจต้องเสียภาษีเพิ่มเติม แต่มองผลกระทบต่อภาพรวมจำกัด ประเมินเป็นจิตวิทยาลบอ่อนๆ            กลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินหุ้นที่มีความเสี่ยงกระทบ ส่วนใหญ่ทยอยปรับตัวลงสะท้อนตั้งแต่ต้น - กลางเดือน ธ.ค. 24 แต่หากอิงโอกาสที่รัฐฯน่าจะต้องหาช่องทางสนับสนุนเงินคืนเพื่อลดผลกระทบรวมถึงการบริหารภาษีภายในบริษัทต่างๆ คาดผลกระทบจะจำกัดกว่าที่ประเมินข้างต้น เชิงกลยุทธ์ แนะนำตั้งรับหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่เป็น New S Curve ของไทยระยะถัดไป อาทิ โรงไฟฟ้า ที่อยู่ในธีม Infra Tech เน้น GULF GPSC

โบรกชี้ปรับภาษี ดันกำไรหุ้นพุ่ง 6%

โบรกชี้ปรับภาษี ดันกำไรหุ้นพุ่ง 6%

          หุ้นวิชั่น - รมว.คลัง เตรียมแผนลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% หนุน EPS ตลาดโต 6% ดัน SET Index เพิ่ม 100 จุด พร้อมจูงใจ Fund Flow ไหลเข้า ทั้งการลงทุนทางตรงและทางอ้อม           บล.เอเชียพลัส ประเมินประเด็น กรณีที่คลังจ่อปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ จะกระทบภาคส่วนไหนบ้าง ? วานนี้ รมว. คลัง เผยแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิม 20%) เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อภาค ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น และการจ้างงานอาจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจ จัดเก็บภาษีได้น้อยลง ทำให้รายได้ลดลง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิมเป็นอัตราก้าวหน้าของภาษีเงินได้ สูงสุด 35%) หวังดึงดูดแรงงานมี ฝีมือกลับไทย ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น จากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่ ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ต้องแลกมาด้วยการจัดเก็บภาษีของผู้มีรายได้สูง ลดลง อีกทั้งโอกาสกระทบต่อกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้านแหล่งข่าวระดับสูงเปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า เบื้องต้นรัฐบาลวางแผนปรับขึ้นภาษีเป็น 8% (เดิม 7%) ขณะที่ทั่วโลกมีการเก็บระหว่าง 15-25% เพื่อนำรายได้ภาษีช่วยผู้ มีรายได้น้อย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน โดยฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อการเพิ่มรายได้ของภาครัฐ ซึ่งจะลดขนาดการขาดดุล และลดความเสี่ยงต่อการถูกปรับลด CREDIT RATING แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งอาจกระทบโดยตรงต่อเงินเฟ้อเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งจะ ลดกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย การบริโภคน้อยลง           เมื่อพิจาณาแหล่งรายได้ของรัฐบาลในงบประมาณปี 2567 (ต.ค.66 - ก.ย.67) ส่วน ใหญ่มาจากภาษีมูล่าเพิ่ม (VAT) คิดเป็นสัดส่วน 28% และหากมีการปรับโครงสร้าง ภาษีให้มาอยู่ที่ฐาน 15% เบื้องต้น ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถ จัดเก็บรายได้มากกว่าที่สูญเสียไป           ปรับโครงสร้างภาษี หนุน FUND FLOW ไหลกลับหุ้นไทยได้ วานนี้มีสัญญาณดีขึ้น จาก FUND FLOW ต่างชาติที่กลับมาซื้อสุทธิในตลาดการเงิน ไทยทุกแห่ง คือ ต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 3.17 พันล้านบาท ซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 พันล้านบาท และซื้อ SET50 FUTURES สูงถึง 36,951 สัญญา ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะ ได้รับ SENTIMENT บวกจากการที่คลังจะปรับโครงสร้างภาษีแบบ 15 – 15 - 15 โดยเฉพาะประเด็นการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 20% เหลือ 15% เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินประเด็นการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 20% เหลือ 15% ช่วยหนุนตลาด และแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นได้ดังนี้ หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นราว 6.25% หรือเพิ่ม EPS 6 บาทต่อหุ้น เพิ่ม UPSIDE ให้ SET INDEX เพิ่มขึ้นราว 100 จุด (อิง EPS 97 บาท/หุ้น และ PE 16.5 เท่า) จูงใจให้ FUND FLOW ไหลเข้ามาลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น สรุปประเด็นการปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคล มีโอกาสหนุน EPS ตลาดเพิ่มขึ้นได้ 6% พร้อมกับจูงใจเห็นการลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมขึ้นได้

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456