ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#พลังงาน


เผยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เดือนม.ค.68 เพิ่มขึ้น 2.8%

เผยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เดือนม.ค.68 เพิ่มขึ้น 2.8%

             หุ้นวิชั่น - นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ 157.56 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยที่น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 น้ำมันอากาศยาน เชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และการใช้ LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ขณะที่กลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 3.0 การใช้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และ NGV ลดลงร้อยละ 15.3 รายละเอียดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดในเดือนมกราคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีดังนี้              การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.25 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 3.0 ประกอบด้วยการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ลดลงมาอยู่ที่ 6.68 ล้านลิตร/วัน แก๊สโซฮอล์ อี20 ลดลงมาอยู่ที่ 5.05 ล้านลิตร/วัน เบนซิน ลดลงมาอยู่ที่ 0.38 ล้านลิตร/วัน และแก๊สโซฮอล์ อี85 ลดลงมาอยู่ที่ 0.06 ล้านลิตร/วัน ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18.71 ล้านลิตร/วัน จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคเลือกใช้แก๊สโซฮอล์ 95 มากที่สุด โดยสาเหตุมาจากปัจจัยด้านประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และราคา ซึ่งราคาแก๊สโซฮอล์ 95 สูงกว่าแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 0.37 บาท/ลิตร ในเดือนมกราคม 2568 แต่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนราคา แก๊สโซฮอล์ 95 สูงกว่าแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 1.76 บาท/ลิตร จึงทำให้ประชาชนเลือกใช้แก๊สโซฮอล์ 95 มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเริ่มเห็นสัญญาณของการชะลอตัวลงโดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ การขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้า (BEV HEV และ PHEV) มีสัดส่วนร้อยละ 5.67 ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน1 รวมถึงการใช้งานระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีการขยายตัวของผู้โดยสารอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 15.262 เทียบกับปีก่อน              การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการ เฉลี่ยอยู่ที่ 68.16 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ประกอบด้วย ดีเซลหมุนเร็วธรรมดา เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 68.03 ล้านลิตร/วัน ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆรวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้า ประกอบกับนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน ในปัจจุบันกรมธุรกิจพลังงาน ปรับลดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลลงเป็น ดีเซลหมุนเร็ว บี5 มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เนื่องจากราคาผลปาล์มทะลายและน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงส่งผลต่อราคาไบโอดีเซล สำหรับการใช้ดีเซลพื้นฐาน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.85 ล้านลิตร/วัน ขณะที่ดีเซลหมุนเร็ว บี20 ลดลงมาอยู่ที่ 0.132 ล้านลิตร/วัน ทั้งนี้ ภาพรวมปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลอยู่ที่ 70.01 ล้านลิตร/วัน              การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 19.81 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 มีปัจจัย  มาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคท่องเที่ยวและการบริการผ่านมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่าจากสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2568  มีจำนวนสะสม 3.709 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เทียบกั เดือนเดียวกันของปีที่แล้ว รวมถึงการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศ ส่งผลให้ปริมาณการใช้ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน              การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 16.66 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทุกรายสาขา ประกอบด้วยการใช้ในภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.17 ล้านกก./วัน ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.10 ล้านกก./วัน ภาคขนส่ง เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.306 ล้านกก./วัน จากการขยายตัวของกลุ่มรถแท็กซี่เป็นสำคัญ และภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.09 ล้านกก./วัน การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 2.47 ล้านกก./วัน ลดลงร้อยละ 15.3 โดยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับจำนวนรถจดทะเบียน NGV สะสม และจำนวนสถานีบริการ NGV ที่มีแนวโน้มปิดตัวลง ทั้งนี้ ปตท. ยังคงช่วยเหลือโดยตรึงราคาให้กับ กลุ่มรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะที่ถือบัตรสิทธิประโยชน์ ปัจจุบันดำเนินการอยู่ในระยะที่ 2 (1 ก.ค. 2567 – 31 ธ.ค. 2568)              การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉลี่ยอยู่ที่ 1,126,251 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม94,549 ล้านบาท/เดือน โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 1,095,257 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ 92,565 ล้านบาท/เดือน สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป (น้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันอากาศยาน และ LPG) อยู่ที่ 30,993 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 49.2 คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 1,984 ล้านบาท/เดือน              การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เฉลี่ยอยู่ที่ 146,143 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 8.0 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และ LPG คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 13,819 ล้านบาท/เดือน

ปลัดพลังงาน สั่ง กฟผ. เร่งขุดขนถ่านหินแม่เมาะไม่ให้กระทบค่าไฟ

ปลัดพลังงาน สั่ง กฟผ. เร่งขุดขนถ่านหินแม่เมาะไม่ให้กระทบค่าไฟ

          หุ้นวิชั่น - ปลัดกระทรวงพลังงานยืนยันกรณี การว่าจ้างการขุดขนถ่านหินเหมืองแม่เมาะที่ล่าช้า ได้สั่งการให้ กฟผ. เร่งงานทุกสัญญา ไม่กระทบค่าไฟ พร้อมขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ดำเนินการตรวจสอบ สร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของ กฟผ.           วันนี้ (14 มีนาคม 2568) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีการจ้างเหมา ขุด-ขนถ่านหิน ที่เหมืองแม่เมาะ ปัจจุบันผลการสอบข้อเท็จจริงได้สิ้นสุดแล้ว ไม่มีเรื่องทุจริต หรือ การประพฤติมิชอบ ทุกอย่างเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ ซึ่งทาง กฟผ. จะได้เดินหน้าดำเนินการลงนามสัญญาจ้างผู้ชนะการประมูลต่อไป ซึ่ง กฟผ. จะเร่งการขุดขนถ่านหินจากทุกสัญญา เพื่อให้มีถ่านหินเพียงพอในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ได้เต็มที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าในรอบถัดไป            อย่างไรก็ตาม ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กฟผ. ไม่ควรเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะโรงที่ 8 ถึง 11 เนื่องจากสถานการณ์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่รุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้ ในส่วนนี้ ขอชี้แจงว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ มีความไม่แน่นอน และความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้ส่งผลกระทบให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG ผันผวนในระดับสูง ที่ 14 - 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ในการนี้ กฟผ. ได้มีการปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมด้านราคาและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง กฟผ. พยายามใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุดในการผลิตไฟฟ้า จึงยังคงจำเป็นต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะโรงที่ 8 ถึง 11 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ซึ่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ โรงที่ 8 ถึง 11 ส่งผลให้ปี 2567 สามารถลดการนำเข้า LNG ได้ประมาณ 18 ลำ มูลค่ากว่า 65,000 ล้านบาท หรือลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 11 - 13 สตางค์ต่อหน่วย            ในส่วนของการใช้วิธีพิเศษในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้อง ได้เปิดโอกาสให้บริษัทที่มีศักยภาพสามารถเข้าร่วม จำนวน 6 ราย โดยการคัดเลือกได้พิจารณาทั้งเทคโนโลยีที่บริษัทนำเสนอ แผนการดูแลรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ที่สำคัญ รวมทั้ง ประสบการณ์ในการดำเนินงาน และข้อเสนอด้านราคาของบริษัทที่เข้าร่วมการประมูล           “ผมขอยืนยันว่า ถึงแม้จะมีความล่าช้าในการจัดจ้างงานขุดขนถ่านหิน ผมในฐานะประธานบอร์ด กฟผ. และผู้บริหารทุกท่าน ได้พยายามบริหารจัดการการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบกับภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และผมต้องขอขอบคุณที่ท่านรัฐมนตรีฯ ได้กรุณาจัดให้มีการตรวจสอบที่เป็นกลาง ถือเป็นโอกาสอันดีที่แสดงให้เห็นว่าการจัดซื้อจัดจ้างของ กฟผ. มีความโปร่งใส เป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างทุกขั้นตอน นอกจากนั้น คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ก็ได้ให้คำแนะนำให้ปรับปรุงระเบียบให้รัดกุมมากขึ้น ซึ่งทาง กฟผ. ได้น้อมรับคำแนะนำต่าง ๆ และจะดำเนินการปรับปรุง ข้อบังคับ และระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง จากนี้ กฟผ. จะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อลงนามสัญญาว่าจ้างผู้ชนะการประมูล และจะเร่งดำเนินการในทุกสัญญาการขุดขนถ่านหินที่มีอยู่ ตลอดจนใช้สรรพกำลังของ กฟผ. ที่จะขุดขนถ่านหินให้ได้เต็มที่ เพื่อให้สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้เต็มกำลังและไม่ส่งผลกระทบต่อราคาค่าไฟประชาชนต่อไป” นายประเสริฐ กล่าว

เปิด 5 นโยบาย พลังงานต้องทำ ปี 2568

เปิด 5 นโยบาย พลังงานต้องทำ ปี 2568

          หุ้นวิชั่น - ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารระดับสูง เผยผลงานสำคัญ ปี 2567 พร้อมแผนงานด้านพลังงานปี 68 ยังคงมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เร่งเดินหน้าผลิตพลังงานสะอาด           วันนี้ (27 มกราคม 2568) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารแถลงผลงานกระทรวงพลังงานปี 2567 และแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2568 ภายใต้หัวข้อ ”New Chapter เปิดศักราชใหม่พลังงานไทย จาก ภาพฉาย สู่ ภาพชัด” โดยได้กล่าวว่า การดำเนินการในช่วงปี 2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านราคาพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากสถานการณ์สงครามในต่างประเทศที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกผันผวน แต่ก็ถือว่าสถานการณ์ผ่อนคลายมากกว่าเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานยังคงออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ผ่านมาตรการการตรึงราคาค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และ NGV รวมทั้งการปรับใช้ราคา Pool Gas การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ ทำให้ราคาพลังงานภายในประเทศอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อลดภาระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งหลายๆ มาตรการก็เกิดจากการบริหารจัดการและระดมสมองจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด ทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน           ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบาย โดยมุ่งเน้น “ประชาชนและประเทศ” เป็นสำคัญ ผ่าน 3 เป้าหมายการขับเคลื่อนด้านพลังงาน ประกอบด้วย 1) ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน 2) พลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนทั่วประเทศ และ 3) พลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ที่หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกมุ่งหาพลังงานสะอาด           โดยกุญแจสำคัญในการทำให้แผนการขับเคลื่อนด้านพลังงานมีความชัดเจน จากภาพฉายกลายเป็นภาพชัดให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรม กระทรวงพลังงานได้วางกรอบ 5 นโยบายสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ในประเทศ โดยจะเร่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล 2) บริหารจัดการระบบพลังงานให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเพื่อรองรับพลังงานทุกรูปแบบ ทั้งการพัฒนาระบบสำรองเชื้อเพลิงและการตรวจสอบปริมาณสำรอง การพัฒนาระบบ Smart Grid การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาระบบ SPR และการยกระดับระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตแบบกระจายศูนย์ 3) ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงาน กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน เร่งขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อเปิดรับการลงทุนจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Data Center ผ่านมาตรการเช่น Direct PPA, UGT และการปรับแผน PDP ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น 4) เตรียมเสนอมาตรการด้านพลังงานสีเขียว ส่งเสริมการติดตั้ง Solar Roof ผลักดันมาตรการทางภาษี การลดขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้ง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง ก็จะเป็นอีกตัวช่วยในการลดฝุ่น PM2.5 และ 5) สนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ ทั้งพลังงานไฮโดรเจน การปรับเปลี่ยนเอทานอลมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันเครื่องบินหรือ SAF การพัฒนาการกักเก็บ CO2           “จากผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2567 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินทุกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้พลังงาน ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ “ภาพฉาย กลายเป็น ภาพชัด” ให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงการบริหารจัดการภาคพลังงานของกระทรวงพลังงาน ทั้งการปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน การสร้างความมั่งคงทางด้านพลังงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาและปรับแก้กฎหมายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต การทำให้ประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นนโยบายที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานได้เตรียมดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกัน ช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตด้านพลังงานในหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจะปฏิบัติตามแผนในปี 2568 เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่งคงด้านพลังงานไปพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมุ่งสู่เป้าหมายพลังงานสะอาดต่อไป” นายประเสริฐ กล่าว ผลการดำเนินงานปี 2567 และแผนการดำเนินงานปี 2568 ราย กรมสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน           นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สนพ. ได้ปฏิบัติภารกิจงานด้านการวางแผนนโยบายพลังงานภายใต้หลักคิด (1) ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) สนพ. ได้จัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า พัฒนา EV Data Platform และส่งเสริมการใช้ EV ในภาคราชการ โดยในเดือนมิถุนายน 2567 สนพ. ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP2024) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan2024) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำความเห็นที่ได้จากการ Public hearing ไปปรับปรุงเพื่อเสนอ กพช. พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ สนพ. ยังได้เสนอข้อสรุปผลการดำเนินโครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลด หรือ Demand response (DR) ปี 2566 และแนวทางพัฒนาแหล่งทรัพยากร DR ในระยะแรกปี 2567 – 2569 เพื่อตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (2) ด้านการดูแลราคาพลังงาน (Economics) สนพ. ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ กำหนดราคา Pool Gas ราคาเดียว (Single Pool) และทบทวนค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ (ค่าผ่านท่อก๊าซ) ซึ่งช่วยให้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และ NGV ลดลง           นอกจากนี้ สนพ. ยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของไทย และนำเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคาพลังงาน ได้แก่ การรักษาระดับค่าไฟฟ้าปี 2567 ที่ 4.18 บาท/หน่วย และช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง การคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG เพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ 423 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ต่อเนื่องมามากกว่า 2 ปี และการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 33 บาท/ลิตร สำหรับ (3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability) สนพ. มีนโยบายที่คำนึงถึงพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่อง Direct PPA ไม่เกิน 2,000 MW สำหรับธุรกิจ Data Center ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งช่วยส่งเสริมนโยบายรัฐบาลในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น           ในปี 2568 สนพ. ยังคงเดินหน้าสานต่อภารกิจที่ทำในปี 2567 ทั้งในส่วนของความมั่นคงด้านพลังงาน และ การดูแลราคาพลังงานให้มีความเหมาะสมกับประชาชน โดยมีงานสำคัญคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ การปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมทั้งในส่วนของโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และ โครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2569 – 2573 เป็นต้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน           นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า การดำเนินงานของ พพ. ในปี 2567 ได้สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ ติดตั้งโซลาร์ช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ทุรกันดาร รวม 595 แห่ง 1,588 ระบบ,ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังน้ำกว่า 235 ครัวเรือน, กำกับและส่งเสริมให้มีการลดใช้พลังงานในโรงงานอาคารได้กว่า 7,583 ล้านบาท, ถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระดับครัวเรือน ชุมชน กว่า 24,606 คน และพัฒนาหลักสูตรด้านพลังงานเพื่อสร้างบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงาน และในปี 2568 นั้น พพ. ยังคงเดินหน้าพลังงานสะอาดให้มากขึ้นและลดใช้พลังงานอย่างเข้มข้น ยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านการสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงาน อาทิ ด้านความมั่นคง : พัฒนากฎหมายเพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาดให้คล่องตัวขึ้น ให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลมีไฟฟ้าใช้จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านเศรษฐกิจ : เร่งผลักดันมาตรการทางภาษีส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน, ด้านความยั่งยืน : ยกระดับมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน พร้อมเร่งรัดจัดการเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนเพื่อลดปัญหา PM2.5 เป็นต้น กรมธุรกิจพลังงาน           นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานในปี 2567 โดยภาพรวมได้ดำเนินการปรับปรุงอัตราการสำรองน้ำมันดิบ จาก 5% เป็น 6% ควบคู่กับการศึกษารูปแบบการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ขับเคลื่อนการออกกฎหมายรับแจ้งข้อมูลนำเข้า-ส่งออกน้ำมัน ประสานความร่วมมือกับ กกพ. กฟน. และ กฟภ. ในการกำหนดกรอบระยะเวลาการอนุมัติอนุญาตและมาตรฐานการติดตั้ง Charging Station ภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง มีการปรับลดชนิดน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว เหลือ 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็วเกรดพื้นฐาน (บี7) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อีกทั้งได้ร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้การขนส่งน้ำมันทางท่อเป็นโลจิสติกส์หลักของประเทศ และได้แก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ให้เอื้อต่อการเก็บสำรองน้ำมันเพื่อใช้สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการเป็นดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุงบัตรประจำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์           รวมถึงได้ขับเคลื่อนการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ผ่านการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ อาทิ ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) รวมถึงน้ำมันเตาชีวภาพกำมะถันต่ำมาก สำหรับแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2568 จะมีการนำร่องการเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณน้ำมันสำรองผ่าน API Gateway เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และจะขยายการให้บริการระบบอนุมัติอนุญาตแบบออนไลน์ไปยังส่วนภูมิภาค อีกทั้งจะออกมาตรฐานความปลอดภัยของเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แอมโมเนีย และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของ SAF เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้เชื้อเพลิง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ           นายวรากร พรหโมบล อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่าในส่วนของผลการดำเนินงานปี 2567 ที่สำคัญของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติคือการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และส่งเสริมให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สำหรับแปลงสำรวจบนบก (ครั้งที่ 25) ซึ่งขณะนี้ได้ลงนามในประกาศเชิญชวนการเปิดให้ยื่นขอสิทธิฯ เรียบร้อยแล้ว และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้เร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งสามารถกำกับ ดูแล สนับสนุนให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแปลง G1/61 และ G2/61 ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาที่อัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามลำดับ นอกจากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังมีการดำเนินงานให้ได้มีการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมของแปลง B8/38 ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ 4,000 บาร์เรลต่อวัน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการต่อระยะเวลาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ด้วยแล้ว นอกจากการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน CCS เพื่อสนับสนุนนโยบายในการให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยการจัดทำโครงการศึกษากฎระเบียบและโครงการนำร่อง CCS ในแหล่งอาทิตย์ ทะเลอ่าวไทย เพื่อรองรับการดำเนินงานด้าน CCS ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับในปี 2568 กรมฯ มีแผนงานสำคัญคือการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอันดามัน (รอบที่ 26) การเร่งรัดการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมในแปลงที่ใกล้สิ้นสุดอายุทั้งในประเทศและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ประกอบกับส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งผลักดันการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี CCS สำหรับโครงการนำร่องพื้นที่อ่าวไทยตอนบนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พลังงาน จับมือ  World Bank ขับเคลื่อนแผนลดภาระค่าใช้จ่ายพลังงานของประเทศ

พลังงาน จับมือ World Bank ขับเคลื่อนแผนลดภาระค่าใช้จ่ายพลังงานของประเทศ

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน จากนโยบายที่ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้ความสำคัญด้านราคาพลังงาน ซึ่งจะต้องไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับประชาชนในระดับค่อนข้างสูงเกินความจำเป็น  แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์หรือสงครามระหว่างประเทศ เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก  จึงได้มีนโยบายให้กระทรวงพลังงานวางมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือโดยเฉพาะในช่วงที่ราคาผันผวนในระดับสูงและอาจกระทบต่อประชาชนและภาคเอกชนในวงกว้าง นายสมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลดภาระด้านราคาพลังงานตามนโยบายท่านรัฐมนตรีนี้  ถือเป็นกรอบแผนงานสำคัญในการเตรียมพร้อมและบริหารจัดการวิกฤติพลังงานที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน เห็นชอบเมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา และให้เร่งขับเคลื่อนให้เกิดผล   ดังนั้นวันนี้กระทรวงพลังงานจึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก วอชิงตัน ดีซี มาให้ความรู้ในการนำเครื่องมือทางการเงินที่รัฐบาลหลายประเทศได้นำมาใช้บริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคาพลังงาน โดยได้จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือทางการเงินบริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคาเชื้อเพลิงเตรียมพร้อมวิกฤตพลังงาน หรือ Workshop on Managing Thailand’s exposure to Oil and LNG Price Risk ซึ่งกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารโลก โดยมีนายฟาบิโอ ดาซิลวา ผู้แทนจากธนาคารโลกเป็นผู้แทนบรรยายให้ความรู้ เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2567 ณ กระทรวงพลังงาน โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกว่า 60 คน  จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานเอกชนด้านพลังงาน โดยคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมจะมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการนำเครื่องมือทางการเงินมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและความผันผวนด้านราคาพลังงานในตลาดโลก และในระยะต่อไปจะ จะศึกษาความเหมาะสมในการนำมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย ทั้งในบริบทด้านกฎหมายกฎระเบียบและการสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะ ซึ่งหากมีความเป็นไปได้ในการนำมาเครื่องมือทางการเงินในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในช่วงของการเกิดวิกฤติราคาพลังงาน ก็จะมีการศึกษารายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยมีเป้าหมายให้เกิดผลในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน “หลังจากที่ได้รับมอบนโยบายจากท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่แสดงถึงความห่วงใยที่มีต่อประชาชนที่จะได้รับผลกระทบด้านราคาพลังงาน หน่วยงานในสังกัดก็ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้พร้อม ในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ  อย่างในวันนี้ ก็ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้น โดยร่วมมือกับธนาคารโลก ที่ได้ให้ความรู้กับบุคลากรในการใช้กลไกทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาพลังงาน ซึ่งหลายประเทศก็ได้ใช้มาตรการนี้ ซึ่งผลการสัมมนาฯ ครั้งนี้ จะนำไปศึกษาความเป็นไปได้ต่อการนำมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทยทั้งในเชิงกฎหมายและระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  และแนวทางการบริหารจัดการ ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับประเทศ เพื่อพัฒนาไปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับมาตรการจัดการด้านราคาพลังงานของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายภาคประชาชน และเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อไป” นายสมภพ กล่าว

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

“พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง

“พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง

          หุ้นวิชั่น - “พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง ย้ำประชาชนมั่นใจสต็อกน้ำมันไทยมีเพียงพอ คุมเข้มราคาไม่ให้ผันผวน           กระทรวงพลังงาน เผยปริมาณสำรองน้ำมันมันในสต็อกยังมีเพียงพอใช้นานกว่า 60 วัน ขอคนไทยไม่ต้องกังวล กระทรวงพลังงานจะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมหากจำเป็นต้องใช้แผนบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน เพื่อช่วยลดผลกระทบในทุกมิติหากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น           นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางที่ขยายวงกว้าง โดยเฉพาะสถานการณ์สู้รบระหว่างประเทศอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันจากพื้นที่ตะวันออกกลาง ทางกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยขณะนี้ในด้านปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีเพียงพอใช้ในประเทศอย่างแน่นอน ปัจจุบัน มีน้ำมันดิบคงเหลือประมาณ 3,365 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ได้ 26 วัน น้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่ง 2,055 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ 16 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 2,414 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ 20 วัน รวมจำนวนมีปริมาณน้ำมันคงเหลือและปริมาณสำรองที่สามารถใช้ได้ 62 วัน           นอกจากนี้ ในด้านราคา กระทรวงพลังงานจะบริหารดูแลราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวนมากนัก โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ซึ่งสถานภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มมีสภาพคล่องมากขึ้น มีการติดลบลดลง จึงขอให้ประชาชนอย่าวิตกต่อสถานการณ์ และสามารถมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาก็จะรักษาเสถียรภาพไม่ให้ผันผวนมากนัก           “จากข่าวสงครามในตะวันออกกลางที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น และสร้างความกังวลให้นานาประเทศ จนส่งผลให้ราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบผันผวนและปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นราคาน้ำมันดิบ WTI ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 อยู่ที่ 68 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่วันนี้ (7 ตุลาคม 2567) หลังสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้น ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 74 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นกว่า 8% ใน 1 สัปดาห์ กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในด้านความมั่นคง กระทรวงพลังงานมีปริมาณน้ำมันสำรองสำหรับใช้ภายในประเทศมากกว่า 60 วัน ส่วนในด้านราคา กระทรวงพลังงานก็จะติดตามและใช้กลไกที่มีเพื่อให้เกิดผลกระทบด้านราคากับประชาชนให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานได้มีการซ้อมแผนการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้แก่ กรมธุรกิจพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อวางมาตรการต่างๆ และบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์วิกฤตพลังงาน อาทิ การปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การบริหารจัดหาก๊าซในประเทศให้ได้มากที่สุด การลดความต้องการใช้ เป็นต้น ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล และขอให้ติดตามข่าวสารที่เป็นทางการของทางราชการ กระทรวงพลังงานจะบริหารจัดการอย่างเต็มความสามารถให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด” นายวีรพัฒน์ กล่าว

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011