หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล ระบุ KBANK มีมุมมองเป็นบวกจากต้นทุนสำรอง (Credit Cost) ที่ลดลง คาดกำไรสุทธิปี 2025 ที่ 5.23 หมื่นล้านบาท (+7.7% YoY) สูงสุดในกลุ่ม 3 แบงก์ใหญ่ โดย Credit Cost ปรับลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ COVID-19 คาดอยู่ที่ 1.8% ซึ่งชดเชยกับ NII ที่ลดลงจากการปรับลดดอกเบี้ย
► Payout Ratio เพิ่มขึ้นจาก 30% สู่ 47% ปันผล 2H24 8.00 บาท (XD 17 เม.ย.) คิดเป็น Div. Yield 5.3% และเราคาดว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นแตะ 50% ในอีก 3 ปีข้างหน้า คาด Div. Yield ปีละ 7.2-8.0%
► คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 184.25 บาท PBV 0.74 เท่า มูลค่ายังถูกเมื่อเทียบกับศักยภาพของหุ้นกำไรโตสูงสุดในกลุ่ม (+7.8% YoY) เทียบกับ BBL (+4.2% YoY) และ SCB (+3.0% YoY)
Earnings Recap
• 4Q24 : กำไรสุทธิเท่ากับ 1.05 หมื่นล้านบาท (-12.3%QoQ, +11.8%YoY) ดีกว่าที่ตลาดคาด โดยการหดตัว QoQ มาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามปัจจัยฤดูกาล ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงานและการพัฒนาระบบ IT ทำให้ C/I ทำจุดสูงของปีที่ระดับ 47.6% และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองราว 5.1%QoQ จากการปรับลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงเป็น stage 2 (S2) โดยลูกหนี้กลุ่ม S2 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 8.6% จากไตรมาสก่อนที่ 7.8% แต่ด้าน NPLs ratio ปรับตัวลงจาก 3.20% ใน 3Q24 เป็น 3.18% ส่วน NII ชะลอตัวลง ตาม NIM ที่ลดลงเหลือ 3.52% (-9 bps QoQ) แม้สินเชื่อจะขยายตัว 2.92%QoQ แต่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ส่วน Fee income ยังขยายตัว จากธุรกิจประกันและกองทุน
• 24FY : กำไรสุทธิ 4.86 หมื่นล้านบาท +14.6%YoY โดดเด่นจากการปรับลดการตั้งสำรองที่ -8.85%YoY และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น 6.7%YoY จากธุรกิจประกันและกองทุน ขณะที่ ROE เท่ากับ 8.99% (+0.7%YoY) อย่างไรก็ดี Tier 1 เพิ่มขึ้นเป็น 18.27%
Outlook มองเป็นบวกจากการลดลงของ credit cost
• GDP 25F คาด +2.4% ปรับลดจากสิ้นปี 24 ที่ +2.6% เนื่องจากได้ปรับลดการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการนำเข้าส่งออกลง จากความเสี่ยงเรื่องการฟื้นตัวของเศรษบกิจที่อาจล่าช้า และผลกระทบของนโยบายภาษีจากทรัมป์ ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะลดลง สู่ระดับ 1.75%
• สินเชื่อทรงตัว : มุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อคุณภาพในภาคส่วนที่กำลังฟื้นตัว สินเชื่อที่มีหลักประกัน และการขยายตัวในภูมิภาค
• NIM ในกรอบ 3.3-3.5% : คาดว่าจะปรับตัวลงตามแนวโน้ม MPC rate แต่ในขณะที่ NIM หัก credit cost ดีขึ้น
• NPLs ratio < 3.25% ทรงตัวจากเป้าปีก่อน และ Credit cost ปรับลดลงมาสู่ระดับปกติที่กรอบ 140-160 bps เทียบกับสิ้นปีก่อนที่ 189 bps
• Net Fee income growth ในระดับ Mid to High Single digit : ได้รับแรงหนุนจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง แม้ว่าค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมแบบดั้งเดิมจะลดลงท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
• C/I ระดับ Low to Mid-40s : ดำเนินการบริหารต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการชะลอตัวของรายได้
ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ขยายตัวสูงสุดในกลุ่มแบงค์ใหญ่
• ประเมินกำไรสุทธิปี 25F ที่ 5.23 หมื่นล้านบาท +7.7%YoY สูงสุดในกลุ่ม 3 แบงค์ใหญ่ โดยได้อานิสงส์จากการปรับลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ทำให้ Credit cost ปรับลดลงต่ำสุดตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเราคาดที่ 1.8% ซึ่งมาชดเชยกับแนวโน้ม NII ที่ปรับลดลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมยังเติบโตตามธุรกิจประกันและกองทุน
• แนวโน้ม 1Q25F คาดว่าจะขยายตัว QoQ และ YoY จากการลดลงของค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน QoQ และค่าใช้การตั้งสำรอง ส่วนด้านรายได้ดอกเบี้ยชะลอตัวลงหลังกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในงวด
คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 184.25 บาท
• เราคงคำแนะนำ “ซื้อสะสม” โดยมีราคาเป้าหมายสิ้นปีที่ 184.25 บาท อิง PBV ที่ 0.74 เท่า โดยตลาดรับรู้การจ่ายปันผลที่สูงขึ้นจากปี 23 ที่ 30% สู่ระดับ 47% ซึ่งปันผลงวด 2H24 เท่ากับ 8.00 บาท ขึ้น XD 17 เม.ย. คิดเป็น Div. yield ที่ 5.3% อย่างไรก็ดีเราคาดว่ามีโอกาสที่จะจ่ายปันผลสูงขึ้น (แตะระดับ 50%) ส่งผลให้ Div. yield ทั้งปีในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 7.2-8.0% ส่วนในแง่ผลประกอบการ คาดหวังการเติบโตของกำไรสุทธิที่จะสูงสุดที่ 7.8%YoY เมื่อเทียบกับ BBL (+4.2%YoY) และ SCB (+3.0%YoY) เนื่องจากผลของการ cleanup balance sheet ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ credit cost ลดลง
ปัจจัยเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ อาจกระทบต่อสินเชื่อเติบโตต่ำกว่าคาดและคุณภาพลูกหนี้ที่อ่อนแอลง, รายได้จาก JK AMC ชะลอตัวต่อเนื่อง
ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า (G), การบริหารความเสี่ยง (G), การเงินเพื่อความยั่งยืน (E), ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (E)