ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#การลงทุน


ต่างชาติ เชื่อมั่นไทย ลงทุน 2 เดือนแรก เงินสะพัด 3.5 หมื่นล. ญี่ปุ่นครองแชมป์ อันดับ 1

ต่างชาติ เชื่อมั่นไทย ลงทุน 2 เดือนแรก เงินสะพัด 3.5 หมื่นล. ญี่ปุ่นครองแชมป์ อันดับ 1

           นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากรายงานตัวเลขการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีจำนวน 181 ราย เพิ่มขึ้น 68% ในช่วง 2 เดือน ปี 2568 (มกราคม - กุมภาพันธ์) เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 41 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 140 ราย เงินลงทุนรวม 35,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% และจ้างงานคนไทย 1,344 คน เพิ่มขึ้น 140%            โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ญี่ปุ่น 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 21 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 13,676 ล้านบาท 2. จีน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 5,113 ล้านบาท 3. สิงคโปร์ 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 4,490 ล้านบาท 4. สหรัฐอเมริกา 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,372 ล้านบาท และ 5. ฮ่องกง 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 1,587 ล้านบาท            นอกจากนี้ การลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ ในช่วง 2 เดือน มีจำนวน 57 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้น 63% มีมูลค่าการลงทุน 17,546 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจาก ญี่ปุ่น 19 ราย ลงทุน 8,096 ล้านบาท จีน 14 ราย ลงทุน 2,751 ล้านบาท สิงคโปร์ 8 ราย ลงทุน 2,191 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ อีก 16 ราย ลงทุน 4,508 ล้านบาท            “การเข้ามาประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมข้างต้น มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค โดยเน้นการดึงดูดการลงทุนที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับแรงงานไทย เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” นางสาวศศิกานต์ กล่าว

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีฯ

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีฯ

           หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อให้ผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (Issuer) รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) รับคริปโทเคอร์เรนซีจากผู้ลงทุนหรือ Issuer ในการทำธุรกรรม และเพื่อให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับคริปโทเคอร์เรนซีได้เพิ่มเติมอีก 2 สกุล ได้แก่ USD Coin (USDC) และ Tether (USDT) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป            ตามที่ ก.ล.ต. ได้กำหนดบัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ Issuer, ICO Portal, และศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถรับเป็นการตอบแทนหรือทำธุรกรรม หรือใช้ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยปัจจุบันมีจำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่ Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Ripple (XRP), Stellar (XLM) และคริปโทเคอร์เรนซี ที่ใช้ในการทดสอบการชำระราคาที่มีการกำหนดเงื่อนไขอัตโนมัติ (Programmable Payment) ภายใต้ Enhanced Regulatory Sandbox ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)            ดังนั้น เพื่อให้หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการเกี่ยวกับการปรับปรุงรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการและร่างประกาศดังกล่าว            ก.ล.ต. จึงออกประกาศเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด* เพื่อรองรับให้ Issuer สามารถรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน ICO Portal รับคริปโทเคอร์เรนซีจากผู้ลงทุนหรือ Issuer ในการทำธุรกรรม และผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับคริปโทเคอร์เรนซีได้เพิ่มเติมอีก 2 สกุล ได้แก่ เหรียญ USDT และ USDC ทั้งนี้ การออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว* มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568  เป็นต้นไป

เปิดผลสำรวจ! 61% จาก 41 ซีอีโอไทย ชี้ธุรกิจรอดยากในทศวรรษหน้า หากไม่ปรับตัว

เปิดผลสำรวจ! 61% จาก 41 ซีอีโอไทย ชี้ธุรกิจรอดยากในทศวรรษหน้า หากไม่ปรับตัว

              หุ้นวิชั่น - PwC ประเทศไทย เผยรายงานผลสำรวจล่าสุดพบซีอีโอไทยแสดงความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและโลกลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 67 ขณะที่มองการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังในปี 2568 ส่งผลให้แผนการเพิ่มจำนวนพนักงานลดลง และมากกว่าครึ่งยังไม่มีแผนขยายการลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่การลงทุนใน GenAI และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ซีอีโอไทยคาดหวังว่าจะช่วยพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจใหม่ในอนาคต ‘รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 28 ฉบับประเทศไทย: ปฏิรูปรูปแบบธุรกิจ เพื่อพิชิตโลกอนาคต’ ของ PwC ประเทศไทย ยังได้แนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องมีการปรับเปลี่ยนธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มคุณค่าใหม่จากการดำเนินงาน               นาย พิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ซีอีโอไทยมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและโลกลดลงเล็กน้อย โดย 44% เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2568 (ลดลง 1% จากปีก่อน) และ 51% กล่าวว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้นในปีนี้  (ลดลง 1% จากปีก่อน) ขณะที่ 27% แสดงความเชื่อมั่นในระดับสูงหรือสูงมากต่อรายได้ของบริษัทในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 44% สำหรับแนวโน้มในช่วงสามปีข้างหน้า นอกจากนี้ ซีอีโอไทย 61% กล่าวว่าธุรกิจของตนจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในทศวรรษหน้า หากยังดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางเดิม ๆ ซึ่งลดลงจากการสำรวจเมื่อปีก่อนที่ 67%               “ซีอีโอไทยมีแนวโน้มที่จะดำเนินกลยุทธ์์ด้วยความระมัดระวังมากขึ้นในปีนี้ แม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของรายได้และความสามารถในการดำเนินธุรกิจของตนเอง เนื่องจากยังขาดความเชื่อมั่นต่อทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและโลกด้วยปัจจัยหลายอย่างที่ยังคงกดดัน sentiment โดยรวมของการลงทุนและการขยายกิจการใหม่ ๆ อย่างไรก็ดี มีซีอีโอไทยจำนวนไม่น้่อยที่กำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจตัวเองเพื่อความอยู่รอด โดยในปีที่ผ่านมา เราเห็นหลายธุรกิจตื่นตัวในเรื่องของ AI การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งแสวงหาโอกาสในการสร้างคุณค่าด้วยวิธีการใหม่ ๆ มากขึ้นและโฟกัสไปที่การสร้างรายได้จากธุรกิจหลัก” นาย พิสิฐ กล่าว              ทั้งนี้ รายงานฉบับประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ‘รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 28 ของ PwC’ ได้รวบรวมความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ทั่วโลกจำนวนทั้งสิ้น 4,701 ราย ซึ่งรวมถึงซีอีโอจากประเทศไทย จำนวน 41 ราย ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 8 พฤศจิกายน 2567             สำหรับปัจจัยความเสี่ยงที่สร้างความกังวลให้กับผู้นำธุรกิจไทยนั้นพบว่า ความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค และความเสี่ยงทางไซเบอร์เป็นภัยคุกคามอันดับแรกที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ (24% เท่ากัน) ตามมาด้วยเงินเฟ้อ และการหยุดชะงักของเทคโนโลยี (20% เท่ากัน) และการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะที่จำเป็น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (15% เท่ากัน)             นอกจากนี้ ซีอีโอไทยยังคงมีความระมัดระวังต่อการดำเนินธุรกิจในระยะข้างหน้า เห็นได้จากแผนการสรรหาบุคลากรที่ลดลง โดยมีเพียง 29% ที่วางแผนจะเพิ่มจำนวนพนักงานในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ลดลงจากปีก่อนที่ 33% และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 42% และ 46% ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ซีอีโอไทยมากกว่าครึ่ง (56%) ยังไม่มีแผนที่จะจัดสรรเงินทุนให้กับการดำเนินงานในต่างประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า และ 41% ไม่มีแผนที่จะควบรวมกิจการขนาดใหญ่ในช่วงสามปีข้างหน้า “ในขณะที่ปี 2568 จะเป็นปีที่ซีอีโอบริหารงานด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญที่พวกเขาจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ คือ จะต้องกล้าที่จะปฏิรูปรูปแบบธุรกิจเพื่ือเปลี่ยนแปลงวิธีการสร้าง ส่งมอบ และสรรหาคุณค่าใหม่” นาย พิสิฐ กล่าว  GenAI และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ             ในช่วงปีที่ผ่านมา ซีอีโอไทยตื่นตัวต่อกระแสการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI: GenAI) ที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก โดย 30% รายงานว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ 37% พบว่ามีความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น และ 20% ระบุว่าจำนวนพนักงานของธุรกิจเพิ่มขึ้นจากที่ซีอีโอ 33% คาดการณ์ว่าจำนวนพนักงานจะลดลงในปี 2567 แต่อย่างไรก็ดี ยังมีซีอีโอไทย 27% ที่รายงานว่ามีความไว้วางใจใน AI น้อยหรือไม่ไว้วางใจเลย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการประยุกต์ใช้ AI ที่ยังคงมีอยู่             นอกจากนี้ ซีอีโอไทยยังคงให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง หลังผู้นำธุรกิจเริ่มมองเห็นโอกาสทางการตลาดและความต้องการสินค้าและบริการอย่างยั่งยืนที่สูงขึ้นของผู้บริโภค โดย 76% กล่าวว่า พวกเขาได้ลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมา ขณะที่ 37% กล่าวว่า สามารถยอมรับอัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศที่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ยอมรับได้สำหรับการลงทุนอื่น ๆ และถึงแม้ว่าจะมีซีอีโอไทยเพียง 22% ที่กล่าวว่า องค์กรของตนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผนวกโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ             “ผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้ามาของเทคโนโลยีเกิดใหม่ และเมกะเทรนด์อื่น ๆ กำลังเป็นตัวเร่งให้ผู้นำธุรกิจทั่วโลกรวมทั้งไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างคุณค่า และตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยน แปลงไปของลูกค้า กำลังแรงงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ นอกจากนี้ จะต้องนำแนวปฏิบัติการใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบมาผนวกกับกลยุทธ์การทำธุรกิจในทุกมิติ ซึ่งถึงแม้ว่าในบางกรณีอาจจะไม่ได้สร้างผลตอบแทนในทันที แต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในระยะยาว” นาย พิสิฐ กล่าว 

3 ปีสงครามรัสเซีย-ยูเครน! เศรษฐกิจโลกเสียหายหนัก โตชะลอเหลือ 3.2%

3 ปีสงครามรัสเซีย-ยูเครน! เศรษฐกิจโลกเสียหายหนัก โตชะลอเหลือ 3.2%

          หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ครบรอบ 3 ปีในวันที่ 24 ก.พ. นี้ ว่านับตั้งแต่ที่รัสเซียส่งกองกำลังเข้าไปปฏิบัติการทหารในยูเครนเมื่อ 24 ก.พ. 65 และเดินหน้าโจมตีจนสามารถยึดครองดินแดนของยูเครนมาได้มากกว่าหนึ่งในห้า ในขณะเดียวกัน ยูเครนก็ได้รับการสนับสนุนทางทหารจากชาติตะวันตกและพันธมิตร NATO อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมกันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่รุนแรงต่อรัสเซีย เพื่อกดดันให้รัสเซียยุติการสู้รบ จนนำมาสู่วิกฤตการณ์ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกมาจนถึงขณะนี้ อย่างไรก็ตาม สงครามที่ดำเนินมาเป็นเวลานานถึง 3 ปี กำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ ภายหลังการกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ได้เร่งเดินหน้าเปิดทางเจรจาสันติภาพของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ท่ามกลางความหวังว่าความขัดแย้งที่มีแนวโน้มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้นจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศษฐกิจการค้าโลกในระยะข้างหน้า สงคราม 3 ปี สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกมหาศาล           ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีสาเหตุหลักจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจโลกและไทย เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนาน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสู้รบในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และความผันผวนของราคาพลังงานโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกช่วงปี 2565-2567 เติบโตอย่างอ่อนแอ ที่ 3.6%  3.3% และ 3.2% ตามลำดับ ซึ่งชะลอลงอย่างมากจากระดับ 6.6% ในปี 2564 และยังต่ำกว่าการเติบโตในทศวรรษก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 (ปี 2543-2562) ที่เติบโตเฉลี่ย 3.8% เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวชะลอลงในปี 2566 ตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงการส่งออกที่กลับมาหดตัวในรอบ 3 ปี จากผลของการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของประเทศต่าง ๆ ที่สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโดยรวม สิ้นปีที่ 3 สู่ 3 ความคาดหวังการยุติสงครามภายในปีนี้           ความหวังแรก : การเจรจายุติสงคราม จุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามในยูเครนเกิดขึ้นภายหลัง การกลับมาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือน ม.ค. 68 ที่ได้ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเพื่อยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด ซึ่งนำไปสู่การหารือแบบพบหน้ากันอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัสเซียที่กรุงริยาดของซาอุดีอาระเบีย เมื่อ 18 ก.พ.  ที่ผ่านมา เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องที่จะฟื้นฟูภารกิจการทูตระหว่างกัน และจะทำงานร่วมกันเพื่อการเจรจายุติสงครามในยูเครน รวมถึงการแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อการเจรจาสันติภาพที่จะนำไปสู่การยุติสงครามในยูเครน ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือ ทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการยุติสงครามในยูเครน แม้ว่ายูเครนและประเทศพันธมิตรในยุโรปไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ แต่ก็เชื่อว่าการประชุมดังกล่าวจะเป็นการปูทางสู่การเจรจาสันติภาพโดยตรงระหว่างประธานาธิบดีรัสเซียกับยูเครนต่อไป           ความหวังที่สอง : หนุนฟื้นเศรษฐกิจโลก สัญญาณการใช้ความพยายามทางการทูตเพื่อยุติการสู้รบในยูเครนที่ยืดเยื้อมานานถึง 3 ปี ไม่เพียงส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ขัดแย้งโดยตรงเท่านั้น แต่จะยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย โดย IMF ประเมินเมื่อปลายปี 2567 ว่า หากสงครามสิ้นสุดภายในปลายปี 2568 เศรษฐกิจของยูเครนอาจกลับมาเติบโตถึง 4% ซึ่งสูงกว่าที่ประเมินไว้ในเดือน ต.ค. 67 ที่ 2.5% หลังจากที่เผชิญความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนักจนทำให้เศรษฐกิจหดตัวถึง 28.8% ในปี 2565 ขณะที่ทางด้านของรัสเซียเมื่อยอมยุติสงคราม เชื่อว่าชาติตะวันตกจะทยอยผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งจะทำให้รัสเซียกลับเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการกลับมาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรป ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอาหารและพลังงาน ซึ่งที่ผ่านมารัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการรับมือกับมาตรการคว่ำบาตรได้เป็นอย่างดี สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แม้จะหดตัว 1.3% ในปี 2565 แต่สามารถพลิกฟื้นกลับมาขยายตัวได้ถึง 3.6% ในปี 2566-2567           ความหวังที่สาม : ผลักดันเศรษฐกิจการค้าไทย ตลอดช่วงเวลาแห่งความท้าทายทางเศรษฐกิจของรัสเซียจากการถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก กระทรวงพาณิชย์มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะสร้างความร่วมมือและรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับรัสเซีย โดยแยกประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจออกจากความสัมพันธ์ทางการค้า แม้ว่าการส่งออกไปรัสเซียในปี 2565 จะลดลงจากปี 2564 ถึงกว่า 43.4% แต่ก็กลับมาขยายตัว 40.5% ในปี 2566 และขยายตัวต่อเนื่อง 7.9% ในปี 2567 ด้วยมูลค่า 885.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับการส่งออกในช่วงก่อนเกิดสงครามในยูเครน ขณะที่การส่งออกไปยูเครนที่แม้จะยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดสงครามแต่ก็เห็นสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน โดยการส่งออกไปยูเครนขยายตัวถึง 110.5% ในปี 2567 สถานการณ์สงครามและความตึงเครียดทางเศรษฐกิจของรัสเซียที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลงหลังจากนี้ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสในการผลักการค้าการลงทุนของไทยกับรัสเซียได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งจะเอื้อประโยชน์ต่อการเร่งรัดเจรจา FTA ไทย-ยูเรเซีย (EAEU) ที่จะช่วยเปิดประตูการค้าการลงทุนกับกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ที่ประกอบด้วยรัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอาร์เมเนีย ซึ่งล้วนเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ของไทย           นายพูนพงษ์ฯ กล่าวปิดท้ายว่า ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตทางภูมิรัฐศาสตร์หรือสงครามในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นสงครามที่ใช้อาวุธสู้รบหรือสงครามที่ไม่มีการใช้อาวุธอย่างสงครามการค้า กระทรวงพาณิชย์มีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด พร้อมทั้งประสานงานกับภาคเอกชนและร่วมมือกันวางแนวทางการรับมือและแก้ไขปัญหา เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการค้าไทยในภาพรวม และในปีนี้กระทรวงพาณิชย์จะยังคงเดินหน้าผลักดันการค้าการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมั่นใจว่าจะทำให้การส่งออกไทยในปีนี้บรรลุได้ตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

'บล.กรุงศรี' เปิดสัมมนา ส่องโลกการลงทุน 4 มิติ

'บล.กรุงศรี' เปิดสัมมนา ส่องโลกการลงทุน 4 มิติ

         หุ้นวิชั่น - บมจ.หลักทรัพย์กรุงศรี ขอเชิญร่วมสัมมนา ส่องโลกการลงทุน 4 มิติ วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 8.30 – 13.00 น. ณ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ชั้น 1 อาคารไทยวา สาทร กทม. สนใจสำรองที่นั่งฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกเพื่อลงทะเบียน >> https://www.krungsrisecurities.com/.../seminar-form.aspx... [PR-NEWS]

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ค่าธรรมเนียม การยื่นรายงานประจำปีบริษัทจดทะเบียน

ก.ล.ต. ปรับเกณฑ์ค่าธรรมเนียม การยื่นรายงานประจำปีบริษัทจดทะเบียน

         หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกเลิกการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้สอดคล้องสภาวการณ์ปัจจุบัน ตามที่ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ไม่เคยถูกดำเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดย ก.ล.ต. จากกรณีที่ไม่สามารถจัดทำและนำส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด และมีการชำระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีภายในกำหนดระยะเวลา ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบรายการข้อมูลประจำปีในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ ที่ผ่านมา ก.ล.ต. พบว่า บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบตามที่กล่าวข้างต้นได้ ถือว่าสามารถบรรลุเป้าประสงค์ของหลักเกณฑ์ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียนในการจัดทำรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนชำระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย ซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยทั่วไปที่บริษัทจดทะเบียนควรยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย ขณะ เดียวกันสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก.ล.ต. จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อยกเลิกการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีตามประกาศดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. ยังคงส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินการในเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ ผ่านมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามเดิม ได้แก่ การนำค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาและ/หรือผู้ทวนสอบมาใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีสำหรับบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย ก.ล.ต. มีแผนงานที่จะทบทวนเงื่อนไขและมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต เพื่อลดภาระและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนให้ความร่วมมือและดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป ทั้งนี้ การปรับปรุงประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับสำหรับค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2567 ที่จะครบกำหนดชำระในปี 2568 เป็นต้นไป

วันสุดท้ายของปี ลงทุนอย่างไร? โบรกจับตา LTF ลุ้นแรงเทขาย

วันสุดท้ายของปี ลงทุนอย่างไร? โบรกจับตา LTF ลุ้นแรงเทขาย

          หุ้นวิชั่น - บล.เอเชียพลัส ประเมินสถานะ AUM ของ LTF ณ สิ้นเดือน พ.ย.67 อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งประเมินว่าน่าจะเป็นส่วนที่ครบกำหนดขายได้แล้วในปัจจุบันราว 1.6 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือทั้งหมดน่าจะครบกำหนดขายได้ตามเงื่อนไข การรับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีต้นปี 2568 ซึ่งมองว่าเป็นขนาดเม็ดเงิน ที่มีนัยสำหรับตลาดหุ้นบ้านเราพอสมควร อย่างไรก็ตามต้องรอลุ้นดูว่าเม็ดเงินก้อนดังกล่าวจะมีแรงขายออกมาเท่าไร ทั้งนี้จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี พบว่าเดือน ม.ค.ของทุกปีจะมีแรงขาย LTF ออกมาเฉลี่ย 1.05 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ใน ม.ค.67 ที่ผ่านมามีแรงขายออกมามากสุดอยู่ที่ 1.65 หมื่นล้านบาท ส่วนปัจจัยแวดล้อมพื้นฐานอื่นๆ ไม่มีเรื่องใหม่ ส่วนใหญ่ยังอยู่กับทิศทางดอกเบี้ย ซึ่งในส่วนของ FED คาดลง 1-2 ครั้งในปี 2568ส่วนบ้านเรามีโอกาสคงดอกเบี้ยมาก แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้ปรับลด           วันทำการสุดท้ายของปี มีโอกาสที่ต้องเผชิญกับแรงขายทำกำไรของคนที่ซื้อเก็งกำไรว่าจะเกิด WINDOW DRESSING ขณะที่มูลค่าการซื้อขายบาง กรอบ 1387-1410 จุด TOP PICK เลือก BDMS, BEM และ GULF

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ราคาทองดิ่ง ร่วงแรงเช้านี้ 800 บาท

ราคาทองดิ่ง ร่วงแรงเช้านี้ 800 บาท

          หุ้นวิชั่น – เช้าวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 สมาคมค้าทองคำ ได้แจ้งราคาทองคำ ซึ่งได้ปรับลง  800 บาท  โดยการซื้อขายครั้งที่ 1 ราคาทองแท่ง ปัจจุบันรับซื้ออยู่ที่ 43,150.00 บาท ราคาขายออกอยู่ที่ 43,250.00  บาท ส่วนราคาทองรูปพรรณ รับซื้ออยู่ที่ 42,372.20 บาท และราคาขายออกอยู่ที่ 43,750.00 บาท

2 โบรกฯ แนะกลยุทธ์การลงทุน-งัดโผหุ้นเด่น

2 โบรกฯ แนะกลยุทธ์การลงทุน-งัดโผหุ้นเด่น

                    หุ้นวิชั่น – บล.เอเชียพลัส วิเคราะห์ตลาดวันนี้ มองตลาดหุ้นโลกยังคงผันผวน นักลงทุนรอดูผลการเลือกตั้งสหรัฐในเช้าวัน พรุ่งนี้ กดดันสินทรัพย์ TRUMP TRADE อย่าง BITCOIN และ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐ ที่ย่อตัวลงแรง หลังผลสำรวจคะแนนความนิยมของ TRUMP – HARRIS สูสีกันมาก           ขณะเดียวกันยังส่งผลให้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยวานนี้เบาบางลงมาก (เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย) เหลือเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทต่อวัน เท่านั้น ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และต่ำสุดเป็นอันดับ 5 ของปีนี้           ส่วนปัจจัยสนับสนุนมี ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 2% บวกต่อ TOP BCP PTTEP การเบิกจ่ายภาครัฐที่เร่งขึ้นเร็วในเดือน ต.ค. กว่า 8.13 หมื่นล้าน บาท (สูงสุดในรอบ 10 ปี และคิดเป็นสัดส่วนงบเบิกจ่ายลงทุนปี 68 สูงถึง 8.4%) บวกต่อ TASCO, SCC, CK, STECON วันนี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1455 – 1470 จุด แนะนำ หลบความผันผวนจากปัจจัยภายนอกกับหุ้น DOMESTIC TOPPICK เลือก CPALL, ADVANC, CBG           ด้าน บล.กรุงศรีฯ มองว่าคาด SET วันนี้ “แกว่งในกรอบ” ต้าน 1473/1476 จุด รับ 1455/1446 จุด ต่างประเทศรอ 3 ประเด็นคือการเลือกตั้งสหรัฐ 5 พ.ย. (รู้ผลราว 6 พ.ย. เป็นต้นไป) อิงจากสถิติหลังการเลือกตั้งสหรัฐ 2 รอบก่อนหน้า เดือน พ.ย. - ธ.ค. SET ให้ผลตอนเป็นบวก,  การประชุม NPC ของจีนลุ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ประชุมต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พ.ย.) และ 6-7 พ.ย. ประชุม Fed (รู้ผลเช้าวันที่ 8 พ.ย.) คาดลดดอกเบี้ยฯ 25 bps           ส่วนภายในภาพทางพื้นฐานยังบวก  ตัวเลขยอดผู้ใช้บริการสนามบิน AOT (ชี้นำนักท่องเที่ยวต่างชาติ)ในช่วงวันที่ 1 – 2 พ.ย. 2024 ปรับขึ้นทะลุ Pre – covid ที่ระดับ 103.6% ผสานกับรัฐบาลนายกฯ เมื่อวานเร่งรัดให้ทุกหน่วยงานเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 80% ของงบลงทุนทั้งหมดที่ 9.6 แสนล้านบาท           โดยรวมประเมิน GDP Growth ไทยปี 2024 คาด 2.4%y-y มี Upside มองบวกต่อ SET  โดยประเด็นที่ต้องตามวันนี้ เงินเฟ้อไทย เดือน ต.ค. ตลาดคาด 0.96% และประชุม ครม. ลุ้น มาตรการกระตุ้นฝั่งอสังหา ประเมินหุ้นนำ หุ้นพลังงาน (น้ำมันบวกแรง 2%) หุ้น China play กลุ่มอสังหา, หุ้นอิงบริการ(สนามบิน, โรงแรม) วันนี้แนะ ADVANC, AOT, CPALL

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456