ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#กนง.


เปิดรายงานการประชุมกนง. หลังให้ลดดอกเบี้ยลงเหลือ2%

เปิดรายงานการประชุมกนง. หลังให้ลดดอกเบี้ยลงเหลือ2%

              หุ้นวิชั่น - รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2568 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ และ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทย               การประเมินภาพเศรษฐกิจ ฝ่ายเลขานุการ กนง. นำเสนอภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ว่าขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ แม้อุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้ายังขยายตัวดี แต่ไม่ได้ส่งผลบวกต่อภาคการผลิตมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการระบายสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูงและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 2.5 เล็กน้อย ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ จากภาคการผลิตที่ยังถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่บังคับใช้แล้ว โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง ถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศ ขณะที่ภาคบริการและท่องเที่ยวยังขยายตัวได้               เศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนขยายตัวแตกต่างกันมากขึ้น (K-shape) โดยภาคบริการมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ส่วนภาคการผลิตกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวกับยานยนต์ และภาคอสังหาริมทรัพย์มีพัฒนาการแย่ลง โดยการผลิตรถยนต์ถูกกดดันจากการแข่งขันจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ และสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตสูง แม้จะมีสัญญาณเชิงบวกบ้างจากราคารถยนต์มือสองที่เริ่มทรงตัว               ด้านภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มชะลอตัวจากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง โดยสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเนื่องจากสัดส่วนการผิดนัดชำระหนี้ที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง จึงต้องติดตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะรายเล็กที่มีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องและการปรับตัว รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้างที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs เพื่อประเมินภาพอย่างใกล้ชิด               คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า จากภาคการผลิตที่ถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ผลกระทบที่อาจรุนแรงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก และภาวะการเงินของธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ตึงตัว ขณะที่กรรมการบางท่านเห็นว่าเศรษฐกิจอาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่ฝ่ายเลขานุการฯ ประเมินไว้ โดยอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคอสังหาริมทรัพย์อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว               สะท้อนจากการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อยู่ในระดับต่ำและอุปทานคงค้างระดับสูงในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ภาคการผลิตในหลายอุตสาหกรรมเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่เผชิญความท้าทายในการปรับตัวและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ รวมทั้งการแข่งขันที่อาจสูงขึ้นอีกในระยะต่อไป กรรมการบางส่วนแสดงความกังวลว่าภาคบริการและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก (growth driver) อาจสนับสนุนเศรษฐกิจได้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา               ส่วนหนึ่งจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวชะลอลงตามพฤติกรรมการใช้จ่ายและโครงสร้างของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคท่องเที่ยวไทยในระยะยาว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นร่วมกันว่าเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวชะลอลงมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายปรับโครงสร้างด้านอุปทานเพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน และการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อช่วยในการปรับตัว               สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (demand side) มีแนวโน้มขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชน โดยการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้สูงยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลางยังถูกกดดันจากการขยายตัวของรายได้ที่ไม่ทั่วถึงและภาวะสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ชะลอลง กรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนที่ผ่านมา ถูกขับเคลื่อนโดยครัวเรือนกลุ่มรายได้ปานกลางและสูง แต่ครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวอาจระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นในระยะต่อไป ตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัจจัยด้านความมั่งคั่งที่ลดลง (wealth effect) ตามมูลค่าของตลาดหุ้นไทย               ด้านการส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวได้จากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นหลัก สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI ที่มูลค่ารวมอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และ data center ทั้งนี้ กรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่าต้องติดตามการสร้างมูลค่าเพิ่มของการส่งออกสินค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เนื่องจากการสร้างมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มลดลงเทียบกับอดีต ส่วนหนึ่งจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ซึ่งรวมถึงกรณีของ data center อีกทั้งมีการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ (import content) เพิ่มขึ้น               มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่จะออกมาเพิ่มเติม เช่น (1) มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าโดยตรงรายประเทศ ซึ่งไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจถูกสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีจากการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง และ (2) มาตรการภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของไทยที่มีส่วนต่างภาษีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ นโยบายการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงทั้งในมิติรูปแบบและช่วงเวลา รวมทั้งการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น โดยฉากทัศน์ที่สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นรวมเป็นร้อยละ 30 และประเทศกลุ่มเสี่ยงรวมถึงไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าร้อยละ 10 การขยายตัวของเศรษฐกิจอาจปรับลดลงจากกรณีฐานประมาณร้อยละ 0.3-0.5 โดยประเมินว่าจะได้รับผลกระทบในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ผ่านช่องทาง (1) การส่งออกสินค้าของไทยไปสหรัฐฯ โดยตรงลดลง (2) การส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยไปจีนลดลง และ (3) ปัญหาการแข่งขันกับอุปทานส่วนเกินของจีนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดในประเทศที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ดี การประเมินผลในฉากทัศน์นี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง และผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นหากมีมาตรการตอบโต้ทางการค้าเพิ่มเติม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสต่ำกว่ากรอบเป้าหมายในบางช่วงเวลา จากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้นจากสินค้านำเข้า               ทั้งนี้ ยังไม่เห็นสัญญาณนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง เพราะ (1) พลวัตเงินเฟ้อมาจากปัจจัยด้านอุปทานมากกว่าด้านอุปสงค์ โดยปัจจัยด้านอุปทาน อาทิ ราคาน้ำมันโลกที่ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสดส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.2 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.0 (2) ราคาสินค้าและบริการไม่ได้ปรับลดลงในวงกว้าง โดยราคาสินค้าและบริการกว่า 3 ใน 4 ของตะกร้าเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นหรือไม่เปลี่ยนแปลง และ (3) อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังทรงตัวในกรอบเป้าหมาย               มองไปข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านต่ำตามแนวโน้มราคาพลังงานโลก จากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจต่ำกว่าคาด แนวโน้มราคาอาหารสดที่อาจต่ำกว่าคาดจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและไม่ได้ส่งสัญญาณภาวะเงินฝืด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวได้ช้าหลังจากที่เงินเฟ้อได้เร่งขึ้นไปในช่วงก่อนหน้า โดยกรรมการบางส่วนให้ความเห็นว่ากำลัง การผลิตส่วนเกิน (overcapacity) ของจีน และการแสวงหาตลาดใหม่ของประเทศต่าง ๆ ที่ถูกปรับขึ้นภาษีการค้า อาจทำให้มีสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการไทยมากขึ้น ซึ่งจะกดดันภาคการผลิตและระดับราคาสินค้าของไทยเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า               การประเมินภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน ภาวะการเงินยังตึงตัวจากสินเชื่อที่ชะลอลง แม้การขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อในภาพรวมเริ่มมี สัญญาณทรงตัวบ้าง โดยการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจมาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ สภาพคล่องเพื่อดำเนิน ธุรกิจของ SMEs ถูกกดดันเพิ่มเติมจากสินเชื่อการค้า (trade credit) ที่แย่ลง โดย SMEs ส่วนใหญ่ประสบปัญหาระยะเวลารับชำระเงินจากลูกหนี้การค้า (credit term) ที่ยาวขึ้น ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง               ทั้งนี้ ยังต้องติดตามแนวโน้มการ ขยายตัวและคุณภาพสินเชื่อในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และครัวเรือนกลุ่มเปราะบางการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (household debt deleveraging) ยังคงดำเนินไปต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาวคณะกรรมการฯ แสดงความกังวลในประเด็นสินเชื่อที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน จึงเห็นควรให้ติดตามการขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภคอย่างใกล้ชิด โดยกรรมการบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าการกลับมาขยายตัวของสินเชื่อในช่วงปลายปี อาจมาจากปัจจัยเฉพาะจากการที่สถาบันการเงินเร่งปล่อยสินเชื่อให้ถึงเป้าหมาย รวมทั้งคุณภาพสินเชื่อที่ปรับดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขายหนี้เสียและตัดหนี้สูญของสถาบันการเงินในช่วงปลายปี นอกจากนี้ กรรมการส่วนหนึ่งแสดงความกังวลต่อการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อกลุ่มรายได้ต่ำที่อาจเริ่มลุกลามมายังกลุ่มรายได้ที่สูงขึ้นรวมถึงคุณภาพสินเชื่อที่ปรับแย่ลงอาจส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้               โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ชี้แจงข้อมูลล่าสุดว่าเริ่มเห็นสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีวงเงินสูงขึ้น จึงต้องติดตามอย่าง ใกล้ชิดต่อไปราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลก รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เคลื่อนไหว ผันผวนจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก               อย่างไรก็ดี หลังตลาดการเงินประเมินว่านโยบายการค้าของสหรัฐฯ อาจไม่รุนแรงเท่าที่คาดไว้ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงจึงปรับเพิ่มขึ้น และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับอ่อนค่า ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นจากทั้งปัจจัยภายนอกและ ปัจจัยเฉพาะของไทยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในบางจังหวะ การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยรวมยังดำเนินการได้ตามปกติ แต่ต้องติดตามความเสี่ยงของการระดมทุนทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้ไม่เต็มจำนวน (rollover risk) ของผู้ออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับลดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกที่อาจส่งผลต่อตลาดการเงินไทยและความผันผวนของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด การพิจารณานโยบายการเงิน • คณะกรรมการฯ ประเมินว่าสมดุลของความเสี่ยง

กนง.เซอร์ไพรส์ ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.00% เหตุเศรษฐกิจไทย โตต่ำกว่าคาด

กนง.เซอร์ไพรส์ ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2.00% เหตุเศรษฐกิจไทย โตต่ำกว่าคาด

            หุ้นวิชั่น - นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ 1 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย             เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศ รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและการท่องเที่ยว กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ เพื่อให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งรองรับความเสี่ยงด้านต่ำที่ชัดเจนขึ้น ขณะที่กรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากให้น้ำหนักมากกว่ากับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า             เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการระบายสินค้าคงคลังที่สูง แม้อุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าขยายตัวดี มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้านำเข้าที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง ขณะที่ภาคบริการยังขยายตัวได้ ด้านอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชน ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้จากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและเกษตรแปรรูปเป็นหลัก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามภาคการผลิตที่อาจถูกกดดันต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs ที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย             อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายจากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่สูงจากสินค้านำเข้า โดยอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับดังกล่าวไม่ได้มีสัญญาณนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง และยังมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพและต้นทุนของผู้ประกอบการ ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังทรงตัวในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านต่ำจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกและการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ             ภาวะการเงินยังตึงตัว แม้การขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อในภาพรวมเริ่มมีสัญญาณทรงตัวบ้าง แต่สินเชื่อ SMEs โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง ด้านการขยายตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ช่วยลดความตึงตัวของภาวะการเงินโดยไม่กระทบต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว แต่เห็นควรให้ติดตามแนวโน้มการขยายตัวและคุณภาพสินเชื่อของกลุ่มเปราะบาง รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวนจากความไม่แน่นอนของนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด             ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินในครั้งนี้ และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม โดยเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับลดลงเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในการยกระดับศักยภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด

SET เปิดบ่ายทะยาน 23 จุด เซอร์ไพรส์ กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25%

SET เปิดบ่ายทะยาน 23 จุด เซอร์ไพรส์ กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25%

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดแรกของปี 2568 ให้ลดดอกเบี้ยยโบบายลงสู่ 2.0% จากเดิม 2.25% ประเมินบวกต่อ SET ราว 40 จุด (ตามวิธี ERP) และหุ้นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ เช่าซื้อ อสังหา High Yield หนี้สูง • กลุ่มเช่าซื้อ เน้น MTC (TP25F-58) • กลุ่มอสังหา เน้น AP (TP25F-10.4) • กลุ่ม High Yield เน้น ADVANC (TP25F-311) • กลุ่มหนี้สูง เน้น MINT (TP25F-38), CPALL (TP25F-80)

SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

SCB EIC มองเศรษฐกิจมีความท้าทาย กนง. ปีหน้ามีโอกาสลดดอกเบี้ย

           หุ้นวิชั่น - กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ตามที่ SCB EIC มองไว้ โดย กนง. เห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังเป็นไปตามที่ประเมินไว้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ขยายตัวใกล้เคียงระดับศักยภาพ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ขอบล่างของกรอบเป้าหมาย การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงเป็นการรักษา Policy space เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก            สำหรับมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กนง. คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.7%YOY และ 2.9%YOY ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ แต่มองว่าความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและความไม่แน่นอนของแนวนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิม ณ เดือนตุลาคมที่ 0.5% และ 1.2%            SCB EIC มองว่าการสื่อสารของ กนง. ครั้งนี้ Hawkish ขึ้นพอสมควรเทียบกับการประชุมครั้งก่อน โดย กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม และประเมินว่าปัญหาของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงวัฏจักร แต่มาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่กระทบบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ เช่น SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้น อาทิ กลุ่มยานยนต์            นอกจากนี้ กนง. ไม่ได้แสดงความกังวลมากนักต่อภาวะสินเชื่อที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา โดยประเมินว่าสาเหตุหลักของการชะลอตัวมาจาก (1) การชำระคืนสินเชื่อจากธุรกิจที่ฟื้นตัวได้ดี เช่น ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ และภาคการค้า (ธุรกิจขนาดใหญ่) และ (2) ความต้องการสินเชื่อธุรกิจชะลอลงจากกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าหรือฟื้นตัวไม่เต็มที่ เช่น SMEs ในภาคการค้า ธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจยานยนต์ อีกทั้ง กนง. ยังประเมินว่าเศรษฐกิจในภาพรวมมีแนวโน้ม จะขยายตัวได้ แม้สินเชื่อธุรกิจชะลอลง ทั้งนี้ SCB EIC ตั้งข้อสังเกตว่า ในการประชุมครั้งนี้ กนง. ไม่ได้สื่อสารถึงกระบวนการ Debt deleveraging และความเปราะบางในภาคครัวเรือนมากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ธปท. ได้สื่อสารแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการแถลงข่าวโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ไปแล้วในช่วงก่อนหน้า IMPLICATIONS            SCB EIC มองความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้า โดยสถานการณ์ในปัจจุบันอาจยังไม่ได้มีปัจจัยกดดันชัดเจนที่ทำให้ กนง. จำเป็นต้องเร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากนัก แต่ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความท้าทายที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากความเปราะบางภายในประเทศเอง และความท้าทายจากปัจจัยภายนอก กล่าวคือ ความเปราะบางจากภายในประเทศ สถานการณ์สินเชื่อชะลอลงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยในไตรมาส 3/2024 ยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวทุกหมวด (รูปที่ 1) แม้ กนง. จะประเมินว่าสินเชื่อที่ชะลอลงนี้ยังไม่ได้ฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากมองในทางกลับกัน ภาวะสินเชื่อชะลอลงเช่นนี้ กำลังสะท้อน “อาการ” ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย โดยในด้านสินเชื่อครัวเรือนที่หดตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เข้มงวด (รูปที่ 2) จากความเปราะบางภาคครัวเรือนและรายได้ที่ยังฟื้นตัวช้า ซึ่งจะกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้า ในด้านสินเชื่อธุรกิจ อาจต้องติดตามว่าความต้องการสินเชื่อที่ลดลงสะท้อนความต้องการลงทุนใหม่ของภาคธุรกิจที่ลดลงเพียงใด โดย SCB EIC มองว่าอาการความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มเห็นนี้จะทวีความรุนแรงขึ้น จนทำให้น้ำหนักในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อประคับประคองอุปสงค์ในประเทศของ กนง. เริ่มมีมากขึ้น ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะนโยบายการค้าของว่าที่ประธานาธิบดี Donald Trump จะทำให้การแข่งขันในภาคการผลิตทั่วโลกรุนแรงขึ้น ยิ่งซ้ำเติมภาคการผลิตของไทยที่มีปัญหาความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว และอาจกดดันให้รายได้ครัวเรือนฟื้นตัวช้าไปอีก            การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงอาจช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้บ้างภายใต้ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปี 2025 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีพัฒนาการสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และ 2) นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นหลังจาก Donald Trump สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ (รูปที่ 3) ซึ่งจะทำให้ กนง. ประเมินความเสี่ยงด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ดีขึ้น พัฒนาการเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป            SCB EIC จึงประเมินว่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีหน้าไปอยู่ที่ 2% ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่จะต้องเผชิญกับความเปราะบางจากภายในและความท้าทายจากภายนอกมากขึ้น รูปที่ 1 : สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวลงทุกหมวด รูปที่ 2 : มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนปรับเข้มงวดขึ้นต่อเนื่อง รูปที่ 3 : นโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะชัดเจนขึ้นในช่วงต้นปีหน้า บทวิเคราะห์โดย นนท์ พฤกษ์ศิริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส https://www.scbeic.com/th/detail/product/policy-rate-181224

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

กนง. มีมติ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี

กนง. มีมติ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี

          หุ้นวิชั่น - นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี           เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่ยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังฟื้นตัวได้ช้าโดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น           เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องจักรที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น แต่ SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่มยังถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง กลุ่มยานยนต์มีพัฒนาการแย่ลงจากทั้งปัจจัยด้านราคาและอุปสงค์ ส่งผลให้การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนยังไม่ทั่วถึง มองไปข้างหน้า แนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าวซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและการลงทุนของไทยในระยะต่อไป           อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 และ 1.1 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหาร โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 1.0 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

ถอดรหัสลดดอกเบี้ย หุ้นแบงก์กระทบแค่ไหน

ถอดรหัสลดดอกเบี้ย หุ้นแบงก์กระทบแค่ไหน

          หุ้นวิชั่น -บล.ดาโอ ระบุ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทำให้ธนาคารใหญ่มี downside           กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% กนง. มีมติ 5:2 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ (ที่มา: ธปท.)           บล. ดาโอ มองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เรามองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เพราะรายได้ดอกเบี้ยจะมีโอกาสลดลงทันที โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่เราประเมินว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง ในปี 2025E (Fig 6) ทั้งนี้ ธปท. ยังคงคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.5% และ 1.2% ในปี 2024E-2025E แต่มีการปรับเป้า GDP ปี 2024E เป็น 2.7% จากเดิมที่ 2.6% และปี 2025E เป็น 2.9% จากเดิมที่ 3.0% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ ธปท. มุ่งเป้าไปที่การลดหนี้ครัวเรือน ซึ่ง ธปท. คาดหวังว่าจะช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนได้บ้าง ผลกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2024E ของแต่ละธนาคารอยู่ที่ราว -0.47-0.65% โดยกลุ่มธนาคารจะมี downside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ราว -0.5% (Fig 7) ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อกำไรสุทธิเรียงจากมากไปน้อยคือ BBL (-0.65%), KTB (-0.64%), KBANK (-0.52%) และ SCB (-0.50%) ขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคือ KKP (+0.58%) และ TISCO (+0.38%) จากการคำนวณที่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง -0.25% เป็นระยะเวลา 2.5 เดือน ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KBANK, KTB เป็น Top pick           เพราะนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก เทรดที่ระดับเพียง 0.70x PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) ทั้งนี้ เราได้รวมผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในปี 2025E แล้ว โดยเรายังเลือก KBANK และ KTB เป็น Top pick KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และจะดีขึ้นไปอีกหลังจากทำ JV AMC กับ BAM ได้สำเร็จ และคาดกำไร 3Q24E จะเพิ่ม YoY จากสำรองฯที่ลดลง รวมถึงมี valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ทำจุดสูงสุดใหม่

ลดดอกเบี้ยท่องเที่ยวเฮ! หุ้นอะไร? รับประโยชน์

ลดดอกเบี้ยท่องเที่ยวเฮ! หุ้นอะไร? รับประโยชน์

           หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอชี้ ดอกเบี้ยที่ลดลงส่งผลบวกต่อดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงและกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น            กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยว วานนี้ กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ซึ่งจะช่วยให้ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลง และจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาได้มากขึ้น            บล. ดาโอมองเป็นบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเพราะจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงได้ รวมถึงจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้นได้ โดยเราประเมินหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงทุกๆ 0.25% อิงจากยอดเงินกู้ในงวด 2Q24 จะเป็น upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ERW จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +2.4% เพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยสูงที่สุดถึง 88% และเป็น Float rate ที่ 100% (Fig 1) SHR จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +1.7% เพราะฐานกำไรที่ไม่สูงมาก โดยมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยที่ 41% และเป็น Float rate ที่ 47% (Fig 2) CENTEL จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +0.5% เพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยราว 90% และเป็น Float rate ที่ 40% (Fig 3) MINT จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ +0.3% โดย MINT ได้ประโยชน์น้อยสุดเพราะมีสัดส่วนเงินกู้ในไทยเพียง 30% แต่หากรวมเงินกู้สกุลเงินยูโรทีมีสัดส่วนถึง 60% จะทำให้มี Upside เพิ่มอีก 0.6%            ขณะที่กลุ่มสายการบินจะได้รับผลกระทบจำกัดเช่นกัน ได้แก่ AAV จะมี upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ที่ +0.6% ส่วน AOT จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ            เราให้น้ำหนักการลงทุนเป็น “เท่ากับตลาด” โดย Top pick ของกลุ่มท่องเที่ยวเรายังชอบ MINT            MINT (ซื้อ/เป้า 34.00 บาท) จาก valuation ยังถูกกว่ากลุ่มฯซื้อขาย 2024E EV/EBITDA ที่ 10x (-2.00SD below 10-yr average EV/EBITDA) ถูกกว่า ERW และ CENTEL ที่ average EV/EBITDA ขณะที่เราคาดว่า 3Q24E จะโต YoY ได้ต่อเพราะยังเป็น High season ที่ยุโรป โดย RevPAR ที่ยุโรปยังเพิ่มขึ้นได้ดีที่ +15% YoY และมี ADR เพิ่มขึ้นได้ +12% YoY ส่วนไทย RevPAR เพิ่มขึ้นได้ที่ +16% YoY ส่วน 4Q24E จะมี High season จากไทยและมัลดีฟส์ช่วยหนุน

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

SET ได้แรงหนุน หลังกนง.สร้างSurprise เชิงบวกให้กับตลาด

SET ได้แรงหนุน หลังกนง.สร้างSurprise เชิงบวกให้กับตลาด

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ระบุว่า คาด SET ยังได้แรงหนุนต่อเนื่อง หลังกนง. สร้าง Surprise เชิงบวกให้กับตลาด โดยลดดอกเบี้ยนโยบาย 25bps กระตุ้นนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ หนุนดัชนีเพิ่ม นอกเหนือจากเม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ โดยดัชนีมีแนวต้านถัดไปที่ 1495-1500 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1480 และ 1470 จุด ตามลำดับ ใช้เป็นจุดรองรับ สำหรับการย่อตัวสลับระยะสั้น หุ้นเด่นแนะนำวันนี้ CPALL: 3Q67 คาดกำไรปกติจะเติบโต 39%YoY ดีสุดในกลุ่มพาณิชย์ แรงหนุนจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้นจากธุรกิจ CVS และ CPAXT ส่วน 4Q67 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี 2567 จากเข้าสู่ High Season ขณะที่มาตรการกระตุ้น ศก. ของรัฐบาลและการปรับลดดอกเบี้ยจะเพิ่ม Upside ทั้งนี้แนะนำราคาเข้าซื้อวันนี้ไม่เกิน 65 บาท MINT: มองโมเมนตัมกำไรยังแข็งแกร่ง โดย 3Q67 คาดกำไรปกติจะเติบโต YoY แต่ลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล ส่วน 2H67 คาดกำไรปกติจะเติบโตทั้ง YoY และ HoH จากธุรกิจโรงแรมที่แข็งแกร่งในยุโรปจากการเพิ่มขึ้นของ ARR ขณะที่ราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตามภาพตลาดหุ้นไทย แต่ยังลดลง 1.7%YTD ส่งผลให้ Valuation ยังถูก (PBV -2SD)

กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

          กนง.ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบปี เซอร์ไพรส์ตลาด! ลด 0.25% สู่ 2.25% พร้อมคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวใกล้เคียงเป้าหมาย ปรับตัวหนุนการบริโภคและการท่องเที่ยว ส่วนเงินเฟ้อทยอยเข้าสู่กรอบปลายปี 2567           นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 16 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที           เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า           เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง           อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567           ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ           ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว           สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุถึง ผลประชุม กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก Surprise ตลาด  -25 bps อยู่ที่ 2.25%(มติ 5 เสียงลดดอกเบี้ย VS. 2 เสียงหนุนคงดอกเบี้ย) สอดคล้องกับประเทศในภูมิภาค ล่าสุด ฟิลิปปินส์ลดดอกเบี้ย 25 bps อยู่ที่ 6.0%           โดยประเมินการลดดอกเบี้ยฯทำให้ Equity  risk Premium ตลาดหุ้นไทยกว้างขึ้นถึง 3.62% ใกล้ +1SD 4%+/- จะทำให้ตลาดหุ้นเร่งขึ้น สู่ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 1540 จุด  โดยประเมินทุกๆ  25bps เป็น Upside ต่อ SET Index  ราว 45-50 จุด โดยกลยุทธ์เน้นหุ้นในธีมดอกเบี้ยขาลงหนุน กลุ่ม Fin(เน้นจำนำทะเบียน และตามเก็บหนี้ JMT) กลุ่ม โรงไฟฟ้า GULF, GPSC เช่าซื้อ กลุ่มเครดิตการ์ด KTC, AEONTS  กลุ่มหนี้สูง CPALL, TRUE  IVL และอสังหาฯ(AP, SIRI, SC) หุ้น High Yield (ADVANC)

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456