ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

KKP ชี้แจกเงินฟื้นชั่วคราว ชำแหละปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

           หุ้นวิชั่น– แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว KKP Research ปรับประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 2567 ขึ้นจาก 2.6% เป็น 2.8% และปี 2568 ขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.0% เพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น จากสองปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1) การแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางของภาครัฐในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 และงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ตั้งรอไว้สำหรับปี 2568 2) การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ภาคการผลิตบางกลุ่ม และการบริโภคสินค้าคงทนยังคงเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเป็นการปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้นจากแรงกดดันเชิงโครงสร้างในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ ปัญหาความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยประเมินว่าการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไม่มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ชัดเจน

การส่งออกปรับตัวดีกว่าคาด แต่ผลต่อเศรษฐกิจอาจไม่มาก
           KKP Research ปรับประมาณการการส่งออก (ที่แท้จริง) ในปี 2567 ขึ้นจาก 1.3% เป็น 2.3% จากการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวดีขึ้นในหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ผลทางบวกต่อเศรษฐกิจจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกอาจมีไม่มากเท่ากับในอดีต จากหลายสาเหตุ คือ 1) การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในบางสินค้ามีแนวโน้มเกิดจากการ “Rerouting” หรือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการค้าจากจีนไปสหรัฐฯ โดยตรงเป็นการส่งสินค้าจากจีนผ่านไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางภาษี ซึ่งอาจจะมีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศค่อนข้างน้อย 2) การส่งออกที่เป็นตัวเงินปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่การส่งออกที่แท้จริงอาจปรับตัวสูงขึ้นน้อยกว่า 3) การผลิตสินค้าบางกลุ่มยังไม่ปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก เนื่องจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง เช่น กลุ่ม ICs และ Electronics เป็นต้น จากมูลค่าเพิ่มในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง KKP Research ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของการส่งออก 1% จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจลดลงจากประมาณ 0.3ppt เหลือประมาณ 0.1ppt ถึง 0.2ppt เท่านั้น

ความหวังจากนโยบายภาครัฐใหม่
           เศรษฐกิจไทยน่าจะได้รับผลบวกระยะสั้นจากนโยบายแจกเงินของรัฐบาลในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยมีการแจกเงินจำนวน 142,000 ล้านบาทให้กับกลุ่มเปราะบางหรือคิดเป็นประมาณ 0.7% ของ GDP KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีค่า Multiplier ที่ประมาณ 0.3 โดยประเมินว่าการแจกเงินในรอบแรกส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจประมาณ 0.2-0.3 ppt และมีแนวโน้มส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้เติบโตได้เกิน 4% อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2567/6825 ยังมีการอนุมัติงบประมาณอีก 150,000 – 180,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.8% – 0.9% ของ GDP ซึ่ง KKP Research ประเมินว่าการแจกเงินก้อนที่สองจะมีการใช้งานได้ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2568 และน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้นได้ประมาณ 3% ในปี 2568

           นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่และแนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยที่มั่นคงขึ้นในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่านโยบายที่สำคัญ คือ 1) การปรับโครงสร้างหนี้ 2) การส่งเสริมและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 3) การให้ความช่วยเหลือด้านราคาพลังงานและสาธารณูปโภค 4) การดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่เศรษฐกิจในระบบ และ 5) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายของภาครัฐ จากหลายนโยบายที่ยังไม่มีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และข้อจำกัดด้านหนี้สาธารณะของภาครัฐ โดยในสถานการณ์ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP ของภาครัฐกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับ 70% ของ GDP ในขณะที่ รายได้ภาษีต่อ GDP มีแนวโน้มลดลง

4 ปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงฉุดให้เศรษฐกิจไทยโตต่ำ
           KKP Research ยังคงมุมมองระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยโดยประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไทยยังขาดนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนโดยประเมินว่าในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับสี่แรงกดดันเชิงโครงสร้างที่สำคัญ คือ

           โครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรไทยในปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยลบต่อศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว จากจำนวนคนวัยทำงานที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2558
           ความสามารถในการแข่งขัน ภาคการผลิตไทยเผชิญกับปัญหาควาสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี โดยการผลิตมีทิศทางที่หดตัวลงต่อเนื่องจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
           ภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนไทยหดตัวลงรุนแรงถึง 5.7% ในไตรมาส 2 ของปีสูงกว่าที่คาดไว้ โดยการหดตัวเกิดขึ้นหลังจากภาคการผลิตไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในขณะที่การลงทุนในกลุ่มการก่อสร้างหดตัวลงเช่นกันตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ
           สถานะทางการเงินของครัวเรือนที่อ่อนแอ โดยหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 80% ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มฉุดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบกับหนี้เสียในภาคธนาคารเริ่มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาสอดคล้องกับยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีแนวโน้มหดตัวลง

ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงอ่อนแอ
           ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งขึ้นเร็วมากที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าการแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มเกิดจากปัจจัยระยะสั้นซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าลงเร็วของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การเมืองที่มีทิศทางชัดเจนขึ้น และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ

           อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป KKP Research ประเมินว่าว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวไม่สอดคล้องกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้น และยังคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังมีแนวโน้มต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมา แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับไปใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้วก็ตาม โดยการเกินดุลในระยะต่อไปจะอยู่ในระดับประมาณ 1% – 3% ของ GDP เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโควิดที่ระดับ 7% – 8% ของ GDP ซึ่งเป็นผลมาจากหลายองค์ประกอบ จากทั้งดุลการค้าที่เกินดุลน้อยลงตามราคาน้ำมันและความสามารถในการแข่งขัน รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง และค่าขนส่งที่ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด

ดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง
           แม้ว่า KKP Research จะปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 และ 2568 ขึ้นแต่ยังคงประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้ และจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในไตรมาส 1 และ 2 ปีหน้าสู่ระดับ 1.75% จากระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างสูงแล้วเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระดับอัตราดอกเบี้ยในอดีต และระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่หนี้ครัวเรือนที่อยูในระดับสูงเริ่มมีสัญญาณปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกมแลกหมัดการค้าโลก ไทยเสี่ยงแค่ไหน?

เกมแลกหมัดการค้าโลก ไทยเสี่ยงแค่ไหน?

CBG สนับสนุน “Carabao Cup” 10 ปี ชู “เชียร์บอล เชียร์บาว” กระหึ่มโลก

CBG สนับสนุน “Carabao Cup” 10 ปี ชู “เชียร์บอล เชียร์บาว” กระหึ่มโลก

ตลาดหลักทรัพย์ฯเช็กแล้ว อาคารแกร่งพรุ่งนี้เปิดปกติ

ตลาดหลักทรัพย์ฯเช็กแล้ว อาคารแกร่งพรุ่งนี้เปิดปกติ

ครม. เคาะลดค่าไฟเหลือ 3.99 บ./หน่วย เร่งปรับสัญญาโรงไฟฟ้า ลดภาระต้นทุนรัฐ

ครม. เคาะลดค่าไฟเหลือ 3.99 บ./หน่วย เร่งปรับสัญญาโรงไฟฟ้า ลดภาระต้นทุนรัฐ

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด