ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ค่าไฟ


ครม. เคาะลดค่าไฟเหลือ 3.99 บ./หน่วย เร่งปรับสัญญาโรงไฟฟ้า ลดภาระต้นทุนรัฐ

ครม. เคาะลดค่าไฟเหลือ 3.99 บ./หน่วย เร่งปรับสัญญาโรงไฟฟ้า ลดภาระต้นทุนรัฐ

          หุ้นวิชั่น#ครม. อนุมัติปรับลดค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. 2025 ลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย สั่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาสัญญา Adder–FiT–AP–EP พร้อม เร่งปรับเงื่อนไขสัญญาโรงไฟฟ้า IPP หวังลดต้นทุนภาครัฐ โบรกมอง โดยรวมเป็น Negative sentiment ต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้งกลุ่ม ระยะสั้นตลาดอาจมีแรงขายหุ้น SPP แต่หากดูจากแนวทางลดค่าไฟที่เสนอ IPP และ Renewable มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากกว่า           นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้ (1 เม.ย.2568) โดยระบุว่า ครม. มีมติกำหนดราคาเป้าหมายสำหรับค่าไฟฟ้างวดเดือนพ.ค.-ส.ค.2568 ไม่เกินหน่วยละ 3.99 บาท เป็นราคาเป้าหมาย โดยมอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำกับดูแลให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.) และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ให้ร่วมกันดูแลกันดำเนินการกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อให้ปรับลดค่าไฟฟ้าตามราคาเป้าหมาย           นอกจากนี้ยังให้มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. คณะกรรมการ กฟผ. และคณะกรรมการ กกพ. รวมกันดำเนินการ 3 เรื่องต่อไปนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ได้แก่ ข้อ 1.ให้หาแนวทางแก้ไขปัญหาสัญญารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า(Adder) Feed-in Tariff หรือ FiT และเงื่อนไขที่กำหนดให้ที่ให้สัญญาดังกล่าวมีอายุต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดสัญญา 2.ให้หาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าความพร้อมจ่าย(AP) และค่าพลังงาน Energy Payment (EP) รวมทั้งเงื่อนไขข้อตกลงอื่นในสัญญาจากโรงไฟฟ้า IPP ตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าระยะยาว(PPA) ทุกสัญญาที่มีเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. หรือรัฐเสียเปรียบ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความเป็นจริง 3. หาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค ข้อตกลงในสัญญารับซื้อไฟฟ้าต่างๆ ที่ทำให้ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าไม่สามารถบริหารจัดการการสั่งผลิตไฟฟ้าให้ต้นทุนนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.ลดต่ำลงได้           อีกทั้งยังให้ให้กระทรวงพลังงาน ศึกษาแนวทางสำหรับ ปรับโครงสร้าง pool gas เพื่อให้ราคาแก๊สธรรมชาติ ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าต่ำลง ให้ดำเนินการให้ทันสำหรับรอบเดือนกันยายนถึงดือนธันวาคม 2568           บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง ครม. อนุมัติปรับลดค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. 2025 ลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย โดยมีมุมมองเป็นกลาง การปรับลดค่าไฟฟ้าอยู่ในกรอบที่เราประเมินว่าภาครัฐมีโอกาสจะทำเพื่อตอบรับนโยบายลดค่าไฟ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการตัดการจ่ายคืนหนี้ EGAT และส่วนต่างมูลค่าก๊าซซึ่งมีโอกาสที่ค่าไฟจะอยู่ในช่วง 3.95-4.15 บาท/หน่วย อย่างไรก็ตามระยะสั้นอาจเป็น negative sentiment กับหุ้นโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง (BGRIM, GPSC) จากความคาดหวังที่ถูกลดทอนลง แม้การลดค่าไฟฟ้าจะยังคง cover ต้นทุนพลังงานและกระทบ margin จำกัด โดยเรายังคงน้ำหนัการลงทุนกลุ่มไฟฟ้า “เท่ากับตลาด” Top pick เลือก GUNKUL (ซื้อ/เป้า 5.00 บาท), CKP (ซื้อ/เป้า 4.00 บาท)           ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ครม. ตั้งเป้าลดค่าไฟฟ้าลงเหลือ 3.99 บาท/หน่วย ในช่วง พ.ค.–ส.ค. 2568มอบหมายให้ กฟผ., กกพ., และกระทรวงพลังงาน ไปจัดทำแนวทางลดค่าไฟแนวทางที่พิจารณา ได้แก่: 1) ปรับ สัญญา Adder/FIT ของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 2) ปรับค่า Availability Payment (AP) และ Energy Payment (EP) ของโรงไฟฟ้า IPPให้ศึกษาแนวทางสำหรับงวด ส.ค.–ธ.ค. โดยเน้นการ ปรับโครงสร้าง pool gas ไม่มีการพูดถึงให้ กฟผ. แบกรับภาระหนี้เพิ่มเติม           โดยรวมเป็น Negative sentiment ต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้งกลุ่ม- หุ้น SPP น่าจะรับข่าวล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว (เราใช้สมมติฐานค่าไฟ 3.95 บาท/หน่วย ขณะที่ตลาดใช้ 3.60–3.90 บาท) ระยะสั้นตลาดอาจมีแรงขายหุ้น SPP แต่หากดูจากแนวทางลดค่าไฟที่เสนอ IPP และ Renewable มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากกว่า

กกพ. ตรึงค่าเอฟที ลุ้น BGRIM ฟื้นตัว

กกพ. ตรึงค่าเอฟที ลุ้น BGRIM ฟื้นตัว

           หุ้นวิชั่น - กกพ. ประกาศตรึงค่าFtที่ 36.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.15 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 68 บล.ดาโอ ชี้ชัด! โอกาสรีบาวด์ของหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าอย่าง BGRIM – GPSC กำลังมา แต่ยังคงต้องจับตาความไม่แน่นอนจากฝั่งรัฐว่าจะเข้ามาช่วยกดค่าไฟมากกว่านี้หรือไม่ ช่วงนี้มองเป็น BGRIM จัดเป็นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้นน่าจับตา ราคาลงมาเยอะ ราคาเป้าหมาย 20 บาท            ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 12/2568 (ครั้งที่ 954) วันที่ 26 มีนาคม 2568 มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 คงเดิมที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอมา เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วยแล้ว ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 4.15 บาทต่อหน่วย เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน            ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. ได้เปิดรับฟังความเห็นผลการคำนวณค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 11 - 24 มีนาคม 2568 โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงความเห็นจำนวนทั้งสิ้น 33 ความเห็น แบ่งเป็นการแสดงความเห็นต่อค่าเอฟทีตามกรณีศึกษาที่ กกพ. เสนอรวมทั้งสิ้น 29 ความเห็น แสดงความเห็นโดยเสนอค่าเอฟทีอื่นๆ นอกเหนือจากกรณีศึกษารวม 3 ความเห็น และความเห็นในลักษณะข้อซักถามหรือคำถามอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับค่าเอฟทีจำนวน 1 ความเห็น            โดยสามารถสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นเป็นสัดส่วนร้อยละได้ ดังนี้ สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ. - เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 1 (ค่าเอฟที 137.39 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 21% - เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 2 (ค่าเอฟที 116.37 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 18% - เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 3 (ค่าเอฟที 36.72 สตางค์ต่อหน่วย) จำนวน 49%- ข้อเสนอค่าเอฟทีอื่นๆ นอกเหนือกรณีศึกษา จำนวน 9% - ข้อซักถามหรือคำถามอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับค่าเอฟที จำนวน 3% รวมทั้งสิ้น (33 ความเห็น) เป็น 100%            นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสำหรับล่าสุดที่ กกพ. มีมติคงค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2568 คงเดิมที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วยแล้ว ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 4.15 บาทต่อหน่วย เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน นั้นมองว่าเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับต้นทุนพลังงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เซอร์ไพร์ตลาดอะไรมากนัก แต่ก็สร้าง positive sentiment ให้โรงไฟฟ้า SPP เพราะกระทบ margin จำกัด ผ่อนคลายความกังวลระยะสั้น มีโอกาสเห็นการ rebound ของหุ้นที่เกี่ยวข้อง (BGRIM, GPSC)            อย่างไรก็ตามยังคงให้น้ำหนักการเข้ามาแทรกแซงค่าไฟจากภาครัฐอาจทำให้ค่าไฟฟ้าลดต่ำกว่านี้ (หากตัดการจ่ายคืนหนี้ EGAT และส่วนต่างมูลค่าก๊าซสามารถกดค่าไฟลงมาที่ระดับ 3.95 บาท หรือมากกว่าหากรัฐหาวิธีอื่นเพิ่มเติม) จึงยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อ (wait&see) โดยเรายังคงน้ำหนัการลงทุนกลุ่มไฟฟ้า “เท่ากับตลาด”            ทั้งนี้เลือก BGRIM เป็นหุ้นแนะนำเก็งกำไรระยะสั้น เพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาเยอะ และมีสัดส่วนลูกค้านิคมอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ได้ประโยชน์จากการลดความกดดัน ประเมินราคาเป้าหมาย 20 บาท

“กกพ.” เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีงวด พ.ค. - ส.ค. 68

“กกพ.” เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีงวด พ.ค. - ส.ค. 68

          “กกพ.” เสนอ 3 ทางเลือกค่าไฟงวด พ.ค. - ส.ค. 2568 ที่ 4.15 – 5.16 บาทต่อหน่วย ชี้หลายปัจจัยยังคงกดดันค่าไฟ ปริมาณความต้องการไฟฟ้าเพิ่มต่อเนื่อง ปริมาณไฟฟ้าพลังน้ำนำเข้าลดลงตามฤดูกาล แนวโน้มต้นทุนไฟฟ้าจากถ่านหินเพิ่มสูงขึ้น           ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ค่าเอฟทีในงวด พ.ค.- ส.ค. 2568 ยังคงมีภาระการชดเชยต้นทุนคงค้างที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐยังผันผวนจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐ และการระบายน้ำของเขื่อนในประเทศได้ลดลงในฤดูแล้ง แม้จะมีแผนเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแล้ว แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามสภาวะอากาศร้อน ทำให้ กกพ. ยังไม่สามารถประกาศปรับลดค่าเอฟทีลงได้           “ปัจจัยหลักๆ ยังคงเป็นภาระการชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับช่วงฤดูแล้งและอากาศที่ร้อนทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าต้นทุนต่ำลดลงตามฤดูกาล ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้ากลับเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยลบที่กดดันค่าเอฟที และไม่สามารถปรับลดค่าเอฟทีลงได้อีก” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว           ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนที่ กกพ. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อร่วมหาแนวทางใหม่เพิ่มเติม ในการปรับลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ กกพ.ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเพิ่มเติม ที่จะสามารถนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณา ค่าเอฟทีได้ทันตามวงรอบปกติของการพิจารณาค่าในงวด พ.ค.- ส.ค. 2568 ที่ถูกกำหนดให้ต้องทบทวนและ ค่าเอฟที และค่าไฟฟ้า ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 เดือนก่อนที่การประกาศจะมีผลบังคับใช้           ทั้งนี้ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันพุธที่ 5 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2568 แบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข ดังนี้           กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) และการคำนวณกรณีเรียกเก็บมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 ค่าเอฟทีขายปลีกเท่ากับ 137.39 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟทีที่สะท้อนแนวโน้ม (1) ต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำนวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย และ (2) เงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 71,740 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 99.98 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) จำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 21.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมจำนวน 121.00 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - ธันวาคม 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟทีขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.16 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากระดับ 4.15 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน           กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟที (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่าเอฟทีขายปลีกเท่ากับ 116.37 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่าเอฟทีที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำนวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 71,740 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 99.98 สตางค์ต่อหน่วย) โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟทีขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.95 บาท ต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากระดับ 4.15 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท           กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่าเอฟทีขายปลีกเท่ากับ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 จำนวน 16.39 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้จำนวน 14,590 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 20.33 สตางค์ต่อหน่วย) เพื่อนำไปพิจารณาทยอยคืนภาระค่า AF ให้แก่ กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างของราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับค่าก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บ เดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ในระบบของ กฟผ. ต่อไป โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2568 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 60,474 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมค่าเอฟทีขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงที่เท่ากับ 4.15 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน           “จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงจากงวดก่อนหน้า 0.91 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด ม.ค. - เม.ย. 68) เป็น 34.27 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. 2568 ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลดลงเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง โดยการไฟฟ้าได้ลดต้นทุนโดยซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศและการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังต้องจัดหานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) มากกว่าช่วงต้นปี โดยราคา LNG Spot ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณความต้องการในตลาดโลกมาอยู่ที่ 14.0 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ปัจจัยที่ยังไม่สามารถทำให้ค่าไฟลดลงได้ยังคงมาจากภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิงสะสมในช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าจะลดลงมากจากงวดก่อนหน้า แต่ภาระหนี้ที่มีอยู่ก็ยังอยู่ในระดับสูงและต้องได้รับการดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศด้วย” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว           ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลดลง แต่เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าที่ยังคงสูงอยู่ ส่งผลให้ค่าไฟในช่วงกลางปี 2568 นี้ อาจจะต้องปรับเพิ่มค่าค่าเอฟทีขึ้นสู่ระดับ 116.37 - 137.39 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อคืนหนี้คงค้างให้กับ กฟผ. และ ปตท. ซึ่งทำให้เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด พ.ค. - ส.ค. 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 4.95 - 5.16 บาทต่อหน่วย หรือหากตรึงค่าเอฟทีไว้ที่ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย โดยทยอยคืนหนี้คงค้างควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อการปรับค่าไฟฟ้าอย่างก้าวกระโดดเพื่อลดภาระของประชาชน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย เท่ากับปัจจุบัน           สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งานนปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 11 – 24 มีนาคม 2568 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

ครม.จ่อเคาะลดค่าไฟ  ส่อง 4 หุ้นค้าปลีกเด่น

ครม.จ่อเคาะลดค่าไฟ ส่อง 4 หุ้นค้าปลีกเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ทรีนีตี้ แนะนำติดตามผลการประชุมครม.ว่าจะมีการพิจารณามาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชนหรือไม่ อย่างไร           โดยอาจเป็นแนวทางปรับลดค่าไฟ 17 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบัน (ม.ค.- เม.ย.2568) ราคา 4.15 บาท เหลือเพียง 3.98 บาท ซึ่งต่ำกว่า 4บาท ตามที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยระบุไว้ว่ามีช่องทางที่สามารถทำได้           อย่างไรก็ดี หากเกิดขึ้นจริงมองว่าคงจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP เช่น GPSC และ BGRIM มากแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นกลุ่มนี้ได้ปรับตัวลงมารับข่าวการลดค่าไฟไปมากแล้ว           ในทางกลับกัน มองเป็น Sentiment เชิงบวกเล็กๆต่อกลุ่มภาคบริการโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL,CPAXT, BJC, CRC เป็นต้น

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

‘พีระพันธุ์’ เร่งหาวิธีปรับลดค่าไฟ ยืนยันแนวทาง กกพ. ทำไม่ได้

‘พีระพันธุ์’ เร่งหาวิธีปรับลดค่าไฟ ยืนยันแนวทาง กกพ. ทำไม่ได้

          วันนี้ (19 ก.พ. 68) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมกับเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. และตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการลดค่าไฟ รวมทั้งกรณีที่ กกพ. เสนอให้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทบทวนเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ซึ่งได้รับการต่อสัญญาและให้ได้รับการอุดหนุนส่วนต่างต้นทุน (Adder) รวมทั้งมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน(เอฟไอที) จากผู้ผลิตไฟฟ้า เพื่อจะให้ค่าไฟสามารถปรับลดลงได้อีก 17 สตางค์ โดยที่ประชุมเห็นว่าไม่สามารถทำได้ตามแนวทางที่ กกพ.เสนอ เนื่องจากเป็นเรื่องของข้อผูกพันทางสัญญาไม่ใช่เรื่องระเบียบ กกพ. ซึ่งเลขาธิการ กกพ. รับทราบและเข้าใจข้อกฎหมายแล้ว โดยจะนำไปแจ้งให้คณะกรรมการ กกพ. ทราบต่อไป           ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีข้อสรุปจากผู้แทนสำนักงานกฤษฎีกาว่า ข้อเสนอของ กกพ. เพื่อปรับลดค่าไฟในแนวทางนี้ไม่สามารถทำได้ และ รมว.พลังงาน ได้ขอให้ทาง กกพ. พิจารณาและทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อไม่ได้เกิดความสับสนในเรื่องดังกล่าว           นายพีระพันธุ์ยังเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลกำลังพิจารณาหาแนวทางที่จะปรับลดค่าไฟงวดต่อไปอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะแนวทางการปรับปรุงระบบ Pool Gas ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชน

เปิด 5 นโยบาย พลังงานต้องทำ ปี 2568

เปิด 5 นโยบาย พลังงานต้องทำ ปี 2568

          หุ้นวิชั่น - ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมผู้บริหารระดับสูง เผยผลงานสำคัญ ปี 2567 พร้อมแผนงานด้านพลังงานปี 68 ยังคงมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมปรับโครงสร้างราคาพลังงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เร่งเดินหน้าผลิตพลังงานสะอาด           วันนี้ (27 มกราคม 2568) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน นำคณะผู้บริหารแถลงผลงานกระทรวงพลังงานปี 2567 และแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2568 ภายใต้หัวข้อ ”New Chapter เปิดศักราชใหม่พลังงานไทย จาก ภาพฉาย สู่ ภาพชัด” โดยได้กล่าวว่า การดำเนินการในช่วงปี 2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่ทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านราคาพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากสถานการณ์สงครามในต่างประเทศที่ยืดเยื้อส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกผันผวน แต่ก็ถือว่าสถานการณ์ผ่อนคลายมากกว่าเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานยังคงออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ผ่านมาตรการการตรึงราคาค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และ NGV รวมทั้งการปรับใช้ราคา Pool Gas การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ ทำให้ราคาพลังงานภายในประเทศอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อลดภาระหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งหลายๆ มาตรการก็เกิดจากการบริหารจัดการและระดมสมองจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด ทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน           ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดนโยบาย โดยมุ่งเน้น “ประชาชนและประเทศ” เป็นสำคัญ ผ่าน 3 เป้าหมายการขับเคลื่อนด้านพลังงาน ประกอบด้วย 1) ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน 2) พลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนทั่วประเทศ และ 3) พลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ที่หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกมุ่งหาพลังงานสะอาด           โดยกุญแจสำคัญในการทำให้แผนการขับเคลื่อนด้านพลังงานมีความชัดเจน จากภาพฉายกลายเป็นภาพชัดให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรม กระทรวงพลังงานได้วางกรอบ 5 นโยบายสำคัญ ได้แก่ 1) การจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ในประเทศ โดยจะเร่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล 2) บริหารจัดการระบบพลังงานให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเพื่อรองรับพลังงานทุกรูปแบบ ทั้งการพัฒนาระบบสำรองเชื้อเพลิงและการตรวจสอบปริมาณสำรอง การพัฒนาระบบ Smart Grid การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาระบบ SPR และการยกระดับระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตแบบกระจายศูนย์ 3) ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงาน กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน เร่งขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อเปิดรับการลงทุนจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Data Center ผ่านมาตรการเช่น Direct PPA, UGT และการปรับแผน PDP ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น 4) เตรียมเสนอมาตรการด้านพลังงานสีเขียว ส่งเสริมการติดตั้ง Solar Roof ผลักดันมาตรการทางภาษี การลดขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้ง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง ก็จะเป็นอีกตัวช่วยในการลดฝุ่น PM2.5 และ 5) สนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ ทั้งพลังงานไฮโดรเจน การปรับเปลี่ยนเอทานอลมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันเครื่องบินหรือ SAF การพัฒนาการกักเก็บ CO2           “จากผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2567 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินทุกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้พลังงาน ส่วนในปี 2568 นี้ กระทรวงพลังงานจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ “ภาพฉาย กลายเป็น ภาพชัด” ให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงการบริหารจัดการภาคพลังงานของกระทรวงพลังงาน ทั้งการปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน การสร้างความมั่งคงทางด้านพลังงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาและปรับแก้กฎหมายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต การทำให้ประชาชนเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นนโยบายที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานได้เตรียมดำเนินการอย่างเต็มความสามารถ ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกัน ช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตด้านพลังงานในหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจะปฏิบัติตามแผนในปี 2568 เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่งคงด้านพลังงานไปพร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมุ่งสู่เป้าหมายพลังงานสะอาดต่อไป” นายประเสริฐ กล่าว ผลการดำเนินงานปี 2567 และแผนการดำเนินงานปี 2568 ราย กรมสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน           นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา สนพ. ได้ปฏิบัติภารกิจงานด้านการวางแผนนโยบายพลังงานภายใต้หลักคิด (1) ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) สนพ. ได้จัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า พัฒนา EV Data Platform และส่งเสริมการใช้ EV ในภาคราชการ โดยในเดือนมิถุนายน 2567 สนพ. ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP2024) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan2024) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำความเห็นที่ได้จากการ Public hearing ไปปรับปรุงเพื่อเสนอ กพช. พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ สนพ. ยังได้เสนอข้อสรุปผลการดำเนินโครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลด หรือ Demand response (DR) ปี 2566 และแนวทางพัฒนาแหล่งทรัพยากร DR ในระยะแรกปี 2567 – 2569 เพื่อตอบสนองการใช้ไฟฟ้าของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (2) ด้านการดูแลราคาพลังงาน (Economics) สนพ. ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ กำหนดราคา Pool Gas ราคาเดียว (Single Pool) และทบทวนค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ (ค่าผ่านท่อก๊าซ) ซึ่งช่วยให้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และ NGV ลดลง           นอกจากนี้ สนพ. ยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของไทย และนำเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคาพลังงาน ได้แก่ การรักษาระดับค่าไฟฟ้าปี 2567 ที่ 4.18 บาท/หน่วย และช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง การคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG เพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ 423 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ต่อเนื่องมามากกว่า 2 ปี และการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 33 บาท/ลิตร สำหรับ (3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability) สนพ. มีนโยบายที่คำนึงถึงพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่อง Direct PPA ไม่เกิน 2,000 MW สำหรับธุรกิจ Data Center ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งช่วยส่งเสริมนโยบายรัฐบาลในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น           ในปี 2568 สนพ. ยังคงเดินหน้าสานต่อภารกิจที่ทำในปี 2567 ทั้งในส่วนของความมั่นคงด้านพลังงาน และ การดูแลราคาพลังงานให้มีความเหมาะสมกับประชาชน โดยมีงานสำคัญคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ การปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมทั้งในส่วนของโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และ โครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2569 – 2573 เป็นต้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน           นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า การดำเนินงานของ พพ. ในปี 2567 ได้สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ ติดตั้งโซลาร์ช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ทุรกันดาร รวม 595 แห่ง 1,588 ระบบ,ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังน้ำกว่า 235 ครัวเรือน, กำกับและส่งเสริมให้มีการลดใช้พลังงานในโรงงานอาคารได้กว่า 7,583 ล้านบาท, ถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระดับครัวเรือน ชุมชน กว่า 24,606 คน และพัฒนาหลักสูตรด้านพลังงานเพื่อสร้างบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงาน และในปี 2568 นั้น พพ. ยังคงเดินหน้าพลังงานสะอาดให้มากขึ้นและลดใช้พลังงานอย่างเข้มข้น ยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านการสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงาน อาทิ ด้านความมั่นคง : พัฒนากฎหมายเพิ่มการเข้าถึงพลังงานสะอาดให้คล่องตัวขึ้น ให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลมีไฟฟ้าใช้จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านเศรษฐกิจ : เร่งผลักดันมาตรการทางภาษีส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน, ด้านความยั่งยืน : ยกระดับมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน พร้อมเร่งรัดจัดการเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนเพื่อลดปัญหา PM2.5 เป็นต้น กรมธุรกิจพลังงาน           นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานในปี 2567 โดยภาพรวมได้ดำเนินการปรับปรุงอัตราการสำรองน้ำมันดิบ จาก 5% เป็น 6% ควบคู่กับการศึกษารูปแบบการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ขับเคลื่อนการออกกฎหมายรับแจ้งข้อมูลนำเข้า-ส่งออกน้ำมัน ประสานความร่วมมือกับ กกพ. กฟน. และ กฟภ. ในการกำหนดกรอบระยะเวลาการอนุมัติอนุญาตและมาตรฐานการติดตั้ง Charging Station ภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง มีการปรับลดชนิดน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว เหลือ 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็วเกรดพื้นฐาน (บี7) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อีกทั้งได้ร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้การขนส่งน้ำมันทางท่อเป็นโลจิสติกส์หลักของประเทศ และได้แก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายสถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ให้เอื้อต่อการเก็บสำรองน้ำมันเพื่อใช้สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการเป็นดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุงบัตรประจำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์           รวมถึงได้ขับเคลื่อนการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ผ่านการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ อาทิ ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) รวมถึงน้ำมันเตาชีวภาพกำมะถันต่ำมาก สำหรับแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2568 จะมีการนำร่องการเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณน้ำมันสำรองผ่าน API Gateway เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และจะขยายการให้บริการระบบอนุมัติอนุญาตแบบออนไลน์ไปยังส่วนภูมิภาค อีกทั้งจะออกมาตรฐานความปลอดภัยของเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แอมโมเนีย และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของ SAF เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยในการใช้เชื้อเพลิง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ           นายวรากร พรหโมบล อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่าในส่วนของผลการดำเนินงานปี 2567 ที่สำคัญของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติคือการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และส่งเสริมให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สำหรับแปลงสำรวจบนบก (ครั้งที่ 25) ซึ่งขณะนี้ได้ลงนามในประกาศเชิญชวนการเปิดให้ยื่นขอสิทธิฯ เรียบร้อยแล้ว และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะได้เร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งสามารถกำกับ ดูแล สนับสนุนให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแปลง G1/61 และ G2/61 ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาที่อัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามลำดับ นอกจากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังมีการดำเนินงานให้ได้มีการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมของแปลง B8/38 ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ 4,000 บาร์เรลต่อวัน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการต่อระยะเวลาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ด้วยแล้ว นอกจากการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน CCS เพื่อสนับสนุนนโยบายในการให้ประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยการจัดทำโครงการศึกษากฎระเบียบและโครงการนำร่อง CCS ในแหล่งอาทิตย์ ทะเลอ่าวไทย เพื่อรองรับการดำเนินงานด้าน CCS ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับในปี 2568 กรมฯ มีแผนงานสำคัญคือการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สำหรับแปลงสำรวจในทะเลอันดามัน (รอบที่ 26) การเร่งรัดการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมในแปลงที่ใกล้สิ้นสุดอายุทั้งในประเทศและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ประกอบกับส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งผลักดันการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี CCS สำหรับโครงการนำร่องพื้นที่อ่าวไทยตอนบนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รัฐจ่อลดค่าไฟฟ้า CPALL – CPAXT – DOHOME รับอานิสงส์

รัฐจ่อลดค่าไฟฟ้า CPALL – CPAXT – DOHOME รับอานิสงส์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุว่าตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลอาจมีการปรับลดราคาค่าไฟฟ้าอีกครั้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2025 เป็นต้นไป มุมมองของนักวิเคราะห์คือสามารถลดราคาลงเหลือ 3.85 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าปี 2025F ต่ำกว่าปี 2024F ถึง 6.1% ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่ม upside ให้กับกำไรปี 2025F ของเราที่ 0.9-4.7% อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลปรับลดเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย (ตามแถลงการณ์ก่อนหน้านี้, -8.8% yoy) upside อาจเพิ่มขึ้นเป็น 1.3%-6.7% ในทั้ง 2 สถานการณ์ผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดอาจเป็น CPALL (4.7%-6.7%) ตามมาด้วย CPAXT (3.5%-5.1%) และ DOHOME (3.1%-4.4%) CPALL (TP 70) และ HMPRO (TP 13.50) เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มนี้ ทั้งสองบริษัทอาจเห็นยอดขายสาขาเดิม (SSSG) เติบโตในเชิงบวกในปี 2025 และมีการประเมินมูลค่าที่น่าสนใจที่ 17x ถึง 19x, -1.5 ถึง -2SD จากค่าเฉลี่ยระยะยาว ลดค่าไฟฟ้าจากพฤษภาคมเป็นต้นไป           ในความพยายามที่จะลดต้นทุนการครองชีพ รัฐบาลได้ลดราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยลง 0.03 บาท เหลือ 4.15 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 และยังระบุด้วยว่าสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้อีกเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2025 เป็นต้นไป เนื่องจากการขาดทุนหนัก หากค่าไฟฟ้าลดเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย เราคาดว่าสามารถลดลงเหลือ 3.85 บาทต่อหน่วย แม้ว่ายังคงมีความไม่แน่นอนอยู่มาก แต่เราคาดว่าค่าไฟฟ้าทุกๆ 0.10 บาทต่อหน่วยที่ลดลง อาจช่วยเพิ่ม upside ให้กับกำไรของภาคธุรกิจในปี 2025F ได้ที่ 0.4%-1.8% SSSG เป็นบวกในปี 2025           ประเมินว่า SSSG ในปี 2025 อาจฟื้นตัวจากระดับปี 2024 และอยู่ระหว่าง 2%-5% ในปี 2025 ซึ่งอาจได้รับแรงหนุนจาก: 1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเพิ่มเติม (โดยเฉพาะการแจกเงินสดเพิ่มเติม 10,000 บาท) และ 2) การเติบโตของ GDP ที่ดีขึ้นในปี 2025F เราหันมามองเชิงบวกมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ราคาหุ้นยังเป็น laggards เนื่องจากคาดว่า SSSG ของพวกเขาจะเปลี่ยนเป็นบวกจากลบในปี 2024 (รูปที่ 3) และอาจเป็นผลดีต่อราคาหุ้น ความเสี่ยงหลักคือการบริโภคที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด           ความเสี่ยงหลักคือการฟื้นตัวของการบริโภคช้ากว่าคาด หุ้นเด่นคือ: 1) CPALL (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 70 บาท) เนื่องจากได้ประโยชน์หลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และ 2) HMPRO (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย TP 13.50 บาท) เนื่องจาก valuation ที่ -2SD ในขณะที่ SSSG อาจกลับมาเป็นบวกที่ +2% ในปี 2025F จาก -3.6% ในปี 2024F และเป็น positive catalyst

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ค่าไฟลดทันที 0.17 - 3.70 บ. ต้องรอ

ค่าไฟลดทันที 0.17 - 3.70 บ. ต้องรอ

          หุ้นวิชั่น - กกพ. ชี้แนวทางลดค่าไฟฟ้าได้ทันที 0.17 บ.หากปรับโครงสร้างค่าไฟ ลด Adder และ FiT หวังลดภาระประชาชน หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.15 บาท ลดเหลือ 3.98 บาท   จะประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน 33,150 ล้านบาท  แต่จะหากจะลดค่าไฟไป 3.70 บาท ต้องดูเรื่องต้นทุนประกอบ ส่วนลดค่าAP ต้องเจรจากับเอกชน เพราะมีผลต่อมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ           ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 2/2568 (ครั้งที่ 943) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอทางเลือกให้ภาคนโยบายทบทวนและปรับปรุง เงื่อนไขการสนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ Feed in Tariff (FiT) ผ่านการอุดหนุนราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุน Adder และ Feed in Tariff (FiT) สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และทำให้ค่าไฟสามารถปรับลดลงได้ทันทีประมาณหน่วยละ 17 สตางค์ จากค่าไฟฟ้าในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ 4.15 บาท โดยคาดหวังว่าจะสามารถลดภาระค่าครองชีพให้กับพี่น้องประชาชนอีกทางหนึ่ง           “ก่อนหน้านี้ในช่วงวิกฤตการณ์ราคาพลังงาน 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้ามีราคาที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และ กกพ. เองก็ได้รับมอบหมายจากภาคนโยบายให้ทำการศึกษาทบทวนมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้า เพื่อลดค่าครองชีพให้พี่น้องประชาชน ซึ่ง กกพ. ได้นำเสนอมาตรการในหลายๆ ทางเลือกเพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า และทางเลือกหนึ่งในขณะนั้นคือ การทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า SPP และ VSPP พลังงานหมุนเวียน ตอนนี้ กกพ. เห็นว่า ปัจจุบันสถานการณ์เหมาะสม จึงได้หยิบยกขึ้นมาหารือ และให้สำนักงาน กกพ. นำเสนอภาคนโยบายเพื่อทบทวนและเป็นทางเลือกในการลดค่าไฟให้พี่น้องประชาชนได้อีกทางหนึ่ง” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว           ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา การรับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น เมื่อครบกำหนดอายุสัญญารับซื้อไฟก็ได้รับการต่อสัญญาในเงื่อนไขเดิมและให้ได้รับการอุดหนุนราคารับซื้อมาอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายเดิมที่ต้องการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และรองรับปริมาณความต้องการเพิ่มปริมาณไฟฟ้าสะอาดเข้ามาในระบบให้มากขึ้น ปัจจุบันผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อม สามารถรับมือกับการแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าได้ดี ท่ามกลางการแข่งขันและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่ทำให้เกิดการลดลงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอให้ทบทวนเงื่อนไขการรับซื้อดังกล่าว           ช่วงต้นปี 2565 เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวพุ่งสูงขึ้นเกือบ 6 เท่าตัว กกพ.แก้ปัญหาเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าหลายประการ และมีประการหนึ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการนั่นคือ กกพ. มีมติเมื่อเดือนตุลาคม 2565 เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตามมาตรา 11(12) โดยขอให้ฝ่ายนโยบายจัดการกับต้นทุนค่าไฟฟ้าในส่วนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ (Policy Expense) อันประกอบด้วย โครงการ Adder และ Feed in Tariff (FiT) ซึ่งมีต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าสูงกว่าราคาต้นทุนจริงในภาวะปัจจุบัน และโครงการผลิตไฟฟ้าแบบ Adder เหล่านี้ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา เป็นเหตุให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น และเป็นหน้าที่ กกพ. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มาตรา 65(1) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า           “ภายใต้นโยบายและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตแต่ละประเภท โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้           (1) ควรสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงและคำนึงถึงผลตอบแทนที่เหมาะสมของการลงทุนของการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ” หากมีการปรับปรุงราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ Feed in Tariff ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รับซื้อในอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งหน่วยละ 3.1617 บาท บวกกับค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หน่วยละ 8 บาท (10 ปี) รวมแล้วเป็นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 11.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าอัตรารับซื้อที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คำนวณไว้ในโครงการการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 และในส่วนเพิ่มเติม พ.ศ. 2567 หน่วยละ 2.1679 บาท หลายเท่าตัวหรือมีส่วนต่างหน่วยละ 8.9938 บาท หากนำส่วนต่างนี้ออกไปจากสูตรคำนวณค่าไฟฟ้า ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงทันที และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการด้วย 2 เหตุผลคือ ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าผ่านจุดคุ้มทุนแบบ Adder และได้รับค่าตอบแทนจากโครงการพอสมควร จึงควรปรับค่าไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การรับซื้อไฟฟ้าในอดีตหน่วยละ 11.1617 บาท เนื่องจากอุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนสูง แต่ในปัจจุบันราคาอุปกรณ์ดังกล่าวลดลงมาก ราคาไฟฟ้าที่รัฐรับซื้อควรลดลงตามมาด้วยเช่นกัน หรือแม้โครงการผ่าน 10 ปีและเงินอุดหนุน 8 บาทหมดไปแล้ว แต่ราคารับซื้อก็ยังอยู่ที่ 3.1617 บาท ซึ่งแพงกว่าราคาที่ สนพ. คำนวณในปี 2565 หน่วยละ 2.1679 บาท ซึ่งมีส่วนต่างเป็นเงินหน่วยละ 0.9938 บาท ถือเป็นกำไรที่ผู้ประกอบการไม่ควรได้รับ ประการสำคัญสัญญารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มนี้ระบุว่าให้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ หมายความว่า ไม่มีวันสิ้นสุดสัญญา หากไม่มีการปรับปรุงอัตราการรับซื้อไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ผู้ประกอบกิจการก็จะได้กำไรเกินควร อันเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนโดยไม่มีวันสิ้นสุด           จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือนมกราคม - เมษายน 2568 ได้ระบุค่าใช้จ่ายภาครัฐ (Policy Expense) จากการรับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ FiT รวมอยู่ในค่าไฟฟ้าหน่วยละ 17 สตางค์ หากคณะรัฐมนตรีหรือ กพช. กำหนดนโยบายปรับค่าไฟฟ้ารับซื้อในส่วนนี้ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ก็จะลดค่าไฟฟ้าได้ทันที่ 17 สตางค์ หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.15 บาท ก็จะลดลงเหลือหน่วยละ 3.98 บาท จากประมาณการตลอดทั้งปี 2568 คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้า 195,000 ล้านหน่วย หากลดได้หน่วยละ 17 สตางค์ จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนได้ 33,150 ล้านบาท           ทั้งนี้หาก จะลดค่าไฟฟ้าไปถึง 3.70 บาท อาจจะต้องดำเนินการหลายส่วนเพิ่มเช่นการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิง โดยการหาแนวทางอย่างเช่น สัญญาก๊าซธรรมชาติ อาจจะมีการปรับสัญญาจาก Spot เป็นสัญญาระกลางถึงยาว เพื่อให้สามารถเจรจาต้นทุนที่ถูกลงทุน หรือใช้แหล่งก๊าซธรรมชาติจากในประเทศมากขึ้น           ด้าน นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา กรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า กรณีมีการแพร่ข่าวให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ใช้เทคนิคการสื่อสารด้วยการนำผลกระทบมาสร้างความน่าสนใจ (Interesting) โดยบิดเบือนว่าการจัดหาไฟฟ้าราคาหน่วยละ 2.1679 บาท จะทำให้ค่าไฟฟ้าตามบ้านเรือนแพง เมื่อประชาชนได้ยินว่า “ค่าไฟฟ้าแพง” จึงเกิดความสนใจและติดตามเรื่องนี้ และแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน จนการดำเนินโครงการประสบปัญหา ส่วนผู้บิดเบือนข้อเท็จจริงจะมีวัตถุประสงค์อื่นใด ผมไม่ทราบ เพียงแต่เกรงว่า การบิดเบือนข้อเท็จจริงดังกล่าวจะทำให้ประชาชนซึ่งมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว เกิดความวิตกกังวล ทั้งๆ ที่เรื่องดังกล่าวปราศจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง และอาจทำให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รับทราบข้อความบิดเบือนแล้วเกิดความไม่มั่นใจต่อการจัดเตรียมไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดไว้รองรับการลงทุน และเปลี่ยนแผนการลงทุนไปประเทศอื่น อันจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผมจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้ การได้มาซึ่งไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.1 การรับซื้อไฟฟ้า มาจากฝ่ายนโยบายที่กำหนดปริมาณรับซื้อ ราคารับซื้อ ประเภทเชื้อเพลิงและวิธีการจัดหา ฉะนั้นต้นทุนรับซื้อไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับส่วนนี้ 1.2 การขายไฟฟ้าให้ประชาชน อยู่ภายใต้การกำกับของ กกพ. ซึ่งมีหน้าที่นำต้นทุนด้านต่างๆ มาคำนวณและตัดทอนต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป ที่ผ่านมา กกพ. ตัดทอนค่าก๊าซโดยเรียกคืนมูลค่า Shortfall เกือบ 2 หมื่นล้านบาท เอามาลดค่าไฟฟ้า ลดค่าบริการในบิลค่าไฟฟ้า เดือนละ 39 บาท เหลือ 24 บาท ลดค่าบริการผ่านท่อก๊าซ จากข้อเท็จจริงนี้ขอสรุปว่า ราคารับซื้อไฟฟ้า 2.1679 บาท เป็นการดำเนินงานของฝ่ายนโยบาย (2) การรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 2.1679 บาท ไม่ได้ทำให้ค่าไฟบ้านแพงหรือไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพราะไฟฟ้าในส่วนนี้ผลิตมาเพื่อขายให้กับนักลงทุนที่ต้องการใช้พลังงานสะอาดและมีอัตราที่สูงกว่าไฟบ้าน ฉะนั้นแม้ยกเลิกการรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 2.1679 บาทไปแล้ว ไม่ได้ทำให้ค่าไฟบ้านถูกลง เพราะค่าไฟฟ้าจากกลุ่ม Adder และ FiT ซึ่งมีราคาหน่วยละ 3.1617 ถึง 11.1617 บาท ฝังอยู่กับค่าไฟบ้าน ส่วนอัตราค่าไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ กกพ.จัดหาไปแล้วนั้น ไปคิดกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองส่วนนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องของราคาค่าไฟ (3) จากตัวเลขต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าตามประเภทเชื้อเพลิง (Generation Mixed) เช่น ลิกไนต์ 1.52 บาท น้ำ 1.45 บาท ก๊าซ 3.18 บาท เป็นต้น เมื่อนำราคาทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย พบว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.02 บาท ดังนั้น การนำไฟฟ้าที่มีราคารับซื้อต่ำกว่า 3.02 บาทเข้าระบบ ก็จะทำราคาค่าไฟเฉลี่ยลดลง ในทางตรงกันข้าม หากนำไฟฟ้าที่มีต้นทุนการรับซื้อสูงกว่า 3.02 บาทมาเพิ่มในระบบ ก็จะทำให้ราคาค่าไฟเฉลี่ยสูงขึ้น ตัวเลขนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่า ควรจัดการกับ Adder กับ Feed in Tariff ซึ่งมีต้นทุนตั้งแต่ 3.1617 ถึง 11.1617 บาทโดยเร็ว และจัดหาไฟฟ้าที่มีราคาต่ำกว่า 3.02 บาท เพื่อให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ           ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมถึง  แนวโน้มราคาค่าไฟฟ้ารอบถัดไป น่าจะมีสัญญาณที่ดี จากสภาพอากาศที่มีความเย็นทำให้การใช้ไฟฟ้าน้อยลง  ส่วนค่าก๊าซธรรมชาติก็อาจจะไม่ถูกลงมากนัก ยังคงต้องติดตาม ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปี 2567           ประเด็นการลดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าของเอกชน ยังต้องการการเจรจาในรายละเอียด เนื่องจากค่าความพร้อมจ่ายมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ แม้ในบางช่วงโรงไฟฟ้าอาจไม่ได้เดินเครื่อง แต่หากไม่มีความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราสำรองไฟฟ้ากว่า 30% แต่ด้วยการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าปีละกว่า 3% ในระยะยาว หากไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ หรือปรับปรุงโครงสร้างการสำรองไฟ อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในอนาคต ทั้งนี้ การพิจารณาปรับลดค่าความพร้อมจ่ายจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้สมดุลระหว่างต้นทุนและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ           ส่วนโครงการประมูล รับซื้อไฟฟ้าประมาณ 2,100 เมกกะวัตต์ ที่มีการให้สิทธิคนที่เคยเข้าประมูล 5,200 เมกะวัตต์ นั้น โดยฝั่งกกพ.ยินดีน้อมรับ และรอนโนบายจากทางภาครัฐในการดำเนินการต่อ

[Vision Exclusive] ทุบค่าไฟ 3.70บ.เป็นไปได้ เอกชนขอความเป็นธรรม

[Vision Exclusive] ทุบค่าไฟ 3.70บ.เป็นไปได้ เอกชนขอความเป็นธรรม

          อดีตนายกฯ ทักษิณ ชี้เป้าลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาท ผู้เชี่ยวชาญชี้เป็นไปได้แต่ต้องจัดการหนี้ EGAT และลดงบฯ ซึ่งอาจกระทบคุณภาพบริการของการไฟฟ้า ด้านเอกชนเข้าใจนโยบายช่วยประชาชน แต่ขอความเป็นธรรมและสนับสนุนต้นทุนก๊าซ พร้อมเตือนว่าหากนโยบายขาดความสมดุล อาจทำให้เกิดการย้ายการลงทุนไปต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสด้านพลังงานในระยะยาว           กลุ่มโรงไฟฟ้า หนาวๆ ร้อนๆ หลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยระหว่างลงพื้นที่หาเสียงให้ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย เรื่องไฟฟ้า ปีนี้ค่าไฟฟ้าจะต้องลงไปอยู่ที่เลข 3 ไม่ใช่เลข 4 ใจตนอยากให้เหลือหน่วยละ 3.50 บาท แต่คงได้แค่ 3.70 บาท กำลังให้เขาช่วยทุบอยู่ ปีนี้ค่าไฟลงแน่เห็นตัวเลขแล้วทุบได้           ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า เรื่องการลดค่าไฟฟ้ายังต้องมาศึกษารายละเอียดกันอีกที ยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้           แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมพลังงานเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นการปรับลดค่าไฟฟ้าลงมาถึงระดับ 3.70 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันที่ 4.15 บาทสำหรับงวดม.ค.-เม.ย. 2568 นั้นหากพิจารณาก็มีความเป็นไปได้ โดยจะต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งปัจจุบันมียอดหนี้ค้างค่าไฟอยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท หากรัฐนำภาระหนี้ดังกล่าวไปบริหารจัดการเอง วิธีนี้จะช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลงได้           นอกจากนี้ การสนับสนุนโรงไฟฟ้าที่ได้รับสัญญาสัมปทานในรูปแบบ Adder ซึ่งกำลังจะหมดอายุลงก็จะช่วยลดภาระการสนับสนุนในส่วนนี้ด้วย ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาอยู่ในช่วง 3.80-3.90 บาทต่อหน่วยได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดค่าไฟฟ้าให้ต่ำกว่าระดับดังกล่าว หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่งอาจต้องลดงบประมาณในโครงการบางส่วนหรือปรับลดค่าใช้จ่ายในบางด้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการโดยรวม ทั้งนี้ การตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับประเด็นด้านคุณภาพการบริหารจัดการและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ           สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าเอกชน พบว่าโรงไฟฟ้าประเภท IPP (Independent Power Producer) หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ยังไม่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ เนื่องจากสัญญาระหว่างโรงไฟฟ้าเอกชนและภาครัฐยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ อีกทั้งยังต้องจ่ายค่า AP หรือ ค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งเป็นค่าที่ภาครัฐจ่ายให้เพื่อให้โรงไฟฟ้าเตรียมพร้อมเดินเครื่องสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าตามความต้องการ ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย           ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภท SPP หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจได้รับผลกระทบมากกว่า โดยที่ผ่านมาโรงไฟฟ้า SPP มักได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ไม่ต้องเสียค่าสายส่ง เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพสำหรับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับลดค่าไฟฟ้าในภาพรวม โรงไฟฟ้า SPP อาจจำเป็นต้องปรับราคาซื้อขายไฟฟ้าในระบบตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังคงต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปว่าจะมีการดำเนินการในทิศทางใดต่อการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าในภาพรวม           ขณะที่ บริษัทโรงไฟฟ้าเอกชนแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการลดค่าไฟฟ้าว่า ภาคเอกชนเข้าใจถึงความจำเป็นของภาครัฐในการลดภาระค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม เอกชนต้องการให้ภาครัฐพิจารณาอย่างเป็นธรรมและให้ความช่วยเหลือในด้านต้นทุน เช่น ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากโรงไฟฟ้าถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ           ทั้งนี้ หากภาคเอกชนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเชิงนโยบาย อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเลือกกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาและขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือที่สมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบพลังงานของประเทศ           ในด้านมุมมอง นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุถึง การลดค่าไฟทั่วประเทศเหลือ 3.70 บาท มีความซับซ้อนและใช้งบประมาณมหาศาล จึงมีแนวโน้มที่นโยบายนี้จะไม่เกิดขึ้นในลักษณะ "Across the Board"  ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลอาจเลือกช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย ซึ่งจะกระทบโครงสร้างพลังงานน้อย  หากการลดค่าไฟเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือเป็นการปรับลดผ่านโครงสร้างราคาก๊าซ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อกำไรของ SPP โดย ค่าไฟงวดใหม่ อาจประกาศช่วงต้นเม.ย. ซึ่งเกิดหลังเลือกตั้ง อบจ. อาจสะท้อนนโยบายที่สมดุลและเป็นไปได้มากกว่า ความกังวลระยะสั้นอาจเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน หากหุ้นกลุ่มนี้ถูกปรับฐานลงแรงเกินไปจากข่าว           ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดว่าอาจมีความเป็นไปได้ไม่มากที่รัฐบาลจะปรับลดค่าไฟฟ้า เนื่องจาก EGAT ได้แบกรับภาระค่า Ft เกือบ 1 แสนล้านบาทแล้ว และการปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอจะเพิ่มภาระดังกล่าวอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท และทำให้การชำระหนี้ของ EGAT ล่าช้าออกไปนานกว่าสองปี นอกจากนี้ เราคาดการณ์ว่าต้นทุนค่าก๊าซจะลดลง 3-6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ประมาณ 330 บาท/mmBTU ในปี 2025 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการลดลงของค่าไฟฟ้าที่เสนอ (-11% จากงวด ม.ค.-เม.ย. 2025) ความแตกต่างนี้จะกดดันอัตรากำไร IU ของหุ้นกลุ่ม SPP มากยิ่งขึ้น หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลดค่า Ft ลง 1 สตางค์ต่อหน่วย จะลดกำไรของ BGRIM ลง 1.4% จากกรณีฐาน และ GPSC ลดลง 1.1% ส่วน GULF จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากสัดส่วนของ SPP ไม่สูงมาก (คิดเป็น 17% ของกำลังการผลิตส่วนของบริษัทที่ติดตั้งทั้งหมด ณ ต.ค. 2567) ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติม และต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายคงที่ การปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอที่ 3.70 บาท จะลดราคาเป้าหมายสำหรับ GPSC และ BGRIM ลงประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่เสนอจะต่ำกว่าค่าไฟฟ้าฐานปัจจุบันที่ 3.78 บาท และการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในค่าไฟฟ้าฐานต้องได้รับการอนุมัติและประกาศจากทั้ง ERC และ EGAT นอกจากนี้ หากรัฐบาลมีเงินอุดหนุนต้นทุนค่าก๊าซ จะช่วยจำกัดผลกระทบด้านลบต่อราคาเป้าหมาย โดยเฉพาะหากเงินอุดหนุนดังกล่าวสามารถลดต้นทุนก๊าซลงเหลือ 305 บาท/mmBTU (ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน) ก็จะไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไร IU (กรณีฐาน)           ยังคงคำแนะนำ "Neutral" สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม Utilities และคำแนะนำ "Trading Buy" สำหรับ BGRIM, GPSC และ GULF รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว

“กกพ.” หนุนลดค่าไฟช่วยค่าครองชีพประชาชน

“กกพ.” หนุนลดค่าไฟช่วยค่าครองชีพประชาชน

         หุ้นวิชั่น - ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม ครั้งที่ 52/2567 (ครั้งที่ 937) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 กกพ. มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที และได้พิจารณากรณีศึกษา การปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2568 และมีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเรียกเก็บเท่ากับ 36.72 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงจากงวดปัจจุบัน (กันยายน – ธันวาคม 2567) จาก 4.18 บาทต่อหน่วย เหลืออยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย “ในการพิจารณาทบทวนเพื่อปรับลดค่าไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2568 จากการรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้ง กกพ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พิจารณาร่วมกันถึงการทบทวนแนวโน้มต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในระยะถัดไปพบว่ามีแนวโน้มผ่อนคลายและกดดันต่อค่าไฟลดลง จึงได้ปรับลดค่าไฟลงได้อีกเล็กน้อย เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าของพี่น้องประชาชน และค่าไฟระดับ 4.15 บาทต่อหน่วย ยังคงเป็นอัตราที่ยังสามารถรักษาความมั่นคง เสถียรภาพ และความยั่งยืนให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศระยะยาวได้” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว ก่อนหน้านี้ กฟผ. ยังได้ทำเรื่องมายัง กกพ. เพื่อขอให้พิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรอัตโนมัติ (Ft) ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2568 เพื่อประกอบการพิจารณาในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชนแล้วด้วย โดยรายละเอียดเอกสารเผยแพร่ค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2568 สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน กกพ. www.erc.or.th

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

รัฐลดค่าไฟเหลือ 4.15บ. กระทบโรงไฟฟ้าน้อยกว่าคาด

รัฐลดค่าไฟเหลือ 4.15บ. กระทบโรงไฟฟ้าน้อยกว่าคาด

          หุ้นวิชั่น - นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจะประกาศลดค่าไฟฟ้างวดม.ค.-เม.ย. 2568 จากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2567) ซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย ลงอีก 3 สตางค์/หน่วย หรือค่าไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 4.15 บาท/หน่วย โดยจะมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค-เม.ย. 2568 ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและเป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้กับพี่น้องชาวไทยทุกคน “ผมเพิ่งได้รับแจ้งเบื้องต้นเป็นข่าวดีจากทางสำนักงาน กกพ. ซึ่งจะปรับลดค่าไฟในงวดหน้า (ม.ค.-เม.ย.2568) ลงได้อีก และเหลือเฉลี่ยหน่วยละ 4.15 บาท หลังจากที่ผมได้ขอให้ทุกหน่วยงานได้ไปลองดูว่าจะสามารถลดค่าไฟลงได้อีกหรือไม่ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้พี่ น้องประชาชน ในนามรัฐบาลและกระทรวงพลังงานขอถือโอกาสนี้มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับทุกท่าน และขอขอบคุณ กกพ.ในฐานะหน่วยงานหลักขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และปตท.ในการร่วมกันกับรัฐบาลช่วยเหลือพี่ น้องประชาชน” นายพีระพันธุ์กล่าว           ภายหลังจากสิ้นสุดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในวันนี้ (27 พ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบทบทวนค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และค่าไฟฟ้าเรียกเก็บงวดเดือนม.ค.-เม.ย. 2568 โดยให้เรียกเก็บลดลงเหลือ 4.15 บาทต่อหน่วย เป็นผลจากการที่ได้มีการทบทวนตัวเลข และประมาณการที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กกพ.จะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป           ด้านบล.ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มไฟฟ้า (ค่าไฟฟ้าลดลงน้อยกว่าคาด) โดยเฉพาะโรงไฟฟ้า SPP ต่อค่าไฟฟ้างวด ม.ค.-เม.ย. 2025 แม้ค่าไฟฟ้าจะลดลงเล็กน้อยจากปัจจุบันและลดลงจากเคสต่ำสุดในการทำประชาพิจารณ์ที่ 4.18 บาท/หน่วย อย่างไรก็ตามยังเป็นอัตราที่ยัง cover ต้นทุนค่าพลังงาน และมีส่วนต่างเป็นบวกจากการคืนหนี้ EGAT ประเมินโรงไฟฟ้าที่ได้รับ positive sentiment จากประเด็นดังกล่าวตามสัดส่วนลูกค้า IU ซึ่งได้รับประโยชน์คือ GPSC (ซื้อ/เป้า 60.00 บาท), BGRIM (ซื้อ/เป้า 35.00 บาท), GULF (ถือ/เป้า 65.00 บาท)

“พีระพันธุ์” ลดค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย.68 เหลือ 4.15 บาท มอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย

“พีระพันธุ์” ลดค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย.68 เหลือ 4.15 บาท มอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย

          หุ้นวิชั่น - นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจะประกาศลดค่าไฟฟ้างวดม.ค.-เม.ย. 2568 จากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2567) ซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย ลงอีก 3 สตางค์/หน่วย หรือค่าไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 4.15 บาท/หน่วย โดยจะมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค-เม.ย. 2568 ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและเป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้กับพี่น้องชาวไทยทุกคน “ผมเพิ่งได้รับแจ้งเบื้องต้นเป็นข่าวดีจากทางสำนักงาน กกพ. ซึ่งจะปรับลดค่าไฟในงวดหน้า (ม.ค.-เม.ย.2568) ลงได้อีก และเหลือเฉลี่ยหน่วยละ 4.15 บาท หลังจากที่ผมได้ขอให้ทุกหน่วยงานได้ไปลองดูว่าจะสามารถลดค่าไฟลงได้อีกหรือไม่ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้พี่ น้องประชาชน ในนามรัฐบาลและกระทรวงพลังงานขอถือโอกาสนี้มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับทุกท่าน และขอขอบคุณ กกพ.ในฐานะหน่วยงานหลักขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และปตท.ในการร่วมกันกับรัฐบาลช่วยเหลือพี่ น้องประชาชน” นายพีระพันธุ์กล่าว ภายหลังจากสิ้นสุดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในวันนี้ (27 พ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบทบทวนค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และค่าไฟฟ้าเรียกเก็บงวดเดือนม.ค.-เม.ย. 2568 โดยให้เรียกเก็บลดลงเหลือ 4.15 บาทต่อหน่วย เป็นผลจากการที่ได้มีการทบทวนตัวเลข และประมาณการที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กกพ.จะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011