ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

BEM กำไรพุ่ง 3.7 พันล้าน รับอานิสงส์ท่องเที่ยว-ปรับค่าโดยสาร


          หุ้นวิชั่น – BEM เผยกำไรสุทธิปี 2567 พุ่งแตะ 3,768 ล้านบาท โต 8% จากปีก่อน รับอานิสงส์ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น พร้อมปรับค่าโดยสารเมื่อเดือนกรกฎาคม หนุนรายได้รวมแตะ 17,004 ล้านบาท โต 4% แม้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเดินหน้าก่อสร้าง คาดเปิดให้บริการครบทั้งสายในปี 2573

          บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจในการให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการข้างต้น โดยการรับสัมปทานจากหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบันบริษัท
และบริษัทย่อยมีสัญญาสัมปทานการให้บริการทางพิเศษกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 3 สัญญา ได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ทางพิเศษประจิมรัถยา และทางพิเศษอุดรรัถยา โดยมีรายได้จากการเก็บค่าผ่านทาง

          มีสัญญาสัมปทานการให้บริการรถไฟฟ้ากับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 3 สัญญา ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – แยกร่มเกล้า (สายสีส้ม) โดยมีรายได้จากการเก็บค่าโดยสารและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บริษัทรับรายได้ในรูปแบบการรับจ้างเดินรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการส่วนตะวันออก ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ -สถานีแยกร่มเกล้า ต้นปี 2571 และส่วนตะวันตก ช่วงสถานีบางขุนนนท์ – สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ในปี 2573 ซึ่งจะเป็นการเปิดให้บริการครบทั้งสาย

          รายได้จากการให้บริการเป็นรายได้หลักของบริษัท คิดเป็น ร้อยละ 96 ของรายได้รวม รายได้จากการให้บริการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ รายได้จากทางพิเศษ (ร้อยละ 50), รายได้จากระบบราง (ร้อยละ 39) และรายได้จากการ
พัฒนาเชิงพาณิชย์ (ร้อยละ 7) ที่เหลือเป็นรายได้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่คือเงินปันผลและดอกเบี้ยรับ

สรุปสาระสำคัญและผลประกอบการปี 2567

          จากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากปีก่อน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณรถบนทางพิเศษในสายทางที่ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวและปริมาณผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รายได้ค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนภาพรวม รายได้ค่าผ่านทางเติบโตขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผลกระทบจากการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียงทางขึ้นลงทางพิเศษ สำหรับรายได้พัฒนา
เชิงพาณิชย์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท

          สำหรับปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 3,768 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 289 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อกำไร:

• การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าโดยสารจากจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้น
• การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นมา
• รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน

          ส่งผลให้ รายได้จากธุรกิจหลักโดยรวมอยู่ที่ 17,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 629 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 ในขณะที่ต้นทุนการให้บริการรวมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ที่ 10,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 206 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2 และต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ 2,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตลาดหุ้นไทยหน้าร้อน เดือดแค่ไหน เช็กได้!

ตลาดหุ้นไทยหน้าร้อน เดือดแค่ไหน เช็กได้!

3 หุ้นอสังหาฯ สะเทือนน้อย - ลุ้นมาตรการรัฐหนุน

3 หุ้นอสังหาฯ สะเทือนน้อย - ลุ้นมาตรการรัฐหนุน

ORI ผนึก เอสคอน บริษัทอสังหาฯญี่ปุ่น ตอกย้ำเชื่อมั่นคอนโดไทยแข็งแกร่ง

ORI ผนึก เอสคอน บริษัทอสังหาฯญี่ปุ่น ตอกย้ำเชื่อมั่นคอนโดไทยแข็งแกร่ง

GULF โอกาสโตเด่น หลังควบรวม โบรกชูหุ้น Top pick

GULF โอกาสโตเด่น หลังควบรวม โบรกชูหุ้น Top pick

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด