ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

ดิจิทัลคาร์บอนเครดิต: อาวุธลับของไทยสู่การเป็นฮับสีเขียวอาเซียน


          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการประกาศปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล Utility Token โดยมีสาระสำคัญในการยกเว้นการกำกับดูแลกลุ่มโทเคนดิจิทัลที่เน้นการอุปโภคบริโภค หรือใช้แทนใบรับรองสิทธิต่าง ๆ (Consumption-based utility token) หรือที่เรียกว่า “Utility Token กลุ่มที่ 1” โดยมีเงื่อนไขห้ามผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโทเคนกลุ่มนี้ (ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.) ยกเว้นโทเคนที่มีบทบาทสนับสนุนกลไกการพัฒนาประเทศตามที่ ก.ล.ต. กำหนด

          Carbon Credit และ Renewable Energy Certificate (REC) คืออะไร?

  • Carbon Credit หรือคาร์บอนเครดิต คือ หน่วยที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลด ดูดซับ หรือกักเก็บโดยโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ โดย หน่วยวัดที่แสดงถึงการลด ดูดซับ หรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก1 หน่วย = 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐาน เช่น VERRA หรือ Gold Standard
  • Renewable Energy Certificate (REC) คือ ใบรับรองที่แสดงถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกและเศรษฐกิจสีเขียว เนื่องจากช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และขับเคลื่อนเป้าหมายของโลกในการบรรลุ Carbon Neutrality และ Net Zero โดย ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (เช่น โซลาร์เซลล์ ลม ชีวมวล)1 REC = 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ของไฟฟ้าสะอาด โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบอิสระ (Auditor)

          องค์ประกอบของระบบคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย

ตัวอย่างมาตรฐานที่สำคัญในการรับรอง Carbon Credit ในระดับสากล

  • VERRA (VCS) : มาตรฐานระดับสากลที่ใช้รับรองการลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
  • Gold Standard: มาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

          ในส่วนของประเทศไทย มีมาตราฐานที่เป็นของตัวเอง โดยมีผู้รับรองการออกคือองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

  • T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program): มาตรฐานรับรองการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย และ T-VER Premium: มาตรฐานระดับพรีเมียมที่เน้นโครงการที่มีประสิทธิภาพและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมชัดเจนยิ่งขึ้น

          Carbon Credit ในประเทศไทยได้มาผ่านระบบที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ:

  • ผู้พัฒนาโครงการ (Issuer): หน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนาและดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นเจ้าของโครงการนั้นๆ
  • ระบบทะเบียน  (Registry): ระบบฐานข้อมูลที่บันทึกและติดตามสถานะของ Carbon Credit เช่น ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตของ อบก. ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนบันทึกจำนวนหน่วยคาร์บอนเครดิต
  • ผู้ตรวจสอบ (VVB – Validation and Verification Body): หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ซึ่งในประเทศไทย VVB จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อบก. ก่อนเท่านั้น และทำงานร่วมกับ อบก.
  • ตลาดการแลกเปลี่ยน : ตลาดที่มีการซื้อขาย Carbon Credit เช่น ตลาด FTIX และตลาดที่อยู่ในช่วงการพัฒนาและทดลองใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดย อบก.

          มาตรฐาน Renewable Energy Certificate (REC)

มาตรฐาน REC ที่ได้รับความนิยมระดับโลกคือ International REC Standard (I-REC) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรับรองและติดตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดย REC จะได้มาจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานหมุนเวียน และได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง (Auditor) ว่าพลังงานที่ผลิตนั้นมาจากแหล่งพลังงานสะอาดจริง โดยจะมีการบันทึกและออกใบรับรองผ่านระบบทะเบียน REC ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งในประเทศไทยนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ดำเนินการลงทะเบียนและบันทึก REC ผ่านแพลตฟอร์มของ I-REC และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มที่รองรับ เช่น FTIX

          Carbon Credit และ REC มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง?

          สถานการณ์ในประเทศไทยปัจจุบัน

ประเทศไทยดำเนินตลาดคาร์บอนเครดิตในรูปแบบ Voluntary Market ซึ่งองค์กรต่างๆ เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ยังไม่มีกฎหมายบังคับอย่างเป็นทางการ (Mandatory Market) แต่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ตลาดแบบบังคับผ่านระบบ Emission Trading Scheme (ETS) โดยมีการวางแผนและทดลองในบางภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเทศไทยยังมีส่วนร่วมในการประชุม COP (Conference of Parties) และได้แสดงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกที่ตั้งเป้าไว้ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างและเตรียมนำเสนอ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดกรอบกฎหมายและมาตรการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการตรวจวัดและบริหารจัดการ Carbon Footprint for Organization (CFO) มากขึ้น เพื่อให้มีการรายงานและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจอย่างชัดเจน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

          ล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยอนุญาตให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนำ Tokenized Carbon Credit, REC และ Carbon Allowance ที่อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ (Ready-to-use) มาให้บริการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ 2 ข้อ คือ

  1. ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการคัดเลือกและเพิกถอนโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของโทเคนที่นำมาซื้อขาย
  2. ต้องมีระบบหรือมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน และเพียงพอ เพื่อสร้างความโปร่งใสต่อนักลงทุน

          ทำไม Carbon Credit และ REC ถึงสำคัญสำหรับประเทศไทย?

  • CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) ที่มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 โดยจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้า (เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ ไฟฟ้า) ตามปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

ผลกระทบต่อไทย:

  • ไทยส่งออกไป EU มูลค่า3 แสนล้านบาทต่อปี(ข้อมูลปี 2566) โดยเฉพาะสินค้าเป้าหมาย CBAM เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าเหล็ก
  • หากผู้ผลิตไทยไม่ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ จะถูกเก็บภาษีเพิ่มสูงถึง20-35% ของมูลค่าสินค้า ทำให้เสียเปรียบแข่งกับผู้ผลิตใน EU
  • ดึงดูดการลงทุนสีเขียว (Green Investment) ซึ่งทางฝั่งนักลงทุนต่างชาติคัดกรอง ESG หนักขึ้น เช่น กองทุนระดับโลก เช่น BlackRock, GPIF ประกาศลงทุนเฉพาะบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนเป้าหมายชาติ Carbon Neutrality 2050 และ Net Zero 2065 : ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 370 ล้านตัน CO2 (อันดับ 21 ของโลก) โดยมีภาคพลังงานและยานยนต์ปล่อยสูงสุด (40%) ดังนั้น REC และ Carbon Credit ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และฟื้นฟูระบบนิเวศควบคู่กัน

          ผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศไทยในระยะยาว

การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ครั้งนี้ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชนในการยกระดับตลาด Carbon Credit และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกในระยะยาวโดย:

  • สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและ SMEs มีรายได้จากโครงการลดคาร์บอน
  • เพิ่มสภาพคล่องของตลาดคาร์บอนและสร้างโอกาสการลงทุนสำหรับภาคธุรกิจ
  • ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภูมิภาค
  • กระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียวด้วยการดึงดูดการลงทุนและการใช้งานพลังงานสะอาดมากขึ้น ดึงดูดเงินลงทุน ESG (Environmental, Social, Governance) จากต่างชาติ
  • เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

          ความท้าทายและข้อควรระวัง

นอกจากผลกระทบเชิงบวกแล้ว ยังมีสิ่งที่ประเทศไทยควรระวัง และเตรียมการเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวดังนี้

  • ความเสี่ยงด้านการตรวจสอบ: การเปลี่ยนหน่วยให้มาเป็นโทเคนดิจิทัลต้องมีการเชื่อมระบบกันระหว่าง ผู้ใช้งานคาร์บอนเครดิต , คลาดแลกเปลี่ยน และ ระบบบันทึกทะเบียน ซึ่งถ้าทำไม่สมบูรณ์ อาจจะเกิดการนับซ้ำซ้อน (Double Counting) ซึ่งส่งผลลบกับความเชื่อมั่น
  • การรับรู้ภาคประชาชน: ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกคาร์บอนเครดิตและ REC
  • กฎหมายที่คลุมเครือ: ต้องการกรอบกำกับดูแลที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการละเมิด

          ในยุคที่ “คาร์บอน” คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย REC และ Carbon Credit ไม่เพียงช่วยลดภาระภาษี CBAM แต่ยังเปิดทางให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นหลักในตลาดคาร์บอนโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐปรับนโยบายสนับสนุน เอกชนลงทุนเทคโนโลยีสะอาด และประชาชนตื่นรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม

          การปรับนโยบายของสำนักงาน ก.ล.ต. สะท้อนความพร้อมของไทยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แม้มีอุปสรรคที่ต้องแก้ไข แต่ทิศทางนี้จะช่วยวางรากฐานให้ไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการเงินสีเขียวในอาเซียนอย่างแท้จริง

ที่มา : https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=11644

ผู้เขียน : Suttirat Hanpanit, Head of Business Development – Token X

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

CPALL จัดใหญ่ มอบทุนกว่า 1,648 ล้าน รับมือยุค AI

CPALL จัดใหญ่ มอบทุนกว่า 1,648 ล้าน รับมือยุค AI

‘UBE’ จับมือภาครัฐ-เอกชน ก้าวสู่เกษตรคาร์บอนต่ำ

‘UBE’ จับมือภาครัฐ-เอกชน ก้าวสู่เกษตรคาร์บอนต่ำ

TRT เดินแผนธุรกิจมุ่งสู่ Zero Carbon Footprint เต็มสูบ

TRT เดินแผนธุรกิจมุ่งสู่ Zero Carbon Footprint เต็มสูบ

OR มอบน้ำมันดีเซล 2,000 ลิตร แก่ กทม. ช่วยภารกิจในพื้นที่ตึกถล่ม

OR มอบน้ำมันดีเซล 2,000 ลิตร แก่ กทม. ช่วยภารกิจในพื้นที่ตึกถล่ม

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด