ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

ADVANC กำไร Q3/67 แตะ 8.78 พันล้านบาท คาดรายได้ปีนี้โต 13-15% งบลงทุน 2.5-2.6 หมื่นล้าน

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เปิดเผยว่า เอไอเอสมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ในไตรมาส 3/2567 ที่ 27,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากการรับรู้ EBITDA ของ TTTBB ร่วมกับการเติบโตของธุรกิจหลัก ขณะที่ทรงตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่สูงขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้

อัตรากำไร EBITDA (EBITDA Margin) อยู่ที่ร้อยละ 53 จากการมุ่งเน้นรายได้ที่สร้างกำไร การบริหารจัดการต้นทุน และการยกระดับอัตรากำไรของยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่

ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 เอไอเอสรายงานกำไรสุทธิที่ 8,788 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับผลดำเนินงานที่ดีขึ้น และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น

บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คงแนวโน้มการเติบโตจากความต้องการใช้งานข้อมูลและการมุ่งเน้นคุณภาพ

รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 30,962 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลที่เติบโต ส่งผลให้ปริมาณการใช้งานข้อมูลสูงขึ้น ร่วมกับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว จำนวนผู้ใช้บริการเติบโตขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ภายในประเทศ โดยบริษัทมีกลยุทธ์มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ และให้ความสำคัญกับคุณภาพโครงข่าย สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) ยังเติบโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนภาพการบริโภคข้อมูลที่สูงขึ้นและกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการส่งมอบมูลค่าให้กับลูกค้าเป็นหลัก

เอไอเอสมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพบริการเพื่อตอบรับพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากบรรลุเป้าหมายโครงข่าย 5G ครอบคลุมประชากรกว่า 95% ทั่วประเทศ เอไอเอสยังคงเดินหน้าขยายโครงข่ายในพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของรายได้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบัน เอไอเอสมีผู้ใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นเป็น 11.5 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของฐานผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด

บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นและบริการมูลค่าเพิ่ม

รายได้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ที่ 7,437 ล้านบาท เติบโตอย่างแข็งแกร่งร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเติบโตร้อยละ 2.1 จากไตรมาสก่อน การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากการขยายฐานผู้ใช้ที่เน้นคุณภาพ โดยใช้โครงข่ายไฟเบอร์ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งเพิ่ม ARPU ผ่านกลยุทธ์การขายพ่วงด้วยบริการเสริมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง อาทิ สมาร์ทโฮมโซลูชันในกระบวนการควบรวมกับ TTTBB เอไอเอสให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพการบริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี พร้อมยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

บริการลูกค้าองค์กรเติบโตจากความชัดเจนทางเศรษฐกิจและสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

รายได้บริการลูกค้าองค์กร (ไม่รวมโทรศัพท์เคลื่อนที่) อยู่ที่ 1,821 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้รายได้ของ TTTBB และความต้องการของภาคธุรกิจในการปรับเปลี่ยนด้านดิจิทัล ซึ่งก่อให้เกิดความต้องการในการเชื่อมต่อสื่อสารในรูปแบบโครงข่ายข้อมูล (EDS) และคลาวด์ ทั้งนี้ รายได้บริการลูกค้าองค์กรยังเติบโตจากไตรมาสก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ร่วมกับการปิดการขายโครงการคลาวด์ขนาดใหญ่เอไอเอสยังคงมุ่งเน้นบริการพื้นฐานในการเชื่อมต่อข้อมูล (Connectivity) สำหรับลูกค้าองค์กร โดยสร้างความแข็งแกร่งผ่านความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเพิ่มผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง

สภาวะการตลาดและการแข่งขัน

ในไตรมาส 3/2567 ประเทศไทยเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากเสถียรภาพในสถานการณ์การเมือง ซึ่งส่งผลดีต่อความชัดเจนของทิศทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่เริ่มกลับมา ปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดแรงกดดันจากปัจจัยฤดูกาลและผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมทั้งกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคและบรรเทาความกังวลในระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น
อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงรักษาแนวโน้มเชิงบวก แม้เผชิญกับปัจจัยฤดูกาล โดยได้แรงหนุนจากความต้องการใช้ข้อมูลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อบริการระบบเติมเงิน ในด้านการแข่งขันยังคงเน้นการนำเสนอแพ็กเกจเพิ่มมูลค่าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพื่อสร้างการเติบโตของ ARPU นอกจากนี้ ตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยได้รับอานิสงส์จากการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่

อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญกับความท้าทายในช่วงฤดูฝน โดยจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่ายไฟเบอร์ไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบ้านต่อครัวเรือนไทยที่ยังต่ำกว่าร้อยละ 50 ในด้าน ARPU มีการเติบโตจากกลยุทธ์การขายพ่วง (Cross-sell & Upsell) บริการมูลค่าเพิ่ม และสินค้านวัตกรรมที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความเร็วและความเสถียร พร้อมทั้งยกระดับประสบการณ์การใช้งานด้วยบริการคอนเทนต์และอุปกรณ์ IoT

การให้บริการลูกค้าองค์กรเริ่มเห็นการฟื้นตัวจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายงบประมาณทั้งจากภาครัฐและเอกชน ในด้านเทคโนโลยี บริการเชื่อมต่อโครงข่าย (EDS) และบริการคลาวด์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล นอกจากนี้ ผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยยังส่งผลต่อความต้องการการเชื่อมต่อข้อมูลที่สูงขึ้น และยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล

มุมมองของผู้บริหารต่อแนวโน้มในปี 2567 และผลประกอบการรอบ 9 เดือนของปี 2567

คาดการณ์รายได้การให้บริการหลักเติบโตที่ระดับร้อยละ 13 ถึง 15 ผลประกอบการรอบ 9 เดือนของปี 2567 เติบโตมากกว่าการคาดการณ์ โดยได้รับอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจที่มีปัจจัยเชิงบวกมากขึ้นในไตรมาส 3/2567 ขณะที่ผลกระทบจากปัจจัยตามฤดูกาลปกติลดลงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะรักษาแนวโน้มการเติบโตของรายได้การให้บริการหลักอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 การเติบโตจะยังคงเกิดจากการเข้าซื้อกิจการ TTTBB และการสร้างการเติบโตจากธุรกิจเดิม ร่วมกับการฟื้นตัวของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ทั้งนี้ เอไอเอสยังมุ่งเน้นสร้างการเติบโตด้วยการนำเสนอบริการแบบหลอมรวม (convergence) ระหว่างบริการหลักด้านต่างๆ ร่วมกับใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับลูกค้า และการยกระดับคุณค่าที่ผู้ใช้บริการจะได้รับผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

  • โทรศัพท์เคลื่อนที่: มุ่งเน้นรักษาความเป็นผู้นำด้านคุณภาพและความครอบคลุมของโครงข่าย การนำเสนอสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ใช้บริการเฉพาะกลุ่ม และยกระดับคุณค่าของบริการผ่านปัจจัยต่างๆ เช่น 5G บริการแบบหลอมรวม และระบบนิเวศสิทธิประโยชน์ เพื่อส่งมอบบริการดิจิทัลเหนือระดับแก่ผู้ใช้บริการ
  • อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง: เติบโตด้วยการรับรู้รายได้จาก TTTBB ร่วมกับรักษาแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้บริการที่ขยายตัวขึ้นและโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศจากการรวมกันระหว่างเอไอเอสและ TTTBB พร้อมการนำเสนอสินค้าด้วยจุดเด่นด้านนวัตกรรมและคุณภาพการให้บริการที่เหนือกว่าเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มากกว่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบทั่วไป เอไอเอสให้ความสำคัญไปที่กระบวนการบูรณาการการทำงานระหว่างเอไอเอสและ TTTBB เข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและสร้างประโยชน์ทั้งในเชิงรายได้และต้นทุน (Synergies)
  • บริการลูกค้าองค์กร: มุ่งเน้นการเติบโตที่สร้างผลตอบแทนสูงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล รับประโยชน์จากการพัฒนาของสภาพเศรษฐกิจ-สังคม โดยใช้ประโยชน์จากบริการการเชื่อมต่อสื่อสาร บริการเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และการสร้างความแตกต่างด้วยแพลตฟอร์มบนเทคโนโลยี 5G (5G Paragon Platform)

EBITDA เติบโตประมาณร้อยละ 14 ถึง 16 จากการมุ่งเน้นที่ความสามารถในการทำกำไร

เช่นเดียวกับรายได้การให้บริการหลัก กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่มีปัจจัยเชิงบวกมากขึ้น โดยค่าใช้จ่ายคาดว่าจะถูกจัดสรรเพื่อการรักษาสถานะผู้นำตลาด และเพื่อยกระดับความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อไปในอนาคต

เอไอเอสยังคงตั้งเป้าบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับการเร่งรับรู้ประโยชน์จากการเข้าซื้อกิจการ TTTBB เพื่อสร้างประโยชน์ด้านต้นทุน ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พัฒนาการส่งมอบบริการและสร้างประสบการณ์ของลูกค้า เอไอเอสตั้งเป้าพัฒนารากฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ระบบไอที โครงข่าย การวิเคราะห์ข้อมูล และทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ เอไอเอสมุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

ตั้งเป้างบลงทุนระหว่าง 25,000 ถึง 26,000 ล้านบาท เพื่อรักษาคุณภาพภายใต้ความเหมาะสม

เอไอเอสคาดการณ์งบลงทุนที่ลดลงจากปีก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการเร่งลงทุนโครงข่าย 5G สำหรับคลื่นความถี่ 700MHz ในปี 2566 การใช้ประโยชน์จากโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่กว้างขึ้นของ TTTBB การใช้จ่ายงบลงทุนอย่างเหมาะสมสอดคล้องไปกับความตั้งใจของบริษัทที่ต้องการรักษาลูกค้าคุณภาพสูงผ่านการคงสถานะการเป็นผู้นำด้านโครงข่าย ในขณะที่ยังมุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากการเข้าสู่พื้นที่ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ผ่านการใช้งบลงทุนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลทางการเงินมากขึ้น (CAPEX synergy) จากการผนึกกำลังของโครงข่ายระหว่างเอไอเอสและ TTTBB โดยสรุป เอไอเอสคาดการณ์สัดส่วนงบลงทุนสำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ร้อยละ 60 ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านร้อยละ 28 และส่วนที่เหลือสำหรับธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรและอื่นๆ

นโยบายการจ่ายเงินปันผล: จ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิ เอไอเอสมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวและส่งมอบผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นมาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เอไอเอสจึงให้ความสำคัญต่อการรักษาสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งและมีความคล่องตัวเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต นโยบายการจ่ายเงินปันผลจะจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำไรสุทธิ โดยนโยบายการจ่ายเงินปันผลนี้จะทำให้เอไอเอสมีกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเป็นผู้นำตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงพร้อมรับต่อสภาวการณ์ต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลง

เอไอเอสยังคงการจ่ายเงินปันผลปีละสองครั้งจากผลการดำเนินงานบริษัทและกำไรสะสมบนงบการเงินเฉพาะกิจการ ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลในทุกกรณี จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดและแผนการลงทุน รวมถึงความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคตของบริษัท และ/หรือบริษัทย่อย และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่เกินกำไรสะสมที่ปรากฏในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท และ/หรือมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทและบริษัทย่อย

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตลท. ใช้ Ceiling & Floor (+/-30%) เริ่มมีผล 16 เม.ย.68

ตลท. ใช้ Ceiling & Floor (+/-30%) เริ่มมีผล 16 เม.ย.68

ก.ล.ต. กล่าวโทษ หมอบุญ วนาสิน เหตุเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ

ก.ล.ต. กล่าวโทษ หมอบุญ วนาสิน เหตุเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ

กลต. ยกเลิกไม่ให้กลุ่ม NON SET100 เป็นหุ้นที่สามารถขายชอร์ตได้ เริ่ม 16 เม.ย.นี้

กลต. ยกเลิกไม่ให้กลุ่ม NON SET100 เป็นหุ้นที่สามารถขายชอร์ตได้ เริ่ม 16 เม.ย.นี้

NER ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี68 ไฟเขียวปันผลอีกหุ้นละ 0.31 บ.

NER ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี68 ไฟเขียวปันผลอีกหุ้นละ 0.31 บ.

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด