ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ตลท


ตลท.สัมมนาสัญจร จ. นครราชสีมา 30 มี.ค. นี้

ตลท.สัมมนาสัญจร จ. นครราชสีมา 30 มี.ค. นี้

           ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) เชิญผู้ประกอบการและนักธุรกิจโคราชและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมงานสัมมนา “Unlocking Opportunities for Business Growth - เปิดโอกาสให้ธุรกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดการใหญ่” ที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านตลาดทุน จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเส้นทางการระดมทุน  ผ่าน 2 หัวข้อ 1) โอกาสของธุรกิจและการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ SET-mai-LiVex 2) เส้นทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (Showcases by CEO Listed Companies) นอกจากนี้ ยังมีบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ จากเจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย            พบกันวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ โคราช ฮอลล์ 2 ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช จังหวัดนครราชสีมา ผู้ประกอบการลงทะเบียนล่วงหน้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย https://set-event-registration.setgroup.or.th/e/unlocking-opportunities-for-business-growth-korat2025 สอบถาม SET Contact Center 02 009 9000

ตลท.เชิญสถานทูต 33 ประเทศ รับฟังความแข็งแกร่งตลาดทุน-ประเทศไทย

ตลท.เชิญสถานทูต 33 ประเทศ รับฟังความแข็งแกร่งตลาดทุน-ประเทศไทย

           หุ้นวิชั่น - อัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้อนรับเอกอัครราชทูต อุปทูต ทูตพาณิชย์ ทูตการค้าและเจ้าหน้าที่การทูต  จากสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย 33 ประเทศ ในโอกาสเข้าร่วมงาน “Embassies @ SET” เพื่อรับฟังข้อมูลความแข็งแกร่งของตลาดทุนและประเทศไทย รวมถึง flagship ในการขับเคลื่อนตลาดทุน และส่งเสริมการเติบโตและความน่าสนใจของบริษัทจดทะเบียน พร้อมรับฟังมุมมองต่างชาติถึงความสนใจในการลงทุน และโอกาสความร่วมมือในการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกันในอนาคต

ตลท.ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi

ตลท.ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi

          นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 จาก Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแห่งที่ 4 ของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (Net Zero) ต่อจาก Bursa Malaysia  Nasdaq และ Deutsche BÖrse Group โดยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้รับการรับรอง ประกอบด้วยเป้าหมายระยะสั้นที่ 42% ภายในปี 2030 และเป้าหมายระยะยาวที่ 90% ภายในปี 2050           “การได้รับการรับรองจาก SBTi นี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามเป้าหมายที่จะร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตอกย้ำการเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2025 - 2027 ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่า แผนงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการสากลและสอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)” นายอัสสเดชกล่าว           ทั้งนี้ การรับรองจาก SBTi ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต ได้แก่ 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมขององค์กร 2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน และ 3) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานครอบคลุมหลายด้าน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าในการเดินทาง การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร การพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว รวมถึงการร่วมพัฒนาแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับคู่ค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สนับสนุนการลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง           SBTi เป็นองค์กรระดับสากลที่สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (climate science) โดยมุ่งผลักดันให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งก่อนปี 2030 และบรรลุ           การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ก่อนปี 2050 โดย SBTi ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง Carbon Disclosure Project (CDP), The United Nations Global Compact (UNGC), World Resources Institute (WRI), The World Wide Fund for Nature (WWF)  SBTi มีบทบาทกำหนดและส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีรวมถึงประเมินและอนุมัติการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทต่างๆ ตามแนวทางของ SBTi ซึ่งปัจจุบันกว่า 7,000 องค์กรทั่วโลกในทุกอุตสาหกรรมเสนอเป้าหมายการพิจารณาของ SBTi เข้าร่วม ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม www.sciencebasedtargets.org

ตลท. ผนึกเฟทโก้ และ กสศ. ชวนภาคธุรกิจบริจาคคอมพิวเตอร์

ตลท. ผนึกเฟทโก้ และ กสศ. ชวนภาคธุรกิจบริจาคคอมพิวเตอร์

          หุ้นวิชั่น - ในโอกาสครบรอบการดำเนินงาน 50 ปี ในปี 2568 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนิน “โครงการ 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม” ผ่าน 3 โครงการเพื่อประโยชน์แก่สังคม โดยหนึ่งใน 3 โครงการดังกล่าว คือ “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” ซึ่งโครงการนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ดำเนินการร่วมกับ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาพร้อมปลูกฝังความรู้ด้านการเงินแก่เยาวชนไทย           นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนทำความดีเพื่อสังคม เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุน แต่ยังดูแลรับผิดชอบการพัฒนาเพื่อสังคม ส่งเสริมให้มีรากฐานและคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการดำเนิน “โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงสื่อดิจิทัลและแหล่งความรู้ออนไลน์เพื่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคธุรกิจให้มาร่วมกันบริจาคคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมาย 5,000 เครื่อง ภายใน 5 ปี อีกทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังจะสนับสนุนข้อมูลความรู้  ด้านการเงินด้วยการติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะส่งมอบให้แก่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การออมการลงทุน ปลูกฝังความรู้ด้านการเงินให้แก่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง           นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย รองประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนองค์กรภาคตลาดทุนมีความยินดีที่จะร่วมสนับสนุน “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” เนื่องด้วยประเทศไทย จะสามารถก้าวหน้าและพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจในโลกยุคใหม่ ดังนั้น เยาวชนไทยจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะด้านดิจิทัลอย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่หลากหลาย เพื่อเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาตลาดทุนไทย รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โครงการนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับภาคตลาดทุนและประเทศชาติในอนาคตต่อไป           ดร. ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า การขาดแคลนทรัพยากรในโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน การสำรวจขององค์การ OECD พบว่าโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน มีแนวโน้มที่นักเรียนจะทำคะแนน PISA ได้น้อย กสศ.ยังสำรวจในช่วงโควิด-19 พบว่า เด็กเยาวชนยากจนในชนบท ใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของพ่อแม่  ไม่มีแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์  ช่องว่างนี้เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ห่างกันถึง  10 เท่า  โอกาสเดียวที่เด็กเหล่านี้จะได้ใช้ทรัพยากรเพื่อเรียนรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ คือ ที่โรงเรียน โดยการทำงานของ กสศ. มุ่งระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา  โดยมีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เข้าใจความขาดแคลนของโรงเรียน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารโรงเรียน เครือข่ายชมรมนักจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร  และสพฐ. สามารถตรวจสอบได้ และยังประมวลเป็นแผนที่ชี้เป้าให้กับภาคส่วนต่างๆ ในระยะแรกจะสนับสนุนโรงเรียนที่มีความต้องการเร่งด่วนราว 200 แห่ง โครงการนี้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณอย่างเสมอภาคจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้แก่โรงเรียนเล็ก ห่างไกล ทุรกันดาร  ซึ่งเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ กสศ. ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง           ภาคตลาดทุนและภาคธุรกิจรวมถึงผู้ที่สนใจจะร่วม “โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กไทย ใส่ใจเรื่องการเงิน” สามารถสนับสนุนได้ผ่าน 3 รูปแบบ คือ 1) บริจาคคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแล้วและยังมีคุณภาพดี 2) บริจาคคอมพิวเตอร์ใหม่ (มือ 1) หรือ 3) สนับสนุนองค์ความรู้ตามความเชี่ยวชาญหรือตามศักยภาพของธุรกิจ (In kind Support)           สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กสศ. Call Center โทร. 0 2079 5475 ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่ www.eef.or.th/donate/ และ https://pinhelppoint.com/

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ตลท.ปรับรายชื่อหลักทรัพย์ใช้คำนวณในดัชนี SETCLMV-SETESG-SETHD

ตลท.ปรับรายชื่อหลักทรัพย์ใช้คำนวณในดัชนี SETCLMV-SETESG-SETHD

           หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศการปรับการคำนวณดัชนี SETCLMV, SETESG และ SETHD จากกรณีการควบรวมกิจการของ GULF และ INTUCH            จากกรณีการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) และ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (INTUCH) นั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) จะดำเนินการปรับรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณในดัชนี SETCLMV, SETESG และ SETHD ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การจัดทำดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ            เพื่อเป็นการให้รายละเอียดตามหลักเกณฑ์การจัดทำดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะไม่มีการปรับน้ำหนักในดัชนี SETCLMV, SETESG และ SETHD เพื่อจำกัดน้ำหนักรายหลักทรัพย์ให้ไม่เกินระดับที่กำหนด (Capped Weight) โดยรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและวันที่มีผลในดัชนีจะประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอีกครั้ง

ตลท. ร่วม IAA สร้างบุคลากรคุณภาพด้านการวิเคราะห์และจัดการการลงทุน

ตลท. ร่วม IAA สร้างบุคลากรคุณภาพด้านการวิเคราะห์และจัดการการลงทุน

           นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรตลาดทุนเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการวิเคราะห์ที่มีบทบาทส่งเสริมการลงทุนอย่างมีข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งหลักสูตร CISA (Certified Investment and Securities Analyst) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและจัดการลงทุนเพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพที่หลากหลาย อาทิ นักวิเคราะห์การลงทุน ผู้จัดการกองทุน วาณิชธนากร นักลงทุนสัมพันธ์ เป็นต้น            ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) จัดพิธีมอบวุฒิบัตร “CISA Certificate Awarding Ceremony 2025” เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ให้แก่ผู้สอบผ่านหลักสูตร CISA ทุกระดับในปี 2566-2567 ซึ่งมีจำนวนมากถึง 692 คน เพิ่มจากพิธีมอบครั้งที่ผ่านมา สะท้อนการเติบโตของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การลงทุน            พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัล CISA Achievement Award เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้ผ่านหลักสูตร CISA ในฐานะบุคคลผู้สร้างคุณูปการต่อตลาดทุนไทย โดยปีนี้มอบแก่ นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านงานวิเคราะห์หลักทรัพย์มากว่า 30 ปี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ร่วมเป็นวิทยากรของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงอีกหลายหน่วยงานอย่างต่อเนื่องนับเป็นคุณูปการในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดทุนไทย            นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) กล่าวว่า สมาคมฯ ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบมาตรฐานการเรียนการสอนของหลักสูตร CISA ทั้งในด้านเนื้อหาการเรียนการสอนและการประเมินผลการทดสอบ เพื่อให้หลักสูตรนี้มีคุณภาพสูงและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ในระดับสูง ทั้งด้านการวิเคราะห์การลงทุน การจัดการความเสี่ยง และการบริหารกองทุน ทำให้มั่นใจว่าผู้ที่ผ่านการทดสอบหลักสูตร CISA จะเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล            หลักสูตร CISA เป็นหลักสูตรความรู้ด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุนที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ขึ้นทะเบียนเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนและผู้จัดการกองทุน ปัจจุบันมีผู้สอบผ่านหลักสูตร CISA รวมกว่า 3,000 คน ผู้สนใจพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตร CISA และเข้าทดสอบได้ที่ศูนย์สอบในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ทั้งนี้ ผู้ที่สอบผ่านสามารถเข้าร่วมกลุ่ม CISA Professional Community เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ ต่อยอดไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและการจัดการลงทุนของสมาชิกต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.set.or.th/cisa [PR news]

[ภาพข่าว] ตลท.ฯ มอบอาคารกีฬาเทเบิลเทนนิส พร้อมอุปกรณ์ แก่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ. บุรีรัมย์

[ภาพข่าว] ตลท.ฯ มอบอาคารกีฬาเทเบิลเทนนิส พร้อมอุปกรณ์ แก่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ. บุรีรัมย์

          นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมายและบริหารกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มอบอาคารกีฬาเทเบิลเทนนิส พร้อมอุปกรณ์ โดยมีนายวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ และนายเจมส์ คลาร์ค ผู้สนับสนุนการก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นผู้รับมอบ เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพของนักเรียน อีกทั้งพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส และฝึกฝนสมาธิตามแนวทางพัฒนาทักษะสมองเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน (Executive Functions) อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน "ขายชอร์ต-HFT" ถึง 31 มี.ค.นี้

           หุ้นวิชั่น - ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนที่ใช้บังคับในปี 2567 เช่น มาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต มาตรการกำกับดูแล HFT และการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) นั้น เพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเหมาะสมกับสภาวะการซื้อขายในปัจจุบัน โดยยังคงให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” ดังนี้ มาตรการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์กรณีราคาหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก ทบทวนมาตรการ Uptick สำหรับการขายชอร์ต ให้ใช้เกณฑ์ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) เป็นรายหลักทรัพย์ในวันทำการถัดไป เมื่อราคาปิดของหลักทรัพย์ใดมีราคาลดลงตั้งแต่ 10% เมื่อเทียบกับราคาปิดของวันทำการก่อนหน้า แทนการใช้เกณฑ์ Uptick กับทุกหลักทรัพย์ (กรณีปกติให้ใช้เกณฑ์ Zero-Plus Tick) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต และสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ มาตรการกำกับดูแลความผันผวนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ทบทวนหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตได้ และผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้ กำหนดหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตและหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้เพียงเฉพาะหุ้นใน SET100 ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง โดยยกเลิกหุ้นที่มี Market Cap. ³ 7,500 ล้านบาท ยกเลิกการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) เนื่องจากเมื่อได้กำหนดให้ผู้ลงทุน HFT ซื้อขายหลักทรัพย์ได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงแล้ว มาตรการ MRT จึงไม่มีความจำเป็นอีก เนื่องจากโดยปกติการใส่-ถอนในเวลาอันสั้นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพการซื้อขายในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/rules-regulations/market-consultation หัวข้อ “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/jmocr6Fz68zKcJVW9 จนถึง 31 มีนาคม 2568

ตลท.หารือคลัง หนุนโครงการ Jump+ ขับเคลื่อนตลาดทุน-ศก.

ตลท.หารือคลัง หนุนโครงการ Jump+ ขับเคลื่อนตลาดทุน-ศก.

          หุ้นวิชั่น - นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ นำทีมผู้บริหาร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าพบ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือแนวทางเพิ่มความเข้มแข็งของบริษัทจดทะเบียนไทยผ่านโครงการ "Jump+" ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานพันธมิตรจะสนับสนุนเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล การให้คำปรึกษา และเพิ่มการรับรู้เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจ           ทั้งนี้ โครงการ Jump+ เป็นหนึ่งใน flagship projects ตามแผนกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2568-2570 เพื่อสร้างการเติบโตและสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนให้กับบริษัทจดทะเบียน และตลาดทุนไทย [PR News]

ตลท. เปิดรับความคิดเห็น ทวนเกณฑ์ Free Float ถึง 18 มี.ค. นี้

ตลท. เปิดรับความคิดเห็น ทวนเกณฑ์ Free Float ถึง 18 มี.ค. นี้

          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) มีแผนปรับปรุงเกณฑ์ New Listing เพื่อดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีแนวคิดที่จะทบทวนเกณฑ์ Free Float สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเข้าจดทะเบียนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเข้าจดทะเบียน เพิ่มความชัดเจน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ           ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการสร้างโอกาสการเติบโต และผลักดันให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นศูนย์กลางการระดมทุน (Listing Hub) ของธุรกิจที่มีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ           ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเปิดรับฟังความคิดเห็น เรื่อง การปรับปรุงเกณฑ์ Free Float สำหรับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนใน SET และ mai  ดังนี้ ปรับปรุงเกณฑ์ Free Float สำหรับบริษัทที่มีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทที่จะเข้าจดทะเบียน ดังนี้ ปรับปรุงสัดส่วน Free Float จาก 20% เป็น 17% ของทุนชำระแล้ว ยกเลิกการใช้ดุลยพินิจในการผ่อนผันระยะเวลาการกระจาย Free Float เพิ่มหลักเกณฑ์กรณีบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนใน SET และ mai มีการดำเนินการใด ๆ ที่จะส่งผลให้สัดส่วน Free Float ลดลงต่ำกว่าคุณสมบัติตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์ ในทันทีตั้งแต่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะถือว่าบริษัทดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติเรื่อง Free Float ตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเลี่ยงการปฏิบัติตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์           ในส่วนของเกณฑ์ดำรงสถานะสำหรับบริษัทจดทะเบียนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือ บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยขั้นต่ำ 150 ราย และถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 15% ของทุนชำระแล้ว           การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/rules-regulations/market-consultation หัวข้อ “การทบทวนเกณฑ์ Free Float สำหรับการรับบริษัทขนาดใหญ่เข้าจดทะเบียนใน SET และ mai” สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/6gre4xMu4qE9cgZx5 จนถึง 18 มีนาคม 2568

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

เจาะ GEN X-Y-Z และ Baby Boomer ลงทุนยุค Social Media Finfluencer

เจาะ GEN X-Y-Z และ Baby Boomer ลงทุนยุค Social Media Finfluencer

           หุ้นวิชั่น - การใช้งาน Social media เติบโตอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา จากผู้ใช้งาน 26% ของประชากรโลกในปี 2557 เพิ่มเป็น 60% ในปี 2567 นำมาสู่การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการเงินการลงทุนในรูปแบบใหม่ผ่าน Finfluencer หรือผู้มีอิทธิพลด้านการเงินการลงทุนบน Social media ที่สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายและน่าสนใจ โดยการศึกษาของ CFA Institute ในปี 2567 พบว่า 45% ของเนื้อหาเป็นการแนะนำแนวทางการลงทุน และ 25% มีการเปิดเผยสถานภาพทางวิชาชีพหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งนี้ IOSCO ได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาการให้ข้อมูลบนช่องทาง Social media เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น            จากการสำรวจของฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์ฯ ในต้นปี 2568 พบว่าผู้ลงทุนแต่ละ Generation มีช่องทางการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน โดย 8% ของผู้ลงทุน Gen Z รับข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะและ Social media เป็นหลัก โดยมีเพียง 21.95% รับข้อมูลผ่านนักวิเคราะห์และที่ปรึกษาการลงทุน ส่วน Baby Boomer และ Gen X นิยมรับข้อมูลจากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าและได้รับอิทธิพลจาก Finfluencer น้อยกว่า Gen Y และ Gen Z            ทั้งนี้ เนื้อหาด้านการเงินที่ผู้ลงทุนได้รับผ่าน Social media ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารการลงทุน (5%) และการแนะนำการลงทุน (44.4%) อย่างไรก็ตาม ช่องทางออนไลน์อาจถูกใช้ในการหลอกลวงการลงทุน โดย 73% ของผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการถูกหลอกลวงระบุว่าถูกชักชวนผ่านช่องทางนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้            ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดโครงการให้ความรู้หลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ห้องเรียนนักลงทุน Happy Money และ INVESTORY รวมถึงการให้ความรู้ผ่าน Social media และการส่งเสริม Influencer ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน การลงทุน เพื่อยกระดับคุณภาพการนำเสนอข้อมูลและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ลงทุน            การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุนที่เหมาะสมแก่ประชาชนมีความสำคัญ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บิดเบือน หรือหลอกลวงบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในเรื่องการเงินการลงทุน ทั้งนี้ หลักสำคัญที่ควรคำนึงคือ ‘อะไรที่ฟังดูดีเกินจริง ให้ระวังไว้ก่อนว่าอาจไม่เป็นความจริง’ ประเด็นที่น่าสนใจจากงานศึกษา "Gen Z and Investing: Social Media, Crypto, FOMO, and Family" Social media เป็นช่องทางที่ Gen Z กว่า 48% ใช้รับข้อมูลการเงินการลงทุน ในขณะที่ 26% ของผู้ลงทุน Generation X รับข้อมูลการเงินการลงทุนจาก Social media Finfluencer เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ Gen Z ตัดสินใจเริ่มลงทุน ผู้ลงทุน Gen Z ให้ความสำคัญกับความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ประวัติการลงทุน (track record) และความโปร่งใสของผู้ให้ข้อมูล ผู้ลงทุน Gen Z 65% ลงทุนผ่านแอพพลิเคชัน มีเพียง 15% ที่ใช้ช่องทางลงทุนรูปแบบเดิม ผลิตภัณฑ์ที่ Gen Z เริ่มลงทุนเป็นอย่างแรก ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี (44%) หุ้นรายตัว (32%) และกองทุน (21%) Finfluencer = Financial + Influencer            ปัจจุบัน การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) เป็นที่แพร่หลายอย่างมากจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน จากข้อมูลช่วงต้นปี 2557 มีจำนวนผู้ใช้งาน Social media คิดเป็น 26% ของจำนวนประชากรโลก ต่อมาในปี 2567 หรือราว 10 ปีให้หลัง ผู้ใช้งาน Social media เพิ่มขึ้นเป็น 60% ของจำนวนประชากรโลก และในประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Social media อยู่ที่ราว 49.1 ล้านคน คิดเป็น 68% ของประชากร สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ Social media ในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน จากเดิมที่ต้องพึ่งพาสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง            ในยุค Social media นี้ มีผู้ที่สร้างคอนเทนต์ที่ถูกใจผู้คนจนมีชื่อเสียงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า “Influencer” เกิดขึ้นในหลายสาขา ทั้งด้านการทำธุรกิจ วิจารณ์อาหาร การท่องเที่ยว บันเทิงทั่วไป ไลฟ์สไตล์ ซึ่งมักทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์และตอบสนองความต้องการของผู้ติดตามได้อย่างดี รวมทั้งสาขาการเงินการลงทุน หรือเรียกว่า “Finfluencer” หรือผู้สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการเงินการลงทุน ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารการเงินส่วนบุคคล ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร อนุพันธ์ กองทุนรวม ทองคำ สินทรัพย์ดิจิทัล และสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความสนใจด้านการเงินการลงทุนให้กับผู้ติดตามและสาธารณชน            จุดแข็งของ Finfluencer คือการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย มีความน่าสนใจ ทำให้ความรู้ทางการเงินสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดีกว่าแหล่งข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยาก Social Media และพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลของนักลงทุน            งานศึกษาของ FINRA Investor Education Foundation และ CFA Institute ในปี 2566 พบว่า ผู้ลงทุน Gen Z มีพฤติกรรมการรับข้อมูลและการลงทุนที่แตกต่างจาก Generation อื่น โดยมีแนวโน้มรับข้อมูลจาก Social media และ Finfluencer มากที่สุด มากกว่าข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลใกล้ตัว และพิจารณาความน่าเชื่อถือจากความสามารถในการนำเสนอข้อมูลและให้ความสำคัญกับประวัติการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ (track record) รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะเริ่มลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างคริปโทเคอร์เรนซีมากกว่าสินทรัพย์ทางการเงินดั้งเดิม และมักลงทุนผ่านแอพพลิเคชั่น            งานศึกษาอีกชิ้นในปี 2567 ศึกษามุมมองของผู้ลงทุนที่มีต่อ Finfluencer พบว่า 45% ของเนื้อหาที่ Finfluencer นำเสนอมีการแนะนำแนวทางการลงทุน (Guidance) 36% โฆษณาเกี่ยวกับการลงทุน (Investment promotion) และ 32% ให้คำแนะนำการลงทุน (Recommendation) โดยผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ Finfluencer กล่าวถึงมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ หุ้น, Index fund, ETFs, อสังหาริมทรัพย์ และคริปโทเคอร์เรนซี ในขณะที่มี Finfluencer 25% เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทางวิชาชีพหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เช่น ค่าตอบแทนในการนำเสนอข้อมูล หรือส่วนได้เสียกับผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึง จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ครบถ้วนมากขึ้น สะท้อนโอกาสในการพัฒนาความโปร่งใสของข้อมูล            องค์กรกำกับดูแลตลาดทุนในระดับสากล หรือ  International Organization of Securities Commission (IOSCO) ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เช่น เสนอแนะให้หน่วยงานกำกับดูแลระบุขอบเขตกิจกรรมที่ถือเป็นการแนะนำการลงทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้ชัดเจน การกำหนดให้เปิดเผยค่าตอบแทนที่ผู้ให้บริการทางการเงินว่าจ้างให้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ การให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยง ตลอดจนจัดให้มีความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Social media เพื่อติดตามการใช้ Social media ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการใช้บริการ            สำหรับผู้ลงทุนในประเทศไทย ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการรับข้อมูลของผู้ลงทุน โดยสำรวจจากผู้ลงทุน 707 รายในช่วงวันที่ 15-26 มกราคม 2568 พบว่า ผู้ลงทุนรุ่นก่อนอย่าง Baby Boomer และ Gen X นิยมรับข้อมูลจากบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์หรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก ในขณะที่ Gen Y และ Gen Z นิยมรับข้อมูลสาธารณะทั้งจากสื่อมวลชนและ Finfluencer ใน Social media โดยทั้ง Gen Y และ Gen Z มีแนวโน้มได้รับอิทธิพลจากFinfluencer ในการตัดสินใจลงทุนสูงกว่าผู้ลงทุน Gen X และ Baby boomer อีกด้วย            นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังให้ข้อมูลอีกว่า เนื้อหาทางการเงินที่ได้รับชมผ่าน Social media มีข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่เรื่องพื้นฐานความรู้ทางการเงิน ข่าวสารการเงินการลงทุน การวางแผนการเงิน แนวทางการวิเคราะห์การลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในความพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่ประชาชนในวงกว้าง            ในอีกด้านหนึ่ง การรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อผู้ลงทุนได้เช่นกัน จากการสำรวจพบว่าช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่ถูกใช้กระทำผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงลงทุนมากที่สุด โดยสำหรับผู้ที่ตอบว่าเคยถูกหลอกลวงหรือมีคนใกล้ชิดถูกหลอกลวงลงทุน มี 73% ระบุว่าถูกชักชวนผ่านช่องทางออนไลน์ เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลการให้ข้อมูลผ่านช่องทางดังกล่าว ตลอดจนความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับโครงการส่งเสริมความรู้การลงทุน            ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างทักษะการเงินการลงทุน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ลงทุน รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ลงทุนมีภูมิคุ้มกันที่จะสามารถดูแลตนเองจากข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ไม่ถูกต้อง หรือหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุน จึงจัดให้มีโครงการเผยแพร่ความรู้ในหลากหลายช่องทาง อาทิ โครงการ "ห้องเรียนนักลงทุน" ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ เนื้อหาครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การจัดพอร์ตรวมถึงกลยุทธ์การลงทุน ผ่านรูปแบบการ เรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งบทความ คลิปความรู้ อินโฟกราฟิกผ่านเว็บไซต์ https://www.setinvestnow.com/th/home และ SET Social Media โดยในปี 2567 มีผู้เข้าชมกว่า 27 ล้านวิว รวมถึงการเรียนรู้ผ่าน SET e-learning ที่มีผู้เข้าเรียนหลักสูตรการเงินและการลงทุนกว่า 5 ล้าน enrollments โครงการ "Happy Money" เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ผู้เริ่มทำงานครอบคลุมทั้งแรงงานในระบบ และนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการ Happy Money, Happy Jobbers ชีวิตอิสระ งานโปรเงินปัง , โครงการ Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้ , โครงการ Happy Money พี่เลี้ยงการเงิน เป็นต้น โดยปัจจุบันได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรสะสมกว่า 600 แห่ง เผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนการเงิน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานกว่า 3 ล้านคน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งบทความ คลิปความรู้ อินโฟกราฟิก แก่ประชาชนไทยในวงกว้างด้วยการเข้าถึงองค์ความรู้ Financial Literacy ผ่านเว็บไซต์ or.th และ SET Social Media โดยในปี 2567 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 20 ล้านวิว อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้งาน Happy Money Application ผ่านมือถือ เพื่อมุ่งให้ผู้ใช้งานเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงิน และนำไปสู่การอยู่ดีมีสุขทางการเงิน โครงการ “INVESTORY Investment Learning Design Bootcamp” สนับสนุนให้ครูระดับมัธยมศึกษาออกแบบโมเดลการเรียนรู้การเงินการลงทุน เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนในรูปแบบ active learning และเผยแพร่โมเดลการเรียนรู้ดังกล่าวสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดหลักสูตรการลงทุนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาให้แก่ระบบการศึกษาของประเทศ การให้ความรู้ผ่านช่องทาง Facebook และ TikTok “SET Thailand” มีผู้ติดตามรวมกว่า 1.5 ล้านคน รวมทั้งร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในการรณรงค์ให้ประชาชนรู้เท่าทันรูปแบบการหลอกลวงการลงทุน ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและต่อต้านการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน            ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนงานพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ทางการเงิน สร้างคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย ผู้ลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพ ภาคการศึกษา และ Influencer ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุน ควบคู่ไปกับการรณรงค์ตามโครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยกันทำให้ประชาชนวงกว้างสามารถเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการเงินการลงทุนที่ถูกต้อง และตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงลงทุน ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. มีแผนงานปี 2568 – 2570 ที่จะสร้างพันธมิตรกับ Finfluencer ในการให้ความรู้และการดูแลให้เหมาะสมกับความเสี่ยงอีกด้วย            อนึ่ง เพื่อป้องกันจากภัยหลอกลวงลงทุน หลักสำคัญคือการตั้งสติพิจารณาข้อมูลและตรวจสอบที่มา โดยเฉพาะข้อเสนอที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัว พร้อมทั้ง            สอบทานข้อมูลผู้แนะนำผ่านระบบ SEC Check First ของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ หากพบการหลอกลวงควรบันทึกหลักฐานและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ "ร่วมมือจับปลอมหลอกลงทุน" ของตลาดหลักทรัพย์ฯ บทสรุป            การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข้อมูลของผู้ลงทุนนี้แสดงให้เห็นว่า Social media เข้ามามีบทบาทในโลกการลงทุนมากขึ้น ทำให้ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงประชาชนในวงกว้างได้โดยง่าย จึงควรสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ลงทุนมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลผ่านสื่อดังกล่าว ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและพันธมิตรได้ร่วมกันจัดโครงการและกิจกรรมให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นให้ประชาชนสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ป้องกันการตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่ถูกบิดเบือนที่อาจสร้างความเสียหายและความเข้าใจคลาดเคลื่อนให้แก่ผู้ลงทุน ตลอดจนกลโกงการลงทุน ทั้งนี้ หากมีผู้ใดมาทำการชักชวนให้ลงทุน ขอให้ผู้ลงทุนตระหนักไว้เสมอว่า “อะไรที่ฟังดูดีเกินจริง ให้ระวังไว้ก่อนว่าอาจไม่เป็นความจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเงินการลงทุน ที่มา ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หุ้นไทยยังไม่วิกฤต! เร่งถกคลัง-เอกชน ฟื้นความเชื่อมั่น

หุ้นไทยยังไม่วิกฤต! เร่งถกคลัง-เอกชน ฟื้นความเชื่อมั่น

          นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน เช่น สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) , สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา ทั้งเรื่องของมาตรการกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่จะมีการปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ , มาตรการลดหย่อนภาษี เป็นต้น           “เรายังต้องคุยกันอีกมาก ขอให้นักลงทุนอย่างเพิ่งสิ้นหวัง หากมีความคืบหน้าในเรื่องของมาตรการต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะรีบอัพเดทให้ทราบอย่างแน่นอน“ นายอัสสเดช กล่าว           ทั้งนี้จากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ส่งผลให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ผลตอบแทนเกือบแย่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย หรือรองจากประเทศฟิลิปปินส์นั้น ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ มองว่า “ยังไม่ถึงกับวิกฤต” เนื่องจากมีปัจจัยที่คาดไม่ถึงหลายอย่าง โดยเฉพาะปัจจัยภาพนอกประเทศ ที่มีความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์           อย่างไรก็ดีแผนในระยะสั้น ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งดำเนินการมากที่สุด คือ การสื่อสารให้มากขึ้น โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนไทย ที่มีการเติบโตดี ทำอย่างไรให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเห็นศักยภาพได้บ้าง ผ่านการนำเสนอข้อมูล (โรด์โชว์) หรือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาสื่อสารข้อมูลของ Supetstar ที่มีอยู่ ให้นักลงทุนได้ทราบ           “การที่หุ้นปรับตัวลง ไม่ดีอยู่แล้ว ไม่มีใครชอบ แต่ในส่วนของตลาดเรามองที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก หากเราสร้างพื้นฐานของเราให้แข็งแกร่ง มีการเติบโตได้สูงกว่าปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนโดยรวม ซึ่งหากวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ก็ยังมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีการเติบโตดีอยู่ค่อนข้างมาก“ นายอัสสเดช กล่าว *ตลท.มองหุ้นไทยปรับตัวลง ดีต่อนลท.ระยะยาว ชูหุ้น SETHD ให้ผลตอบแทนสูงสุดในภูมิภาค           นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และโครงการกลยุทธ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองตลาดหุ้นไทย รับรู้ปัจจัยลบที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมาก 1 ครั้งในปีนี้ ไปแล้ว หากจะมีดาวไซด์เพิ่มเติม คือการที่เฟด ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลย หรือ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่เห็นภาพตรงนี้ ซึ่งนโยบายของทรัมป์ มีหลายอย่างที่ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น เช่น สงครามการค้าฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างสหรัฐกับคู่กรณี และก็มีหลายอย่างที่ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลง โดยเฉพาะเรื่องของการผลิต Oil&Gas           พร้อมกันนี้มองตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ อยู่ในช่วงของการหาสมดุล ก็ต้องกลับมาดูปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็ยังมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออก และการท่องเที่ยว รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย บางบริษัทที่ผ่านมาก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ก็ถือเป็นจังหวะที่ดีของนักลงทุนระยะยาว           มองหลุ่มหลบภัยของตลาดหุ้นไทยในช่วงผันผวน คือ หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง (High Dividend) เห็นได้จากดัชนี SETHD และ SET50FF (Free Float Adjusted) มีผลตอบแทนสูงกว่า SET Index โดยหลักทรัพย์ใน SET Index มีค่าเฉลี่ย Dividend Yield ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2000 ถึงปัจจุบัน (เดือนม.ค.68) อยู่ที่ 3.14% ขณะเดียวกันยังมีผลตอบแทนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดภูมิภาคด้วย

ตลท. เผยภาพรวม SET Index ม.ค.68 ปรับลดลง 6.1%

ตลท. เผยภาพรวม SET Index ม.ค.68 ปรับลดลง 6.1%

          หุ้นวิชั่น - ฉบับที่ 10/2568 10 กุมภาพันธ์ 2568 สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมกราคม 2568           การกล่าวสุนทรพจน์หลังพิธีสาบานตนในวันแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 โดนัลด์ ทรัมป์ เปิดฉากสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสหรัฐฯ และทั่วโลก โดย IMF มีมุมมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีความแข็งแกร่งมากขึ้น แต่มีความเสี่ยงด้านลบในประเทศอื่นๆ จากความไม่แน่นอนของนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ยากขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น และค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่า           นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เงินลงทุนกระจุกตัวอยู่ในหุ้น AI เพียงไม่กี่ตัว มีโอกาสเกิดปรับฐานครั้งใหญ่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย มีโอกาสที่ FED อาจต้องปรับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเร็วกว่าคาด ส่งผลต่อทิศทางฟันด์โฟลว์เคลื่อนย้ายออกจากสหรัฐฯ กลับมายัง Emerging Market รวมถึงตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจจากการที่เป็นตลาดที่มีความผันผวนต่ำ โดยพิจารณาจากค่า End of day volatility ของ SET Index สาเหตุหนึ่งมาจากเป็นตลาดหุ้นที่มีอัตราผลตอบแทน dividend yield สูงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2000 ถึงปัจจุบันอยู่ที่ 3.14% จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีลักษณะ Defensive Stock ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยเดือนมกราคม 2568 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2568 SET Index ปิดที่ 1,314.50 จุด ทำให้ในเดือนแรกปี 2568 SET Index ปรับลดลง 6.1% กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2567 ได้แก่ กลุ่มการเงิน และกลุ่มพลังงาน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 39,006 ล้านบาท ลดลง 17.2% จากเดือนมกราคม 2567 อย่างไรก็ตาม เห็นสัญญาณเกี่ยวกับมูลค่าการซื้อขายผู้ลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 10% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด สี่เดือนต่อเนื่อง เดือนมกราคม 2568 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน mai 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. โปร อินไซด์ (PIS) Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ระดับ 15.0 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.6 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 17.7 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 14.2 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ระดับ 3.64% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.28% ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) เดือนมกราคม 2568           มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 391,493 สัญญา ลดลง 27.3% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และ SET50 Index Futures ทำให้ในปี 2568 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 391,493 สัญญา ลดลง 27.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และ SET50 Index Futures

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

ตลท.เปิดเฮียริ่งปรับกฏคำนวณดัชนีฯ หุ้นใหญ่ได้เพิ่มสัดส่วนน้ำหนักมากกว่าหุ้นเล็ก

ตลท.เปิดเฮียริ่งปรับกฏคำนวณดัชนีฯ หุ้นใหญ่ได้เพิ่มสัดส่วนน้ำหนักมากกว่าหุ้นเล็ก

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ธนชาต ระบุ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิด hearing การปรับปรุงเกณฑ์คำนวณดัชนีกรณีใช้ capped weight หุ้นรายตัวไม่เกิน 10% สำหรับ SET50/SET50FF/SET100/SET100FF โดยจะมีการ rebalance น้ำหนักหุ้นในดัชนีทุกสิ้นไตรมาส ซึ่งการ hearing จะอยู่ในช่วง 4-17 ก.พ.68 และจะมีการสรุปผลอีกครั้ง จากเกณฑ์ดังกล่าวปัจจุบันหุ้นที่มีน้ำหนักเกิน 10% ใน SET50 จะมีเพียง DELTA ตัวเดียวที่น้ำหนัก 13% ซึ่งหากนำเกณฑ์นี้มาใช้จะทำให้น้ำหนักส่วนเกินของ DELTA (ส่วนเกิน market cap ราว 3.6 แสนล้าน) จะกระจายไปยังตัวอื่น แต่หากเฉลี่ยในหุ้น SET50 แล้วมีผลไม่มากอยู่แค่ราว 0.1% อย่างไรก็ดีมองว่าหุ้นที่มี market cap ใหญ่ อย่าง PTT ,SCB, KBANK, ADVANC, BBL, BDMS, CPN, AOT, GULF, MINT มีโอกาสถูกปรับสัดส่วนน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าหุ้นกลุ่มเล็ก

ตลท.เปิดเฮียริ่ง “ปรับปรุงการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ” วันที่ 4-17 ก.พ.นี้

ตลท.เปิดเฮียริ่ง “ปรับปรุงการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ” วันที่ 4-17 ก.พ.นี้

        หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เปิดรับฟังความคิดเห็น “การปรับปรุงการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 4-17 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.การจัดทำและเผยแพร่ดัชนี SET Index Series ของตลาดหลักทรัพย์ฯ         ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำและเผยแพร่ดัชนี SET Index Series ซึ่งประกอบไปด้วยดัชนีที่มีความหลากหลาย ทั้งในด้านการคัดเลือกและการคำนวณ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้ดัชนีต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ         ดัชนี SET50 และ SET100  ซึ่งเป็น Tradable Index ใช้วิธีการคำนวณดัชนีในรูปแบบ Market Capitalization Weight โดยใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการกำหนดน้ำหนักของหลักทรัพย์แต่ละตัวในดัชนี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพบหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบดัชนีมีขนาดบริษัท (Market Capitalization) ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหลักทรัพย์อื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งอาจส่งผลให้หลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่มีสัดส่วนน้ำหนัก (Index weight) ในดัชนีมาก และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนี ทำให้ดัชนีอาจไม่สะท้อนภาพรวมของตลาดอย่างที่ควร การจำกัดน้ำหนักรายหลักทรัพย์จึงเป็นแนวทางเพิ่มเติมที่อาจช่วยให้โครงสร้างดัชนีสมดุลมากขึ้น 2.การจำกัดน้ำหนักหลักทรัพย์ (Capped Weight) ในระดับสากล         เพื่อแก้ปัญหาหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลมากต่อดัชนี ตลาดหลักทรัพย์หรือผู้จัดทำในต่างประเทศจึงเลือกใช้การกำหนด Capped Weight ในการคำนวณดัชนี เพื่อจำกัดสัดส่วนของหลักทรัพย์/กลุ่มหลักทรัพย์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการจำกัดน้ำหนักของหลักทรัพย์ในดัชนีนั้นเป็นมาตรฐานที่ใช้ในหลายดัชนีทั่วโลก เช่น EuroStoxx50, HSI, MSCI, CAC40, NASDAQ100 และ Nikkei225 เป็นต้น         จากการศึกษาจากดัชนีชั้นนำในต่างประเทศ การใช้ Capped Weight สามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง โดยพิจารณาใน 2 มิติหลัก ได้แก่ การจำกัดน้ำหนักในระดับรายหลักทรัพย์ และ/หรือ กลุ่มหลักทรัพย์ 2.1 การจำกัดน้ำหนักในระดับรายหลักทรัพย์ (Constituent Stock Weight Capping) : เป็นแนวทางที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในดัชนีต่างประเทศ เช่น HSI, MSCI, EuroStoxx50 และ NASDAQ100 โดยกำหนดเพดานน้ำหนักของหลักทรัพย์รายตัวให้อยู่ในช่วง 8-15% เพื่อลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ 2.2 การจำกัดน้ำหนักของกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดใหญ่/กลุ่มอุตสาหกรรม (Top-Weight/Sector/Industry Weight Capping) : มีบางดัชนีที่จำกัดน้ำหนักของกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ เพิ่มเติมจากการจำกัดน้ำหนักรายหลักทรัพย์ เช่น ดัชนี NASDAQ100 กำหนดให้ 5 หลักทรัพย์ที่มี Market Capitalization สูงสุด (Top 5) มีน้ำหนักรวมกันไม่เกิน 38.5% เพื่อให้แน่ใจว่าดัชนีไม่ถูกครอบงำโดยหลักทรัพย์ขนาดใหญ่เหล่านั้นด้วย ข้อเสนอในการจำกัดน้ำหนักหลักทรัพย์รายตัวใน SET50 และ SET100 Index Series         ตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอให้พิจารณาจำกัดน้ำหนักหลักทรัพย์รายตัว (Constituent Stock Weight Capping) เพื่อช่วยลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ต่อดัชนี เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับผลการหารือเบื้องต้นกับผู้ใช้งานดัชนีและผลการศึกษาจากต่างประเทศข้างต้น โดยจะพิจารณานำ Capped Weight มาใช้กับ SET50, SET100, SET50FF และ SET100FF         ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำการทดสอบ (Index Simulation) พบว่าการจำกัดน้ำหนักหลักทรัพย์รายตัวในดัชนี SET50 และ SET100 ที่ระดับ 10% นั้น สามารถลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงรักษาโครงสร้างและความสามารถในการสะท้อนภาพรวมของตลาดไว้ได้ นอกจากนี้ ระดับ 10% ยังสอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กำหนดให้กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนทั่วไป (Retail Mutual Fund) ไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์รายตัวเกิน 10% (ประกาศ ทน. 87/2558) ข้อเสนอ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอเสนอแนวทางการปรับปรุงการคำนวณดัชนีด้วยการ Capped Weight รายหลักทรัพย์ ดังนี้ กำหนดให้หลักทรัพย์รายตัวที่เป็นองค์ประกอบในดัชนี SET50, SET50FF, SET100 และ SET100FF มีน้ำหนักไม่เกิน 10% ในแต่ละรอบการคัดเลือก กำหนดให้มีการ Rebalance น้ำหนักของหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวเป็นรายไตรมาส และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบคัดเลือก เช่น กรณีหลักทรัพย์ IPO ขนาดใหญ่ หรือกรณีควบรวมและซื้อกิจการ (Merger & Acquisition) โดยแนวทางการ Rebalance จะเน้นการลด Index Turnover ที่ไม่จำเป็น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้ดัชนี

ตลท. จับมือ ICE ศึกษาระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไทย ก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียว

ตลท. จับมือ ICE ศึกษาระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไทย ก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียว

          หุ้นวิชั่น - นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตครั้งนี้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์หลักของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในเอเชียสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล รองรับร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ที่กำหนดให้มีกลไกราคาคาร์บอน ประกอบด้วย ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต และ ภาษีคาร์บอน ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์ของ ICE ซึ่งทำธุรกิจตลาดคาร์บอนในหลายประเทศและเป็นหนึ่งในตลาดคาร์บอนที่มีสภาพคล่องสูงสุดในโลกจะช่วยให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดคาร์บอนเครดิตที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะสนับสนุนให้ภาคธุรกิจไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น           นายกอร์ดอน เบนเนตต์  หัวหน้าฝ่ายตลาดสิ่งแวดล้อมระดับโลก Intercontinental Exchange (ICE)   กล่าวว่า ด้วยประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญกว่า 2 ทศวรรษของ ICE ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเงินและโครงสร้างพื้นฐานตลาดคาร์บอน ICE จึงมีความพร้อมในการสนับสนุนประเทศไทยในการวางรากฐานการพัฒนาและยกระดับตลาดคาร์บอนของไทยให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน           การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างตลาดหลักทรัพย์ฯ กับ ICE มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 นับเป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่แสดงถึงมุ่งมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยการศึกษากรอบการดำเนินงานและกลไกที่เหมาะสมที่สุด ร่วมกับพันธมิตร เช่น ICE เพื่อรองรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั้งในตลาดภาคบังคับ (Compliance market) และภาคสมัครใจ (Voluntary market) โดยจะร่วมกันศึกษา และแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญระดับโลกและเทคโนโลยีล้ำสมัยของ ICE เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศคาร์บอนสำหรับประเทศไทยที่แข็งแกร่งสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจและผู้ลงทุนไทย และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการมีส่วนร่วม ที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution; NDC)           ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมตลาดทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ตลอดจนส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูล ESG ของภาคธุรกิจ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 ได้เปิดระบบ SET Carbon เพื่อเป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลและคำนวณข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเผยแพร่ผ่านระบบ ESG Data Platform ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

abs

Hoonvision

ตลท. ชวนคนไทยใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0  ช้อปสินค้าวิสาหกิจเพื่อสังคม

ตลท. ชวนคนไทยใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0 ช้อปสินค้าวิสาหกิจเพื่อสังคม

          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เชิญชวนคนไทยใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0 โดยร่วมสนับสนุนการซื้อสินค้าและบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ในเครือข่าย SET Social Impact เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท ตั้งแต่วันนี้–28 ก.พ. 2568  ได้ทั้งลดหย่อนภาษีและร่วมสนับสนุนการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน สินค้าและบริการของ SE ในเครือข่าย SET Social Impact ที่เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ได้แก่ สินค้าชุมชนออร์แกนิก บริษัท เซฟ ไลฟ์ โปรดักส์ จำกัด (ไร่รื่นรมย์) โทร. 097 087 0085 ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ สารสกัดจากธรรมชาติจากบริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Avautis) โทร. 061 663 6445 วิกผมแท้ทอมือ งานพรีเมี่ยม พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบริษัทจิตอาสา วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โทร. 066 085 6716 อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุ บริษัท สยาม เอเบิ้ล อินโนเวชั่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด โทร. 098 516 5112 สินค้าแฟชั่น สินค้าท้องถิ่น อาหารและเครื่องดื่ม บริษัท เลิร์นดู วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โทร. 092 505 4994 สินค้าชุมชน ขนมอบกรอบ ผ้าทอมือซาโอริ บริษัท บ้านคนพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด โทร. 061 624 1936 โดยผู้สนใจสามารถสั่งซื้อสินค้าและสอบถามเกี่ยวกับการออก E-Receipt ได้โดยตรงกับ SE แต่ละรายที่เข้าร่วมมาตรการ [PR News]

[ภาพข่าว] ตลท. ขึ้นแท่น 1 ใน 50 องค์กร  คนรุ่นใหม่อยากร่วมงาน

[ภาพข่าว] ตลท. ขึ้นแท่น 1 ใน 50 องค์กร คนรุ่นใหม่อยากร่วมงาน

           จิตติยา ธรรมสรณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าสายงานทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รับรางวัล Top 50 Companies in Thailand 2025 โดย Work Venture ที่ปรึกษาและผู้นำด้านการสร้างแบรนด์นายจ้างให้แก่องค์กรชั้นนำของประเทศไทย ที่ได้รวบรวมผลสำรวจคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กว่า 10,000 คน โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด เป็นปีแรก            ความสำเร็จนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เน้นการพัฒนาและดูแลพนักงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี สนับสนุนการทำงานของพนักงาน ซึ่งสอดคล้องแผนกลยุทธ์สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ “สรรสร้างคนและอนาคต (Groom People & Our Future)” ในการเตรียมพร้อมคน ปรับวิถีงาน ตอบโจทย์อนาคต

ตลท.ร่วม กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดซื้อกองทุนลดภาษีออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต

ตลท.ร่วม กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เปิดซื้อกองทุนลดภาษีออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต

         หุ้นวิชั่น - บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม และ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค ร่วมกับพันธมิตรตลาดทุน จับมือกับบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้บริการซื้อกองทุนประหยัดภาษีผ่านออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต เพิ่มความสะดวกผู้ลงทุน          กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม FundConnext และ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินของตลาดทุน ร่วมกับตัวแทนขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) จับมือกับบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ พัฒนาช่องทางการชำระเงินซื้อกองทุนประหยัดภาษีผ่านออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต ได้แก่ บัตรเครดิต กรุงศรี, บัตรเครดิต กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า แพลทินัม, บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตโลตัส ผ่านแอปพลิเคชันของ Selling Agent เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น          โดยมีคุณตรีวิทย์ วังวรวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บจก. ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม คุณเพทาย เพชรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บจก. ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค คุณชัยพล กฤตยาวานิชย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บจก. บัตรกรุงศรีอยุธยา ตัวแทนบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ พร้อมด้วยผู้บริหารจาก Selling Agent ได้แก่ คุณเฉลิมวุฒิ ชมะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บล. เคเคพี ไดม์, คุณสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการบริหาร บล. ฟิลลิป, คุณศรุดา พัฒนาหิรัญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บลน. โรโบเวลธ์, คุณบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วยคุณธัชกร เตียตระกูล หัวหน้าฝ่ายธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) และ คุณพยนต์ พงศาวรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล. อินโนเวสท์ เอกซ์ ร่วมเปิดโครงการ ทั้งนี้บริการดังกล่าวครอบคลุมการซื้อกองทุนจาก บลจ. ชั้นนำ* ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่ https://www.krungsricard.com/th/Promotion/FundConnext-synergy *ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนดจะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี [PR News]

ตลท. ปรับคุณสมบัติ บจ. เข้าตลาดหุ้น ทัง SET-mai เริ่ม 1 ม.ค. 68

ตลท. ปรับคุณสมบัติ บจ. เข้าตลาดหุ้น ทัง SET-mai เริ่ม 1 ม.ค. 68

           หุ้นวิชั่น - นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำงานร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. อย่างต่อเนื่องในการศึกษา ทบทวน และปรับปรุงเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการปรับปรุงเกณฑ์เพื่อยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การเข้าจดทะเบียน การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนการเพิกถอน เพื่อเพิ่มคุณภาพบริษัทจดทะเบียน พร้อมทั้งเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลและการเตือนผู้ลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเสถียรภาพให้ตลาดทุนไทย หลังจากการปรับปรุงการเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลมากขึ้น ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา โดยครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์ 4 เรื่อง สำคัญดังนี้ 1. ปรับปรุงคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนทั้ง SET และ mai            โดยเพิ่มมูลค่ากำไรและส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน ซึ่งจะมีผลใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อให้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ได้ 2. ยกระดับการเตือนผู้ลงทุน โดยเพิ่มเหตุที่จะเตือนผู้ลงทุนด้วยเครื่องหมาย ดังนี้ 2.1 กรณีบริษัทจดทะเบียนมีความเสี่ยงด้านฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน สภาพคล่องทางการเงิน ทั้งกรณีไม่มีธุรกิจ มีขาดทุนต่อเนื่อง หรือผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ 2.2 กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน 2.3 กรณีบริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เป็น Cash Company มีคณะกรรมการตรวจสอบหรือ Free Float ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่จัด Opportunity Day ตามที่กำหนด            โดยการเตือนผู้ลงทุนจะแสดงด้วยเครื่องหมายที่แตกต่างกันตามแต่ละเหตุ  ซึ่งเครื่องหมายใหม่นี้จะทดแทนเครื่องหมาย C (Caution) ในปัจจุบันด้วย 3. เพิ่มเหตุเพิกถอน            กรณีบริษัทจดทะเบียนไม่มีธุรกิจต่อเนื่องหลายปี หรือไม่สามารถแก้ไข Free Float ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพเหมาะสมที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียน 4. เพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณาคุณสมบัติบริษัท Backdoor Listing และกรณี Resume Trading โดยให้เทียบเท่ากับการเข้าจดทะเบียนใหม่ (New Listing) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน            การปรับปรุงในข้อ 2–4 จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป            ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว            ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th ภายใต้หัวข้อ “กฎเกณฑ์/การกำกับ” และ “กฎเกณฑ์ – หนังสือเวียนส่วนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์จดทะเบียน”

[ภาพข่าว] ตลท. มอบผ้าห่ม และถุงยังชีพ ช่วยเหลือประชาชนประสบภัยหนาว จ. เชียงราย”

[ภาพข่าว] ตลท. มอบผ้าห่ม และถุงยังชีพ ช่วยเหลือประชาชนประสบภัยหนาว จ. เชียงราย”

          นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมาย และบริหารกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ นาวาอากาศเอก ณัฐพัชร หนองแสง ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 35 สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ผู้แทนจากกองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมมอบผ้าห่มกันหนาวและถุงยังชีพที่บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค เวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็น ให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยหนาว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งผ้าห่มกันหนาวที่ส่งมอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากขวดพลาสติก (Upcycling) โดยวิสาหกิจชุมชนบ้านวัดจากแดงเศรษฐกิจพอเพียง  จ.สมุทรปราการ ที่ให้ทั้งความอบอุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน พร้อมสนับสนุนและช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยเหลือดูแลในกรณีเร่งด่วนที่เกิดภาวะภัยพิบัติ

[ภาพข่าว] ตลท. - สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ลงนาม MOU ส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการลงทุน

[ภาพข่าว] ตลท. - สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ลงนาม MOU ส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการลงทุน

          ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวิโรจน์ ตั้งเจริญ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ลงนาม MOU ส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการลงทุน แก่สมาชิกสมาคมฯ และคนไทยทั่วประเทศ ร่วมกันผลักดันภารกิจวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการภายใต้โครงการ “Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้” โดยสมาคมฯ สนับสนุนนักวางแผนการเงิน CFP® ในการให้คำปรึกษาแผนการเงินเพื่อการเกษียณแก่ผู้เข้าร่วมโครงการให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงิน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุน SET e-Learning เป็นช่องทางการเรียนรู้สำหรับสมาชิกสมาคมฯ องค์กรที่สนใจส่งเสริมความรู้ด้านการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ดูรายละเอียดที่ https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/happy-young-old

ก.ล.ต.-ตลท. จับมือขับเคลื่อนตลาดทุน รับยุทธศาสตร์ปี 68-70

ก.ล.ต.-ตลท. จับมือขับเคลื่อนตลาดทุน รับยุทธศาสตร์ปี 68-70

          หุ้นวิชั่น - คณะกรรมการ ก.ล.ต. และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ประชุมหารือร่วมกันเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567เพื่อขับเคลื่อนแผนงานในปี 2568-2570 มุ่งเสริมสร้างความเชื่อมั่นของตลาดทุนไทย พร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างโอกาสในการเข้าถึงการลงทุนและการระดมทุนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวให้แก่ประชาชน           คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ก.ล.ต. พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายอัสสเดช คงสิริ กรรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หารือร่วมกันเกี่ยวกับแผนงานของทั้ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568-2570 เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้สอดคล้องกันและตอบโจทย์การรักษาความเชื่อมั่นของตลาดทุนไทย การเปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ การสร้างโอกาสเพื่อส่วนรวมในการเข้าถึงการลงทุนและการระดมทุนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน สร้างประโยชน์ต่อผู้ร่วมตลาด และประชาชนในยุคดิจิทัล สอดรับกับกระแสด้านความยั่งยืน รวมถึงเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวให้แก่ประชาชน           ที่ประชุมได้ข้อสรุปถึงแนวทางการดำเนินการร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้บทบาทส่งเสริมซึ่งกันและกัน เช่น การใช้เทคโนโลยีมาตรวจจับการกระทำผิดและเร่งการบังคับใช้กฎหมาย และเอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในตลาดทุนแบบดิจิทัล end-to-end 100% ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการในตลาดทุน (Your data) การยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านความยั่งยืน ผ่านโครงการ Corporate value-up program ที่สร้างแรงจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศและตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนร่วมมือกันให้ความรู้ทางการเงินและเพิ่มจำนวนของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีในระยะยาวให้กับประชาชน           สำหรับแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี 2568 – 2570 ที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อยู่ภายใต้กรอบและกระบวนการที่พิจารณาครอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ ในทุกมิติสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ควบคู่กับการรักษาสมดุลทั้งด้านการกำกับดูแลและด้านการพัฒนาตลาดทุนไทยในทุกมิติ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งบรรลุเป้าหมายหลัก 4 ด้าน ดังนี้ (1) ตลาดทุนมีความน่าเชื่อถือ (Trust & Confidence) (2) ตลาดทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Technology) (3) ตลาดทุนเป็นกลไกไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable Capital Market) (4) ผู้ลงทุนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี (Financial well-being)           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้มีแผนองค์กรซึ่งเป็นปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจของ ก.ล.ต. (SEC Excellence) เพื่อผลักดันภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์และบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้อีกด้วย [PR News]

ตลท.ขอ EE ชี้แจงแผนลงทุนธุรกิจ Tech พร้อมเตือนนักลงทุนศึกษาข้อมูลรอบคอบ

ตลท.ขอ EE ชี้แจงแผนลงทุนธุรกิจ Tech พร้อมเตือนนักลงทุนศึกษาข้อมูลรอบคอบ

          หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ EE ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจและอำนาจควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ตามที่วันที่ 4 ธันวาคม 2567 บริษัท อีเทอร์นัล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) (EE) ได้แจ้งสารสนเทศสำคัญมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้ 1. มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นนายพนธ์ธวัช นาควัชรสิทธิ์ ซึ่งเข้ามาถือหุ้น EE ในสัดส่วน 57.81% และมีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ราคาหุ้นละ 0.14 บาท 2. คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุน 2,720 ล้านหุ้น (49.45% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน) ราคาเสนอขายหุ้นละ 0.19 บาท เป็นเงิน 517 ล้านบาท เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement: PP) 5 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (Control Dilution) มากกว่า 25% โดยมีวัตถุประสงค์นำเงินเพิ่มทุนไปใช้ลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ธุรกิจ Tech) ซึ่งบริษัทคาดว่าจะมีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ไม่น้อยกว่า 12% แต่บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน (รายละเอียดตามข่าวของ EE วันที่ 4 ธันวาคม 2567) จากรายการข้างต้นส่งผลให้ EE มีการเปลี่ยนแปลงทั้งธุรกิจและอำนาจควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยธุรกิจใหม่มีความเสี่ยงที่แตกต่างจากธุรกิจปัจจุบันของบริษัทซึ่งเป็นธุรกิจการเกษตร บริษัทคาดว่าจะลงทุนภายในปี 2568 และมีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ไม่น้อยกว่า 12% จึงเป็นข้อมูลสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน

[ภาพข่าว]  “ตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบผ้าห่ม ช่วยเหลือประชาชนประสบภัยหนาว จ. ลำปาง”

[ภาพข่าว] “ตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบผ้าห่ม ช่วยเหลือประชาชนประสบภัยหนาว จ. ลำปาง”

           นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมาย และบริหารกิจกรรมเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มอบผ้าห่มกันหนาวแก่ผู้ประสบภัยหนาวในจังหวัดลำปาง 13 อำเภอ โดยมี นายชาญ อุทธิยะ อุปนายกสมาคมเพื่อการเรียนรู้ป่าชุมชน จังหวัดลำปางเป็นผู้รับมอบ พร้อมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการ “SET คู่ป่า คู่คน เพื่อความยั่งยืน จังหวัดลำปาง” ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรและชุมชน สร้างพื้นที่ต้นแบบการสร้างสมดุลในระบบนิเวศและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สนับสนุนกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี

ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สนับสนุนกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี

          หุ้นวิชั่น - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับมอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงราย จำนวน 1,000,000 บาท จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ซึ่งบริจาคผ่านกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย โดยมีนายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมด้วยผู้บริหารจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งเป็นผู้แทนจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ร่วมมอบ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ตลท. ชู ESG มุ่งความยั่งยืน  ย้ำบรรษัทภิบาล-จริยธรรมผู้นำ

ตลท. ชู ESG มุ่งความยั่งยืน ย้ำบรรษัทภิบาล-จริยธรรมผู้นำ

          ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดงาน SET ESG Professionals Forum 2024 เพื่อเป็นเวทีระดมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากมุมมองของผู้ขับเคลื่อน ESG ในองค์กรอย่างเครือข่ายสมาชิก SET ESG Experts Pool ซึ่งผนึกพลังร่วมขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืนตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ครั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการสู่ระดับสากล สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของตลาดทุนไทยในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนและมีบรรษัทภิบาล สอดรับการดำเนินงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 โดยในปัจจุบันท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว           บรรษัทภิบาลที่ดีถือเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นและการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมี "ผู้นำ" ที่มีวิสัยทัศน์และจริยธรรม จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างองค์กรที่ยั่งยืน ผู้นำยุคใหม่ต้องสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity) สร้าง Legacy of Positive Impact และสร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กร คู่ค้า และสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้ การมีระบบการกำกับดูแลที่ดียังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงและความขัดแย้ง รวมถึงส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าองค์กรจะดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มั่นคงและเติบโตในภาวะวิกฤตความเชื่อมั่นนี้           ไฮไลท์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้ เริ่มด้วยมุมมองเชิงลึกจาก ดร. ดิเรก เกศวการุณย์ Managing Partner จาก Bain & Company Thailand หัวข้อ “Innovative Corporate Governance: Strategies for Long-term Value Creation” ถึงแนวทางการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลให้ยืดหยุ่นและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ พร้อมเสนอกรณีศึกษาองค์กรชั้นนำระดับโลก ร่วมด้วยคุณวารุณี ปรีดานนท์ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่นำเสนอ “Fraud Insights 2024” ผลสำรวจและสถิติการทุจริตในองค์กรธุรกิจในระดับสากล รวมถึงบริบทประเทศไทย และย้ำความสำคัญของการสร้างระบบป้องกันการทุจริตผ่านการกำกับดูแลและการเสริมสร้างระบบควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปิดท้ายด้วยเสวนา “Executive Influence: How Leaders 4.0 Shape           Ethical Cultures” ร่วมด้วยคุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ,ดร. เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติ ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และกรรมการอิสระ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ViaLink และสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างรากฐานองค์กรที่แข็งแกร่งผ่านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม (Ethical Leadership) โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ต้องผสานการใช้เทคโนโลยีและ AI เข้ากับการรักษาคุณค่าด้านจริยธรรม พร้อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนผ่านการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยจริยธรรม การบูรณาการมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและจริยธรรมสากลเข้ากับบริบทไทย และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการยกระดับความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กร นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทของผู้นำยุคใหม่ที่ต้องมีกรอบการตัดสินใจที่คำนึงถึงจริยธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดทุนไทย           ผู้ประกอบการและผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดงานสัมมนาและข่าวสารด้านความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทาง Website: SETSustainability.com และ LINE Official: @SETsustainability [PR News]

ตลท.ขึ้น CB หลักทรัพย์ SABUY และ JCKH

ตลท.ขึ้น CB หลักทรัพย์ SABUY และ JCKH

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย CB บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY และ บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JCKH เป็นเหตุจากบริษัทผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน

ตลท.เตือนลงทุน DELTA ต้องรอบคอบ ราคาพุ่งต่อเนื่อง P/E สูงถึง 91.11 เท่า

ตลท.เตือนลงทุน DELTA ต้องรอบคอบ ราคาพุ่งต่อเนื่อง P/E สูงถึง 91.11 เท่า

          ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลประกอบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขาย DELTA เนื่องจากราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 91.11 เท่า และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) อยู่ที่ 25.36 เท่า           ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาและพัฒนาการของหลักทรัพย์ DELTA โดยพบว่าราคาหลักทรัพย์ DELTA ปรับตัวเพิ่ม 47% (ณ ราคาปิดวันที่ 7 พฤศจิกายน นี้) เทียบกับ ราคาปิดตลาด ณ วันที่ 30 ก.ย. ที่ 107 บาท ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากข่าวการลงทุนของบริษัทต่างประเทศด้าน Data center ในประเทศไทย และผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 5,910.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน           โดยราคาปิดวันนี้ที่ 157 บาท (7 พฤศจิกายน 2567) จุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 160.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,311 ล้านบาท           ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลสารสนเทศที่ชี้แจงผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้จากความผันผวนของราคาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

[ภาพข่าว] ตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร จ. ขอนแก่น

[ภาพข่าว] ตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร จ. ขอนแก่น

           ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัด ตลาดหลักทรัพย์ฯ สัญจร จ. ขอนแก่น “หาโอกาสในตลาดหุ้น สร้างพอร์ตลงทุนให้เติบโต” โดยมี รินใจ ชาครพิพัฒน์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมด้วยผู้บริหารองค์กรพันธมิตรและวิทยากรร่วมเปิดงาน เมื่อ 5 ต.ค. 2567 มีผู้เข้าร่วมอย่างคับคั่งต่อเนื่องตลอดวันกว่า 1,000 คน สะท้อนความตื่นตัวด้านการวางแผนการเงิน เรียนรู้ผลิตภัณฑ์และมองหาทางเลือกลงทุนทั้งหุ้นไทย หุ้นนอก กองทุนรวม และตราสารอนุพันธ์ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุ 20-40 ปี และมีสัดส่วนกว่า 60% ของผู้เข้าชมงาน โดยปีนี้กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินสายสัญจรภูมิภาคแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ และขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ผู้ลงทุนสามารถติดตามความรู้การลงทุนและข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.setinvestnow.com

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456