ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#คาร์บอนเครดิต


ดิจิทัลคาร์บอนเครดิต: อาวุธลับของไทยสู่การเป็นฮับสีเขียวอาเซียน

ดิจิทัลคาร์บอนเครดิต: อาวุธลับของไทยสู่การเป็นฮับสีเขียวอาเซียน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการประกาศปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล Utility Token โดยมีสาระสำคัญในการยกเว้นการกำกับดูแลกลุ่มโทเคนดิจิทัลที่เน้นการอุปโภคบริโภค หรือใช้แทนใบรับรองสิทธิต่าง ๆ (Consumption-based utility token) หรือที่เรียกว่า "Utility Token กลุ่มที่ 1" โดยมีเงื่อนไขห้ามผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโทเคนกลุ่มนี้ (ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.) ยกเว้นโทเคนที่มีบทบาทสนับสนุนกลไกการพัฒนาประเทศตามที่ ก.ล.ต. กำหนด           Carbon Credit และ Renewable Energy Certificate (REC) คืออะไร? Carbon Credit หรือคาร์บอนเครดิต คือ หน่วยที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลด ดูดซับ หรือกักเก็บโดยโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ โดย หน่วยวัดที่แสดงถึงการลด ดูดซับ หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก1 หน่วย = 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐาน เช่น VERRA หรือ Gold Standard Renewable Energy Certificate (REC) คือ ใบรับรองที่แสดงถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกและเศรษฐกิจสีเขียว เนื่องจากช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และขับเคลื่อนเป้าหมายของโลกในการบรรลุ Carbon Neutrality และ Net Zero โดย ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (เช่น โซลาร์เซลล์ ลม ชีวมวล)1 REC = 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ของไฟฟ้าสะอาด โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบอิสระ (Auditor)           องค์ประกอบของระบบคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ตัวอย่างมาตรฐานที่สำคัญในการรับรอง Carbon Credit ในระดับสากล VERRA (VCS) : มาตรฐานระดับสากลที่ใช้รับรองการลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม           ในส่วนของประเทศไทย มีมาตราฐานที่เป็นของตัวเอง โดยมีผู้รับรองการออกคือองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): มาตรฐานรับรองการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย และ T-VER Premium: มาตรฐานระดับพรีเมียมที่เน้นโครงการที่มีประสิทธิภาพและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมชัดเจนยิ่งขึ้น           Carbon Credit ในประเทศไทยได้มาผ่านระบบที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ: ผู้พัฒนาโครงการ (Issuer): หน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนาและดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นเจ้าของโครงการนั้นๆ ระบบทะเบียน  (Registry): ระบบฐานข้อมูลที่บันทึกและติดตามสถานะของ Carbon Credit เช่น ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตของ อบก. ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนบันทึกจำนวนหน่วยคาร์บอนเครดิต ผู้ตรวจสอบ (VVB - Validation and Verification Body): หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ซึ่งในประเทศไทย VVB จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อบก. ก่อนเท่านั้น และทำงานร่วมกับ อบก. ตลาดการแลกเปลี่ยน : ตลาดที่มีการซื้อขาย Carbon Credit เช่น ตลาด FTIX และตลาดที่อยู่ในช่วงการพัฒนาและทดลองใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดย อบก.           มาตรฐาน Renewable Energy Certificate (REC) มาตรฐาน REC ที่ได้รับความนิยมระดับโลกคือ International REC Standard (I-REC) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรับรองและติดตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดย REC จะได้มาจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานหมุนเวียน และได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง (Auditor) ว่าพลังงานที่ผลิตนั้นมาจากแหล่งพลังงานสะอาดจริง โดยจะมีการบันทึกและออกใบรับรองผ่านระบบทะเบียน REC ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในประเทศไทยนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินการลงทะเบียนและบันทึก REC ผ่านแพลตฟอร์มของ I-REC และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มที่รองรับ เช่น FTIX           Carbon Credit และ REC มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง?           สถานการณ์ในประเทศไทยปัจจุบัน ประเทศไทยดำเนินตลาดคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Voluntary Market ซึ่งองค์กรต่างๆ เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ยังไม่มีกฎหมายบังคับอย่างเป็นทางการ (Mandatory Market) แต่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ตลาดแบบบังคับผ่านระบบ Emission Trading Scheme (ETS) โดยมีการวางแผนและทดลองในบางภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเทศไทยยังมีส่วนร่วมในการประชุม COP (Conference of Parties) และได้แสดงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกที่ตั้งเป้าไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างและเตรียมนำเสนอ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดกรอบกฎหมายและมาตรการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการตรวจวัดและบริหารจัดการ Carbon Footprint for Organization (CFO) มากขึ้น เพื่อให้มีการรายงานและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจอย่างชัดเจน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ           ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยอนุญาตให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำ Tokenized Carbon Credit, REC และ Carbon Allowance ที่อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ (Ready-to-use) มาให้บริการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ 2 ข้อ คือ ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการคัดเลือกและเพิกถอนโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของโทเคนที่นำมาซื้อขาย ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน และเพียงพอ เพื่อสร้างความโปร่งใสต่อนักลงทุน           ทำไม Carbon Credit และ REC ถึงสำคัญสำหรับประเทศไทย? CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) ที่มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 โดยจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้า (เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ ไฟฟ้า) ตามปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ผลกระทบต่อไทย: ไทยส่งออกไป EU มูลค่า3 แสนล้านบาทต่อปี(ข้อมูลปี 2566) โดยเฉพาะสินค้าเป้าหมาย CBAM เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าเหล็ก หากผู้ผลิตไทยไม่ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ จะถูกเก็บภาษีเพิ่มสูงถึง20-35% ของมูลค่าสินค้า ทำให้เสียเปรียบแข่งกับผู้ผลิตใน EU ดึงดูดการลงทุนสีเขียว (Green Investment) ซึ่งทางฝั่งนักลงทุนต่างชาติคัดกรอง ESG หนักขึ้น เช่น กองทุนระดับโลก เช่น BlackRock, GPIF ประกาศลงทุนเฉพาะบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเป้าหมายชาติ Carbon Neutrality 2050 และ Net Zero 2065 : ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 370 ล้านตัน CO2 (อันดับ 21 ของโลก) โดยมีภาคพลังงานและยานยนต์ปล่อยสูงสุด (40%) ดังนั้น REC และ Carbon Credit ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และฟื้นฟูระบบนิเวศควบคู่กัน           ผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศไทยในระยะยาว การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ครั้งนี้ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชนในการยกระดับตลาด Carbon Credit และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกในระยะยาวโดย: สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและ SMEs มีรายได้จากโครงการลดคาร์บอน เพิ่มสภาพคล่องของตลาดคาร์บอนและสร้างโอกาสการลงทุนสำหรับภาคธุรกิจ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภูมิภาค กระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียวด้วยการดึงดูดการลงทุนและการใช้งานพลังงานสะอาดมากขึ้น ดึงดูดเงินลงทุน ESG (Environmental, Social, Governance) จากต่างชาติ เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง           ความท้าทายและข้อควรระวัง นอกจากผลกระทบเชิงบวกแล้ว ยังมีสิ่งที่ประเทศไทยควรระวัง และเตรียมการเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวดังนี้ ความเสี่ยงด้านการตรวจสอบ: การเปลี่ยนหน่วยให้มาเป็นโทเคนดิจิทัลต้องมีการเชื่อมระบบกันระหว่าง ผู้ใช้งานคาร์บอนเครดิต , คลาดแลกเปลี่ยน และ ระบบบันทึกทะเบียน ซึ่งถ้าทำไม่สมบูรณ์ อาจจะเกิดการนับซ้ำซ้อน (Double Counting) ซึ่งส่งผลลบกับความเชื่อมั่น การรับรู้ภาคประชาชน: ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกคาร์บอนเครดิตและ REC กฎหมายที่คลุมเครือ: ต้องการกรอบกำกับดูแลที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการละเมิด           ในยุคที่ "คาร์บอน" คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย REC และ Carbon Credit ไม่เพียงช่วยลดภาระภาษี CBAM แต่ยังเปิดทางให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นหลักในตลาดคาร์บอนโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐปรับนโยบายสนับสนุน เอกชนลงทุนเทคโนโลยีสะอาด และประชาชนตื่นรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม           การปรับนโยบายของสำนักงาน ก.ล.ต. สะท้อนความพร้อมของไทยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แม้มีอุปสรรคที่ต้องแก้ไข แต่ทิศทางนี้จะช่วยวางรากฐานให้ไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเงินสีเขียวในอาเซียนอย่างแท้จริง ที่มา : https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=11644 ผู้เขียน : Suttirat Hanpanit, Head of Business Development – Token X

Carbon Markets Club ร่วม 4 สมาคม วางกรอบตลาดคาร์บอนอาเซียน

Carbon Markets Club ร่วม 4 สมาคม วางกรอบตลาดคาร์บอนอาเซียน

         หุ้นวิชั่น - สมาคมตลาดคาร์บอนหลัก 5 แห่งจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอาเซียน ร่วมกัน ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Collaboration - MoC) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 29 หรือ COP29 ที่จัดขึ้น ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนา "กรอบการดำเนินงานตลาดคาร์บอนร่วมของอาเซียน" (ASEAN Common Carbon Framework - AACF) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวทางสำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภายในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใส ร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมี นายนิก นัซมี บิน นิก อะฮ์มัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศมาเลเซีย Mr. Stanley Loh ปลัดกระทรวงกระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของประเทศสิงคโปร์ Mr. Ahmad Kamrizamil Mohd Riza เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศอาเซอร์ไบจาน และนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมก่อตั้ง Carbon Markets Club ร่วมเป็นพยานกิตติมศักดิ์ ผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ เป็นผู้แทนของสมาคมต่าง ๆ จากภาคเอกชนของประเทศในอาเซียน ได้แก่ • Carbon Markets Club จากประเทศไทย ลงนามโดย นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club • Malaysia Carbon Market Association (MCMA) จากประเทศมาเลเซีย โดย Dr. Renard Siew • ASEAN Alliance on Carbon Market (AACM) โดย Ms. Natalia Rialucky • Indonesia Carbon Trade Association (IDCTA) จากประเทศอินโดนีเซีย โดย Mr. Yoshan Fazri • Singapore Sustainable Finance Association (SSFA) จากประเทศสิงคโปร์ โดย Ms. Kavitha Menon ภายใต้กรอบการดำเนินงานตลาดคาร์บอนร่วมของอาเซียน (AACF) มีการวางแนวทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการค้าคาร์บอนเครดิตอย่างยั่งยืนในภูมิภาค โดยมีจุดมุ่งหมายสนับสนุนให้เกิดโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้มาตรฐาน เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี พร้อมทั้งสนับสนุนความร่วมมือทางธุรกิจข้ามพรมแดนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตลาดคาร์บอนที่เชื่อมโยงกัน ลดอุปสรรคในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ และร่วมขับเคลื่อนภูมิภาคสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้มีนายนิก นัซมี บิน นิก อะฮ์มัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศมาเลเซียเป็นพยาน เขากล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “ความร่วมมือนี้เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของตลาดคาร์บอนในภูมิภาคอาเซียน กรอบการดำเนินงานตลาดคาร์บอนร่วมของอาเซียนจะช่วยให้ยุทธศาสตร์ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาเซียนเป็นรูปธรรม และด้วยความร่วมมือนี้ เราหวังว่าจะเห็นอาเซียนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก โดยอาศัยทั้งเทคโนโลยีและการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติเพื่อก้าวไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ”          นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้ง Carbon Markets Club กล่าวว่า “ในฐานะคลับรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่สนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราภูมิใจที่ได้เติบโตจากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 11 รายสู่ 1,300 รายภายในเวลาเพียง 3 ปี เราให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีความมุ่งมั่นในการร่วมสร้างตลาดคาร์บอนที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เรามีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรในระดับภูมิภาค สนับสนุนกรอบการดำเนินงานตลาดคาร์บอนร่วมของอาเซียน เพื่อปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนและคาร์บอนต่ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความมั่นใจว่าความพยายามร่วมกันของเราจะส่งผลในระดับโลกอย่างแท้จริง”          Carbon Markets Club ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 โดยบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) และอีก 9 องค์กรพันธมิตร เป็นการริเริ่มของภาคเอกชนในรูปแบบชมรมที่ไม่แสวงหาผลกำไรแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการผลักดันตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 1,300 ราย ให้บริการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (RECs) พร้อมทั้ง มีการนำเสนอเครื่องมือประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับองค์กร (CFO) และเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับบุคคล (MyCF) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังมีการจัดสัมมนาออนไลน์ และการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของสังคมในวงกว้างในตลาดคาร์บอนและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก [PR-NEWS]

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011