ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

BBL-SCB กำไรแน่น TTB มียิวส์ปันผลงาม

          คาดกำไรสุทธิของกลุ่มแบงก์ใน 1Q25 จะอยู่ที่ 53,205 ลบ. ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ แม้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะลดลงจาก NIM ที่ต่ำลง และการคุมสินเชื่อใหม่ แต่ถูกชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายดำเนินงานและ การตั้งสำรองที่ลดลง ธนาคารที่คาดกำไรสุทธิจะโตทั้ง YoY และ QoQ ได้แก่ BBL, SCB   

          คงน้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด” แม้แนวโน้มการเติบโตของกำไรจะค่อนข้างจำกัด เพราะมีผลกระทบเชิงลบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีก 1 ครั้ง ในช่วงกลางปี แต่มองว่ากลุ่มธนาคารจะยังสามารถจ่ายปันผลในระดับสูงได้ใกล้เคียงเดิม หลังปรับเพิ่ม Div. Payout Ratio และคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง เลือก TTB(TB@2.12) เป็น Top Pick ของกลุ่ม

          TTB(TB@2.12) คาดได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่ เพราะสินเชื่อหลักเป็นดอกเบี้ยคงที่ อีกทั้ง TTB มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจาก Tax Shield 1.2 หมื่นลบ. ที่สามารถทยอยใช้สิทธิได้จนถึงปี 2028 รวมถึงนโยบายซื้อหุ้นคืนที่มีความต่อเนื่องถึง 3 ปี ปีละ 7,000 ลบ. ทำให้มองว่าเป็นหุ้นที่มี Downside จำกัด นอกจากนี้คาด TTB จะให้ Div. Yield สูง 6.6%

          บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า คาดว่า กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารใน 1Q25 ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ  สำหรับ 1Q25 คาดหุ้นกลุ่มธนาคารภายใต้ Coverage ของจะมีกำไรสุทธิรวม 53,205 ลบ. ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ

          โดยมีแรงกดดันหลักจาก

          1) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิคาดลดลง 2% QoQ หลังธนาคารคงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อยและ SME ทำให้สินเชื่อ รวมคาดลดลง 1.1% QoQ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดรับกับดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ที่ปรับลงอีกครั้ง ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ยังไม่ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้คาด Net Interest Margin (NIM) ของแต่ละธนาคารจะปรับตัวลงทั้ง YoY และ QoQ และ

          2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดลดลง 2.8% YoY และ 6.2% QoQ กดดันจากค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสินเชื่อที่ลดลงตามขนาดของพอร์ต รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าประกันและธุรกิจ Wealth Management ที่ปรับลงตามปัจจัยฤดูกาล ทั้งนี้คาดปัจจัยลบดังกล่าวบางส่วนจะถูกชดเชยด้วยการปรับลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงาน หลังมีค่าใช้จ่ายลงทุนในระบบการดำเนินงานและพนักงานลดลง QoQ รวมถึงการตั้งสำรองที่คาดจะลดลง 5.5% YoY และ 0.7% QoQ จากคุณภาพสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

          ในส่วนของธนาคารใหญ่กำไรฟื้นตัว QoQ เพราะค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการตั้งสำรองลดลง ธนาคารใหญ่คาดกำไรสุทธิลดลง 2.4% YoY แต่ฟื้นตัว 5.1% QoQ นำโดย BBL (คาดกำไรสุทธิ 11,205 ลบ. +6.5% YoY, +7.7% QoQ) หนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่ปรับตัวดีขึ้น จากการขยายฐานลูกค้าบริษัทใหญ่ และการลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่การตั้งสำรองคาดขยับขึ้นจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจในอินโดนีเซียชะลอตัว

          รองลงมาคือ KBANK (คาดกำไรสุทธิ 11,275 ลบ.-16.4% YoY, +7.4% QoQ) หนุนจากการตั้งสำรองที่คาดจะเริ่มผ่อนคลายลง หลังเสร็จสิ้นการทำ BalanceSheet Clean Up (เร่ง Write Off และขายหนี้กลุ่มเสี่ยงสูง) และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง ช่วยชดเชยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ปรับตัวลง

          ส่วน KTB (คาดกำไรสุทธิ 10,936 ลบ. -1.3% YoY, +4.4% QoQ) แม้สินเชื่อภาครัฐฯ จะปรับลง แต่ยังคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี และคาดค่าใช้จ่ายดำเนินงานจะลดลงเพราะค่าใช้จ่ายตามฤดูกาลต่ำลง และผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลดลง

          สำหรับ SCB (คาดกำไรสุทธิ11,847 ลบ. +5.0% YoY, +1.2% QoQ) หลังค่าใช้จ่ายตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายดำเนินงานของธุรกิจTechnology (Gen 3) ต่ำลง

          ธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาดกำไรสุทธิรวม 7,943 ลบ. ลดลง 7.4% YoY และ 3.4% QoQ มีแรงกดดันหลักๆ จากสินเชื่อรวมที่ชะลอตัวตามยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว

          โดย TTB(คาดกำไรสุทธิ 5,240 ลบ. -1.8% YoY, +2.5% QoQ) แม้สินเชื่อจะลดลง แต่เป็นการปรับสัดส่วนสินเชื่อมา เน้นกลุ่มที่มี Risk Adjusted Return สูงขึ้น เช่น สินเชื่อ Top Up ของลูกค้าบ้านและรถยนต์ที่มีประวัติชำระเงินดี

          ส่วน TISCO (คาดกำไรสุทธิ 1,608 ลบ. -7.2% YoY, -5.5% QoQ) กดดันจากการเร่งตั้งสำรองเพื่อเพิ่ม Coverage Ratio รองรับการขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

          และ KKP (คาดกำไรสุทธิ 1,095 ลบ.-27.3% YoY, -22.1% QoQ) เนื่องจากคาดกำไรจากเครื่องมือทางการเงินจะลดลง และรายได้จากธุรกิจตลาดทุนชะลอตัว ปี 2025 คาดกำไรสุทธิรวมโต 3% YoY รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เบื้องต้น คาดแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2025 ของกลุ่มจะอยู่ที่ 220,954 ลบ. โต 3% YoY แม้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะปรับตัวลงจากทั้งการชะลอตัวของสินเชื่อ และ NIM ที่ต่ำลง แต่คาดจะถูกชดเชยด้วยการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง เพราะธนาคารส่วนใหญ่มีการเร่งระบายลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงสูงไปมากแล้ว บวกกับมีผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่จูงใจให้ลูกหนี้กลับมาชำระเงินมากขึ้น

          คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” แนะนำ TTB เป็น Top Pick ของกลุ่ม คงน้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด” แม้แนวโน้มการเติบโตของกำไรจะค่อนข้างจำกัด เพราะมีผลกระทบเชิงลบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีก 1 ครั้ง ในช่วงกลางปี

          แต่มองว่ากลุ่มธนาคารจะยังสามารถจ่ายปันผลในระดับสูงได้ใกล้เคียงเดิม หลังปรับเพิ่มDiv. Payout Ratio และคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง เราเลือก TTB (TB@2.12) เป็น Top Pickของกลุ่ม เนื่องจากคาดได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่ เพราะสินเชื่อหลักของพอร์ตเป็นสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นดอกเบี้ยคงที่ อีกทั้ง TTB มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจาก Tax Shield 1.2 หมื่นลบ.ที่สามารถทยอยใช้สิทธิได้จนถึงปี 2028 รวมถึงนโยบายซื้อหุ้นคืนที่มีความต่อเนื่องถึง 3 ปี ปีละ 7,000 ลบ. ทำให้เรามองว่าเป็นหุ้นที่มี Downside จำกัด นอกจากนี้คาด TTB จะให้ Div. Yield สูง 6.6%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตลท. ใช้ Ceiling & Floor (+/-30%) เริ่มมีผล 16 เม.ย.68

ตลท. ใช้ Ceiling & Floor (+/-30%) เริ่มมีผล 16 เม.ย.68

ก.ล.ต. กล่าวโทษ หมอบุญ วนาสิน เหตุเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ

ก.ล.ต. กล่าวโทษ หมอบุญ วนาสิน เหตุเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ

กลต. ยกเลิกไม่ให้กลุ่ม NON SET100 เป็นหุ้นที่สามารถขายชอร์ตได้ เริ่ม 16 เม.ย.นี้

กลต. ยกเลิกไม่ให้กลุ่ม NON SET100 เป็นหุ้นที่สามารถขายชอร์ตได้ เริ่ม 16 เม.ย.นี้

NER ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี68 ไฟเขียวปันผลอีกหุ้นละ 0.31 บ.

NER ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี68 ไฟเขียวปันผลอีกหุ้นละ 0.31 บ.

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด