ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

[Vision Exclusive] ทุบค่าไฟ 3.70บ.เป็นไปได้ เอกชนขอความเป็นธรรม

          อดีตนายกฯ ทักษิณ ชี้เป้าลดค่าไฟเหลือ 3.70 บาท ผู้เชี่ยวชาญชี้เป็นไปได้แต่ต้องจัดการหนี้ EGAT และลดงบฯ ซึ่งอาจกระทบคุณภาพบริการของการไฟฟ้า ด้านเอกชนเข้าใจนโยบายช่วยประชาชน แต่ขอความเป็นธรรมและสนับสนุนต้นทุนก๊าซ พร้อมเตือนว่าหากนโยบายขาดความสมดุล อาจทำให้เกิดการย้ายการลงทุนไปต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสด้านพลังงานในระยะยาว

          กลุ่มโรงไฟฟ้า หนาวๆ ร้อนๆ หลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยระหว่างลงพื้นที่หาเสียงให้ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย เรื่องไฟฟ้า ปีนี้ค่าไฟฟ้าจะต้องลงไปอยู่ที่เลข 3 ไม่ใช่เลข 4 ใจตนอยากให้เหลือหน่วยละ 3.50 บาท แต่คงได้แค่ 3.70 บาท กำลังให้เขาช่วยทุบอยู่ ปีนี้ค่าไฟลงแน่เห็นตัวเลขแล้วทุบได้

          ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า เรื่องการลดค่าไฟฟ้ายังต้องมาศึกษารายละเอียดกันอีกที ยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้

          แหล่งข่าวในวงการอุตสาหกรรมพลังงานเปิดเผยว่า สำหรับประเด็นการปรับลดค่าไฟฟ้าลงมาถึงระดับ 3.70 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันที่ 4.15 บาทสำหรับงวดม.ค.-เม.ย. 2568 นั้นหากพิจารณาก็มีความเป็นไปได้ โดยจะต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งปัจจุบันมียอดหนี้ค้างค่าไฟอยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท หากรัฐนำภาระหนี้ดังกล่าวไปบริหารจัดการเอง วิธีนี้จะช่วยให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลงได้

          นอกจากนี้ การสนับสนุนโรงไฟฟ้าที่ได้รับสัญญาสัมปทานในรูปแบบ Adder ซึ่งกำลังจะหมดอายุลงก็จะช่วยลดภาระการสนับสนุนในส่วนนี้ด้วย ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาอยู่ในช่วง 3.80-3.90 บาทต่อหน่วยได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดค่าไฟฟ้าให้ต่ำกว่าระดับดังกล่าว หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่งอาจต้องลดงบประมาณในโครงการบางส่วนหรือปรับลดค่าใช้จ่ายในบางด้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการโดยรวม ทั้งนี้ การตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับประเด็นด้านคุณภาพการบริหารจัดการและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

          สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าเอกชน พบว่าโรงไฟฟ้าประเภท IPP (Independent Power Producer) หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ยังไม่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ เนื่องจากสัญญาระหว่างโรงไฟฟ้าเอกชนและภาครัฐยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ อีกทั้งยังต้องจ่ายค่า AP หรือ ค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งเป็นค่าที่ภาครัฐจ่ายให้เพื่อให้โรงไฟฟ้าเตรียมพร้อมเดินเครื่องสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าตามความต้องการ ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย

          ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภท SPP หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจได้รับผลกระทบมากกว่า โดยที่ผ่านมาโรงไฟฟ้า SPP มักได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ไม่ต้องเสียค่าสายส่ง เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพสำหรับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับลดค่าไฟฟ้าในภาพรวม โรงไฟฟ้า SPP อาจจำเป็นต้องปรับราคาซื้อขายไฟฟ้าในระบบตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังคงต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปว่าจะมีการดำเนินการในทิศทางใดต่อการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าในภาพรวม

          ขณะที่ บริษัทโรงไฟฟ้าเอกชนแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการลดค่าไฟฟ้าว่า ภาคเอกชนเข้าใจถึงความจำเป็นของภาครัฐในการลดภาระค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม เอกชนต้องการให้ภาครัฐพิจารณาอย่างเป็นธรรมและให้ความช่วยเหลือในด้านต้นทุน เช่น ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากโรงไฟฟ้าถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

          ทั้งนี้ หากภาคเอกชนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในเชิงนโยบาย อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเลือกกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาและขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือที่สมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบพลังงานของประเทศ

          ในด้านมุมมอง นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ระบุถึง การลดค่าไฟทั่วประเทศเหลือ 3.70 บาท มีความซับซ้อนและใช้งบประมาณมหาศาล จึงมีแนวโน้มที่นโยบายนี้จะไม่เกิดขึ้นในลักษณะ “Across the Board”  ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลอาจเลือกช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย ซึ่งจะกระทบโครงสร้างพลังงานน้อย  หากการลดค่าไฟเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือเป็นการปรับลดผ่านโครงสร้างราคาก๊าซ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อกำไรของ SPP โดย ค่าไฟงวดใหม่ อาจประกาศช่วงต้นเม.ย. ซึ่งเกิดหลังเลือกตั้ง อบจ. อาจสะท้อนนโยบายที่สมดุลและเป็นไปได้มากกว่า ความกังวลระยะสั้นอาจเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน หากหุ้นกลุ่มนี้ถูกปรับฐานลงแรงเกินไปจากข่าว

          ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดว่าอาจมีความเป็นไปได้ไม่มากที่รัฐบาลจะปรับลดค่าไฟฟ้า เนื่องจาก EGAT ได้แบกรับภาระค่า Ft เกือบ 1 แสนล้านบาทแล้ว และการปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอจะเพิ่มภาระดังกล่าวอีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท และทำให้การชำระหนี้ของ EGAT ล่าช้าออกไปนานกว่าสองปี นอกจากนี้ เราคาดการณ์ว่าต้นทุนค่าก๊าซจะลดลง 3-6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ประมาณ 330 บาท/mmBTU ในปี 2025 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการลดลงของค่าไฟฟ้าที่เสนอ (-11% จากงวด ม.ค.-เม.ย. 2025) ความแตกต่างนี้จะกดดันอัตรากำไร IU ของหุ้นกลุ่ม SPP มากยิ่งขึ้น หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

  • ได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลดค่า Ft ลง 1 สตางค์ต่อหน่วย จะลดกำไรของ BGRIM ลง 1.4% จากกรณีฐาน และ GPSC ลดลง 1.1% ส่วน GULF จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากสัดส่วนของ SPP ไม่สูงมาก (คิดเป็น 17% ของกำลังการผลิตส่วนของบริษัทที่ติดตั้งทั้งหมด ณ ต.ค. 2567)
  • ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติม และต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายคงที่ การปรับลดค่าไฟฟ้าตามข้อเสนอที่ 3.70 บาท จะลดราคาเป้าหมายสำหรับ GPSC และ BGRIM ลงประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่เสนอจะต่ำกว่าค่าไฟฟ้าฐานปัจจุบันที่ 3.78 บาท และการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในค่าไฟฟ้าฐานต้องได้รับการอนุมัติและประกาศจากทั้ง ERC และ EGAT นอกจากนี้ หากรัฐบาลมีเงินอุดหนุนต้นทุนค่าก๊าซ จะช่วยจำกัดผลกระทบด้านลบต่อราคาเป้าหมาย โดยเฉพาะหากเงินอุดหนุนดังกล่าวสามารถลดต้นทุนก๊าซลงเหลือ 305 บาท/mmBTU (ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน) ก็จะไม่มีผลกระทบต่ออัตรากำไร IU (กรณีฐาน)

          ยังคงคำแนะนำ “Neutral” สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม Utilities และคำแนะนำ “Trading Buy” สำหรับ BGRIM, GPSC และ GULF

รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาทรัมป์ขึ้นภาษีนําเข้า หุ้นไทย กระทบแค่ไหน?

จับตาทรัมป์ขึ้นภาษีนําเข้า หุ้นไทย กระทบแค่ไหน?

‘BLC’ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 68 ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.15 บาท

‘BLC’ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 68 ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.15 บาท

SIRI คอนโดใหม่ sold out เป้า 2.34 บาท - แนะ

SIRI คอนโดใหม่ sold out เป้า 2.34 บาท - แนะ "ซื้อ"

ADVANC Q1/68 คาดรายได้โตแกร่ง ARPU - Data Center หนุน เป้า 313.00 บาท

ADVANC Q1/68 คาดรายได้โตแกร่ง ARPU - Data Center หนุน เป้า 313.00 บาท

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด