ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

หนี้ลดแต่ยังน่าห่วง! พาณิชย์เผยหนี้ประชาชนลดลงเล็กน้อย

                นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เดือนกุมภาพันธ์ 2568 จำนวน 6,291 ราย ซึ่งครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ เกี่ยวกับภาระหนี้สินของประชาชน ผลการสำรวจพบว่า สถานการณ์หนี้สิน ของประชาชนดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 2566 และมีการลดลงของภาระหนี้นอกระบบ อย่างไรก็ตาม
จากผลการสำรวจพบว่า กลุ่มอาชีพพนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน ยังเป็นกลุ่มอาชีพหลักที่มีสัดส่วนกลุ่มที่มีภาระหนี้มากที่สุดเช่นเดียวกับการสำรวจในรอบก่อนหน้า และผู้ตอบแบบสอบถามมีสัดส่วนความต้องการ ให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด โดยมีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้

  • ภาพรวมภาระหนี้สินของประชาชน จากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.99
    มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งลดลงจากผลสำรวจปี 2566 (ที่ร้อยละ 62.52) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้มากที่สุดที่ร้อยละ 68.18 ร้อยละ 57.16 และ ร้อยละ 53.15 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการสำรวจของปี 2566 ขณะที่กลุ่มนักศึกษาและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนการมีภาระหนี้น้อยที่สุด ที่ร้อยละ 20.51 และ ร้อยละ 26.74 ตามลำดับ การจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วน
    การมีภาระหนี้สินมากที่สุดที่ร้อยละ 81.25 รองลงมาคือ กลุ่มรายได้ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท ที่ร้อยละ 76.15
    และกลุ่มรายได้ระหว่าง 40,001 – 50,000 บาท ที่ร้อยละ 62.96 ทั้งนี้ จากผลสำรวจมีข้อสังเกตว่ารายได้มีลักษณะแปรผันตรงกับสัดส่วนการมีภาระหนี้ หรือกล่าวคือกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้นจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีภาระหนี้มากขึ้น
  • สาเหตุของการเกิดหนี้ ในภาพรวมพบว่า การซื้อและผ่อนอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และ ยานพาหนะเป็นสาเหตุการเกิดภาระหนี้มากที่สุดที่ร้อยละ 27.47 รองลงมาคือ การเกิดภาระหนี้จากค่าใช้จ่ายประจำ
    ที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ร้อยละ 25.56 และการเกิดภาระหนี้เพื่อการลงทุน ที่ร้อยละ 11.94 และเมื่อพิจารณาจำแนก
    ตามกลุ่มอาชีพ
    พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น
    เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาระหนี้มากที่สุด ซึ่งอาจสะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
  • ประเภทของหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระหนี้ มีสัดส่วนเป็นภาระหนี้
    ในระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 79.89 รองลงมาด้วยการมีภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ร้อยละ 13.53 และสัดส่วนภาระหนี้นอกระบบ ที่ร้อยละ 6.58 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากผลการสำรวจในปี 2566 (ที่ร้อยละ 7.19)
    เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐเป็นผู้มีสัดส่วนภาระหนี้ในระบบมากที่สุดที่ร้อยละ 90.37 รองลงมาคือ เจ้าของกิจการ และนักศึกษา ขณะที่เกษตรกรถือเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีหนี้ทั้งในระบบ
    และนอกระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 22.20 และอาชีพรับจ้างอิสระเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบ
    มากที่สุด ที่ร้อยละ 15.59 ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มอาชีพที่ไม่มีรายได้ที่ชัดเจน
    และแน่นอน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท เป็นกลุ่ม
    ที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบและภาระหนี้ในทั้งสองระบบมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่ง
    ของผู้ตอบแบบสอบถาม อาจสะท้อนถึงปัญหาภาระหนี้ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งจำเป็น
    ต้องหาแนวทางแก้ไขเพื่อบรรเทาภาระหนี้ของประชาชนกลุ่มดังกล่าว

 

                สำหรับรูปแบบหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า มีรูปแบบหนี้จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมากที่สุดที่ร้อยละ 28.90 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน (ที่ร้อยละ 48.44) ตามมาด้วยหนี้บัตรเครดิต ที่ร้อยละ 24.45 และ หนี้จากการกู้ยืมสหกรณ์ที่ร้อยละ 15.63 ขณะที่พนักงานเอกชนและกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้จากบัตรเครดิตมากที่สุด และพนักงานของรัฐและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนหนี้สินจากการกู้สหกรณ์มากที่สุด

  • การชำระหนี้รายเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีหนี้ในระบบที่ต้องชำระ ไม่เกิน 10,000 บาท
    มากที่สุด ที่ร้อยละ 56.79 รองลงมาคือ ชำระหนี้ 10,001 – 30,000 บาท ที่ร้อยละ 28.58 และชำระหนี้
    30,001 – 50,000 บาท ที่ร้อยละ 4.70 และในส่วนการชำระหนี้นอกระบบ มีผลการสำรวจสอดคล้องกัน กล่าวคือ
    ผู้ที่มีหนี้สินนอกระบบ มีการชำระหนี้รายเดือนไม่เกิน 10,000 มากที่สุด ที่ร้อยละ 23.69 รองลงมาคือ การชำระหนี้นอกระบบ 10,001 – 30,000 บาท และ 30,001 – 50,000 บาท ตามลำดับ
  • พฤติกรรมการปรับตัวจากผลกระทบของหนี้สิน ในภาพรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามปรับตัว
    จากผลกระทบของหนี้ โดยวิธีการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากที่สุด ที่ร้อยละ 27.83 รองลงมาคือ การหารายได้เพิ่ม
    ที่ร้อยละ 22.23 และการไม่ก่อหนี้สินเพิ่มเติม ที่ร้อยละ 18.47
  • ความช่วยเหลือที่ต้องการจากภาครัฐ ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระหนี้มีความต้องการ
    ให้ภาครัฐออกมาตรการและนโยบายเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนโดยการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด ที่ร้อยละ 46.57 และรองลงมาคือ การพักหรือขยายเวลาการชำระหนี้ ที่ร้อยละ 33.21 ซึ่งสอดคล้อง
    กับความต้องการของผู้ตอบแบบสอบถามในทุกกลุ่มอาชีพ อายุ และภูมิภาค ขณะที่ความต้องการลำดับถัดมา
    คือ การสร้างและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ที่ร้อยละ 15.21 โดยกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
    มีสัดส่วนความต้องการให้มีการสร้างและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้มากที่สุด ที่ร้อยละ 45.45 และ ร้อยละ 31.17 ตามลำดับ

                นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงผลการสำรวจครั้งนี้ว่า แม้สถานการณ์หนี้สินของประชาชนจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาภาระหนี้สิน  ของประชาชน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังคงติดตามและดูแลปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

                นอกจากนี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้สิน ด้วยอีกทางหนึ่ง

                ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการเกิดหนี้อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผ่านการกำกับดูแลราคาสินค้าและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคในราคาที่เหมาะสม อาทิ งานธงฟ้าราคาประหยัด การจัดจำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดในราคาประหยัด และการลดราคาช่วงเทศกาล ตลอดจนมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ซึ่งช่วยดูดซับผลผลิตส่วนเกิน และเพิ่มรายได้เกษตรกร พร้อมทั้งกระจายสินค้าตามฤดูกาลในราคาที่เหมาะสมสู่ประชาชนต่อไป

 

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาคบริการไทย อยู่ตรงไหนในเวทีโลก

ภาคบริการไทย อยู่ตรงไหนในเวทีโลก

ด่วน! ข้อควรระวังการลงทุน  เจาะ 2 หุ้นทำไม? ถึงน่าสนใจ

ด่วน! ข้อควรระวังการลงทุน เจาะ 2 หุ้นทำไม? ถึงน่าสนใจ

โลกกังวล! ดาวโจนส์ดิ่งพันจุด ส่อง 10 หุ้น แกร่งรับมือ เช็กได้!

โลกกังวล! ดาวโจนส์ดิ่งพันจุด ส่อง 10 หุ้น แกร่งรับมือ เช็กได้!

เซเว่นฯ จัดเต็ม “อาหาร-เครื่องดื่ม”  ดึง BUS  เสิร์ฟความสดใสรับสงกรานต์68   

เซเว่นฯ จัดเต็ม “อาหาร-เครื่องดื่ม” ดึง BUS  เสิร์ฟความสดใสรับสงกรานต์68  

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด