ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ดอกเบี้ย


เงินเฟ้อไทย ม.ค. เร่งตัวขึ้นต่อ กด กนง. คงดอกเบี้ย หนุนกลุ่ม BANK บวกรับอานิสงส์

เงินเฟ้อไทย ม.ค. เร่งตัวขึ้นต่อ กด กนง. คงดอกเบี้ย หนุนกลุ่ม BANK บวกรับอานิสงส์

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุ กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อไทยเดือนม.ค.68 - Core CPI ขยายตัว 0.83% y-y เท่ากับตลาดคาด และเร่งตัวขึ้นจาก 0.79% y-y ในเดือนธ.ค.67 - Headline CPI ขยายตัว 1.32% y-y เร่งตัวขึ้นจาก 1.23% y-y ในเดือนธ.ค.67 และมากกว่าตลาดคาดที่ 1.3% y-y           ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลจากฐานราคาต่ำในปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นจากราคาผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.68 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับเดือนม.ค.68 โดยปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่ 1. ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาท/ลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2. การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าโดยสารเครื่องบิน 3. สินค้าเกษตรบางชนิดราคายังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังไม่เข้าสู่ระดับปกติ หลังจากได้รับผลกระทบของภัยแล้วอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพืชสวน เช่น มะพร้าว ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอลง ได้แก่ 1. ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการปรับลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนและการตรึงราคาก๊าซ LPG 2. ฐานราคาผักสดในปีก่อนหน้าอยู่ในระดับสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะที่ในปี 68 สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมาขึ้น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น 3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ           ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงลบต่อการเผยตัวเลขข้างต้น หลังเงินเฟ้อไทยอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ส่งผลให้ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment เชิงลบ ท่ามกลางแรงกดดันทางด้านกำลังซื้อและต้นทุนของภาคธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง ในทางกลับกัน ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะได้ประโยชน์ในแง่อัตราผลตอบแทนสินเชื่อจะไม่ปรับลดลง Strategist Pick: BBL, SCB, KBANK, KTB

ttb มอบดอกเบี้ยสูง สำหรับลูกค้าเปิดบัญชี FCD e-Saving สกุล USD- GBP

ttb มอบดอกเบี้ยสูง สำหรับลูกค้าเปิดบัญชี FCD e-Saving สกุล USD- GBP

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ, 10 มกราคม 2568 – ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งตอบโจทย์การทำธุรกรรมผ่านสกุลเงินต่างประเทศ มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชี FCD e-Saving ใหม่ สกุลเงิน USD และ/หรือ สกุลเงิน GBP ผ่านแอป ttb touch รับผลตอบแทนสุดคุ้มและเพิ่มพูนความมั่งคั่ง ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษ สำหรับบัญชีเงินฝากสกุลเงิน USD รับดอกเบี้ย 4.20% ต่อปี และสกุลเงิน GBP รับดอกเบี้ย 2.60% ต่อปี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 – 31 มีนาคม 2568           ทีทีบี พร้อมนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าคนสำคัญ มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชี FCD e-Saving ใหม่ สกุลเงิน USD (ดอลสาร์สหรัฐ) และ/หรือ สกุลเงิน GBP (ปอนด์อังกฤษ) ผ่านแอป ttb touch รับอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษ โดย สกุลเงิน USD (ดอลสาร์สหรัฐ) รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษสูงถึง 20% ต่อปี* สกุลเงิน GBP (ปอนด์อังกฤษ) รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษสูงถึง 60% ต่อปี**           เพียงเปิดบัญชีใหม่ผ่านแอป ttb touch ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568 รับดอกเบี้ยพิเศษถึงวันที่ 30 เมษายน 2568           บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit Account - FCD) เป็นบัญชีที่ตอบโจทย์ด้านการทำธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศสำหรับลูกค้าที่ต้องการฝากเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกในการออมของกลุ่มลูกค้าที่มีบุตรหลานศึกษาอยู่ต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่มีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่ต้องมีรายรับรายจ่ายหรือทำธุรกรรมที่ต้องการใช้จ่ายเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศให้สามารถวางแผนจัดการค่าใช้จ่ายธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศแบบคุ้มค่าเพิ่มพูนความมั่งคั่งไปพร้อม ๆ กัน เพียงลูกค้ามีบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาทของทีทีบี (บัญชีออมทรัพย์เบสิก, บัญชีออลล์ฟรี, บัญชีโนฟิกซ์, บัญชีมีเซฟ) เพื่อใช้โอนเงินเข้าบัญชี FCD e-Saving สกุลเงิน USD / สกุลเงิน GBP ที่เปิดใหม่ผ่านแอป ttb touch  โดยเปิดบัญชีครั้งแรก จำนวนเงินขั้นต่ำ 20,000 บาท หรือเทียบเท่า โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร พร้อมด้วยบริการ FX Advisory แนะนำบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ลูกค้าสามารถจัดการธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและยังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย           นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกการออมเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงกับ บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทฝากประจํา 3 เดือน และ 6 เดือน สกุลเงิน USD รับอัตราดอกเบี้ย 50% ต่อปี บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทฝากประจํา 6 เดือน สกุลเงิน GBP รับอัตราดอกเบี้ย 60% ต่อปี           เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 USD หรือเทียบเท่า โดยสามารถเปิดบัญชีได้ที่ ทีทีบี สำนักงานใหญ่ (อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตามประกาศธนาคารวันที่ 25 พ.ย. 2567 เงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/ttb-reserve/promotion/detail/fcdesaving-specialrate-q12025 https://www.ttbbank.com/link/pr/ttbreserve/fcd สนใจเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทออมทรัพย์ แบบ e-Saving (FCD e-Saving) ผ่าน แอป ttb touch ง่าย ๆ ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6:00 น. – 22:30 น. คลิก https://www.ttbbank.com/link/ttbreserve/openacc/fcdesaving สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทีทีบีทุกสาขา หรือที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนของท่าน หรือ ttb reserve line 02-010-1428 สามารถดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินตราต่างประเทศได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/rates/foreign-currency-deposits *อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทออมทรัพย์ แบบ e-Saving สกุลเงิน USD สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 25 พ.ย. 67 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.10% ต่อปี (เปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคาร) และรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีก 2.10 % ต่อปี ณ วันทำการที่ 5 นับจากวันเปิดบัญชีสำเร็จ รวมเป็น 4.20% ต่อปี โดยวันที่เปิดบัญชีสำเร็จจนถึงวันทำการที่ 4 รับเฉพาะอัตราดอกเบี้ยปกติตามประกาศของธนาคาร **อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทออมทรัพย์ แบบ e-Saving สกุลเงิน GBP สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 25 พ.ย. 67 อัตราดอกเบี้ยปกติ 1.10% ต่อปี (เปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคาร) และรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีก 1.50% ต่อปี ณ วันทำการที่ 5 นับจากวันเปิดบัญชีสำเร็จ รวมเป็น 2.60% ต่อปี โดยวันที่เปิดบัญชีสำเร็จจนถึงวันทำการที่ 4 รับเฉพาะอัตราดอกเบี้ยปกติตามประกาศของธนาคาร รับดอกเบี้ยพิเศษ ถึงวันที่ 30 เม.ย. 68 สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชี FCD e-Saving ใหม่ สกุลเงิน USD และ/หรือ FCD e-Saving สกุลเงิน GBP ผ่าน แอป ttb touch เท่านั้น เปิดบัญชีขั้นต่ำ 20,000 บาท หรือเทียบเท่า เงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สามารถเรียกดูข้อมูลผลิตภัณฑ์และประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินตราต่างประเทศปัจจุบันได้ทางเว็บไซต์ธนาคาร [PR News]

กนง. มีมติ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี

กนง. มีมติ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี

          หุ้นวิชั่น - นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี           เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่ยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังฟื้นตัวได้ช้าโดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น           เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องจักรที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น แต่ SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มยังถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง กลุ่มยานยนต์มีพัฒนาการแย่ลงจากทั้งปัจจัยด้านราคาและอุปสงค์ ส่งผลให้การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนยังไม่ทั่วถึง มองไปข้างหน้า แนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าวซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและการลงทุนของไทยในระยะต่อไป           อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 และ 1.1 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหาร โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 1.0 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

เปิด 17 หุ้น โบรกฯมองรับอานิสงค์ เงินบาทแข็งค่า

เปิด 17 หุ้น โบรกฯมองรับอานิสงค์ เงินบาทแข็งค่า

                 หุ้นวิชั่น - บล.เอเชียพลัส ส่องกลยุทธ์การลงทุน หลังวานนี้ FED และ BOE ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดสู่ระดับ 4.75% ซึ่งทาง FED มั่นใจมากขึ้นว่า CPI สหรัฐฯ จะเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 2% ได้ ขณะที่เศรษฐกิจยัง ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ POWELL เผยนโยบายจาก ปธน.คนใหม่ จะไม่มีผลต่อ การตัดสินใจในระยะสั้น พร้อมคาดว่านโยบายการคลังที่ขยายตัวและการกีดกัน การค้าจะส่งผลต่อคาดการณ์ในอนาคต จึงยังคงตัดสินใจแบบ MEETING BY MEETING โดย DOT PLOT คาดดอกเบี้ยปลายปี 2024 อยู่ที่ 4.50% และปลายปี 2025 อยู่ที่ 3.50%                    ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้เงินบาทเริ่มแข็งค่า ตามการปรับลดดอกเบี้ยของ FED ซึ่งตามกลไกจะหนุนให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาสชะลอการไหลออกอยู่บ้างจึงน่าจะหนุนให้ SET INDEX ทรงตัวในกรอบแคบ และมีโอกาสดีดตัวขึ้นในวันนี้ กรอบวันนี้ 1455/1460- 1477 จุด ส่วนกลุ่มที่ได้คาดว่าได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว หุ้นขนาดใหญ่หาก FUND FLOW เริ่มไหลกลับเข้ามา KBANK, SCB, BBL, AOT, PTT, PTTGC, IVL, SCC, CPALL, CRC, CPAXT, ADVANC กลุ่มที่มีต้นทุน หรือหนี้สินสกุลเงินต่างประเทศ GULF, BGRIM, GPSC, PTTEP, AAV

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

          กนง.ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบปี เซอร์ไพรส์ตลาด! ลด 0.25% สู่ 2.25% พร้อมคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวใกล้เคียงเป้าหมาย ปรับตัวหนุนการบริโภคและการท่องเที่ยว ส่วนเงินเฟ้อทยอยเข้าสู่กรอบปลายปี 2567           นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 16 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที           เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า           เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง           อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567           ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ           ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว           สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุถึง ผลประชุม กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก Surprise ตลาด  -25 bps อยู่ที่ 2.25%(มติ 5 เสียงลดดอกเบี้ย VS. 2 เสียงหนุนคงดอกเบี้ย) สอดคล้องกับประเทศในภูมิภาค ล่าสุด ฟิลิปปินส์ลดดอกเบี้ย 25 bps อยู่ที่ 6.0%           โดยประเมินการลดดอกเบี้ยฯทำให้ Equity  risk Premium ตลาดหุ้นไทยกว้างขึ้นถึง 3.62% ใกล้ +1SD 4%+/- จะทำให้ตลาดหุ้นเร่งขึ้น สู่ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 1540 จุด  โดยประเมินทุกๆ  25bps เป็น Upside ต่อ SET Index  ราว 45-50 จุด โดยกลยุทธ์เน้นหุ้นในธีมดอกเบี้ยขาลงหนุน กลุ่ม Fin(เน้นจำนำทะเบียน และตามเก็บหนี้ JMT) กลุ่ม โรงไฟฟ้า GULF, GPSC เช่าซื้อ กลุ่มเครดิตการ์ด KTC, AEONTS  กลุ่มหนี้สูง CPALL, TRUE  IVL และอสังหาฯ(AP, SIRI, SC) หุ้น High Yield (ADVANC)

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011