ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

PTTGC เป้าพลิกกำไร ลดต้นทุน-เพิ่มรายได้


          หุ้นวิชั่น – PTTGC ตั้งเป้าปี 2568 จะพลิกมีกำไร ฝ่าจุดต่ำสุดมุ่งลดต้นทุน-เพิ่มรายได้ 4,500 ล้านบาทต่อปี ผลักดัน EBITDA 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 เดินหน้าโครงการมาบตาพุดให้เป็น Specialty Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายศักยภาพของ allnex ขับเคลื่อนธุรกิจ Bio & Circularity เพื่อสร้างโซลูชันที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

          นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า สำหรับ 2568 บริษัทคาดหวังว่าผลประกอบการปี 2568 จะพลิกกลับมามีกำไร โดยจากปีก่อนที่ขาดทุน 29,811 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ผลขาดทุนมีรายการพิเศษที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวและขาดทุนจากการปรับโครงสร้าง คือ มีการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าและประมาณการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปรับโครงสร้างของทั้งกลุ่ม Vencorex และบริษัท PTTAC และการขาดทุนจากการดำเนินงานของ Vencorex และบริษัท PTTAC ดังนั้นหากมาพิจารณาที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานจะมีผลขาดทุนเพียง 3,400 ล้านบาท

          ดังนั้นปี 2568 บริษัทตั้งเป้าพลิกธุรกิจด้วย Holistic Optimization เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน เสริมศักยภาพการแข่งขัน และวางรากฐานสู่การเติบโตในอนาคต ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจผันผวนและจุดต่ำสุดอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยตั้งเป้าลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ 4,500 ล้านบาทต่อปี ผ่านมาตรการลดค่าใช้จ่าย เสริมประสิทธิภาพองค์กร และเพิ่มสภาพคล่อง พร้อมขยายธุรกิจมูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ (High Value & Low Carbon Business) หากทำได้ตามแผนก็คาดว่า Net Profit จะกลับมาแข็งแรงได้มากขึ้น และผลักดัน EBITDA 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573

          นอกจากนี้ GC เป็นรายแรกที่จะนำเข้าอีเทนจากสหรัฐฯ มาใช้ในประเทศไทย ทดแทนวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนในระยะยาว โดยไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน ทั้งยังคงเดินหน้าผลักดันมาบตาพุดให้เป็น Specialty Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายศักยภาพของ allnex และขับเคลื่อนธุรกิจ Bio & Circularity เพื่อสร้างโซลูชันที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

          นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC กล่าวว่า “อุตสาหกรรมในภาพรวมกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน นโยบายสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลง และภาวะอุปทานส่วนเกินในธุรกิจปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม GC ยังเดินหน้าพลิกธุรกิจ หยุดภาวะขาดทุน และมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งขยายไปยังธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ GC มั่นใจว่าคนของเรามีศักยภาพพร้อมที่จะสร้างความแตกต่าง เพื่อปรับธุรกิจให้ตอบสนองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลง”

          GC มุ่งมั่นพลิกผลประกอบการด้วย Holistic Optimization เพื่อเร่งนำธุรกิจกลับสู่สถานการณ์ปกติท่ามกลางจุดต่ำสุดของอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ 4,500 ล้านบาทต่อปี ผ่านการประหยัดค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องจากสินทรัพย์ที่มี และปรับปรุงการดำเนินงานให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้วยมาตรการระยะกลางผ่าน 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเสริมศักยภาพธุรกิจมูลค่าสูง และการเติบโตในธุรกิจที่ยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันและสร้างความมั่นคงในระยะสั้น GC ได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และรักษาเสถียรภาพของธุรกิจ โดยบรรลุข้อตกลงการจัดหาอีเทนกับ ปตท. คาดว่าจะได้รับการจัดสรรปริมาณอีเทนเพิ่มขึ้นอีก 20% จากปี 2567 พ
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังใช้บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทาง Asset Light โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจาณาสินทรัพย์ทั้งหมด และลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (Capex) รวมถึงดำเนินมาตรการเสริมสภาพคล่องผ่านวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน เพื่อรักษาสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและรองรับการเติบโตในอนาคต ส่วนแผนการหาพันธมิตรเข้ามาเพิ่มก็เป็นไปตามนโยบายของปตท.

          ส่วนการเสริมความมั่นคงด้านวัตถุดิบและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนในระยะยาว GC เป็นรายแรกจะที่นำเข้าอีเทนจากสหรัฐฯ มาใช้ในประเทศไทย เพื่อทดแทนวัตถุดิบอื่นๆ โดยได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ ปตท. และพันธมิตรระดับโลก ได้แก่ บริษัทย่อยใน Enterprise Products Partners บริษัท เอ็มไอเอสซี เบอร์ฮาด และบริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด เพื่อจัดหาและขนส่งอีเทนคุณภาพสูง 400,000 ตันต่อปี เป็นระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ GC สามารถนำอีเทนมาใช้เป็นวัตถุดิบได้โดยไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน ซึ่งได้รับการออกแบบให้รองรับอีเทนได้ตั้งแต่ต้น ลดความจำเป็นในการลงทุนเพิ่มเติม คาดว่าโครงการจะเริ่มดำเนินการในปี 2572

          การเสริมศักยภาพธุรกิจมูลค่าสูง GC เดินหน้า allnex SEA Hub ในระยอง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในเฟสแรก และคาดว่าจะตัดสินใจลงทุนภายในปี 2568 โดยมุ่งเน้น Waterborne Coatings และ Coating Resins ชนิดพิเศษ เพื่อขยายตลาดในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ

          ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ผลักดัน allnex ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องผ่านกลยุทธ์ขยายตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในปี 2567 allnex ได้เพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานที่ใหญ่ที่สุดที่ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน และลงทุนในโรงงานแห่งใหม่ที่ เมืองมะหาด ประเทศอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ปี 2568 โครงการนี้ช่วยเสริมศักยภาพด้านการผลิตและการกระจายสินค้าในตลาดที่มีการเติบโตสูง

          นอกจากนี้ การพัฒนามาบตาพุดเป็น Specialty Hub ยังถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของ GC เพื่อรองรับธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ โดยอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อดึงดูดพันธมิตรระดับโลกที่จะส่งเสริมธุรกิจทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ควบคู่ไปกับการศึกษาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจรายอื่น ๆ เพื่อนำโครงการใหม่ ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Specialty Hub โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างศูนย์กลางอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เฉพาะทางที่ครบวงจร อาทิเช่น การร่วมมือกับ Toray เพื่อศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับทุนสนับสนุนญี่ปุ่น จากรัฐบาล คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จในปี 2570 และยังให้ความสำคัญกับน้ำมันอากาศยานด้วย เป็นสิ่งที่บริษัทมีแผนผลักดันเรื่องดังกล่าว

การเติบโตในธุรกิจที่ยั่งยืน

          GC มุ่งขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านโซลูชันเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมตลาดและอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ พลังงานสะอาด วัสดุชีวภาพ ไปจนถึงเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialty Chemicals) เพื่อตอบสนองแนวโน้มของตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดย GC ให้ความสำคัญกับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักในธุรกิจ Bio & Circularity ได้แก่

1. โอลิโอเคมี (Oleochemicals) – มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จากพืช ผ่านการดำเนินงานของ GGC และ Emery ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้ GC Group พัฒนาโซลูชันเคมีชีวภาพที่สามารถทดแทนการใช้วัตถุดิบฟอสซิลในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล และเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ

2. พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) – ผ่าน NatureWorks บริษัทร่วมทุนกับ Cargill ในการพัฒนาและผลิต PLA ซึ่งเป็นวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ รองรับตลาดบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและพร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในปลายปี 2568

3. พลาสติกรีไซเคิล (Recycled Plastics) – เป็นผู้บุกเบิกและขยายตลาดวัสดุรีไซเคิลคุณภาพสูงมาอย่างยาวนาน โดย ENVICCO ผลิต rPET และ rHDPE ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

4. เชื้อเพลิงและโพลีเมอร์ชีวภาพ (Biofuels & Biopolymer) – GC ขยายศักยภาพผ่าน Biorefinery ที่ครบวงจร ได้แก่ เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) สำหรับอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ Bio-chemicals และ Bio-polymer สำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ก่อสร้าง ตกแต่ง ชิ้นส่วนยานยนต์ ขิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งทอ

          นอกจากนี้ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน GC ได้รับการจัดอันดับ Top 1% ในดัชนีความยั่งยืนของดาวน์โจนส์ (DJSI) สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ทั่วโลกจาก S&P Global และครองอันดับ 1 ต่อเนื่อง 6 ปี เป็นรายแรกและรายเดียวของโลกในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและสร้างคุณค่าให้กับทุกภาคส่วน และล่าสุด GC ได้รับผลการประเมินระดับ A (Leadership Level) ซึ่งเป็นระดับสูงสุด 5 ปีต่อเนื่องด้านการบริหารจัดการน้ำ (Water Security) ภายใต้กรอบการประเมินของสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก CDP ประจำปี 2567 จากจำนวนบริษัททั้งหมดที่เข้าร่วมประเมิน กว่า 22,000 บริษัท

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

GULF โอกาสโตเด่น หลังควบรวม โบรกชูหุ้น Top pick

GULF โอกาสโตเด่น หลังควบรวม โบรกชูหุ้น Top pick

NEO แบรนด์ใหม่ Lovli Tails รุกกลุ่มสัตว์เลี้ยง - เช็กเป้าด่วน!

NEO แบรนด์ใหม่ Lovli Tails รุกกลุ่มสัตว์เลี้ยง - เช็กเป้าด่วน!

จับตาทรัมป์ขึ้นภาษีนําเข้า หุ้นไทย กระทบแค่ไหน?

จับตาทรัมป์ขึ้นภาษีนําเข้า หุ้นไทย กระทบแค่ไหน?

‘BLC’ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 68 ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.15 บาท

‘BLC’ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 68 ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.15 บาท

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด