ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

ตลท.สั่ง PTECH-SABUY-TSR ชี้แจงงบ ภายใน 3 เม.ย.นี้

             หุ้นวิชั่น – ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ บมจ. พลัส เทค อินโนเวชั่น (PTEC) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 โดยผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในประเด็นมูลค่าการสำรองทรัพย์สินสูญหาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มบริษัท

ทั้งนี้ ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568 สำหรับความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท

ข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567

  1. ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติสูญหาย และไม่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สิน รวม 89 ล้านบาท (32% ของตู้ทั้งหมด)
    • บันทึกขาดทุนจากการตัดจำหน่าย 12 ล้านบาท เนื่องจากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 184 ตู้ สูญหาย
      โดยบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย
    • รับรู้สำรองค่าใช้จ่ายทรัพย์สินสูญหาย 77 ล้านบาท จากการพบตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 1,171 ตู้ ที่ไม่ตรงกับรายละเอียดทรัพย์สิน ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุได้

ทั้งนี้ คณะกรรมการมีมติรับทราบให้บริษัทตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และจะสรุปผลภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568

  1. ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นรวม 101 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 2 ล้านบาท โดยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนของลูกหนี้ค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของผู้ถือหุ้นใหญ่ (บมจ. สบาย เทคโนโลยี) จำนวน 60 ล้านบาท รวมถึงตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนของลูกหนี้การค้าสูงกว่ายอดลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ

ประเด็นที่ขอให้บริษัทชี้แจง :

  1. กรณีทรัพย์สินสูญหาย
  • อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสรุปผลการตรวจสอบตามที่บริษัทแจ้งว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 รวมทั้งการดำเนินการแก้ไขระบบควบคุมภายในเพื่อดูแลทรัพย์สิน และมาตรการตรวจนับทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก
  • ผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทคือธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ
  1. สาเหตุที่ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้หมุนเวียนอื่นและลูกหนี้การค้า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อน และบริษัทมีการพิจารณาคุณภาพของลูกหนี้อย่างไร จึงตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตฯ สำหรับลูกหนี้การค้าที่ยังไม่เกินกำหนดชำระด้วย ทั้งนี้ การตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างไร รวมทั้งแนวทางการติดตามหนี้
  2. ความเห็นของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ

(1) ความเพียงพอและเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทจากกรณีในข้อ 1. รวมทั้งกลไกการติดตามดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบ และมาตรการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว

(2) มาตรการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายและนโยบายที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะการทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทปฏิบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับ SABUY ทั้งกรณีการจำนองสินทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นประกันหนี้ และกู้ยืมเงิน

ทั้งนี้ หากผลการตรวจสอบทรัพย์สินสูญหายและต้องมีการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเรื่องดังกล่าวซึ่งยังไม่แล้วเสร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับการนำส่ง
งบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญ

 

*SABUY

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567  โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตดังนี้ (1) ทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือสูญหาย 215 ล้านบาท (2) การประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ยังไม่แล้วเสร็จ (มีค่าความนิยม 71% ของมูลค่าซื้อ) อาจมีการปรับปรุงมูลค่า   ในอนาคต (3) ความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 6,238 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,283%) มีขาดทุนสะสม 8,152 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,103%)

โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568                 ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท

ข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567

  • ผู้สอบบัญชีพบว่ามีทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือสูญหายรวม 215 ล้านบาท ซึ่งบริษัทบันทึกค่าความเสียหายดังกล่าวในงวดไตรมาสที่ 4 ปี 2567 โดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินของบริษัท 114 ล้านบาท (53%) ของ PTECH 89 ล้านบาท (41%) และที่เหลือเป็นของบริษัทย่อยอื่น ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึก
  • เดือนตุลาคม 2567 บริษัทซื้อบจก. ลอคบอกซ์ กรุ๊ป (LOCKBOX) และบจก. ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส (LOCKVENT) ซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ ในราคา 360 ล้านบาท โดยมีค่าความนิยม 257 ล้านบาท (71% ของมูลค่าซื้อ) ซึ่งการประเมินมูลค่ายุติธรรมยังไม่แล้วเสร็จ อาจมีการปรับปรุงมูลค่าในอนาคต
  • บริษัทมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 6,238 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,283%) มีขาดทุนสะสม 8,152 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,103%) รวมทั้งบริษัทถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชำระหนี้ สรุปสาเหตุสำคัญที่บริษัทขาดทุนสูงมาก ดังนี้
1.ผลกระทบจากการลงทุนใน TSR AS PTECH และบริษัทอื่น 5,731 ลบ.
2.ขาดทุนจากการวัดค่าสินทรัพย์ทางการเงิน 111 ลบ.
3.ขาดทุนจากการด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาทางธุรกิจ

(ธุรกิจที่ตั้งด้อยค่า ได้แก่ ธุรกิจช่องทางการจัดจำหน่ายและเชื่อมต่อเข้าถึงลูกค้า ธุรกิจบริการด้านชำระเงินและระบบการเงินอิเลคทรอนิกส์ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อและประกันภัย และธุรกิจให้บริการสำหรับองค์กรและไลฟ์สไตล์ / ธุรกิจที่ยกเลิกสัญญา ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านชำระเงินและระบบการเงินอิเลคทรอนิกส์ และธุรกิจให้บริการสินเชื่อและประกันภัย)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ SABUY ชี้แจงข้อมูลดังนี้

1.       กรณีทรัพย์สินสูญหาย อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรอบเวลาในการตรวจสอบเชิงลึกและผลการตรวจสอบ  การดำเนินการแก้ไขระบบควบคุมภายในเพื่อดูแลทรัพย์สินและมาตรการตรวจนับทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก

2.     กรณีซื้อกิจการให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ อธิบายกรอบเวลาของการประเมินราคาทรัพย์สินแล้วเสร็จและการประเมินความเสี่ยงที่อาจด้อยค่าเงินลงทุนและค่าความนิยมของธุรกิจ

3.     แนวทางจัดการกรณีถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชำระหนี้ ความคืบหน้าการเจรจาและแนวทางการติดตามหนี้กับ TSR รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงกรณีอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้

4.     แนวทางดำเนินธุรกิจของบริษัทในอนาคต เนื่องจากมีการด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาธุรกิจหลายรายการ รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง พร้อมอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขาดทุนจากการวัดค่าสินทรัพย์ทางการเงิน

5.     ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ

(1)  ความเพียงพอและเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทจากกรณีในข้อ 1. รวมทั้งกลไกการติดตามดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบและมาตรการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว

(2)    มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืม การลงทุนในธุรกิจต่างๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้ ผลการดำเนินงานปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใดๆ ในอนาคตด้วย

ทั้งนี้ หากผลการตรวจสอบเชิงลึกทรัพย์สินสูญหายและต้องมีการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญ

 

*TSR

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.ทีเอสอาร์ ลิฟวิ่ง โซลูชั่น (TSR) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567                 โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญของการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 715 ล้านบาท มีขาดทุนสะสม 945 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการบันทึกด้อยค่าลูกหนี้และค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่ลงทุนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 รวมทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและขอให้ชำระหนี้คืนซึ่งมีเงินต้น 873 ล้านบาท กรณีข้างต้นอาจกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต

โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568  ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท

ข้อมูลสำคัญในงบการเงินและคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำปี 2567

ปี 2567 TSR ขาดทุน 715 ล้านบาท เกือบทั้งหมดเกิดจากการบันทึกด้อยค่าลูกหนี้ 4 กลุ่มธุรกิจ และผลขาดทุนจากด้อยค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รวม 641 ล้านบาท สรุปดังนี้

ผลขาดทุนจากการด้อยค่าลูกหนี้ 4 กลุ่มธุรกิจ โดยส่วนหนึ่งคือลูกหนี้ Factoring ที่เป็นอดีตบริษัทในเครือของกลุ่ม SABUY

(ขายตรงและตัวแทนจำหน่าย 324 ลบ. / ดิจิทัลออนไลน์และขายทางโทรศัพท์ 132 ลบ. / ค้าปลีกและตัวแทนร้านค้า 20 ลบ. / ธุรกิจองค์กร 16 ลบ.)

492 ลบ.
ผลขาดทุนจากด้อยค่าค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เนื่องจากบริษัทย่อย (บจก. เวนดิ้ง คอนเน็กซ์ เทค) มีการชะลอการประกอบธุรกิจดังกล่าว 149 ลบ.

 

เดือนมกราคม 2568 ผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและขอให้ชำระหนี้คืนภายใน 30 วัน (เงินต้น 873 ล้านบาท) ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ 2568 บริษัทมีหนังสือตอบกลับว่าอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางดำเนินการ ทั้งนี้ ระหว่างปี 2567 มีการเจรจาโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้โดยส่งมอบตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติให้กับ SABUY ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป

ปัจจุบัน TSR ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินได้ ซึ่งสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกชำระหนี้คืนได้ มูลหนี้ 418 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างเจรจาผ่อนผันเงื่อนไขสัญญา และมีผิดนัดชำระหนี้บุคคลและกิจการอื่นอีก 18 ล้านบาท โดยสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัท (934 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์ปลอดภาระผูกพันลดลงซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ TSR ชี้แจงข้อมูลดังนี้

1.ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อบ่งชี้การด้อยค่าค่าความนิยมทั้งจำนวนของธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในระยะเวลาอันสั้น และปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนและความแตกต่างของผลประกอบการภายหลังเข้าลงทุนพร้อมเหตุผล

2.ที่มาและสาเหตุของการพิจารณาตั้งด้อยค่าลูกหนี้ 4 ธุรกิจ ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจดังกล่าว สรุปรายละเอียดของลูกหนี้ที่ด้อยค่าโดยสังเขป รวมถึงความสัมพันธ์กับบริษัททั้งในอดีตและปัจจุบัน ความครบถ้วนการตั้งด้อยค่าลูกหนี้ แนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้

3. สรุปการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท ณ ปัจจุบัน และธุรกรรมที่ยังคงมีกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) โดยขอให้อธิบายประเด็นที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) รวมถึงผลกระทบเกี่ยวกับการพิจารณาตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนหรือด้อยค่าเพิ่มเติม

4.     ความคืบหน้าของการเจรจา แนวทางแก้ไขปัญหา และมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้กับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้ต่างๆ รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว

  1. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ

5.1  ความเหมาะสมและเพียงพอของการตั้งด้อยค่า รวมทั้งความเหมาะสมของแนวทางการติดตามลูกหนี้

5.2  นโยบายการประกอบธุรกิจในอนาคตของบริษัทภายหลังจากการเปลี่ยนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งการทำธุรกิจร่วมกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY)

 

 

 

416 ลบ.
แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อสังหาฯ ไม่รอด กอดคอร่วงหนัก หลายบ.เร่งสร้างเชื่อมั่น

อสังหาฯ ไม่รอด กอดคอร่วงหนัก หลายบ.เร่งสร้างเชื่อมั่น

BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลแกร่ง หุ้นราคาน่าสน เป้า 29.40 บ.

BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลแกร่ง หุ้นราคาน่าสน เป้า 29.40 บ.

AURA โกยกำไรส่วนต่าง Modern gold โบรกเคาะพื้นฐาน 20.10 บาท

AURA โกยกำไรส่วนต่าง Modern gold โบรกเคาะพื้นฐาน 20.10 บาท

TRUE แกร่งฝ่า Low Season โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 15 บาท

TRUE แกร่งฝ่า Low Season โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 15 บาท

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด